กรุงเทพฯ--22 ก.ค.--เอเชียซอฟท์
เอเชียซอฟท์ งัดกลยุทธการตลาดดิจิมาร์เก็ตติ้ง ช่วยขยายช่องทางสร้างแบรนด์ ชี้อาวุธเด็ด 4’Ps เข้าถึงและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคปัจจุบัน ใช้ต้นทุนต่ำ แต่ประสิทธิภาพสูง วิน วิน ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค โดย ร่วมกับ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ จัดงานสัมมนาการตลาด DigiMarketing starting with a DOWNTURN! เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม ที่ผ่านมา
นายปราโมทย์ สุดจิตพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บริษัท เอเชียซอฟท์ ฯ เป็น บริษัทที่มีความเชียวชาญในการทำการตลาดแบบออนไลน์ เพราะ เอเชียซอฟท์ฯ เองได้อยู่ในตลาดนี้ และติดตามถึงความเปลี่ยนแปลงของตลาดดิจิทัล มาโดยตลอดทั้งในประเทศไทย และ ตลาดต่างประเทศ พบว่าปัจจัยสำคัญในการทำการตลาดในวันนี้ คือต้นทุนทางการตลาด หากเปรียบเทียบการใช้งบผ่านสื่อดิจิตอลยังถือว่าน้อย แค่ 1% เมื่อ เปรียบเทียบกับสื่อโรงภาพยนตร์ที่ใช้งบประมาณสูงกว่าถึง 5 เท่า สื่อโฆษณากลางแจ้ง 6 เท่า สื่อวิทยุ 7 เท่า สื่อหนังสือพิมพ์ 16 เท่า และสื่อโทรทัศน์ใช้งบสูงกว่าถึง 50 เท่า ซึ่งนักการตลาดอาจมองข้ามไปว่าประชากรผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมีถึง 13 ล้านคน หรือ 20% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเอเชียซอฟท์ เป็นหนึ่งในรายแรกๆ ที่เริ่มใช้กลยุทธการทำตลาดแบบดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง เราเล็งเห็นความสำคัญ ด้วยการคิดหากลยุทธและวิธีการ ที่จะจัดทำแผนการตลาดแบบผสมผสานรูปแบบ ดิจิทัล เข้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับยุคเศรษฐกิจถดถอย เพื่อสร้างความได้เปรียบในความแตกต่างที่เหนือกว่า ซึ่งในปัจจุบันนี้ต
้องยอมรับว่า พฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนนับวันยิ่งบริโภคสื่อผ่านเทคโนโลยีมากขึ้น
สำหรับ เอเชียซอฟท์ฯ ฐานะผู้ให้บริการเกม ซึ่งถือเป็น ดิจิตอล คอนเท้นส์ หนึ่ง บนโลกออนไลน์ ที่มีมูลค่าทางการตลาดสูงมากในปัจจุบัน อีกทั้งเกมออนไลน์ ยังเป็นคอนเท้นส์ที่สามารถทำการตลาดได้ ในต้นทุนต่ำ แต่ได้ประสิทธิภาพสูง ผ่านการจดจำของผู้บริโภคที่เล่นเกมออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันมีฐานลูกค้าอยู่ถึง 12 ล้านคน ทั่วประเทศ รวมทั้งกิจกรรมการตลาดและการจัดโปรโมชั่นได้หลากหลาย ซึ่งทำให้ผู้บริโภค และผู้ผลิต ได้มีส่วนร่วมในตัวสินค้ามากขึ้น การทำตลาดแบบดิจิมาร์เก็ตติ้ง จึงถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ ที่ได้รับประโยชน์ทั้งผู้บริโภค และ เจ้าของสินค้า โดยตรง ”
ด้าน เอียน เฟนวิคก์ ศาสตาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ ที่ปรึกษาด้านการตลาดที่มีประสบการณ์ และผู้เขียนหนังสือ Dig marketing วิทยากรพิเศษในงานสัมมนาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า การทำการตลาดดิจิมาร์เก็ตติ้งนั้นจะมาปฏิวัติการทำการตลาดรูปแบบเดิม เพราะสามารถเข้ากับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคปัจจุบันได้ดีกว่า ซึ่งเรียกว่ากลยุทธ 4Ps คือ 1. Permission การเข้าสู่การยอมรับของผู้บริโภคที่จะเข้าสู่สื่อดิจิตอลมากขึ้น เช่น อินเตอร์เน็ต โทรศัทพ์เคลื่อน 2. Participation การมีส่วนร่วมของผู้บริโภคที่มีต่อเนื้อหาของสินค้าที่ผู้ผลิตต้องการนำเสนอ 3.Profile ลูกค้าและเจ้าของสินค้าจะสามารถรวบรวมข้อมูลระหว่างกันและกันได้ และสุดท้าย 4. Personalization คือความเป็นส่วนบุคคลที่ขยายไปสู่ การทำตลาดแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งขยายช่องทางในการสร้างแบนด์นี้ ไปยังกลุ่มสังคมออนไลน์ อาทิ hi5 Feedbook Twitterc หรือ MSN เป็นต้น ซึ่ง เอียน เฟนวิคก์ เสริมว่า ตัวเลขการเติบโตของการทำตลาดแบบดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งในต่างประเทศ มีอัตราการเติบโตสูง 10-15% สำหรับประเทศไทยในอีก3-4 ปี จะโตแบบต่างประเทศ และในอีก 4- 5 ปี ข้างหน้าการทำตลาดแนวนี้จะเป็นกระแสหลัก
