กรุงเทพฯ--18 ส.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน
เสียงเจี๊ยวจ๊าว ดังลอดออกมาจากห้องประชุมขนาดใหญ่ในโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ที่จุเด็กไว้หลายร้อย มีทั้งเสียงหัวเราะ วิพากษ์จิจารณ์ ถกเถียง เสียงเด็กและเสียงครูคละเคล้ากันไป เมื่อลองมองผ่านประตูเข้าไป ภาพที่เห็นคือความชุลมุน ปนเสียงหัวเราะของนักเรียนกลุ่มใหญ่ ที่พยายามเรียนรู้และทดลองสร้างตัวการ์ตูนแอนิเมชั่นจากตัวละครที่คุ้นเคยจากแอนิเมชั่นซี่รี่ส์ยอดนิยมอย่าง เบน 10: เอเลี่ยน ฟอร์ซ (Ben10: Alien Force) และ เชาว์เดอร์ (Chowder)
เด็กๆ พวกนี้กำลังทำอะไรกันอยู่นะ?
ครูและเด็กหลายร้อยคน กำลังสนุกกับกิจกรรมที่เอชพี ประเทศไทยจัดขึ้นเพื่อให้เด็กๆ สามารถสร้างสรรค์ผลงานเอนิเมชั่นง่ายๆ ของตนเอง ด้วยการใช้เอชพีเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ แอนิเมชั่นของการ์ตูนเน็ตเวิร์ค โดยเดินสายจัดกิจกรรมเวิร์คช้อปให้ความรู้ พร้อมบูธคอมพิวเตอร์ HP TouchSmart PCs เพื่อให้นักเรียนได้ลองฝึกมือใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวได้ โดยจะมีการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดให้กับเด็กๆ ตามโรงเรียนต่างๆ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Toon Creator Awards เวทีการแข่งขันแอนิเมชั่นออนไลน์ระดับภูมิภาค ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงผลงานความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ซึ่งเอชพีร่วมกับการ์ตูนเน็ตเวิร์คจัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการแสดงออกถึงความเป็นตัวตน และจุดประกายจินตนาการสุดบรรเจิดของเยาวชน ผ่านวิธีการอันสนุกสนานและน่าตื่นเต้น
“การ์ตูนเน็ตเวิร์ค และเอชพีมีความเชื่อมั่นในพลังแห่งการสร้างสรรค์ ซึ่งกิจกรรมนี้ก็จะช่วย ให้เด็กๆ รู้จักคิดนอกกรอบ และกลายเป็นนักแอนิเมเตอร์ในอนาคตได้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเทคโนโลยีของเอชพีและแพลตฟอร์มออนไลน์ของการ์ตูนเน็ตเวิร์ค จะเป็นตัวจุดประกาย ความสนใจของแอนิเมเตอร์รุ่นเยาว์ในเอเชีย และเป็นแรงผลักดันให้เกิดผลงานเด่นๆ ให้กลายเป็นที่ประจักษ์ออกสู่สายตาผู้คนนับล้านผ่านวิธีการที่สนุกสนาน” นายประเสริฐ จรูญไพศาล ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจเพอร์ซัลเเนล ซิสเต็มส์ บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
อาจารย์ วารุณี ดำรงค์ชัยธนา อาจารย์ประจำวิชาคอมพิวเตอร์ — มัลติมีเดียแฟลช และแอนนิเมชั่น โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก กล่าวว่า “โครงการ Toon Creator Awards ที่จัดขึ้นโดยเอชพี และการ์ตูนเน็ตเวิร์คในวันนี้ นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์ของนักเรียน และเยาวชนที่สนใจ นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญในการพัฒนาเยาวชนของชาติให้มีคุณภาพในอนาคต อีกทั้งยังเป็นโครงการระดับภูมิภาค จึงทำให้เด็กๆ ของเราได้เห็นพัฒนาการของเพื่อนๆ เยาวชนจากประเทศต่างๆ ที่ร่วมในโครงการ กิจกรรมนี้จึงเป็นอีกหนึ่งบทเรียน ที่ทำให้เด็กเรียนรู้ถึงพัฒนาการด้านแอนิเมชั่นของเพื่อนในวัยเดียวกัน จึงนับเป็นโครงการที่ดี และคิดว่าน่าจะจัดขึ้นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ”
