กรุงเทพฯ--11 ส.ค.--สสวท.
เมื่อวันที่ วันที่ 7-8 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา เยาวชนที่มีใจรักคณิตศาสตร์ได้มารวมตัวกันอย่างคึกคัก เพื่อร่วมกันประกวดผลงานสร้างสรรค์ของคนมีความสามารถทางคณิตศาสตร์ โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ของ สสวท. ระดับภูมิภาค จำนวน 20 ศูนย์ทั่วประเทศ
ศูนย์ประกวดดังกล่าว ได้แก่ ศูนย์โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช สตรีสิริเกศ ศรีสงครามวิทยา สตรีราชินูทิศ กาฬสินธิ์พิทยาสรรพ์ ขอนแก่นวิทยายน เฉลิมขวัญสตรี นวมินทราชูทิศพายัพ สามัคคีวิทยาคม ท่าใหม่ “พูลสวัสดิ์ราษฎร์นุกูล” รัตนราษฎร์บำรุง ธัญรัตน์ พิบูลวิทยาลัย สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี สุราษฏร์ธานี หาดใหญ่วิทยาลัย ศรียาภัย เมืองถลาง กัลยาณีศรีธรรมราช และโรงเรียนพรหมานุสรณ์ซึ่งมีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นหน่วยงานหลักในการจัดประกวดครั้งนี้
โดยกรรมการของแต่ละศูนย์ ฯ ได้คัดเลือกผลงานที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต้นเข้ามานำเสนอผลงานในวันแรกของการประกวด (7 ส.ค. 2552) และคัดเลือกไว้เพื่อเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศในวันที่สองของการประกวด (8 ส.ค. 2552) สำหรับการประกวดรอบแรก ระดับประถมศึกษา สร้างผลงาน หัวข้อ โรงเรียนของฉัน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สร้างผลงานหัวข้อ บ้านประหยัดพลังงาน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สร้างผลงานหัวข้อ เมืองประหยัดพลังงาน และรอบชิงชนะเลิศตามโจทย์ของคณะกรรมการโรงเรียนธัญรัตน์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เป็นหนึ่งในศูนย์ประกวดผลงานสร้างสรรค์ของคนมีความสามารถทางคณิตศาสตร์ โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ซึ่งเปิดรับสมัครนักเรียนจากจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปราจีนบุรีและสุพรรณบุรี เข้าร่วมประกวด ทีมละ 2 คน โรงเรียนละไม่เกิน 2 ทีม นอกจากนั้นเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 2 ยังได้ติดต่อเขตพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา ส่งกรรมการมาร่วมคัดเลือกและตัดสินการประกวด จังหวัดละ 3 ท่านไปดูการนำเสนอผลงานรอบแรก ในหัวข้อโรงเรียนของฉัน ของวัยซน ชั้นประถมศึกษากันบ้าง ว่าเขาสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้โปรแกรม GSP กันอย่างไร เช่น โรงเรียนวัดเขียนเขต ทีม 2 เล่าว่า ใช้หลักการเลื่อนขนาน การทำซ้ำ การหมุน มาออกแบบสนามเด็กเล่น ชิงช้า และกระดานหก ในโรงเรียน โรงเรียนวัดอัยยิการาม ทีม 1 อธิบายว่า การเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ทำใช้หลักการการแปลงทางเรขาคณิต การเลื่อนขนาน การหมุน การสร้างก้อนเฆฆ สร้างส่วนโค้งผ่านจุด 3 จุดให้เคลื่อนที่ ตัวนักเรียนสร้างจากเมนูการแปลง การเลื่อนขนาน สะท้อนเพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียน แล้วสั่งให้เคลื่อนที่ สร้างจักรยานจากรูปวงกลม การแปลง การเลื่อนขนาน สั่งให้จักรยานเคลื่อนที่แล้วใช้การสะท้อนเพิ่มจำนวน ประตูเปิดปิดได้ สร้างจากการยืดหดและการสะท้อน เป็นต้น
ส่วนรอบชิงชนะเลิศ นักเรียนที่เข้าร่วมประกวดทั้ง 3 ระดับ ได้รับคำสั่งทำโจทย์แก้ปัญหา และสร้างรูปคณิตศาสตร์ จึงจะมีเนื้อหาและความยากต่างกันในแต่ละช่วงชั้น นอกจากนั้น นักเรียนทุกระดับยังจะต้องสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้โปรแกรม GSP ในหัวข้อ “สัปดาห์วิทยาศาสตร์” ตามจินตนาการของแต่ละทีม จินตนาการของนักเรียนแต่ละทีม แตกต่างกันออกไป เช่น โรงเรียนศรีจิตรา ทีม 2 ระดับ
