กรุงเทพฯ--1 ก.ย.--ปภ.
1. อิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งได้ตรวจสอบไปยังจังหวัดที่ประสบภัยเมื่อเวลา 06.00 น. ของวันนี้ (1 ก.ย.49) มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ ลำพูน สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ จันทบุรี และพังงา
1.1 จังหวัดสุโขทัย ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ดังนี้
1) อำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร จำนวน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลปากแคว (หมู่ที่ 1-9) ตำบลปากพระ (หมู่ที่ 1-6) ตำบลตาลเตี้ย (หมู่ที่1- 4) ตำบลยางซ้าย (หมู่ที่ 2,9,11,12) ตำบลวังทองแดง (หมู่ที่ 1,3,5,6) ตำบลบ้านสวน (หมู่ที่ 1-4,6,9,11,12) และตำบลบ้านหลุม (หมู่ที่ 1,4,9) เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน (หมู่ที่ 2,3) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
2) อำเภอศรีสำโรง ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร จำนวน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบล สามเรือน ตำบลวัดเกาะ ตำบลบ้านนา ตำบลวังทอง ตำบลวังใหญ่ และตำบลทับผึ้ง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
3) อำเภอกงไกรลาศ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร จำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าฉนวน (หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12) ตำบลบ้านกร่าง (หมู่ที่ 3-5) ตำบลกง (หมู่ที่ 1,2,5,6,12) ตำบลป่าแฝก (หมู่ที่ 2,3-9) และตำบลหนองตูม (หมู่ที่ 2-6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม. เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำ
4) อำเภอสวรรคโลก มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ตำบลปากกุมเกาะ (หมู่ที่ 1-6,14) ตำบลในเมือง (หมู่ที่ 3,9) ตำบลวังไม้ขอน (หมู่ที่ 1,2) ตำบลวังพิณพาทย์ (หมู่ที่ 1-3) ตำบลย่านยาว (หมู่ที่ 3,6,8,10,11) ตำบลคลองกระจง (หมู่ที่ 1-4,6,7,8) ตำบลท่าทอง (หมู่ที่ 1-4) และ ตำบลเมืองบางยม (หมู่ที่ 1,2,4,5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 ม.
1.2 จังหวัดพิษณุโลก ได้เกิดฝนตกหนักทำให้ปริมาณน้ำในลำคลองชมพู และแม่น้ำวังทอง เอ่อล้นตลิ่ง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่ทางการเกษตร จำนวน 4 อำเภอ ดังนี้
1) อำเภอวังทอง น้ำในคลองชมพูได้เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรใน 8 ตำบล 75 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลท่าหมื่นราม (หมู่ที่ 1,2,6,9,14) ตำบลพันชาลี (หมู่ที่ 1-17) ตำบลวังทอง (หมู่ที่ 1,2,7,12,13,14) ตำบลวังพิกุล (หมู่ที่ 4,5) ตำบลแม่ระกา (หมู่ที่ 1-15) ตำบลวังนกแอ่น (หมู่ที่ 1) ตำบลดินทอง (หมู่ที่ 6) และตำบลหนองพระ (หมู่ที่ 1,3,6,8) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม. มีแนวโน้มลดลง
2) อำเภอบางกระทุ่ม น้ำในลำคลองชมพูจากอำเภอวังทองได้ไหลเข้าท่วมที่ลุ่มการเกษตร ที่ตำบลวัดตายม (หมู่ที่ 1,2,3,5,7,8,) และตำบลเนินกุ่ม (หมู่ที่ 1) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
3) อำเภอบางระกำ ได้เกิดน้ำท่วมขังใน 3 ตำบล ได้แก่ตำบลคุยม่วง (หมู่ที่ 6,8,9) ตำบลชุมแสง (หมู่ที่ 1,2,3,5,8,9) ตำบลนางงาม (หมู่ที่ 1,2,3) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
4) อำเภอพรหมพิราม ได้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลตลุกเทียม (หมู่ที่ 1,4,6) ตำบลหอกลอง (หมู่ที่ 5,6,7) และตำบลวงฆ้อง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
1.3 จังหวัดกำแพงเพชร ได้เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและ พื้นที่ทางการเกษตร ใน 2 อำเภอ ได้แก่
1) กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร จำนวน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลโกสัมพี (หมู่ที่ 13) ตำบลเพชรชมภู (หมู่ที่ 1,3,4,9) และตำบลลานดอกไม้ตก (หมู่ที่ 5,8) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-30 ม. ระดับน้ำลดลง
2) อำเภอขาณุวรลักษบุรี ได้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร ใน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบล วังหามแห ตำบลวังชะพลู ตำบลโค้งไผ่ ตำบลบ่อถ้ำ ตำบลดอนแตง ตำบลเกาะตาล และตำบลแสนตอ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม. ระดับน้ำลดลง
1.4 จังหวัดอุตรดิตถ์ เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำหลากและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ดังนี้
1) อำเภอเมือง เกิดน้ำหลากและเอ่อล้นลำห้วยในพื้นที่ตำบลน้ำริด (หมู่ที่ 3-6) ตำบลบ้านด่านนาขาม ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.60 ม. โดยราษฎรได้มีการขนย้ายสิ่งของและยานพาหนะไปไว้บนที่สูง
