UAM หวั่นตัวเลขศก.Q3 ฉุดเงินไหลเข้าตลาดหุ้นชะงัก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 22, 2009 16:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ก.ค.--UAM UAM มองทิศทางการไหลเข้าของเม็ดเงินของต่างชาติในปัจจุบัน เกิดการการอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละประเทศทั่วโลก จนทำให้เกิด Green Shoot หรือการดีดตัวกลับของตลาดให้เป็นบวกในประเทศกลุ่มเอเซีย และ Emerging Market แต่ยังเชื่อว่า ภาวะดังกล่าวต้องจับตาดูการประกาศผลประกอบการหลายๆ แห่ง ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นสหรัฐ พวก Investment Banker เช่น Goldman Sach หรือ JP Morgan หากผลประกอบการออกมาไม่ดี เงินจะยังอยู่ หลังจากนั้นจะเริ่มหันมามองตัวเลขการลงทุนของภาคเอกชน ถ้ายังไม่ดีขึ้น อาจจะทำให้การไหลเข้าของเงินเริ่มชะงักตลาดหุ้นก็มีโอกาสที่จะถดถอยลงอีกครั้ง กว่าจะฟื้นตัวอย่างจริงจังช่วงต้นปี 2553 ที่การบริโภคภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัวอย่างแท้จริง โดยไม่ใช่มาจากการกระตุ้นของรัฐบาล นายสุพรรณ เศษธะพานิช ผู้อำนวยการ ฝ่ายการลงทุน บลจ.ยูไนเต็ด จำกัด หรือ UAM กล่าวถึงการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติในประเทศไทยขณะนี้ว่า นับแต่วิกฤติ Lehman ในช่วงกลางปี 2008 เป็นเหตุให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น จนเกิดเป็นสภาวะ “ Credit Crunch” ประกอบกับสภาพคล่องสถาบันการเงินที่ลดลง ทำให้เกิดวิกฤติศรัทธา มีผลทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก โดยสังเกตได้จาก Indicator หลายๆ ตัว เช่น Overnight Indexed Swap Spread (OIS spread) ซึ่งขึ้นไปถึงระดับ 4.75% ในช่วงเดือนตุลาคม 2008 ผลจากวิกฤติศรัทธาดังกล่าว ทำให้เงินที่อยู่ในสินทรัพย์เสี่ยงไหลเข้าสู่สินทรัพย์ที่ปลอดภัยนั่นคือ US Treasury จนทำให้ US Treasury Yield ลดลงไปเหลือเพียงแค่ 2% แต่หลังจากสถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มประสบปัญหาล้มละลาย จากคุณภาพสินทรัพย์สหรัฐที่เริ่มลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทั้ง MBS (Mortgage Backed Securities) และ CDO(Collateralized Debt Obligation) นักลงทุนจึงเริ่มนำเงินออกจาก US Treasury และย้ายเงินลงทุนไปเก็งกำไรในตลาดทองคำ น้ำมัน โดยผ่านกองทุน Hedge Fund ทั้งหลาย จากการที่รัฐบาลหลายประเทศได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบจำนวนมาก เห็นได้จาก M2 / GDP (Money Supply / GDP) ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดนั้น ทำให้บางคนมองว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวจริงหรือไม่ ซึ่งบางคน ถึงกับมองว่า จะเกิด Green Shoot หรือที่เรียกว่า เป็นการดีดตัวกลับของตลาดเป็นบวกในฉับพลัน คือ เปลี่ยนจาก Bear Market เป็น Bull Market ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นในประเทศกลุ่มเอเซีย และ Emerging Market ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เงินทุนเริ่มไหลไปที่ตลาดหุ้นทั้งในเอเชียและ Emerging Market ที่เรียกกันว่าตลาดเกิดใหม่ ไปจนถึง Frontier Market (Frontier Market อิงถึงตลาด MSCI Frontier ซึ่งมีส่วนประกอบเช่น ตลาดหุ้นประเทศเคนย่า บัลแกเรีย ซาอุ เป็นต้น) จึงไม่แปลกใจว่า ทำไมถึงมีเม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้นในช่วงต้นปีที่ผ่านมา และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งใน