ภาวะตลาดและแนวโน้มราคาทองคำแท่ง ประจำวันที่ 17 ส.ค.52 โดยวายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 17, 2009 11:33 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ส.ค.--วีม คอมมูนิเคชั่น ประเด็นสำคัญในการลงทุนทองคำแท่ง (Gold SPOT) ปัจจัยสำคัญด้านพื้นฐาน — วันนี้ราคาทองคำมีแนวโน้มลดลง หลังนักลงทุนผิดหวังกับตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐที่ออกมาสวนทางกับที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น แต่กลับลดลงมามาก ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลกับความอ่อนแอในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ถึงแม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจในวงกว้างที่ผ่านมาจะปรับตัวดีขึ้นก็ตาม (ดูข่าวสารสำคัญเพื่อการลงทุนในหน้าถัดไป) กรอบการเคลื่อนไหวเชิงเทคนิคราคาทองคำแท่ง (Gold SPOT) Source : Bisnews (Daily) Source : Bisnews (30 Min) ปัจจัยสำคัญด้านเทคนิคระยะสั้น — Directional Indices บ่งบอกว่าตลาดระยะสั้นดูเป็นลบ, MACD 30 นาทีเคลื่อนตัวอยู่ในแดนลบทำให้ดูราคาเป็นลบ, MACDF 30 เคลื่อนตัวอยู่ในแดนบวกทำให้ดูราคาเป็นบวก, Fast Stochastic กำลังเคลื่อนตัวอยู่ขึ้น ทำให้ราคามีโอกาสจะปรับตัวขึ้น, RSI 30 นาทีอยู่ที่ระดับ36.706 ถือเป็นระดับ oversold อยู่เล็กน้อยและทำให้ดูว่าราคามีโอกาสปรับตัวขึ้น, ทิศทางตลาดระยะสั้นดูเป็น Sideways แนวรับแนวต้านของวันอยู่ที่ $940-$956 ค่าเงินบาทในวันนี้อยู่ที่ระดับ ฿33.95-฿34.09 ปัจจัยสำคัญด้านเทคนิคระยะกลาง — Directional Indices บ่งบอกว่าตลาดระยะกลางเป็นบวก, RSI อยู่ที่ระดับ 45.674 ถือเป็นระดับ Neutral และทำให้ดูว่าตลาดระยะกลางยังขาดทิศทางที่ชัดเจน, MACD เคลื่อนตัวอยู่ในแดนบวกทว่าได้ตัดเส้น Trigger จากด้านบนทำให้ดูราคาเป็นลบ, MACDF เคลื่อนตัวอยู่ในแดนลบ ทำให้ดูราคาเป็นลบ, Fast-Stochastic กำลังเคลื่อนตัวอยู่ขึ้น ทำให้ราคามีโอกาสปรับตัวขึ้นในช่วงนี้, ทิศทางตลาดระยะกลางเป็นตลาด Sideways โดยจะใช้แนวต้านที่ $960 เป็นต้านระยะกลางที่สำคัญและแนวต้านต่อไปจะอยู่ที่ $990 ส่วนแนวรับระดับกลางอยู่ที่ $927 และ $912 ตาราง 3 : แนวรับ-แนวต้านที่สำคัญ Source: YLG’s estimations พิจารณาตารางที่ 2 และกราฟด้านซ้ายมือ พบว่าราคาทองคำแท่งที่ร้านค้าปลีกปิดล่าสุด (เส้นสีแดง = 15,400 บาท) ซึ่งสูงกว่าราคาทองคำแท่ง (SPOT) ในตลาดโลกเช้านี้ (เส้นสีน้ำเงิน = 15,330 หรือที่ $946.60) แสดงถึงราคาทองคำแท่ง ณ. หน้าร้านขายปลีก มีพรีเมี่ยมจากราคาในตลาดโลก อยู่ 70 บาท ขณะที่ราคาของ GFQ09 เมื่อวานนี้ปิดตลาดอยู่ที่ 15,440 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาในตลาดโลกเท่ากับ 110 บาท ซึ่งเท่ากับว่า GFQ09 มีพรีเมี่ยมมากกว่าที่ร้านค้าปลีก ดังนั้น การเปิดสถานะขาย (Short) GFQ09 แล้ว ซื้อ (Long) ทองคำแท่งที่ร้านทอง จะทำให้มีส่วนต่างของกำไรที่คาดหวัง อยู่ที่ 110-70 = 40 บาทต่อทองคำแท่ง 1 บาท ซึ่งยังคงไม่คุ้มค่ากับค่าคอมมิชชั่น (ประมาณ 120 บาทต่อ 1 บาททอง) และดอกเบี้ยในการหากำไรจากส่วนต่างราคาได้ในวันนี้ ข่าวสารสำคัญเพื่อประกอบการลงทุน ปัจจัยบวก ภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น — ผลการสำรวจของรอยเตอร์ชี้ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัว +1.0% ในช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. หลังจากหดตัวมา 4 ไตรมาสติดต่อกัน โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกและการบริโภคส่วนบุคคลที่ได้รับแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและในต่างประเทศของรัฐบาล + ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ผลิตปรับขึ้น 1 จุด มาที่ -42 ในเดือนส.ค.ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันจากจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ -78 ในเดือนมี.ค. หลังการส่งออกและผลผลิตทางอุตสาหกรรมได้ปรับตัวดีขึ้น ปัจจัยลบ ค่าเงินบาท — ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น -2 สต. มาที่ 34.01 บาท จากที่ปิด 34.03 บาทต่อดอลลาร์เมื่อวันก่อนหน้า หลังดอลลาร์แข็งค่าขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขความเชื่อมั่นที่น่าผิดหวังของสหรัฐ ขณะที่เช้านี้เงินบาทอ่อนค่าลง +2 สต. มาที่ 34.03 บาทต่อดอลลาร์ โดยมีแนวรับสำคัญที่ 33.95 บาทและ 33.88 บาทตามลำดับ ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 34.09 บาทและ 34.16 บาท ค่าเงินดอลลาร์ — ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น -$0.0105 เมื่อเทียบเงินยูโร มาที่ $1.4181 จากที่ปิด $1.4286 เมื่อวันก่อนหน้า หลังการร่วงลงของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐสร้างความวิตกกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐ และทำให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง ขณะที่เช้านี้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอีก -$0.0014 มาที่ $1.4167 ราคาน้ำมันดิบ — ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเดือน ก.