กรุงเทพฯ--14 ส.ค.--SAP
PLATINUM Circle องค์กรเอกชนชั้นนำจากประเทศสิงคโปร์ ร่วมกับ SAP บริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากประเทศเยอรมันนี และ Asian Development Bank จัดงานประชุมสัมมนา ‘Asia Leadership Dialogues 2009’ ครั้งที่ 2 ขึ้นในประเทศไทย
ความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
จะชลอการเจริญเติบโตในภูมิภาคเอเชีย.....
ประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย กล่าวอย่างเป็นห่วง
เพื่อให้ได้ความเจริญที่เป็นจริง มั่นคง และรวดเร็ว ประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรวมตัวกันเป็นภูมิภาค มร. ราจัท เอ็ม นาค (Rajat M. Nag) ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank — ADB) กล่าวขณะบรรยายในหัวข้อเรื่อง “ความเป็นผู้นำในเอเชียยุคใหม่” หรือ “Leadership in new Asia” ภายในงานเสวนา Asia Leadership Dialogues 2009 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่สอง ณ โรงแรม คอนราด กรุงเทพฯ โดย แพลทตินัม เซอร์เคิล (PLATINUM Circle) หน่วยงานเอกชนจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งประกอบด้วยองค์กรเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่รอบโลก และ SAP บริษัทซอร์ทแวร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากประเทศเยอรมันนี
เอเชียเป็นภูมิภาคที่ได้รวมความแตกต่างในด้านต่าง ๆ เอาไว้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็น ทางภูมิประเทศ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งความหลากหลายเหล่านี้ ได้ทำให้เกิดห่วงโซ่กลไกพิเศษที่จะช่วยขับเคลื่อนความเจริญเติบโตทั้งในด้านการเศรษฐกิจและการค้า
“ในขณะที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังดำเนินไป แต่ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมกลับทวีเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ผลที่ตามมาคือการปรากฏขึ้นของสองโฉมหน้าของภูมิภาคเอเชีย หรือ “Two Faces of Asia” เช่น ความเจริญรุ่งเรืองของกรุงปักกิ่งและเมืองมุมไบ ช่างขัดกับสลัมและเขตชนบทที่กว้างใหญ่ไพศาลและเสื่อมโทรมที่สุดในโลก เป็นที่ซึ่งชาวนาผู้ที่อาศัยอยู่ในป่า และชาวประมงหลายล้านคนแทบจะไม่สามารถเลี้ยงชีพตัวเองได้ โดยมีการคาดการณ์กันว่า สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สถานการณ์ความยากจนเลวร้ายลง ดังนั้น เพื่อให้ทวีปเอเชียสามารถเจริญเติบโตบนรากฐานที่เท่าเที่ยมกันและมั่นคง ความช่วยเหลือจึงจำเป็นต้องมาจากทั้งระดับประเทศ ภูมิภาค หรือแม้กระทั่งระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินของโลกที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้”
มร. ไลโอเนียล ลี (Lionel Lee) ประธานแพลทตินัม เซอร์เคิล ได้กล่าวเสริมว่า “วิกฤติทางการเงินเป็นปัญหาทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ถึงแม้ว่าจะมีการชะลอตัวของเศรษฐกิจในระดับโลก แต่เศรษฐกิจในภูมิภาคกลับรักษาระดับการเจริญเติบโตเอาไว้ได้ ทั้งยังจะมีปริมาณมากกว่าร้อยละ 25 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในของเศรษฐกิจโลก ในปี ค.ศ. 2020 อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความสำเร็จเหล่านี้ เอเชียยังคงเผชิญกับปัญหาความยากจน ถึงแม้ว่า ทวีปเอเชียสามารถพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในทศวรรษที่ผ่านมา ภูมิภาคนี้ยังคงเผชิญกับวิกฤติทางสังคม เช่น การศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ภาวะขาดสารอาหาร และช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนที่กำลังขยายกว้างขึ้น ปัญหาเหล่านี้ผู้นำในเอเชียหลังภาวะวิกฤติ จึงจำเป็นต้องเป็นผู้นำใน “ระบบทุนนิยมที่มีจิตสำนึก” เท่านั้น
