โรงพยาบาลพระมงกฎเกล้า จัดบรรยายพิเศษ"กระดูกพรุนในมะเร็งเม็ดเลือดรักษาได้"

ข่าวทั่วไป Tuesday June 27, 2006 10:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 มิ.ย.--คอร์ แอนด์ พีค
โรงพยาบาลพระมงกฎกล้า เชิญฟังบรรยายพิเศษ
“กระดูกพรุนในมะเร็งเม็ดเลือด...รักษาได้”
หน่วยโลหิตวิทยา กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกฎเกล้า ร่วมกับ บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด จัดบรรยายพิเศษ “ กระดูกพรุนในมะเร็งเม็ดเลือด...รักษาได้” ในวัน ศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2549 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ
รองศาสตราจารย์พันเอก วิเชียร มงคลศรีตระกูล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา โรงพยาบาลพระมงกฎเกล้า กล่าวว่า โรคกระดูกพรุนในมะเร็งเม็ดเลือด หรือมัลติเพิล มัยอีโลมา (Multiple myeloma) เป็นโรคมะเร็งเลือดชนิดพิเศษ ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ จะมีอาการปวดหลัง ปวดกระดูก ร่วมกับโลหิตจาง หากใครมีอาการเข้าข่ายแบบนี้ คงต้องระวัง สำหรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ นอกจากวิธีการรับประทานยาแล้ว ยังมีแนวทางการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก 2 ครั้ง
คนไข้บางรายอาจมีอาการที่เกิดจากปริมาณแคลเซี่ยมในเลือดสูง เมื่อมีการละลายแคลเซี่ยมออกมาจากกระดูก ภาวะที่ตามมาคือ มีปริมาณแคลเซี่ยมในเลือดเพิ่มมากขึ้น อาการที่เกิดขึ้นคือ อาจมีอาการซึม ไม่โต้ตอบ ท้องผูก ปัสสาวะออกน้อย คนไข้โรคนี้จะมีปริมาณโปรตีนในเลือดสูงมากขึ้นผิดปกติ ชนิดที่ศัพท์แพทย์เรียกว่า “โกลบูลิน” สิ่งที่ตามมาคือเลือดจะหนืดขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดอาการหลายอย่างตามมาเช่น อาการทางสมอง อาจมีอาการมึนงง จากที่เลือดไม่เลี้ยงสมองไม่ดี หรืออาจเกิดเส้นเลือดอุดตันได้ หากเลือดหนืดมาก ๆ
สำหรับแนวทางการรักษาทำได้หลายวิธี คือโดยทั่วไปมักจะเริ่มต้นด้วยการให้ยาเคมีบำบัด เพื่อควบคุมโรคให้ได้ก่อน ยาเคมีบำบัดที่ให้ส่วนใหญ่ผลข้างเคียงไม่มากนัก ผู้ป่วยมักจะทนได้ โดยไม่ทุกข์ทรมานมากนักในการรักษา แต่หากจะให้อาการดีขึ้นไปอีก อาจต้องทำการปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งในบางกรณีอาจต้องทำถึงสองครั้งในคน ๆ เดียวกัน แต่หากมีอาการปวดกระดูกมาก หรือมีก้อนเนื้อร้ายในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกาย อาจต้องใข้การฉายรังสีเข้าช่วย
ในปัจจุบันมียาตัวใหม่ ๆ ที่ถูกนำมาใช้ในโรคนี้ ผลข้างเคียงไม่มาก ผลการรักษาดีพอสมควร เช่น ยาโบติโซมิบ ,ทัลลิโดมายด์ (Thalidomide) แต่ยาพวกนี้ส่วนใหญ่แล้วราคาค่อนข้างสูง ใช้แล้วโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวอาจดีขึ้น แต่โรคทรัยพ์จางอาจจะตามมาได้
นอกจากนี้ ยังมียาที่แพทย์ใช้ในการควบคุมโรคแทรกซ้อนทางกระดูก เช่น ปวดกระดูก กระดูกหัก ซึ่งพบได้บ่อยในคนไข้กลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นยาฉีด แต่ใช้ในรูปแบบของรับประทานก็มีตัวอย่างของยาในกลุ่มนี้ เช่น ไพรม์มิโดรเนท (Primidronate) , โซเล็นโดรเนท (Zolendrenate)
รายละเอียดอื่น ๆ ของโรคคงต้องสอบถามเพิ่มเติมจากโลหิตแพทย์ จะมีการพูดเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อเป็นความรู้กับประชาชน ในวันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2549 เวลา 13.00-16.00 น ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ ท่านผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งได้ตั้งแต่บัดนี้ที่คุณภาวิณี ดีสีแก้ว โทร 02-640-9847 , 05-806-4645 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
คุณปาริชาติ สุวรรณ์
ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด
โทร.0-2439-4600 ต่อ 8203
อีเมล์ paricharts@corepeak.com

แท็ก มะเร็ง  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