รายงานสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 4 ก.ย.49 เวลา 07.00 น.

ข่าวทั่วไป Monday September 4, 2006 10:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--ปภ.
1. อิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งได้ตรวจสอบไปยังจังหวัดที่ประสบภัยเมื่อเวลา 06.00 น. ของวันนี้ (4 ก.ย.49) มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก ลำพูน ลำปาง และตาก
1.1 จังหวัดสุโขทัย ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ดังนี้
1) อำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลปากแคว (หมู่ที่ 1-9) ตำบลตาลเตี้ย (หมู่ที่1- 4) ตำบลยางซ้าย (หมู่ที่ 2,9,11,12) ตำบลวังทองแดง (หมู่ที่ 1,3,5,6) ตำบลบ้านสวน (หมู่ที่ 1-4,6,9,11,12) และตำบลบ้านหลุม (หมู่ที่ 1,4,9) เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน (หมู่ที่ 2,3) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม. ระดับน้ำลดลง
2) อำเภอศรีสำโรง ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลสามเรือน ตำบลวัดเกาะ ตำบลบ้านนา ตำบลวังทอง ตำบลวังใหญ่ และตำบลทับผึ้ง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
3) อำเภอกงไกรลาศ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าฉนวน (หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12) ตำบลบ้านกร่าง (หมู่ที่ 3-5) ตำบลกง (หมู่ที่ 1,2,5,6,12) ตำบลป่าแฝก (หมู่ที่ 2,3-9) และตำบลหนองตูม (หมู่ที่ 2-6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม. เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำ
4) อำเภอสวรรคโลก ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลปากกุมเกาะ (หมู่ที่ 1-4,9) ตำบลในเมือง (หมู่ที่ 3,4,9) ตำบลวังไม้ขอน (หมู่ที่ 1,2) ตำบลวังพิณพาทย์ (หมู่ที่ 1-3) ตำบลย่านยาว (หมู่ที่ 1-6,8,10-11) ตำบลคลองกระจง (หมู่ที่ 1-9) ตำบลท่าทอง (หมู่ที่ 2,3,4,6,7) ตำบลเมืองบางยม (หมู่ที่ 1-5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 ม.
5) อำเภอศรีสัชนาลัย น้ำท่วมขังในพื้นที่ตำบลบ้านวังวน (หมู่ที่ 1) ตำบลแม่สิน ตำบล บ้านตึก ตำบลป่างิ้ว ตำบลแม่สำ ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ ตำบลดงคู่ ตำบลบ้านแก่ง และตำบลหาดเสี้ยว ระดับน้ำลดลง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ทางการเกษตรบางพื้นที่
๏ ระดับน้ำในแม่น้ำยม เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 4 ก.ย.49 ที่สะพานบ้านน้ำโค้ง (สถานี Y.1C) อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำสูง 5.28 ม. (ระดับตลิ่ง 8.20 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 2.92 ม. ที่ (สถานี Y.33) อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 11.05 ม. (ระดับตลิ่ง 10.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 1.05 ม. และที่ (สถานี Y.4) อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 6.67 ม. (ระดับตลิ่ง 7.45 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 0.78 ม. ที่ฝายยางบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.06 ม.(ระดับตลิ่ง 9.00ม.) สูงกว่าตลิ่ง 1.06 ม.
1.2 จังหวัดพิษณุโลก เกิดฝนตกหนักทำให้ปริมาณน้ำในลำคลองชมพู และแม่น้ำวังทอง เอ่อล้นตลิ่ง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่ทางการเกษตร จำนวน 8 อำเภอ ดังนี้
1) อำเภอวังทอง น้ำในคลองชมพูได้เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรใน 8 ตำบล 75 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลท่าหมื่นราม (หมู่ที่ 1,2,6,9,14) ตำบลพันชาลี (หมู่ที่ 1-17) ตำบลวังทอง (หมู่ที่ 1,2,7,12,13,14) ตำบลวังพิกุล (หมู่ที่ 4,5) ตำบลแม่ระกา (หมู่ที่ 1-15) ตำบลวังนกแอ่น (หมู่ที่ 1) ตำบลดินทอง (หมู่ที่ 6) และตำบลหนองพระ (หมู่ที่ 1,3,6,8) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม.
