ภาวะตลาดและแนวโน้มราคาทองคำแท่ง ประจำวันที่ 10 ส.ค.52 โดยวายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 10, 2009 11:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 ส.ค.--วีม คอมมูนิเคชั่น ประเด็นสำคัญในการลงทุนทองคำแท่ง (Gold SPOT) ปัจจัยสำคัญด้านพื้นฐาน — วันนี้ราคาทองคำมีแนวโน้มลดลงในวันนี้ หลังดอลลาร์แข็งค่าขึ้น จากคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นเร็วกว่าเดิม หลังสัญญาณบ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ผ่านพ้นช่วงเลวร้ายที่สุดชัดเจนมากขึ้น ทำให้นักลงทุนเลี่ยงการลงทุนในสกุลเงินและสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ซึ่งรวมไปถึงเงินยูโร น้ำมันและทองคำ กรอบการเคลื่อนไหวเชิงเทคนิคราคาทองคำแท่ง (Gold SPOT) ปัจจัยสำคัญด้านเทคนิคระยะสั้น — Directional Indices บ่งบอกว่าตลาดระยะสั้นยังขาดทิศทางที่ชัดเจน, MACD 30 นาทีเคลื่อนตัวอยู่ในแดนลบทำให้ดูราคาเป็นลบ, MACDF 30 เคลื่อนตัวอยู่ใกล้ 0 ทำให้ถือเป็นระดับ Neutral และทำให้ดูว่าตลาดยังขาดทิศทางที่ชัดเจน, Fast Stochastic เคลื่อนตัวอยู่ใกล้เส้น Trigger ด้านล่างทำให้ ราคามีโอกาสจะกลับมาบวก, RSI 30 นาทีอยู่ที่ระดับ 17.495 ถือเป็นระดับ oversold ทำให้ดูว่าราคามีโอกาสปรับตัวขึ้น, ทิศทางตลาดระยะสั้นดูเป็น Sideways แนวรับแนวต้านของวันอยู่ที่ $950-$961 ค่าเงินบาทในวันนี้อยู่ที่ระดับ ฿33.93-฿34.02 ปัจจัยสำคัญด้านเทคนิคระยะกลาง — Directional Indices บ่งบอกว่าตลาดระยะกลางเป็นบวก, RSI อยู่ที่ระดับ 51.137 ถือเป็นระดับ Neutral และทำให้ดูว่าตลาดระยะกลางยังขาดทิศทางที่ชัดเจน, MACD เคลื่อนตัวอยู่ในแดนบวก ทำให้ดูราคาเป็นบวก, MACDF เคลื่อนตัวอยู่ในแดนบวกทำให้ดูราคาเป็นบวก, Fast-Stochastic เคลื่อนตัวลงทำให้ราคามีโอกาสปรับตัวลงต่อในช่วงนี้, ทิศทางตลาดระยะกลางเป็นตลาด Sideways-up โดยจะใช้แนวต้านที่ $990 เป็นต้านระยะกลางที่สำคัญ ส่วนแนวรับระดับกลางอยู่ที่ $927 และ $912 ราคาทองคำแท่งที่ร้านค้าปลีกปิดล่าสุด (เส้นสีแดง = 15,400 บาท) ซึ่งต่ำกว่าราคาทองคำแท่ง (SPOT) ในตลาดโลกเช้านี้ (เส้นสีน้ำเงิน = 15,410 หรือที่ $953.90) แสดงถึงราคาทองคำแท่ง ณ. หน้าร้านขายปลีก มีส่วนลดจากราคาในตลาดโลก อยู่ 10 บาท ขณะที่ราคาของ GFQ09 เมื่อวานนี้ปิดตลาดอยู่ที่ 15,410 บาท ซึ่งเท่ากับราคาในตลาดโลก ซึ่งเท่ากับว่า GFQ09 มีส่วนลดน้อยกว่าที่ร้านค้าปลีก ดังนั้น การเปิดสถานะขาย (Short) GFQ09 แล้ว ซื้อ (Long) ทองคำแท่งที่ร้านทอง จะทำให้มีส่วนต่างของกำไรที่คาดหวัง อยู่ที่ 10-0 = 10 บาทต่อทองคำแท่ง 1 บาท จึงยังไม่คุ้มค่ากับค่าคอมมิชชั่น (ประมาณ 120 บาทต่อ 1 บาททอง) และดอกเบี้ยในการหากำไรจากส่วนต่างราคาได้ในวันนี้ ข่าวสารสำคัญเพื่อประกอบการลงทุน ปัจจัยบวก ธนาคารกลางยุโรป — ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เผยผลการประชุมว่า ธนาคารกลางต่างๆในยุโรปได้เห็นพ้องกันที่จะต่ออายุข้อตกลงในการจำกัดปริมาณการขายทองสำหรับช่วง 5 ปีข้างหน้าซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 27 ก.ย.นี้ แต่ได้ปรับลดปริมาณทองสูงสุดที่จะสามารถขายได้ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว ทั้งนี้ ECB ระบุว่า เพดานโดยรวมของการขายทองในช่วง 5 ปีข้างหน้าจะมีการปรับลดลงมาอยู่ที่ 2,000 ตัน จากปัจจุบันที่ 2,500 ตัน ขณะที่การขายรายปีจะไม่เกิน 400 ตัน ค่าเงินบาท — ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง +2 สต. มาที่ 33.98 บาท จากที่ปิด 33.96 บาทต่อดอลลาร์เมื่อวันก่อนหน้า โดยยังคลื่อนไหวในกรอบแคบ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นๆ โดยนักลงทุนยังรอดูผลการประชุมเฟดในสัปดาห์หน้าว่าจะมีสัญญาณออกมาอย่างไร ขณะที่เช้านี้เงินบาทยังทรงตัวที่ 33.98 บาทต่อดอลลาร์ โดยมีแนวรับสำคัญที่ 33.93 บาทและ 33.87 บาทตามลำดับ ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 34.02 บาทและ 34.05 บาท ปัจจัยลบ ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ - กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า นายจ้างสหรัฐปรับลดตำแหน่งงานลง -2.47 แสนตำแหน่งในเดือนก.ค. โดยเป็นการปรับลดที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.ปี 2008 และส่งผลให้อัตราการว่างงานร่วงลงสู่ 9.4 % ในเดือน ก.ค. จาก 9.5 % ในเดือนมิ.