ประถมศึกษา สร้างสรรค์งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ให้มีนักวิทยาศาสตร์ทดลองทางเคมี มีตู้ปลา และน้ำตกจำลอง โรงเรียนวัดเขียนเขตทีม 2 ระดับประถมศึกษา สร้างมนุษย์ต่างดาว กล้องดูดาว ท้องฟ้าที่มีดวงดาวมากมาย และมีดาวตกที่เคลื่อนไหวได้ รวมทั้งมีต้นไม้ปีศาจล่อแมลงที่บินมาใกล้ ๆ เพื่อกินเป็นอาหาร ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อย่าง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ทีม 1 สร้างสรรค์ผลงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ในรูปแบบของตึกลูกเต๋า องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนโรงเรียนสายปัญญารังสิต สร้างผลงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์สวยงาม เต็มรูปแบบ ที่พยายามใช้หลักการทางเรขาคณิตต่าง ๆ เข้ามาสร้างงาน การแข่งขันครั้งนี้มี เกณฑ์การตัดสิน ที่วัดจากความสมบูรณ์และถูกต้องของผลงานที่ทำ ความสวยงาม ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ใช้มีความหลากหลายและมีความเป็นพลวัต มีแนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีการนำเสนอที่สื่อความหมายได้ สอดคล้องและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวผลการประกวด ฯ ที่ศูนย์โรงเรียนธัญรัตน์ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา เหรียญทอง โรงเรียนศรีจิตรา ทีม 1 และโรงเรียนศรีจิตรา ทีม 2 เหรียญเงิน โรงเรียนอุดมวิทยา ผ่องสุวรรณวิทยา วัดเขียนเขต ทีม 1 และวัดอัยยิการาม ทีม 2 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เหรียญทอง โรงเรียนธัญรัตน์ทีม 1 เหรียญเงิน โรงเรียนธัญรัตน์ ทีม 2 สายปัญญารังสิต สตรีสมุทรปราการ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการลำลูกกา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เหรียญทอง โรงเรียนธัญรัตน์ทีม 1 และทีม 2 เหรียญเงิน ปราจิณราษฎรอำรุง ทีม 1 และทีม 2 สายปัญญารังสิต ทีม 1 และทีม 2 อาจารย์วัชรศักดิ์ จิตรแน่น หัวหน้าหมวดคณิตศาสตร์ ร.ร. ธัญรัตน์ วิทยากรแกนนำวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา ของ สสวท. ซึ่งเป็นหัวแรงใหญ่ในการจัดแข่งขันครั้งนี้ กล่าวว่า สำหรับการจัดประกวดครั้งนี้ มีความผมพอใจในระดับหนึ่ง เพราะเราได้อบรมครูให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ในเครือข่ายไปแล้ว ครูนำไปใช้สอนนักเรียนแล้ว และนักเรียนมีผลงานออกมาให้เห็น “การประกวดครั้งนี้ ถ้าไม่ไปเทียบกับเขตอื่นที่เด็กได้พัฒนาไปไกลแล้ว ผมพอใจมาก เพราะว่าผลงานนักเรียนออกมาค่อนข้างดี โดยเฉพาะผลงานการออกแบบสร้างสรรค์นั้นทำได้ดี ถึงแม้ว่าเราเพิ่งได้ขยายผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ไปเมื่อไม่กี่ปี”
อาจารย์วัชรศักดิ์ อธิบายต่อว่า ในส่วนของ ร.ร. ธัญรัตน์ ได้เปิดศูนย์การอบรมครูด้วยโปรแกรม GSP ซึ่งขยายผลจาก สสวท. มา 2 ปี แล้ว การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์จะคึกคัก โดยโรงเรียนได้เปิดห้องคณิตศาสตร์ที่มีคอมพิวเตอร์และมีโปรแกรมนี้ใช้ เด็กสนใจมาใช้ห้องคณิตศาสตร์กันมากขึ้นเรื่อย ๆ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน NT วิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนในปีนี้ก็สูงขึ้น เราคิดว่าส่วนหนึ่ง
เป็นผลมาจากการพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ด้วย
