สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (APSA) ฉลองครบรอบ 15 ปี

ข่าวทั่วไป Thursday August 6, 2009 12:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 ส.ค.--เบรนเอเซีย เตรียมจัดงานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเซียและแปซิฟิค (Asian Seed Congress) ครั้งใหญ่ เผยศักยภาพของไทย เตรียมก้าวสู่การเป็นฮับเมล็ดพันธุ์ของภูมิภาคโลก สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (APSA) ชี้ความสำคัญของเมล็ดพันธุ์มีความสำคัญต่อชีวิตและเสริมสร้างความมั่นคงต่อประชากรโลก เผยมูลค่าอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของโลกรวมกว่า 32 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาวิชาการและสายพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตไปพร้อมกับการควบคุมคุณภาพมาตรฐานของเมล็ดพันธุ์เพื่อผู้บริโภค จับมือสสปน., กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย และสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย เตรียมจัดงานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเซียและแปซิฟิค (Asian Seed Congress 2009) เดือนพฤศจิกายน 2552 ในประเทศไทย คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 46 ประเทศ โดยการสนับสนุนของสสปน. ในหัวข้อ “เมล็ดพันธุ์เพื่ออาหารโลก” เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการและอุตสาหกรรมการเกษตร คาดเงินสะพัดกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ดร. ใจ ซิงห์ (Dr. jai Singh) ประธานสมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (APSA) กล่าวว่า “เมล็ดพันธุ์เป็นปัจจัยอันดับแรกที่มีความสำคัญต่อชีวิตตลอดจนคุณภาพและปริมาณของผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ และสร้างมูลค่าเพิ่มกับอุตสาหกรรมอาหารโลกอย่างต่อเนื่อง ในวาระครบรอบ 15 ปีของการก่อตั้งสมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (APSA) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ ตลาดอุตสาหกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ และพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการของงานวิจัยเมล็ดพันธุ์การเกษตร APSA ก่อตั้งในปี 1994 โดยองค์การอาหารและเกษตร (FAO) แห่งสหประชาชาติ โดยยึดมั่นแนวทางเกษตรที่ยั่งยืนทั้งในด้านการผลิตและการค้าเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อประชากรโลก จากจุดเริ่มต้นมีสมาชิกก่อตั้งกว่า 100 ราย, ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกรวมทุกประเทศกว่า 400 ราย ซึ่งไม่เพียงมาจากเอเซียแปซิฟิคเท่านั้นแต่ยังมาจากทุกภูมิภาคทั่วโลก เช่น ยุโรป, อัฟริกา, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้ โดยสมาชิกมาจากประเทศอินเดียมากที่สุด, รองลงมาคือจีนและญี่ปุ่น ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคมีที่ดินเพาะปลูกคิดเป็น 21 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่การเกษตรโลก และมีประชากรคิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดของโลกในการที่จะหล่อเลี้ยงอาหารแก่ประชากรจำนวนมหาศาลนี้ความมั่นคงทางอาหารของแต่ละประเทศ (Food Security) ของแต่ละประเทศจึงมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ, สำหรับมูลค่าอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของโลกรวมประมาณ 32 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในจำนวนนี้กว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นผลผลิตจากเอเซีย ซึ่งครึ่งหนึ่งของมูลค่านี้ หรือประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯมาจากจีน สำหรับมูลค่าการส่งออกเมล็ดพันธุ์ผักและพืชการเกษตรในภาคพื้นเอเซียแซิฟิคกว่า 450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีญี่ปุ่น, จีน, ประเทศไทย, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของภูมิภาคตามลำดับ นอกจากนี้ญี่ปุ่นและจีนยังเป็นผู้นำเข้าเมล็ดพันธุ์จากทั่วโลกอันดับต้นๆ ของเอเซียแปซิฟิค รวมมูลค่ากว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วย, นโยบายในการดำเนินงานปี 2552 สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิคเสริมสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับภาครัฐ ทั้งเรื่องของนโยบาย การรับประกันราคาพืช ช่วยทำให้การดำเนินงานของ APSA มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งความเข้าใจอันดีระหว่างภาคเอกชนและรัฐบาล