ย. ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังจะออกจากภาวะถดถอยขั้นรุนแรงและอาจจะสิ้นสุดลงก่อนสิ้นปีนี้ โดยภาคเศรษฐกิจทุกภาคในขณะนี้ต่างก็ชะลอการดิ่งลง ซึ่งรวมถึงยอดขายบ้านและตัวเลขภาคการผลิตต่างก็บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจจะเริ่มออกจากภาวะถดถอย ทำให้ผลสำรวจของรอยเตอร์กับความเชื่อที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นภายในสิ้นปีนั้น ได้เพิ่มสูงขึ้นมาที่ 46 % จาก 34 % ก่อนเปิดเผยตัวเลขจ้างงานเมื่อเดือนที่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ก็ได้สร้างความมั่นใจแก่ตลาดว่าเฟดอาจจะยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอย่างมาก หากภาวะทางเศรษฐกิจมีความเหมาะสม แต่เขาคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ที่ระดับต่ำไปจนถึงปี 2010 (ติดตามการประชุมของ FED ในคืนวันอังคารนี้) ค่าเงินดอลลาร์ — ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น -$0.0166 เมื่อเทียบเงินยูโร มาที่ $1.4180 จากที่ปิด $1.4346 เมื่อวันก่อนหน้า หลังข้อมูลว่าการเลิกจ้างในสหรัฐได้ชะลอตัวลงเดือนที่แล้ว ซึ่งยิ่งเน้นย้ำความเชื่อในช่วงที่ผ่านมาว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเริ่มปรับตัวดีขึ้นก่อนประเทศอื่นๆ ซึ่งในท้ายที่สุดจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นและจะช่วยหนุนมูลค่าของสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ ดังนั้น ดอลลาร์จึงได้พุ่งขึ้นเทียบยูโร ซึ่งสวนทางกับแนวโน้มในช่วงที่ผ่านมที่ดอลลาร์มีแนวโน้มร่วงลง ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ดีขึ้น ทำให้นักลงทุนกลับเลี่ยงการลงทุนในสกุลเงินและสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงและให้ผลตอบแทนสูง เช่น สินค้าโภคภัณฑ์และเงินยูโร ขณะที่เช้านี้ดอลลาร์กลับอ่อนค่าลง +$0.0023 มาที่ $1.4203 ราคาน้ำมันดิบ — ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเดือน ก.ย. ขยับลง -$1.01 มาปิดที่ $70.93 ต่อบาร์เรล หลังตัวเลขการจ้างงานที่น่าพึงพอใจของสหรัฐช่วยกระตุ้นให้ดอลลาร์พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และลดความน่าดึงดูดของสินค้าโภคภัณฑ์ ขณะที่เช้านี้ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเดือน ก.ย. ร่วงลงอีก -$0.47 มาอยู่ที่ $70.46 ต่อบาร์เรล กองทุนทองคำ — SPDR กองทุนทองคำใหญ่ที่สุดในโลก รายงานการเข้าถือทองคำถึง ณ. 7 ส.ค.52 ลดลง -3.97 ตันจากวันก่อนหน้า รวมถือทองคำไว้ทั้งสิ้น 1,068.90 ตัน เทียบเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.28 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 34.37 ล้านออนซ์ ปัจจัยที่ต้องเฝ้าติดตาม ธนาคารกลางสหรัฐและญี่ปุ่น — ธนาคารกลางทั้ง 2 แห่งจะมีการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันอังคารที่ 11 ส.ค. นี้ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโซนอื่นๆ - นายนาโม นาเรน มีนา รมว.คลังอินเดียกล่าวว่า ธนาคารกลางของอินเดีย (RBI) มีแนวโน้มจะยังคงรักษาจุดยืนทางการเงินเชิงผ่อนคลายจนกว่าเศรษฐกิจจะแสดงสัญญาณการฟื้นตัว โดยล่าสุด RBI ไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและเพดานเงินสำรองของธนาคาร และย้ำว่า RBI ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อการส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ผู้อำนวยการทั่วไปของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) แสดงความเป็นห่วงว่า เศรษฐกิจเอเชียจะเผชิญความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดมากกว่าจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งต่างจากธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ที่ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยออสเตรเลียอาจไต่ขึ้นสู่ระดับใกล้ปกติในอนาคต ถ้าหากเศรษฐกิจยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อไปถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำถือเป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับภาวะปัจจุบันนี้ ทำให้ดอลลาร์ออสเตรเลียขยับขึ้นทันที หลังจาก RBA ส่งสัญญาณของการยุตินโยบายผ่อนคลายทางการเงินครั้งใหญ่

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