กรุงเทพฯ--6 ส.ค.--วีม คอมมูนิเคชั่น
ประเด็นสำคัญในการลงทุนทองคำแท่ง (Gold SPOT)
ปัจจัยสำคัญด้านพื้นฐาน — วันนี้ราคาทองคำมีแนวโน้มลดลงในวันนี้ จากตัวเลขการจ้างงานและภาคบริการที่อ่อนแอ ซึ่งอาจนำไปสู่การขายทำกำไร หลังราคาทองคำและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ได้ขยับขึ้นมามาก จากการเข้ามาเก็งกำไรของกองทุนเฮ็ดจ์ฟันด์ โดยขาดการสนับสนุนจากอุปสงค์ที่แท้จริงในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้ราคาทองคำร่วงลงแรงได้
กรอบการเคลื่อนไหวเชิงเทคนิคราคาทองคำแท่ง (Gold SPOT)
ปัจจัยสำคัญด้านเทคนิคระยะสั้น — Directional Indices บ่งบอกว่าตลาดระยะสั้นเป็นบวก, MACD 30 นาทีเคลื่อนตัวอยู่ใกล้ 0 ทำให้ดูว่าตลาดยังขาดทิศทางที่ชัดเจน, MACDF 30 นาทีเคลื่อนตัวอยู่ในแดนลบทำให้ดูราคาเป็นขาลง, Fast Stochastic เคลื่อนตัวขึ้นทำให้ราคาดูเป็นบวก, RSI 30 นาทีอยู่ที่ระดับ 44.231 ถือเป็นระดับ Neutral และทำให้ดูว่าตลาดระยะสั้นยังขาดทิศทางที่ชัดเจน, ทิศทางตลาดระยะสั้นดูเป็น Sideways-up แนวรับแนวต้านของวันอยู่ที่ $956-$968 ค่าเงินบาทในวันนี้อยู่ที่ระดับ ฿33.90-฿34.04
ปัจจัยสำคัญด้านเทคนิคระยะกลาง — Directional Indices บ่งบอกว่าตลาดระยะกลางเป็นบวก, RSI อยู่ที่ระดับ 65.407 ถือเป็นระดับ overbought อยู่เล็กน้อยทำให้ดูว่าราคามีโอกาสปรับตัวลง, MACD เคลื่อนตัวอยู่ในแดนบวก ทำให้ดูราคาเป็นบวก, MACDF เคลื่อนตัวอยู่ในแดนบวกทำให้ดูราคาเป็นบวก, Fast-Stochastic เคลื่อนตัวขึ้นทว่าได้ตัดเส้น Trigger จากด้านบนทำให้ราคามีโอกาสปรับตัวลงในช่วงนี้, ทิศทางตลาดระยะกลางเป็นตลาด Sideways-up โดยจะใช้แนวต้านที่ $990 เป็นต้านระยะกลางที่สำคัญ ส่วนแนวรับระดับกลางอยู่ที่ $927 และ $912
ราคาทองคำแท่งที่ร้านค้าปลีกปิดล่าสุด (เส้นสีแดง = 15,450 บาท) ซึ่งต่ำกว่าราคาทองคำแท่ง (SPOT) ในตลาดโลกเช้านี้ (เส้นสีน้ำเงิน = 15,550 หรือที่ $963.45) แสดงถึงราคาทองคำแท่ง ณ. หน้าร้านขายปลีก มีส่วนลดจากราคาในตลาดโลก อยู่ 100 บาท ขณะที่ราคาของ GFQ09 เมื่อวานนี้ปิดตลาดอยู่ที่ 15,490 บาท จะมีส่วนลดจากราคาในตลาดโลก อยู่ราว 60 บาท ซึ่งมีส่วนลดน้อยกว่าที่ร้านค้าปลีก ดังนั้น การเปิดสถานะขาย (Short) GFQ09 แล้ว ซื้อ (Long) ทองคำแท่งที่ร้านทอง จะทำให้มีส่วนต่างของกำไรที่คาดหวัง อยู่ที่ 100-60 = -40 บาทต่อทองคำแท่ง 1 บาท จึงยังไม่คุ้มค่ากับค่าคอมมิชชั่น (ประมาณ 120 บาทต่อ 1 บาททอง) และดอกเบี้ยในการหากำไรจากส่วนต่างราคาได้ในวันนี้
ข่าวสารสำคัญเพื่อประกอบการลงทุน
ปัจจัยบวก
ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อใหม่ที่โรงงานได้รับเพิ่มขึ้น +0.4% มากกว่าที่คาดว่าจะลดลง -1.0% ในเดือนมิ.ย. และเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ได้หนุนความหวังว่าเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากภาวะถดถอยจะเริ่มฟื้นตัว
ค่าเงินดอลลาร์ — ดอลลาร์อ่อนค่าลง +$0.0014 เมื่อเทียบเงินยูโร มาที่ $1.4408 จากที่ปิด $1.4394 เมื่อวันก่อนหน้า หลังยูโรยังได้แรงหนุนจากตัวเลข PMI ภาคบริการของภาคพื้นยุโรปที่ออกมาดีกว่าคาด + ยอดสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาด + การลดตำแหน่งงานในเดือนก.ค.นั้นลดลงจากเดือนมิ.ย. ได้เพิ่มความหวังว่า รายงานการจ้างงานของรัฐบาลสหรัฐในวันศุกร์นี้จะบ่งชี้ถึงภาวะตลาดแรงงานที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี นักลงทุนยังคงระมัดระวังในการลงทุนก่อนจะถึงการประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ในวันพฤหัสบดี ขณะที่เช้านี้ดอลลาร์ยังอ่อนค่าลงอีก +$0.0003 มาที่ $1.4411
