กรุงเทพฯ--29 มิ.ย.--พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส
จากผลการสำรวจพบว่าโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กนั้นพบได้ถึง 25% ของทารกทั่วโลกและพบการขาดธาตุเหล็กที่ไม่แสดงอาการโลหิตจางมากถึง 50% ผลกระทบนี้ปรากฏอย่างชัดเจนในกลุ่มเด็กที่มีฐานะยากจน ธาตุเหล็กมีหน้าที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต เช่น การสร้างเยื่อหุ้มไมอีลินสำหรับหุ้มเซลล์ประสาททำให้การส่งสัญญาณประสาทมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้น เหล็กยังมีความสำคัญในการสร้างสารโดปามีน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวส่งสัญญานกระแสประสาทในสมอง
การขาดธาตุเหล็กมีผลต่อสมองส่วนฮิปโปแคมปัสซึ่งควบคุมทางด้านความจำและด้านอื่นๆ ที่สำคัญ เด็กทารกนั้นจะได้รับธาตุเหล็กจากแม่ในช่วงตั้งครรภ์และจากน้ำนมแม่ และจะมีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากช่วงอายุ 4 - 6 เดือนแรก อาหารต่างๆ ที่ทารกได้รับ เช่น ซีเรียล นมวัว และผลไม้ นั้น มิใช่แหล่งที่พบปริมาณธาตุเหล็กสูง ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การให้นมที่เสริมธาตุเหล็กและอาหารเสริมที่เสริมธาตุเหล็กจะเป็นประโยชน์แก่ทารกอย่างมาก
มร. เบ็ทซี โลซอฟ ผู้อำนวยการศูนย์การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ และดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญแห่งภาควิชาโรคเด็กและการสื่อสารของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้ศึกษาโรคขาดธาตุเหล็กอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ 30 ปี โดยติดตามข้อมูลของเด็กชาวคอสตาริกันที่มีอาการขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรงและเรื้อรังในอายุ 12-23 เดือน พร้อมให้การรักษาโดยให้รับประทานธาตุเหล็กเสริม
ศูนย์วิจัยเนสท์เล่ สวิตเซอร์แลนด์ แสดงรายงานผลการศึกษาชิ้นใหม่ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนของ มร.เบ็ทซี โลซอฟ และคณะทำงาน โดยติดตามการศึกษาในเด็กจำนวน 191 คนที่จัดอยู่ในครอบครัวชนชั้นกรรมกรถึงชนชั้นกลาง ช่วงอายุ 5 ปี, 11-14 ปี, และ 15-17ปี ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเด็กเล็ก เด็กที่ขาดธาตุเหล็กจะมีผลคะแนนทดสอบทางด้านการเรียนรู้ต่ำกว่าเพื่อนในรุ่นเดียวกัน และเด็กที่มีปริมาณธาตุเหล็กปกติในช่วงของเด็กเล็กจะมีทักษะดีกว่า
ผลทดสอบด้านการเรียนรู้แสดงแนวโน้มที่แย่ลง เนื่องจากเด็กที่เคยขาดธาตุเหล็กมาก่อนไม่เพียงแต่จะได้คะแนนทดสอบน้อยกว่าเพื่อนๆ แต่ความห่างของคะแนนที่แตกต่างกันนั้นเพิ่มขึ้นตลอดเวลา โดยผลคะแนนปรากฏดังนี้ เด็กที่เคยขาดธาตุเหล็กอายุ 1-2 ปี จะได้คะแนนการทดสอบน้อยกว่าเด็กปกติ 6 คะแนน เมื่ออายุเพิ่มขึ้นเป็น 15-18 ปี ได้คะแนนทดสอบน้อยกว่าเด็กปกติ 11 คะแนน ซึ่งช่วงคะแนนที่แตกต่างกันมากนี้ จะปรากฏเด่นชัดในเด็กที่มีฐานะทางสังคมค่อนข้างต่ำ และปราศจากการกระตุ้นจากทางบ้านหรือมารดามีไอคิวต่ำ สำหรับเด็กที่มีปริมาณธาตุเหล็กปกตินั้น
สถานะทางครอบครัวจะไม่มีผลต่อคะแนนการทดสอบแต่อย่างใด ในเด็กที่ขาดธาตุเหล็กแต่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะทางสังคมที่ดีกว่าจะมีการถดถอยของคะแนนน้อยกว่าเด็กที่มีฐานะทางสังคมต่ำ โดยฐานะทางสังคมยิ่งต่ำลงเท่าใดก็ส่งผลให้ได้รับคะแนนต่ำลงเรื่อยๆ
มร. โลซอฟ ให้ทัศนะว่า “ไม่ว่าเด็กจะได้คะแนนทดสอบเริ่มต้นเท่าใดก็ตาม แต่แนวโน้มของคะแนนที่ได้จะลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น สำหรับการบริโภคธาตุเหล็กในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยหยุดยั้งสภาพปัจจัยแวดล้อมที่ไม่ดีได้ แต่โรคขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรงและเรื้อรังร่วมกับฐานะครอบครัวที่ยากจนทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง”
การศึกษานี้ติดตามเด็กที่ได้รับการรักษาภาวะขาดธาตุเหล็ก พบว่าอาการเจ็บป่วยจะแสดงให้เห็นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นการป้องกันการขาดธาตุเหล็กตั้งแต่ในวัยทารก จึงมีความจำเป็นอย่างมาก
รวบรวมข้อมูลและเผยแพร่ : ศูนย์วิจัยเนสท์เล่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
และศูนย์ผู้บริโภคเนสท์เล่ ประเทศไทย
โทร. 0-2657 8657 e-mail: goodfood.nestle@th.nestle.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
สุมาลี ติณวัฒน์ (จุ๋ม)
พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส
โทรศัพท์ 0-2651 8989 ต่อ 336