ในปัจจุบัน ทวีปเอเชียมีประชากรที่ยากจนอยู่ประมาณ 900 ล้านคน และมีเกณฑ์รายได้เฉลี่ย 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน มีชาวเอเชียถึง 700 ล้านคนที่ไม่มีน้ำดื่มที่สะอาดเพียงพอ และประมาณ 1.9 พันล้านคนไม่สามารถเข้าถึงสุขอนามัยที่เหมาะสม ประชากรเด็กในเอเชีย 100 ล้านคน ไม่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเด็กที่อายุต่ำกว่าห้าปีในเอเชียจำนวน 107 ล้านคนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ความไม่เสมอภาคกันเหล่านี้เป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายในระยะยาวต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางสังคม
“โฉมหน้าทั้งสองของเอเชีย กำลังถูกแยกขาดออกจากกันแทนที่จะหันมาเจอกัน นี่คือความท้าทายสำคัญของเอเชียในวันนี้” มร. นาค กล่าว
มร. นาค เชื่อว่าการที่จะเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ได้ ภูมิภาคเอเชียจำเป็นต้องให้ประชาชนของตนมั่นใจได้ว่าจะได้รับประโยชน์จากการเจริญเติบโต โดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการดูแลสุขภาพ การศึกษา อาชีพ และปัจจัยขั้นพื้นฐาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดในการพัฒนาให้ไปถึงจุดหมาย ผลการศึกษาล่าสุดจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย เสนอว่า ทวีปเอชียต้องการงบประมาณเพื่อการลงทุนราว 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 ถึงปี ค.ศ. 2020 ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในระดับชาติและระดับภูมิภาค
นอกจากนี้ เอเชียจะต้องมีวิถีการพัฒนาที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมไปทั่วภูมิภาคในทศวรรษที่ผ่าน มานำซึ่งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย ที่ไม่ได้มีแค่การปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น และการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีการจัดรูปแบบใหม่ในการพัฒนาเมือง การผลิตและการบริโภคพลังงาน รวมถึง การจัดการการใช้ที่ดินและกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพมากขึ้น มิฉะนั้น ภูมิภาคนี้ก็จะพบว่าตนเองตกเป็นเหยื่อของการพัฒนาของตนนั่นเอง
เพื่อให้เกิดการเจริญที่ยั่งยืน รวดเร็ว และกว้างขวาง เอเชียจำต้องได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ปัจจุบัน ผลผลิตและกำลังการซื้อในทวีปเอเชียมีปริมาณเทียบเท่ากับทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ โดยมีแนวโน้มที่จะมีผลผลิตที่มากกว่าทั้ง 2 ภูมิภาครวมกันถึง 50% ในปี ค.ศ. 2020 การที่ภูมิภาคเอเชียจะมีความรุ่งเรืองและสามารถพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้ ต้องอาศัยความแข็งแกร่งและการกระจายผลประโยชน์ของการร่วมมือกันในภูมิภาค ในขณะเดียวกันก็ต้องดำเนินบทบาทของตนเองอย่างสร้างสรรค์และจริงจังในฐานะผู้นำทางเศรษฐกิจของโลก แพลทตินัม เซอร์เคิล ในฐานะกลุ่มธุรกิจเอกชนสามารถแสดงบทบาทสำคัญนี้ได้ โดยการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและกลุ่มเอ็นจีโอ เพื่อให้มุ่งความสนใจไปยังเกณฑ์วัดสามประการ (Triple Bottom Line) อันประกอบด้วย คน (people) ผลกำไร (profit) และโลก (planet) พร้อมหล่อหลอมธุรกิจและสังคมในเอเชีย
“ในปัจจุบันนี้ เราคาดหวังให้เอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่มีทุนส่วนเกินพร้อมกับเงินทุนสำรองที่มีการสะสมในปริมาณมาก เอเชียมีปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศถึงกว่า 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และนับเป็นร้อยละ 62 ของปริมาณทั้งหมดที่มีในโลก จีดีพีต่อหัวของเอเชียได้รับการคาดหมายว่าจะอยู่ในระดับเดียวกับภูมิภาคลาตินอเมริกาภายในสิบปีข้างหน้า ถือเป็นการเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยมีอยู่ร้อยละ 25 ในปี ค.ศ. 1980 ภายในปี ค.ศ. 2040 ประเทศจีน อินเดีย และญี่ปุ่นจะเป็น 3 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่โตที่สุดในโลกในจากทั้งหมด 4 ประเทศ” นายนาคกล่าว
หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข่าวประชาสัมพันธ์ดังกล่าว
กรุณาติดต่อที่ คุณวิชัย เลิศฤทธิ์ชัย
โทรศัพท์ 02 637 7878
หรือติดต่อ คุณชลธิชา ชูชาติ