กรุงเทพฯ--29 ก.ค.--อิมเมจ อิมแพค
ในการอภิปรายเมื่อเร็วๆ นี้เกี่ยวกับประเด็นค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลสุขภาพ เทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่เป็นปัจจัยหนึ่งที่มักถูกอ้างว่าทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น แต่ศาสตราจารย์ มาร์ค คราฟท์ กรรมการผู้จัดการ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเบอร์ลิน กลับได้ข้อสรุปที่แตกต่างออกไป จากรายงานการศึกษา1ที่เขาทำร่วมกับบริษัทให้คำปรึกษาด้านการจัดการ Droege & Comp ได้ระบุถึงนวัตกรรม 10 อย่างที่มีส่วนช่วยให้ระบบทางการแพทย์ของประเทศเยอรมนีสามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 870 ล้านยูโรต่อปี จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเครื่องช่วยหายใจรุ่น Evita XL: Program SmartCare/PS ของ Dr?ger เป็นระบบที่ถูกออกแบบเพื่อลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยในแผนกผู้ป่วยหนัก (ICU) จึงทำให้เกิดแนวโน้มในการประหยัดงบประมาณได้สูงสุด
ผลิตภัณฑ์ประมาณ 50 ชนิดจากบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์ต่างๆ ได้ถูกนำมาศึกษาในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยประหยัดน้ำสำหรับเครื่องมือฆ่าเชื้อระบบไอน้ำ กล้องจุลทรรศน์ที่ช่วยในการผ่าตัดให้เปิดปากแผลให้น้อยที่สุด ไปจนถึงเครื่องมือที่ช่วยลดอาการตึงของส้นเท้า การศึกษาส่วนหนึ่งในครั้งนี้ได้วิเคราะห์หาความคุ้มค่าเงินกับประโยชน์ที่ได้รับ โดยนักวิจัยจะดูที่การลดค่าใช้จ่ายโดยตรงของเครื่องมือต่างๆ และค่าใช้จ่ายของพนักงาน โดยผ่านการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและจำนวนวันที่อยู่ในโรงพยาบาลลดลง นักวิจัยจะประเมินความเป็นไปได้ในการประหยัดงบประมาณสำหรับทั้งประเทศโดยอ้างอิงจากจำนวนผู้ป่วยและโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบ การประเมินนั้นยังนับรวมถึงการประหยัดงบประมาณในทางอ้อมโดยการป้องกันโรคหรือรักษาโรคที่เป็นผลมาจากวิธีการรักษาแบบใหม่ สำหรับเครื่องช่วยหายใจรุ่น Evita XL: Program SmartCare/PS นักวิจัยคำนวณความเป็นไปได้ของการประหยัดงบประมาณถึง 650 ล้านยูโรต่อปีสำหรับประเทศเยอรมนีเพียงประเทศเดียว การประหยัดงบประมาณเห็นผลได้ชัดเจน จากจำนวนวันที่ผู้ป่วยพักรักษาตัวในโรงพยาบาลลดลงถึง 2.6 วัน และลดค่าใช้จ่ายของยาและการรักษาที่จำเป็นอื่นๆ ได้ถึง 2,000 ยูโรในผู้ป่วยแต่ละราย
การช่วยให้ผู้ป่วยหายใจด้วยตนเอง
ผู้ป่วยกว่าร้อยละ 50 ในแผนกผู้ป่วยหนัก (ICU) ต่างใช้เครื่องช่วยหายใจที่มีแรงดันสูงซึ่งสามารถทำลายเนื้อเยื่อในปอดได้ และยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัวและมักจะร้องขอยาระงับประสาทและยาระงับปวดอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งวิธีการรักษาแบบนี้ยังยับยั้งการหายใจเองตามธรรมชาติและยังเพิ่มระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล ทำให้เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเอาเครื่องช่วยหายใจออกจากผู้ป่วย แพทย์จำเป็นที่จะต้องค่อยๆ ลดแรงดันของเครื่องช่วยหายใจลง พร้อมกับเฝ้าดูผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยสามารถหายใจได้เองตามธรรมชาติ
เครื่องช่วยหายใจรุ่น Evita XL: Program SmartCare/PS นี้ เป็นระบบที่สามารถลดระดับความดันช่วย (Pressure Support) อัตโนมัติ (อ้างอิงจากการใช้งานในโรงพยาบาล) เมื่อป้อนข้อมูลของคนไข้ ได้แก่ น้ำหนักตัวผู้ป่วยและชนิดของท่อช่วยหายใจแล้ว Program SmartCare/PS จะปรับความดันช่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบลักษณะการหายใจของผู้ป่วยรายนั้นๆ กำหนดลักษณะรูปแบบการหายใจโดยคำนวณจาก อัตราการหายใจเองของผู้ป่วย — Spontaneous breathing frequency, ปริมาตรการหายใจ -Tidal Volume และค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขณะหายใจออก — end expiratory CO2 Concentration บนพื้นฐานของค่าต่างๆ เหล่านี้ รูปแบบการช่วยหายใจจะถูกแยกแยะและจัดการด้วย Program SmartCare เพื่อทำการวิเคราะห์ทุกๆ 2 — 5 นาที ข้อมูลที่ได้นั้นจะถูกนำไปใช้ในการวินิจฉัยสภาวะผู้ป่วย และปรับระดับความดันช่วยให้ตรงกับความต้องการหายใจของผู้ป่วยในขณะนั้นๆ นอกจากนี้เครื่อง เครื่องช่วยหายใจรุ่น Evita XL: Program SmartCare/PS ยังสามารถปรับระบบการทำงานเมื่อความดันช่วยของเครื่องลดลงจนถึงจุดที่สามารถถอดเครื่องช่วยหายใจออกจากผู้ป่วยได้โดยอัตโนมัติ พร้อมกับมีข้อความแสดงให้เห็นว่า “สามารถถอดเครื่องออกได้”
โดยสรุป เครื่องช่วยหายใจรุ่น Evita XL: Program SmartCare/PS สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายยิ่งขึ้นยามใช้งาน พร้อมกับระบบเฝ้าระวังอัตโนมัติทำให้แพทย์และพยาบาลมีข้อมูลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยไม่จำเป็นต้องเฝ้าระวังตลอดเวลา และสามารถลดระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลได้อีกด้วย
วิลาสินี เดชาภิรมย์
บริษัท อิมเมจ อิมแพค
โทร: 0-2357-1180-3 ต่อ 101