- ราษฎรจำนวน 75 ครัวเรือน ที่ชุมชนทหาร หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำริด ได้เคลื่อนย้ายยานพาหนะ ไปไว้บริเวณสี่แยกวังสีสูบ พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจสอบระดับน้ำในลำห้วย
- ได้เกิดดินสไลด์ทับเส้นทางอุตรดิตถ์-เด่นชัย (สาย 11) บริเวณบ้านน้ำเขียว ตำบลด่านนาขาม รถสามารถสัญจรได้ช่องทางเดียว
2) อำเภอลับแล ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 31 ส.ค.49 ได้เกิดฝนตกหนัก ทำให้น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ตำบลแม่พูล ทุกหมู่บ้าน ได้มีการอพยพประชาชนบ้านผามูบ หมู่ที่ 7 มาไว้ที่วัดศรีอุทมพร ขณะนี้ระดับน้ำเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
- ตำบลฝายหลวง ตำบลนานกกก ตำบลชัยชุมพล ตำบลไผ่ล้อม ตำบลุท่งยั้ง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 เมตร ส่วนในพื้นที่เทศบาลตำบลศรีพนมมาศบริเวณชุมชนฟากท่า หัวร้อง ป่ายาง ยางกะไดเหนือ และยางกะไดใต้ ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.30-0.60 ม. และบริเวณประตูเมืองลับแลเกิดน้ำท่วมขัง ระยะทางประมาณ 300 เมตร ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 ม.
1.5 จังหวัดพังงา เกิดฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลาก และเกิดดินสไลด์ที่บริเวณภูเขาสก หมู่ที่ 2 ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง เป็นช่วงๆ ปิดทับถนนสาย 401 สุราษฎร์-ตะกั่วป่า ระหว่าง กม.ที่ 114 ระยะทาง รถไม่สามารถสัญจรผ่านได้
1.6 จังหวัดจันทบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่ม 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง เกิดน้ำท่วมขังในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรีเล็กน้อยเนื่องจากระบายไม่ทัน และในพื้นที่ตำบลจันทรนิมิต ตำบลท่าช้าง ตำบลพลับพลา ตำบลคลองนารายณ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
2) อำเภอแก่งหางแมว เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลแก่ง หางแมว ตำบลเขาวงกต ตำบลสามพี่น้อง ตำบลพวา และตำบลขุนซ่อง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
1.7 จังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ อำเภอเมือง จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลปางหมู ตำบลหมอกจำแป๋ ตำบลห้วยโป่ง ต.ผาป่อง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม. และในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง รับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่า หากฝนไม่ตกเพิ่มจะคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติในวันนี้ (1 ก.ย.49)
1.8 จังหวัดแพร่ เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง ตำบลในเมือง บริเวณหน้าโรงเรียนเมธังฆรวาส และที่อำเภอสูงเม่น ตำบลบ้านกวาง บริเวณหลังวัดมงคลธาวร ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
2) อำเภอร้องกวาง ตำบลยางตลาด (หมู่ที่ 3,6,7,) ตำบลร้องกว้าง (หมู่ที่ 3,4,11) ตำบล น้ำเลา (หมู่ที่ 4,7) ตำบลร้องเข็ม (หมู่ที่ 6) ตำบลทุ่งศรี หมู่ที่ 5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม.
3) อำเภอลอง ตำบลเวียงต้า (หมู่ที่ 1-10) ตำบลแม่ปาน (หมู่ที่ 1,2,3,4,6) ตำบลต้าผามอก (หมู่ที 1-8) ตำบลบ้านปิน (หมู่ที่ 1,2,3,4,5,7,11,12) ตำบลบ่อเหล็กลอง (หมู่ที่ 1-8) ตำบลทุ่งแล้ง (หมู่ที่ 1-12) ตำบลห้วยอ้อ (หมู่ที่ 11,12,14) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20 -0.40 ม.
4) อำเภอเด่นชัย ได้เกิดฝนตกหนักและน้ำป่าไหลลากเข้าท่วมใน 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วยไร่ (หมู่ที่ 1-10) ตำบลเด่นชัย (หมู่ที่ 8) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 ม.
1.9 จังหวัดลำพูน ได้เกิดฝนตกต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ใน 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอแม่ทา ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มริมน้ำแม่ทา 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลทาปลาดุก (หมู่ที่ 1-4) และตำบลทากาศ (หมู่ที่ 4-6,11) ตำบลทาทุ่งหลวง ตำบลทาขุมเงิน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.60 ม.
2) อำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำแม่กวงในพื้นที่ ตำบลเวียงยอง ตำบล บัวบาน (หมู่ที่ 1-12) ตำบลมะเขือ (หมู่ที่ 1,2,3,7,10,12,14,18,19) ตำบลบ้านกลาง (หมู่ที่ 2,4,5,8,12) ตำบลป่าซาง (หมูที่ 1,4,2) และตำบลประตูป่า (หมู่ที่ 1,6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 ม.