Emerging Market หรือตลาดเกิดใหม่ที่นักลงทุนมองนั่นเอง “คำถามต่อมาคือ หลังจากนี้ เงินจะไปที่ไหน ผมยังเชื่อว่า เงินจะยังอยู่ในตลาดหุ้นก่อน จากเทศกาลการประกาศผลประกอบการหลายๆ แห่ง ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นสหรัฐ พวก Investment Banker เช่น Goldman Sach หรือ JP Morgan ที่ประกาศผลประกอบการออกมาดี ไปจนถึงบริษัทอื่นๆ เช่น West Texas Instrument หรือแม้แต่ในไทย ซึ่งเงินน่าจะวนเวียนในตลาดหุ้นอยู่จนกว่าเทศกาลการประกาศผลประกอบการจะสิ้นสุดลง” อย่างไรก็ตาม หลังจากเทศกาลประกาศผลประกอบการสิ้นสุดลง นักลงทุนจะกลับมามองตัวเลขเศรษฐกิจอีกครั้ง ทำให้ UAM คาดว่าตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวมนั้นจะไม่ดีมากนัก เพราะตัวเลขการลงทุน Private Investment Index (ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน) ยังคงปรับตัวลดลง เช่นตัวเลข Cement Sale (ยอดขายซีเมนต์) ที่ยังหักหัวลงอย่างต่อเนื่อง แม้ตัวเลข Production Manufacturing Index (ดัชนีผลผลิต) หลายๆ ประเทศจะมีการฟื้นตัว และ Retail Sale (ดัชนีค้าปลีก) จะออกมาดูดีนั้น แต่สาเหตุที่ตัวเลขเหล่านี้ออกมาดีนั้น เกิดจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล “อย่าลืมว่า หากเรามองตัวเลขย้อนหลังนั้น การใช้จ่ายภาคครัฐ (Government Spending) คิดเป็นเพียงประมาณ 10% ของ GDP เท่านั้น และแน่นอนว่า Government Spending เพียง 10% ยากที่จะทำให้ตัวเลข GDP ปรับเพิ่มขึ้นมาได้ หากสองเครื่องจักรหลักยังไม่เดิน นั่นคือการบริโภคและการลงทุน ซึ่งเรามองว่า การลงทุนจะยังคงยากที่จะเกิดในไตรมาส 3 ของปีนี้ ถึงแม้ตัวเลข Production ยังคงเพิ่มขึ้น แต่ว่าหาก Capacity Utilization (อัตราการใช้กำลังการผลิต) ที่ยังคงอยู่ที่ระดับ60%นั้น ไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นการลงทุนให้เกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ หากโรงงานยังไม่ได้ใช้กำลังการผลิตให้เต็มที่แล้ว จะมีเหตุผลอันใดที่จะต้องลงทุนสร้างโรงงานเพิ่มอีก” ดังนั้น เมื่อนักลงทุนเห็นตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังแย่อยู่ในไตรมาส 3 ตลาดหุ้นก็มีโอกาสที่จะถดถอยลงอีกครั้งสุดท้าย เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นขึ้นอีกครั้งได้เมื่อไหร่นั้น คงตอบยาก จึงแนะนำให้จับตามอง Capacity Utilization(อัตราการใช้กำลังการผลิต) เป็นหลัก ซึ่งน่าจะใช้เวลาอีกสักพักในการฟื้นตัว เร็วที่สุดน่าจะประมาณต้นปี 2010 “เรามองว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยนั้น คงจะไม่ได้เร็วมากนัก เมื่อเปรียบเทียบการเติบโตแบบก้าวกระโดดเหมือนประเทศจีน เพราะจีนมีแผนการอัดฉีดเงินถึง 586,000, พันล้านดอลลาร์สหรัฐ Loan Growth เติบโตอย่างรวดเร็วก็จริง แต่ภายในเวลาไม่กี่เดือนนั้น จีนก็วางแผนที่จะชะลอลง เพราะเกรงปัญหา NPL ที่จะตามมา จากการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รวดเร็วเกินไปจนควบคุมไม่ทัน ทำให้เรามองว่า การเติบโตอย่างมั่นคง น่าจะเกิดในปี 2010 โดยเริ่มจากการบริโภคภาคเอกชน (ที่แท้จริง ไม่ได้มาจากการกระตุ้นของรัฐบาล) ซึ่งจะทำให้ไปเพิ่มตัวเลขของภาคการผลิต ส่งผลให้มีตัวเลขอัตรากำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่สมควรที่จะลงทุนใหม่ และเวลานั้นเอง เราจึงจะเรียกได้ว่า เป็นรอบการเติบโตของเศรษฐกิจใหม่ หรือ Green Shoot อย่างแท้จริง”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