จากการประชุมของสมาชิกและองค์กรภาครัฐจากนานาประเทศ ทำให้สมาชิกมีความเข้าใจและมีการพัฒนาปรับปรุงข้อบังคับเรื่องเมล็ดพันธุ์ เช่น กฎหมายการนำเข้า — การส่งออกให้เหมาะสมยิ่งขึ้น, ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ นั้น มีการฝึกอบรมพัฒนาเทคนิคการทดสอบเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ ให้เกิดความเชื่อถือและยอมรับในระดับโลก ร่วมกับสมาคมทดสอบเมล็ดพันธุ์นานาชาติ (International Seed Testing Association) หรือ ISTA ซึ่งเป็นมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ที่ยอมรับทั่วโลก พัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่องทั้งในภาครัฐและเอกชน เนื่องจากอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ต้องใช้ทักษะและความรู้ด้านเทคนิคระดับสูง ในส่วนของการเสริมสร้างมาตรฐานเมล็ดพันธุ์นั้น ทางสมาคมฯ ได้ร่วมมือกับสถาบันต่างๆ ในการวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ การป้องกันและต่อต้านแมลงศัตรูพืช และโรคต่างๆ รวมทั้งการอนุรักษ์พันธุ์พืชในแต่ละท้องถิ่น โดยส่งเสริมการเพาะเมล็ดพันธุ์พืชพื้นบ้านในภูมิภาค คณะกรรมการจาก APSA สนับสนุนให้มีการจดทรัพย์สินทางปัญญาในการเพาะปลูกในแต่ละภูมิภาค และดูแลในเรื่องของคุณภาพเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชที่มีคุณภาพ และส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีๆ ไปยังผู้บริโภค ทางสมาคมฯ ได้เตรียมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิกในแต่ละภูมิภาค โดยการเปิดโอกาสให้สมาชิกไปเยี่ยมชมประเทศที่มีความแตกต่างกัน เพื่อที่จะได้เข้าใจระบบอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ในแต่ละภูมิภาค รวมทั้งได้เตรียมกิจกรรมที่มุ่งเน้นในเรื่องของจริยธรรมและตระหนักถึงการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม สำหรับการประชุม Asian Seed Congress 2009 เป็นการจัดในเมืองไทยครั้งที่ 4 และเป็นครั้งที่ 15 ของภาคพื้นเอเซียแปซิฟิค ภายใต้ธีมหลัก “เมล็ดพันธุ์เพื่ออาหารของโลก” (Seed For Global Food) โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติ (สสปน.) กำหนดจัดงานในวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2552 ในกรุงเทพมหานคร นับเป็นงานใหญ่ประจำปีของ APSA ซึ่งไม่เพียงแต่ความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนจากภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิคเท่านั้น แต่รวมถึงวงการอุตสาหกรรม นักวิชาการจากทุกทวีปทั่วโลกด้วย ถึงแม้โลกจะก้าวหน้าไปด้วยเทคโนโลยี แต่ยังมีประชากรอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตทางอาหารเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมมีผลต่อฤดูกาลเก็บเกี่ยว รวมทั้งภัยพิบัติต่างๆ การเพิ่มพื้นที่การเกษตรและการเพิ่มผลผลิตต่อไร่จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ภายในงานจะมีการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งทางเทคนิควิชาการ และการเจรจาทางธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง โครงการต่างๆ ในอนาคต ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้เตรียมการจัดนิทรรศการภายในบริเวณงานสำหรับสมาชิก เพื่อนำเสนอนวัตกกรม, ผลิตภัณฑ์, บริการ เพื่อขยายฐานลูกค้า โดยคาดว่ามีมูลค่าทางธุรกิจสูงถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นางสุประภา โมฬีรตานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการประชุมนานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. กล่าวในฐานะหน่วยงานรัฐผู้ให้การสนับสนุนการจัดประชุมว่า “ในฐานะหน่วยงานรัฐที่มีพันธกิจหลักในการส่งเสริมการจัดประชุมและงานแสดงสินค้านานาชาติ สสปน. รู้สึกเป็นเกียรติที่มีส่วนในการให้การสนับสนุนการประชุมนานาชาติ Asian Seed Congress 2009 ซึ่งสสปน.