2) อำเภอบางกระทุ่ม ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลวัดตายม (หมู่ที่ 1,2,3,5,7,8,) และที่ตำบลเนินกุ่ม (หมู่ที่ 1) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม.
3) อำเภอบางระกำ มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ตำบลคุยม่วง (หมู่ที่ 6,8,9) ตำบลชุมแสง (หมู่ที่ 1,2,3,5,8,9) ตำบลนางงาม (หมู่ที่ 1,2,3) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
4) อำเภอพรหมพิราม ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลตลุกเทียม (หมู่ที่ 1,4,6) ตำบลหอกลอง (หมู่ที่ 5,6,7) และตำบลวงฆ้อง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
5) อำเภอเนินมะปราง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลชมพู ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
6) อำเภอนครไทย น้ำในลำคลองแควน้อยได้เอ่อล้นตลิ่งท่วมบ้านเรือนราษฎรในท้องที่ ตำบลนาบัว (หมู่ที่ 2,3,4,5,7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
7) อำเภอชาติตระการ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ทางการเกษตรของตำบลท่าสะแก (หมู่ที่ 1-9) ตำบลบ่อภาค ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
8) อำเภอวัดโบสถ์ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ทางการเกษตร 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหินลาด (หมู่ที่ 7,8) ตำบลคันโช้ง (หมู่ที่ 1,2) ตำบลบ้านท้อแท้ (หมู่ที่ 3) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 น.
1.3 จังหวัดลำพูน ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง น้ำในแม่น้ำกวงได้ล้นตลิ่ง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ในพื้นที่ตำบลเวียงยอง (หมู่ที่ 1-4,6-8) ระดับน้ำประมาณ 0.20 ม. และท่วมขังในพื้นที่ทางการเกษตรของตำบลบ้านแป้น (หมู่ที่ 1,2,3,9) และตำบลอุโมงค์ (หมู่ที่ 4,8,11) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20 ม.
2) อำเภอแม่ทา ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลทาปลาดุก (หมู่ที่ 1-4) ตำบลทากาศ (หมู่ที่ 4-6,11) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม. บ้านเรือนราษฎรที่ตำบลทาปลาดุก ซึ่งอยู่บริเวณริมแม่น้ำทาถูกน้ำกัดเซาะตลิ่ง ทำให้บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 14 หลังคาเรือน ระดับน้ำลดลงคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันนี้ (4.ก.ย.49)
๏ระดับน้ำในแม่น้ำแม่กวง เมื่อเวลา 06.00 น. วันนี้ (4 ก.ย.49) ที่สะพานท่าสิงห์พิทักษ์ (P.5) อำเภอเมืองลำพูน ระดับน้ำสูง 6.20 ม. (ระดับตลิ่ง 5 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 1.20 ม.
1.4 จังหวัดลำปาง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 1 อำเภอ ดังนี้
1) อำเภอเถิน ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ทางการเกษตร 3 ตำบล ได้แก่ตำบลล้อมแรด (หมู่ที่ 1-6,9-11,14) ตำบลเถินบุรี (หมู่ที่ 7) ตำบลแม่ขอด บ้านแม่เตี๋ยะ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม. ระดับน้ำลดลงใกล้เข้าสู่ภาวะปกติ
1.5 จังหวัดตาก น้ำในแม่น้ำวังได้เอ่อเข้าท่วมในพื้น 1 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอสามเงา น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ตำบลวังหมัน ตำบลวังจันทร์ และตำบลยกกระบัตร ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำจากอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ถนนภายในหมู่บ้านได้รับความเสียหายไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
2. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 01.00 น วันที่ 3 ก.ย.49 ถึง 01.00 น วันที่ 4 ก.ย.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดนครศรีธรรมราช (อ.เมือง 22.6 มม.
จังหวัดกาญจนบุรี (อ.ทองผาภูมิ) 12.2 มม.
จังหวัดชัยภูมิ (อ.เมือง) 6.2 มม.
3. ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ประจำวันที่ 4 กันยายน 2549 เวลา 06.00 น.
ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศมี ฝนตก ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่
4. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตาม และรายงาน ให้ทราบต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