เอกชนนิยมนำระบบการจัดการพลังงานไปใช้อนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 3, 2009 12:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ส.ค.--พพ. นางอัมราพร อัชวังกูล ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการและส่งเสริมประสิทธิภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) (www.dede.go.th) กล่าวในงานสัมมนา “แนวทางการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และกฎหมายที่ปรับปรุงใหม่” วันที่ 30 กรกฎาคม 52 ณ โรงแรม ทาวน์ อิน ทาวน์ พัทยา จ.ชลบุรี ว่า ตามที่ได้มี พรบ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ฉบับเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการกำหนดหน้าที่ของเจ้าของอาคาร/เจ้าของโรงงานให้ต้องจัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และ จัดให้มีการจัดการพลังงาน นั้นทาง พพ. ได้เตรียมมาตรการส่งเสริมสนับสนุนไว้หลากหลายด้าน เช่น 1.มาตรการส่งเสริมด้านการลงทุน เช่น โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โครงการสินเชื่อพลังงาน โครงการสิทธิประโยชน์ทางภาษี โครงการ ESCO Fund 2. มาตรการช่วยเหลือด้านวิชาการ เช่น โครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม โครงการสาธิตเทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โครงการอนุรักษ์พลังงานในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม โครงการเครือข่ายศูนย์ทดสอบ เครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน 3. มาตรการส่งเสริมสร้างจิตสำนึก เช่น โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานโดยการติดฉลาก โครงการประกวดบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานดีเด่น เป็นต้น นายกิตติพงษ์ รัตนาพิศุทธิกุล วิศวกรชำนาญการพิเศษ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้กล่าวถึง คุณสมบัติของผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และ หน้าที่ต่าง ๆ ในการช่วยเจ้าของโรงงาน/อาคารในการจัดการพลังงาน บำรุงรักษาและตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ ปรับปรุงการใช้พลังงานตามหลักการอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น นายกิตติ สุขุตมตันติ เลขานุการ สมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน (www.PREclub.org) เปิดเผยว่า ปัจจุบันภาคเอกชน จากบรรดาสมาชิกของสมาคมผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ซึ่งมีสมาชิกกว่า 9,500 รายทั่วประเทศ พบว่าสมาชิกที่เป็นนิติบุคคลบริษัทหลายแห่ง ทั้งโรงงาน อาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์การค้า โรงแรม ได้มีการนำระบบการจัดการพลังงาน (Energy Management System) มาใช้ในการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืนในหน่วยงานของตน โดยระบบการจัดการพลังงานนั้นมีมาตรฐานจากหลายประเทศ แต่ระบบที่นิยมใช้ในประเทศไทยในกว่า 5,000 บริษัท จะเป็นระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐานของ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมี 8 ขั้นตอน ถือว่าเป็นระบบที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานในประเทศไทย และสอดคล้องกับการปฏิบัติตามกฎหมายของ พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 นายณัฐกรณ์ เจียรเวทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์พลังงาน จากที่ปรึกษาด้านพลังงาน บ.ไดเร็คชั่น แพลน (www.directionplan.org) ได้แนะนำถึง “แนวทางการจัดการพลังงาน” พร้อมแนะนำผู้เข้าร่วมสัมมนาฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับเทคนิคในการจัดทำระบบการจัดการพลังงาน เช่น การประเมิน Energy Management Matrix การกรอกตารางมาตรฐานต่าง ๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความเข้าใจ และสามารถนำแนวทางระบบการจัดการพลังงานไปปฏิบัติในหน่วยงานของตนได้ การสัมมนา “แนวทางการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และกฎหมายที่ปรับปรุงใหม่” ที่ พพ.จัดขึ้น นอกจากผู้เข้าร่วมสัมมนาฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้ว ยังได้รับแจกเอกสาร ซีดี พร้อมสื่อเผยแพร่ เช่น ซีดีตำราอนุรักษ์พลังงาน 18 เล่ม ติดมือกลับไปเผยแพร่ความรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานต่อในหน่วยงานของตน อีกทั้งยังมีการออกบูธจากหน่วยงานส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานต่าง ๆ อาทิเช่น หน่วยลูกค้าสัมพันธ์ของ พพ., เป็นต้น มาร่วมแจกเอกสารเผยแพร่ฟรี พร้อมให้คำแนะนำปรึกษาในคลินิกพลังงาน จึงได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ที่พลาดการสัมมนาในรอบ ที่ผ่านไปแล้วนั้น ยังมีโอกาสสมัครเข้าสัมมนาฟรีในรอบอื่น ๆ ได้อีก โดย พพ. ยังคงเดินสายจัดสัมมนาในครั้งต่อไป ในหลาย ๆ จังหวัด ทั่วประเทศ สำหรับเจ้าของโรงงาน อาคาร และ สื่อมวลชน และ ผู้สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมสัมมนา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย (หมายเหตุ ที่นั่งมีจำนวนจำกัด โปรดรีบจองด่วน) โดยโปรดติดต่อสมัครได้ที่ คุณนันทิกานต์ หรือ คุณจินดามัย โทร 0 2642 5241-3 ต่อ 106 — 109 หรือ 0 2247 2339-40 โทรสาร 0 2247 2363 e-mail : jang@it77.com, directionplan@hotmail.com Direction Plan co.,ltd. (แผนกที่ปรึกษาพลังงาน) 539/2 Gypsum Metropolitan Tower (22nd FL.;Tower A), Thanon Si Ayutthaya, Ratchathewi, Bangkok, 10400 Thailand Tel. 0 2247 2340, 0 2247 2339, (PCT) 0 2642 5242 Press 1-9 Fax. +66 2247 2363 www.directionplan.org e-mail : directionplan@hotmail.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