มีส่วนร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย และสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทยอย่างใกล้ชิด ทั้งด้านการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการประชุมโดยทั่วไปและประสานงานด้านการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืชที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจไทยในระดับมหภาค สสปน. เชื่อมั่นว่าการที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพการจัดประชุม Asian Seed Congress 2009 ครั้งนี้ จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืชไทย และเปิดโอกาสให้เมล็ดพันธุ์พืชของไทยเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธ์ทั่วโลกมากขึ้น และยิ่งไปกว่านั้นนับเป็นโอกาสดีที่ชาวต่างประเทศจะได้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะรองรับการประชุมนานาชาติ มีความงดงามทางวัฒนธรรม และสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ อีกมากมาย โดยคาดว่าจะมีรายได้จากการประชุมในครั้งนี้ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 30 กว่าล้านบาท ด้านนาย วินิจ ชวนใช้ เลขาธิการสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) กล่าวว่า ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ดีแห่งหนึ่งของโลก และมีศักยภาพที่ก้าวสู่การเป็นฮับเมล็ดพันธุ์ได้ เนื่องจากมีภูมิอากาศที่หลากหลายทั้งร้อนและเย็นเหมาะแก่การผลิตเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรรายย่อยมีฝีมือ มีความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดิน โดยปัจจุบันมีบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเมล็ดพันธุ์ในไทยกว่า 100 บริษัท ซึ่งทีทั้งบริษัทของคนไทยและชาวต่างชาติ ก่อให้เกิดการจ้างงานในภาคเกษตรมากกว่า 28,000 ครอบครัว โดยเฉพาะหลังฤดูเก็บเกี่ยวเป็นการบรรเทาปัญหาการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาทำงานในเขตเมือง นอกจากนี้เมล็ดพันธุ์ยังเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานสำคัญที่สร้างมูลค่าเพิ่ม และมาตรฐานคุณภาพของอุตสาหกรรมอาหารในรูปแบบต่างๆ ที่สร้างรายได้แก่ประเทศมหาศาล อาจกล่าวได้ว่าคุณภาพที่ดีของอาหารมาจากเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพนั่นเอง มูลค่าการค้าเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทยมีมูลค่าต่อปีประมาณ 6,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเมล็ดพืชไร่ 3,000 ล้านบาทและเมล็ดพืชผัก 3,000 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มตลาดอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ปี 2552 นี้ สำหรับตลาดข้าวโพดจะอยู่ที่ราว 18,000 ตัน และมีแนวโน้มลดลงในรุ่นที่สองที่ปลูกในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม รวมทั้งข้าวโพดหลังนา เนื่องจากราคาผลผลิตรุ่นแรกตกต่ำ ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และถั่วเขียวผิวมัน เป็นต้น ส่วนการแข่งขันเมล็ดพันธุ์ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีให้เกษตรกรเลือกอย่างเพียงพอ ในขณะที่ตลาดเริ่มหดตัว ขณะเดียวกันทางสมาคมฯ เองได้จัดโครงการที่ช่วยให้เกษตรกรได้เข้าถึงเมล็ดพันธุ์ใหม่คุณภาพดีอย่างโครงการ “ร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพ” ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อพัฒนาร้านค้าจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ให้ปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้ได้มาตรฐานตามกฎหมาย และมีความรู้เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์เป็นอย่างดี ในการที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกรที่ซื้อเมล็ดพันธุ์ว่าได้รับเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานจากร้านที่มีป้าย “ร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพ” และทางสมาคมฯ ก็มีนโยบายที่จะขยายร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้มีร้านค้าที่ร่วมโครงการกว่า 300 ร้านค้า คาดว่าภายในปี 2553 จะมีจำนวนร้านค้าเพิ่มมากถึง 500 ร้าน ทั้งนี้มองว่าในส่วนของภาครัฐบาลต้องผลักดันให้กฎหมาย พรบ.คุ้มครองพันธุ์พืชปี 2543 ให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของกฎหมายอย่างแท้จริง และหาทางออกให้กับกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในทางปฏิบัติ ความเข้มงวดเรื่องการใช้กฎหมายเมื่อมีการละเมิดสิทธิ์ด้านต่างๆ การสนับสนุนเรื่องการนำเข้า-ส่งออกให้มีความคล่องตัว เป็นต้น ซึ่งตามปกตินโยบายของรัฐก็สนับสนุนให้เอกชนเข้ามาทำวิจัยและปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ข้าวโพดไร่ ข้าวโพดหวาน เป็นต้น นับเป็นวิธีที่จะยืนยันถึงการปรับปรุงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งเอกชนและหน่วยงานของรัฐต่างก็มีพันธุ์พืชเป็นของตัวเองที่พัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 02-655-3131 โทรสาร 02-655-3124 อีเมล์ brainasia@hotmail.com

แท็ก เอเชีย   asian  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