นอกจากนั้น ร.ร. ธัญรัตน์เป็นศูนย์คณิตศาสตร์ของ สพท. ปทุมธานี เขต 2 จึงได้นำความรู้เกี่ยวกับ GSP ไปเผยแพร่ให้โรงเรียนอื่น ๆ ใน สพท. ปทุมธานี เขต 2 และ ร.ร. ยังเป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาของจังหวัดปทุมธานีก็นำตรงนี้มาขยายผลอีก ตอนนี้มีเครือข่าย 126 โรงเรียนที่ผ่านการอบรม GSP จากศูนย์อบรมนี้แล้ว นอกจากโรงเรียนธัญรัตน์ จะได้นำโปรแกรม GSP ไปใช้จัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแล้ว นักเรียนโปรแกรมศิลปะ ยังได้นำ GSP ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบ เวลาที่จัดแข่งขันกีฬาสี แล้วมีการแปรอักษร นักเรียนก็จะใช้โปรแกรมนี้ออกแบบก่อน ค่อยนำไปใช้จริง ผู้อำนวยการโรงเรียนได้แนะนำ แนะนำให้หมวดคณิตศาสตร์ นำความรู้เกี่ยวกับ GSP ไปขยายผลให้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง เช่น การเรียนการสอนเรื่องรอก ในวิชาฟิสิกส์ หรือเนื้อหาอื่น ในวิชาเคมี ตอนนี้กำลังประสานกันอยู่นายเชาวฤทธิ์ ชัยสุริยะพันธ์ (หม่อง) ม. 6 โรงเรียนธัญรัตน์ รางวัลเหรียญทอง ระดับ ม.ปลาย เล่าว่า ก่อนที่จะมาประกวดระดับภูมิภาค ได้ทบทวนเนื้อหาเรื่องฟังก์ชั่นและเนื้อหาบทเรียนคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ระดับ ม. ปลาย ผลงานการประกวดที่ทำได้ดีคือผลงานการสำรวจฟังก์ชัน กราฟพาราโบลา ฝึกแก้โจทย์ และมองภาพทางเรขาคณิตให้เห็นชัดเจน
“โปรแกรม GSP ทำให้มองเห็นภาพของคณิตศาสตร์มากขึ้น จากรูปธรรมเป็นนามธรรม การทำงานบน GSP เราต้องรู้จักวางแผนงานก่อนการลงมือทำ เหมือนการใช้ชีวิตของเราถ้าเราไม่มีการวางแผนเราก็จะไม่มีจุดมุ่งหมายในชีวิต เทคนิคการเรียนรู้ GSP ของผมคืออ่านบทเรียนหรือเนื้อหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโปรแกรม แล้วมาฝึกฝน จนเคยชินกับโปรแกรม ดีใจมากครับที่ได้รางวัล เพิ่งลงแข่งขันครั้งแรก ไม่คิดว่าจะได้เหรียญทอง ก่อนไปแข่งระดับประเทศ ก็จะเตรียมตัว ทบทวนเนื้อหาและฝึกซ้อมอย่างเคร่งครัด”
เด็กชายตะวัน ระภานุสิทธิ์ (ตะ) ม. 2 ร.ร.สายปัญญารังสิต เหรียญเงิน ระดับ ม. ต้น เล่าว่า ก่อนมาแข่งได้ฝึกซ้อมที่โรงเรียน ฝึกการทำโจทย์ข้อสอบเก่าๆ ของปีที่แล้ว คิดว่า ส่วนที่ทำให้ได้รางวัล คิดว่าน่าจะเป็นผลงานสร้างสรรค์บอลลูนรักแม่ การเรียนรู้ GSP ต้องฝึกฝนให้บ่อย ๆ ครับ เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนคอมพิวเตอร์กับคณิตศาสตร์
เด็กหญิงนวพร ทองเสมียน (พร) ม. 2 ร.ร.สายปัญญารังสิต เหรียญเงินระดับ ม. ต้น กล่าวว่า การเตรียมตัวก่อนแข่งมีการฝึกทำข้อสอบจากปีก่อน ๆ และร่วมกับเพื่อนลองฝึกเทคนิคต่าง ๆ ลองดูตัวอย่างจากหลายๆ แห่งแล้วมาดัดแปลง ประทับใจการร่วมมือกันกับเพื่อนในทีมเพื่อระดมความคิดกันออกแบบผลงาน การเรียนรู้โปรแกรม GSP เป็นการฝึกความเข้าใจของเรา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบทเรียนคณิตศาสตร์ GSP ช่วยในการเรียนคณิตศาสตร์ ทำให้เรียนได้เข้าใจมากขึ้น ต่อไปจะพยายามฝึกซ้อมให้มากขึ้น
เด็กหญิงธนากานต์ ตั้งเจริญสุงธม (มินท์) ป. 6 ร.ร.ผ่องสุวรรณวิทยา เหรียญเงินระดับประถมศึกษา บอกว่า ได้เรียนรู้การใช้ GSP เอามาพิสูจน์รูปเรขาคณิต ทำให้รู้จักว่ารูปสี่เหลี่ยนมีกี่องศา ทำอย่างไรให้เป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่า ชอบเรียนคณิตศาสตร์มาก GSP เรียนไม่ยาก ขั้นตอนไหนที่ไม่เข้าใจ ก็ถามคุณครู บางครั้งพี่ที่เรียน ม. 5 แล้วก็ช่วยสอนให้ด้วย
ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในรอบภูมิภาค จะมาร่วมประกวดผลงานสร้างสรรค์ของคนมีความสามารถทางคณิตศาสตร์ โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ของ สสวท. ระดับประเทศ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2553