๏ระดับน้ำในแม่น้ำแม่กวง เมื่อเวลา 06.00 น. วันนี้ (1 ก.ย.49) ที่สะพานท่าสิงห์พิทักษ์ (p.5) อำเภอเมืองลำพูน ระดับน้ำสูง 5.77 ม. (ระดับตลิ่ง 5 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 0.77 ม.
1.10 จังหวัดเชียงใหม่ ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มบางพื้นที่ของอำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง และ อำเภอสาระภี ซึ่งอยู่ระหว่างการสำรวจของเจ้าหน้าที่
1.11 จังหวัดลำปาง ได้เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้น 6 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเถิน เกิดน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 6 ตำบล 27 หมู่บ้าน ดังนี้ ตำบลเวียงตาล (หมู่ที่ 2,3,4,) ตำบลล้อมแรด (หมู่ที่ 1,2,3,10) ตำบลนาโป่ง (หมู่ที่ 6,7,10) ตำบลเถินบุรี (หมู่ที่ 1,2,11) ตำบลแม่วะ (หมู่ที่ 1,3,4) ตำบลแม่ถอด (หมู่ที่ 3,4,5,7,12,13) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
2) อำเภองาว เกิดน้ำท่วมขังใน 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน ดังนี้ ตำบลแม่ตีน (หมู่ที่ 2,3,4) ตำบลหวด (หมู่ที่ 4) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30 ม.
3) อำเภอเมือง เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมใน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านค่า ตำบลต้นธงชัย ตำบลบ้านเอื้อม ตำบลบ้านแลง และตำบลทุ่งฝ้าย ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
4) อำเภอแม่พริก ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านปางยาว ตำบลแม่พริก ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40 ม.
5) อำเภอเมืองปาน ได้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านขอ ตำบลทุ่งกว๋าว ตำบลหัวเมือง และตำบลแจ้ซ้อน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
6) อำเภอห้างฉัตร มีน้ำท่วมในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเวียงตาล ตำบลปงยางคก และตำบลห้างฉัตร ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
๏เมื่อเวลา 20.30 น. วันที่ 31 สิงหาคม 2549 ขบวนรถด่วนเชียงใหม่-ลำปาง-กรุงเทพฯ วิ่งถึงระหว่างสถานีแก่งหลวง กับสถานีปากปาน จังหวัดแพร่ ดินโคลนได้ถล่มทับเส้นทางรถไฟเป็นเหตุให้รถจักรดีเซล รถโบกี้สำภาระ และรถโบกี้นั่งนอนตกราง นอกจากนี้ดินโคลนยังทำให้รถจักรดีเซลที่ลากจูงขบวนรถด่วน ที่ 52 พลัดตกลงในแม่น้ำยม ซึ่งมีนายสาธิต เอี่ยมเสือ (พขร.) และนายอนุชา อนุรักษ์ (ช่างเครื่อง) สูญหาย และมีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย จำนวน 4 คน ได้นำตัวส่งโรงพยาบาลเด่นชัย ทั้งนี้ การรถไฟปิดการเดินรถในเส้นทางเชียงใหม่เพื่อเข้ากรุงเทพทุกขบวน ส่วนเที่ยวขึ้นจากกรุงเทพยังคงประกาศเดินไป-กลับระหว่างสถานี ศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เท่านั้น
อนึ่ง ระดับน้ำในแม่น้ำยม เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ ก.ย.49 ที่สะพานบ้านน้ำโค้ง (สถานี Y.1C) อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำสูง 8.85 ม. (ระดับตลิ่ง 8.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 0.85 ม. ที่ (สถานี Y.33) อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 11.20 ม. (ระดับตลิ่ง 10.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 1.20 ม. และที่ (สถานี Y.4) อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 6.68 ม. (ระดับตลิ่ง 7.45 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 0.77 ม.
2. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 01.00 น วันที่ 31 ส.ค.49 ถึง 01.00 น วันที่ 1 ก.ย.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดเชียงใหม่ (อ.เมือง) 86.9 มม.
จังหวัดกระบี่ (อ.เกาะลันตา) 88.5 มม.
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อ.พระแสง) 40.7 มม.
จังหวัดเลย (อ.เมือง) 31.1 มม.
3. ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ประจำวันที่ 1 กันยายน 2549 เวลา 06.00 น.
ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ภาคเหนือมีฝนตกหนาแน่นมากกว่าภาคอื่น ๆ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร ซึ่งจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ จึงขอให้ประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหล และพื้นที่ลุ่มในจังหวัดดังกล่าวระมัดระวังภัยจากน้ำท่วมในระยะ 1-2 วันนี้
4. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประกาศ แจ้งเตือนให้ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 2,3,5,6,7,8,9,10,11 และ 12 รวมทั้งจังหวัดในพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดภัย ให้เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับ อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้น จัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
5. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตาม และรายงานให้ทราบต่อไป
รายงานเหตุด่วนสาธารณภัย (เบื้องต้น)
ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
(กลุ่มงานปฏิบัติการ) โทร. / โทรสาร 0-2241-7450-6 สายด่วน 1784