ซึ่งสื่อดิจิตอล ยังให้ ข้อมูลเชิงลึก แก่นักการตลาด เพราะนอกจากนำเสนอเนื้อหาของสินค้าแล้วยังสามารถทราบถึงข้อมูลข้อผู้บริโภค ไลฟ์สไตล์ ความชอบ ไม่ชอบ ด้วย มีข้อมูลที่เราสามารถติดตาม
รวบรวมได้ เรารู้ว่าเขาเป็นใคร อ่านเวลาไหน ทำอะไร ทำให้เราสามารถส่งต่อข้อมูลถึงผู้บริโภคได้ถูกจุด ขณะที่ในสื่อดั้งเดิม จะไม่รู้ว่าใครเป็นคนรับ หรือได้รับสื่อที่เราส่งไปอีกด้วย ซึ่งประเด็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลนั้นจะไม่เกิดขึ้น ในโลกดิจิตอล เพราะผู้รับข่าวสาร สามารถเลือกที่จะเปิดรับ หรือ ไม่รับข่าวสารนั้นก็ได้ อีกสิ่งหนึ่งที่นักการตลาดต้องเรียนรู้คือในโลกดิจิตอลน้นผู้บริโภคเป็นใหญ่ และไม่ใช่เป้านิ่ง ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเหมือนในสื่อเดิม ที่จะทำได้แค่รับสารทางเดียว เพราะผู้บริโภคสามารถสื่อสารกลับ พูดถึงในทางที่ดี ไม่ดีได้ ยุคดิจิตัล ไม่ใช่นักการตลาดเป็นใหญ่ แต่เป็นผู้บริโภคที่เป็นใหญ่ เพราะฉะนั้นมาร์เก็ตติ้งจะต้องฟัง ต้องเรียนรู้จากลูกค้า" เอียนกล่าว
ซึ่งภายในการดังกล่าว มีเจ้าของสินค้าที่ มาร่วมพูดคุย ถึงประสบการณ์ในการรุกการทำตลาดแบบดิจิมาร์เก็ตติ้ง ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ
ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เผยว่า “ภายหลังจากการทดลองทำการตลาดแบบดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง ก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดี เพราะนับเป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับแบรนด์ จากเดิมที่คนทั่วไปมองว่า ธนาคารกรุงไทยนั้นจะดูเป็นผู้ใหญ่มาก แต่ขณะนี้ แบรนด์เราดูทันสมัย และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างขึ้น ซึ่งล่าสุด จับมือบริษัทเพลย์พาร์ค ขยายฐานไปยังกลุ่มเป้าหมายที่อายุ 30 ปีลงไป ในลักษณะโคมาร์เก็ตติ้ง โดยเริ่มจากการออกบัตรเดบิท เป็นลายเกมออนไลน์ยอดนิยม คือ ออดิชั่น ฟรีสไตล์ และ เกมเศรษฐี
ด้าน กันตพัฒน์ นุตะโพธิพันธ์ ผู้จัดการส่วนเว็บโซลูชัน บริษัทโซนี่ไทย กล่าวว่า บริษัทวางกลยุทธการตลาดรูปแบบผสมผสานระหว่างออพไลน์มีเดีย และ ออนไลน์มีเดีย เพื่อให้ผลตอบรับที่ครอบคลุมที่สุด ขณะที่สื่อออฟไลน์จะเป็นรากฐานและขณะที่สื่อออนไลน์ จะใช้วิธีค่อยๆแทรกซึมเข้าหากลุ่มเป้าหมาย”
ส่วนทาง วรรณสิกา เชื้อชาติไชย ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด บริษัท เอเชียซอฟท์ กล่าวว่า “ปัจจุบัน บริษัท วางกลยุทธทางการตลาดแบบ คัสโตเมอร์ เซ็นทริก (Customer centric) คือ เน้นวิเคราะห์ และ สนองความต้องการของลูกค้าแบบรอบด้าน โดยฐานลูกค้าของบริษัทจะแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มเด็กนักเรียน ,วัยรุ่น ,นักศึกษา และ กลุ่มคนทำงาน ซึ่งมีไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง แต่ใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์เหมือนกัน การทำการตลาดจึงต้องเป็นแบบผสมผสานผ่านเครื่องมือการตลาดในแต่ละสื่อเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดที่สุด ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเอเชียซอฟท์ได้มุ่งเน้นการทำตลาดแบบออนไลน์ โดยการอาศัยทั้งสื่อในเกม และการทำการตลาดในเชิง Digi Marketing ตัวอย่างเช่น โครงการเกมเมอร์เลิฟแด๊ด ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เห็นถึงความเข้มแข็งของกลุ่มคนออนไลน์อย่างแท้จริง โดยการชักชวนกันมาสวมใส่ไอเท็มสีเหลืองให้กับตัวละครในเกม หรือการร่วมบอกรักพ่อผ่านเว็บไซต์ ซึ่งก็ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี โดย 3 ปีที่ผ่านมา นำรายได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายไอเทม ทูลเกล้าฯ ถวายกว่า 16 ล้านบาท”
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 027698888 บมจ.เอเชียซอฟท์