กรุงเทพฯ--27 ก.ค.--กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สุดยอดงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552” จะจัดบนพื้นที่ใหญ่ที่สุดและระยะเวลาการจัดงานมากกว่าที่เคยจัดมา ฉลองครบรอบ 30 ปี กระทรวง วิทยาศาสตร์ฯ 8-23 สิงหาคม 2552 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายใต้แนวคิด “วิทยาศาสตร์ก้าวไกล นำไทยก้าวหน้า” ดร.คุณหญิงกัลยา รมว. ย้ำปลอดภัยไร้เชื้อ ด้วยมาตรการป้องกันไข้หวัด 2009 คาดผู้ชมงานนับล้าน
วันที่ 25 กรกฎาคม 2552 ดร. คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน ร่วมกับ ดร. สุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และ ดร. พิชัย สนแจ้ง ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ อาคารพระจอมเกล้า ชั้น 1 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนพระราม 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ พร้อมสาธิตการทำเจลฆ่าเชื้อ ป้องกันผู้เข้าชมงานจากไข้หวัด 2009
ดร. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์?และเทคโนโลยี เป?นหน?วยงานหลักร?วมกับหน?วยงานอื่นที่มีภารกิจเกี่ยวข?องกับวิทยาศาสตร์?และเทคโนโลยีทั้งภาครัฐและเอกชนจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล?า เจ้าอยู?หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” โดยกําหนดให?วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกป?เป็น “วันวิทยาศาสตร?แห?งชาติ” และได้จัดกิจกรรม “สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ” เป็นประจำทุกปี ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นกิจกรรมในส่วนกลาง โดยในปีนี้ จะมีความยิ่งใหญ่ สมกับคำว่า “มหกรรม” และเพื่อฉลองครบรอบ 30 ปี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร. สุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยว่ามหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีอีก 6 กระทรวงร่วมงาน คือกระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้ง 34 หน่วยงาน จาก 21 สถาบันการศึกษาจากทั่วประเทศ 10 ภาคเอกชน และมากกว่า 10 ผลงานจากต่างประเทศ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะร่วมกันจัดกิจกรรมและนิทรรศการ ภายใต้แนวคิด “สร้างงาน สร้างเงิน สร้างคุณภาพชีวิต : ผลงานกระทรวงวิทย์ฯ คิดเพื่อคนไทย”
ดร. พิชัย สนแจ้ง ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) ในฐานะผู้ดำเนินการจัดงานครั้งนี้ กล่าวถึงความพร้อมของการเตรียมการเพื่อรองรับผู้เข้าชมงานที่มีจำนวนมากกว่า 1 ล้านคนในทุกปีว่า ปีนี้ อพวช. ได้รับการตอบรับจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศเป็นอย่างดี มีคณะนักเรียนที่จองเข้าชมงานมาแล้วจากทั่วประเทศ กว่า 400,000 คน และยังคงเปิดรับจองเข้าชมต่อไป รวมผู้ชมทุกกลุ่มคาดว่าจะถึงหลักล้าน จากประสบการณ์ที่ได้จัดงานมหกรรมนี้เป็นปีที่ 4 ทำให้มั่นใจได้ว่า ทีมงานขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จะมีความพร้อมในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าชมงานในทุกๆ ด้านได้อย่างแน่นอน
นอกจากนี้ ดร. คุณหญิงกัลยาฯ เปิดเผยถึงไฮไลท์ในมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติปีนี้ จะรวบรวมความประทับใจพิเศษสุดกับภาพยนตร์สามมิติ 2 โรง ตระการตากับการเคลื่อนที่ของดวงดาวในเอกภพ และสัมผัสประสบการณ์ผจญภัยไปในอวกาศเนื่องในปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากลด้วย และจะพบกับ 4D Simulator บนยานสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เรียนรู้วิกฤติการกู้ภัยโลกร้อน ครบทุกรส สัมผัส จับต้องได้ รวมทั้งสิ่งสำคัญที่เป็นขวัญใจเยาวชนในทุกๆ ปี คือ หุ่นยนต์ ในปีนี้จะพบกับมหกรรมหุ่นยนต์ ตื่นเต้น ตื่นตา ตื่นใจ กับ หุ่นยนต์ยักษ์ “ตั๊กแตน” “แมงป่อง” “แมงมุม” ขนาดใหญ่กว่าของจริงกว่า 70 เท่า และพาเหรดหุ่นยนต์จากภาพยนตร์และการ์ตูนขวัญใจเยาวชน และหุ่นยนต์ยักษ์สุดไฮเทค สูงที่สุดในโลกถึง 6 เมตร OPTRA BOT จากภาพยนตร์ Transformer 2
และ ดร. คุณหญิงกัลยาฯ ยังได้กล่าวย้ำว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้ความสำคัญมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยแก่ผู้เข้าชมงาน โดยมาตรการที่เตรียมไว้ป้องกันการแพร่ระบาดของ ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือการสเปรย์ฆ่าเชื้อในอากาศบริเวณห้องจัดงานทุกวัน การเช็ดชิ้นงาน และทุกจุดที่คนแตะต้องทุก 2 ชั่วโมง บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และหน้ากากกันเชื้อโรค ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกว่า 1,000 คน เพื่อความปลอดภัยแก่ทุกๆ คน
พร้อมกันนี้ ในวันแถลงข่าว ดร. คุณหญิงกัลยา ได้สาธิตการทำเจล “เจลผู้พิทักษ์ 2009” ให้สื่อมวลชนและผู้สนใจชม ซึ่งทำได้ง่ายมาก และจะมีการสอนให้ทุกคนได้ทำภายในงานมหกรรมฯ อีกด้วย
สำหรับผู้สนใจเข้าชมงานสามารถเข้าชมงานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 8-23 สิงหาคม 2552 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี และ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โทร 0 2577 9999 หรือ www.nsm.or.th และ Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โทร 1313