ราคาน้ำมันดิบ — ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้น +$0.55 มาปิดที่ $71.97 ต่อบาร์เรล โดยเป็นการ Rebound กลับมาในช่วงท้ายตลาด ตามค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง โดยราคาได้ร่วงลงในช่วงแรก หลัง EIA เผยข้อมูลปริมาณสำรองน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 31 ก.ค.เพิ่มขึ้น +1.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าคาดและสวนทางกับที่คาดไว้ว่าจะลดลง -0.8 ล้านบาร์เรล มาที่ 349.5 ล้านบาร์เรล แต่ปริมาณสำรองน้ำมันกลั่นลดลง -1.1 ล้านบาร์เรล จากที่คาดว่าอาจเพิ่มขึ้น +1.2 ล้านบาร์เรล มาที่ 161.5 ล้านบาร์เรล และปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินลดลง -0.2 ล้านบาร์เรล น้อยกว่าที่คาดว่าอาจลดลงถึง -1.0 ล้านบาร์เรล มาที่ 212.9 ล้านบาร์เรลและอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันลดลง -0.1% สู่ 84.5% ขณะที่เช้านี้ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเดือน ก.ย. ร่วงลง -$0.37 มาอยู่ที่ $71.60 ต่อบาร์เรล
ปัจจัยลบ
ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ - ADP Employer Services เปิดเผยรายงานบ่งชี้ว่า นายจ้างภาคเอกชนของสหรัฐลดการจ้างงานลง -3.71 แสนตำแหน่งในเดือน ก.ค. ลดลงเมื่อเทียบกับ -4.63 แสนตำแหน่งในเดือน .ย. แต่มากกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลง -3.45 แสนตำแหน่งในเดือน ก.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงอ่อนแอ + สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยดัชนีภาคบริการหดตัวลงมาที่ 46.4 ในเดือนก.ค.จาก 47.0 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นมาที่ 48.0 โดยระดับที่ต่ำกว่า 50 ยังบ่งชี้ถึงการหดตัวในภาคบริการ ซึ่งมีสัดส่วนราว 80% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสหรัฐ
ค่าเงินบาท — ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น -1 สต. มาปิดที่ 33.96 บาทต่อดอลลาร์ จากที่ปิด 33.97 บาทต่อดอลลาร์เมื่อวันก่อนหน้า ตามสกุลเงินต่างๆที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ แต่ยังเคลื่อนตัวในช่วงแคบๆ ท่ามกลางความวิตกต่อการเข้าแทรกแซงตลาดของทางการ โดยมีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางในเอเชียบางแห่ง จะเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อสกัดกั้นการแข็งค่าของค่าเงิน เพื่อช่วยกลุ่มผู้ส่งออก ทำให้ความผันผวนในตลาดลดลง เช่นเดียวกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ออกประกาศผ่อนคลายเกณฑ์การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยให้นิติบุคคลที่มีสินทรัพย์เกิน 5 พันล้านบาท สามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์/ราย ก็ยังไม่ส่งผลด้านจิตวิทยาต่อเงินบาทมากนัก ขณะที่เช้านี้เงินบาทอ่อนค่าลง +4 สต. มาที่ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ โดยมีแนวรับสำคัญที่ 33.90 บาทและ 33.83 บาทตามลำดับ ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 34.04 บาทและ 34.11 บาท
พันธบัตร TIPS — กระทรวงการคลังสหรัฐวางแผนที่จะเพิ่มการขายพันธบัตรป้องกันเงินเฟ้อ (Treasury Inflation-Protected Securities หรือ TIPS) เพื่อที่จะช่วยระดมเงินรองรับการขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มมากขึ้นของสหรัฐ ซึ่งพันธบัตรชนิดนี้ จะมีการจ่ายผลตอบแทนที่แน่นอน ซึ่งสูงกว่าการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ทำให้พันธบัตรดังกล่าวเป็นที่ชื่นชอบของนักลงทุน ซึ่งเชื่อว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือการใช้จ่ายของรัฐบาลจำนวนมากจะกดดันราคาพันธบัตรต่อไป
ปัจจัยที่ต้องเฝ้าติดตาม
ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ — คืนนี้
กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ โดยรอยเตอร์คาดว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 1 ส.ค.จะอยู่ที่ 5.8 แสนราย ลดลงจาก 5.84 แสนรายในสัปดาห์ก่อนหน้า
ธนาคารกลางยุโรปและอังกฤษ - การประชุมกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ในวันนี้ คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1% และ 0.5% ตามลำดับ
กองทุนทองคำ — SPDR กองทุนทองคำใหญ่ที่สุดในโลก รายงานการเข้าถือทองคำถึง ณ. 5 ส.ค.52 ไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อนหน้า รวมถือทองคำไว้ทั้งสิ้น 1,072.87 ตัน เทียบเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.31 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 34.49 ล้านออนซ์