ย. ร่วงลงรุนแรงถึง -$3.01 มาปิดที่ $67.51 ต่อบาร์เรล หลังดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อ่อนแอกระตุ้นให้เกิดความกังวลเรื่องอุปสงค์น้ำมันและความอ่อนแอในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่เช้านี้ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเดือน ก.ย. ยังคงร่วงลงอีกราว -$0.38 มาอยู่ที่ $67.13 ต่อบาร์เรล ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ - เมื่อคืนนี้ 1. กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ค. ทรงตัว 0.0% หลังจากเพิ่มขึ้น +0.7% ในเดือนมิ.ย. แต่เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) ดัชนี CPI ทั่วไปลดลง -2.1% ในเดือน ก.ค. จากที่ลดลง -1.4% ในเดือนก่อนหน้า ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานในเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น +0.1% หลังจากเพิ่มขึ้น +0.2% ในเดือนมิ.ย. และเมื่อเทียบเป็นรายปี ดัชนี CPI พื้นฐานเพิ่มขึ้น +1.5% ในเดือนก.ค.ปีนี้ เทียบกับที่เพิ่มขึ้น 1.7% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งได้ตอกย้ำให้นักลงทุนคลายกังวลว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้มากยิ่งขึ้น หลังอุปสงค์ยังคงอ่อนแออยู่มาก 2. ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น +0.5% หลังจากลดลง -0.4% ในเดือนมิ.ย. โดยเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน ทำให้มีอัตราการใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นมาที่ 68.5% ในเดือนก.ค. จาก 68.1% ในเดือนมิ.ย. ทั้งนี้เป็นผลจากยอดการผลิตรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น จากโครงการกระตุ้นให้ผู้คนนำรถเก่าที่กินน้ำมันมากมาแลกซื้อรถใหม่เป็นสำคัญ 3. รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนส.ค. ลดลงมาที่ 63.2 ในเดือน ส.ค. จากระดับ 66.0 ในเดือน ก.ค. และสวนทางกับที่ตลาดคาดว่าความเชื่อมั่นจะเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 68.50 จึงเป็นการตอกย้ำความวิตกที่ว่าอุปสงค์ของผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยที่ต้องเฝ้าติดตาม ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ - คืนนี้ 1. ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กจะเปิดเผยผลสำรวจภาคการผลิต (Empire State Index) เดือนส.ค. โดยผลการสำรวจคาดว่า ดัชนีภาคการผลิตจะอยู่ที่ระดับ 5.00 ในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ -0.55 ในเดือนก.ค. 2. สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) จะเปิดเผยดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐเดือนส.ค. โดยผลการสำรวจคาดว่า ดัชนี NAHB จะอยู่ที่ระดับ 18 ในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 17 ในเดือนก.ค. กองทุนทองคำ — SPDR กองทุนทองคำใหญ่ที่สุดในโลก รายงานการเข้าถือทองคำถึง ณ. 14 ส.ค.52 ไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อนหน้า รวมถือทองคำไว้ทั้งสิ้น 1,065.49 ตัน เทียบเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.26 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 34.25 ล้านออนซ์ ค่าเงินเยน — จับตาการแข็งค่าของเยน จากการที่นักลงทุนญี่ปุ่นโยกย้ายเม็ดเงินที่เกี่ยวข้องกับการไถ่ถอนและการจ่ายดอกเบี้ยบางส่วนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ญี่ปุ่นถืออยู่ จากวงเงินประมาณ 5.75 หมื่นล้านดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะมีผลทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงได้ พายุในมหาสมุทรแอตแลนติก - สภาพอากาศในมหาสมุทรแอตแลนติก เริ่มเข้าสู่ฤดูของการมีพายุเฮอริเคน โดยพายุโซนร้อนและเฮอริเคนอาจจะสร้างปัญหาให้แก่การผลิตของแท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งและโรงกลั่นแถบชายฝั่งของอ่าวเม็กซิโก แม้จะมีการคาดการณ์ว่าฤดูเฮอริเคนในปีนี้จะไม่รุนแรง ปฏิทินการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ Source: Bloomberg หมายเหตุ : ข้อมูลที่นำเสนอในรายงานดังกล่าว นี้เป็นเพียงความคิดเห็นซึ่งนำเสนอโดย บริษัท YLG Bullion International จำกัด โดยบริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบใดๆ จากความเสียหายที่เกิดจากการใช้รายงานหรือข้อความจากรายงานฉบับนี้ ข้อมูลจาก YLG ศูนย์รับซื้อ-ขายทองคำแท่ง มาตรฐาน LBMA 653/14 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ปากซอย 9) แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 Tel: 0-2287-1155, 0-2677-5520 Fax: 0-2677-5512 www.ylgbullion.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