ส่วนน้องต้า หรือเด็กชายปาณัท ปรัชญารุ่งโรจน์ นักเรียนชั้น ม.1/8 โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก กล่าวว่า “Toon Creator Awards ที่เอชพี และการ์ตูนเน็ตเวิร์คจัดขึ้นในวันนี้สนุกมากครับ เพราะนอกจากจะมีการ์ตูนตัวโปรดอย่าง Ben 10 และ Chowder มาให้ได้เลือกสร้าง แอนนิเมชั่นในรูปแบบและเรื่องราวตามที่ต้องการเองได้แล้ว ก็ยังเป็นการเรียนรู้และฝึกฝนฝีมือ ในการทำแอนิเมชั่นเบื้องต้นได้อย่างสนุกสนานมากยิ่งขึ้น นอกจากกิจกรรมในคาบเรียนวิชา แอนนิเมชั่นในวันนี้แล้ว ผมก็ยังเตรียมส่งผลงานเข้าประกวดอีกหลายชิ้นด้วยครับ เพราะคอมพิวเตอร์ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมยามว่างสุดโปรดของผม ซึ่งผมทำได้ดี แล้วถ้ายิ่งมีของรางวัลพิเศษอย่างคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัสสุดอัจฉริยะอย่าง HP TouchSmart PC และรางวัลของเล่นจาก Ben 10 แล้วด้วยผมยิ่งต้องไม่พลาดครับ”
เวที Toon Creator Awards นี้เปิดโอกาสให้น้องๆ เยาวชนอายุระหว่าง 6-14 ปี ส่งผลงานผลงานคลิปแอนิเมชั่นขนาดสั้นเกี่ยวกับตัวละครที่คุ้นเคยจากแอนิเมชั่นซี่รี่ส์ยอดนิยมอย่าง เบน 10: เอเลี่ยน ฟอร์ซ (Ben10: Alien Force) และ เชาว์เดอร์ (Chowder) โดยน้องๆ เยาวชนและผู้ปกครองที่สนใจสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.ToonCreatorAwards.com และสร้างสรรค์ผลงานตอนจบความยาว 25 วินาทีของตนเอง หลังจากรับชมเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นสุดจะคาดเดาขนาดสั้นความยาว 5 วินาทีจบ โดยจะมีสองเรื่องให้เลือกชม เรื่องแรกจะเป็นเรื่องราวจากซีรี่ส์ Ben 10: Alien Force ซึ่งจะเริ่มเผยแพร่ให้ชมรับตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2552 และอีกเรื่อง จะเป็นเรื่องของ Chowder ซึ่งจะเริ่มเผยแพร่ช่วงกลางเดือนสิงหาคม
การประกวดในครั้งนี้แบ่งเป็นประเภทบุคคล และประเภทโรงเรียน โดยเปิดรับผู้เข้าแข่งขันจากประเทศออสเตรเลีย อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน และประเทศไทย และจะตัดสินหาผู้ชนะของแต่ละประเภทจากการลงคะแนนเสียงผ่านระบบออนไลน์และจากคณะกรรมการมืออาชีพผู้ทรงคุณวุฒิจากเอชพีและการ์ตูนเน็ตเวิร์ค
โดยผู้ชนะของแต่ละประเทศจะได้รับรางวัลใหญ่เป็น HP TouchSmart PC ยังจะได้เป็นตัวแทนเข้าไปแข่งขันระดับภูมิภาคเพื่อพิชิตรางวัลเป็นการแปลงโฉมบ้านที่สามารถเชื่อมต่อระบบออนไลน์ได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น รางวัลที่น่าตื่นเต้นที่สุดของผู้ชนะระดับภูมิภาคของ Toon Creator Awards คือการได้เห็นผลงานของตนเองออกอากาศ และโลดแล่นทางช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์คในเดือนพฤจิกายน 2552
ทั้งนี้ โรงเรียนที่มีนักเรียนสมัครเข้าร่วมการแข่งขันมากที่สุด จะได้รับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป รุ่น HP TouchSmart PCs จำนวน 3 เครื่องไปใช้ในห้องแลปคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนอีกด้วย
นอกจากนี้ การ์ตูนเน็ตเวิร์ค และเอชพี ประเทศไทย ยังเดินสายจัดกิจกรรมเวิร์คช้อปแบบนี้ในกว่า 15 โรงเรียน เช่น สาธิตจุฬาฯ กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และวชิราวุธวิทยาลัย ฯลฯ ตลอดเดือนสิงหาคมถึงกันยายนนี้ด้วย โดยน้องๆ ในโรงเรียนอื่นๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม ก็สามารถติดตามข่าวสารจากทางโรงเรียนของตนเองได้ และเตรียมพบกับกิจกรรมเวิร์คช้อปที่จะเข้าไปช่วย ปลุกเร้าจินตนาการผ่านเทคโนโลยีแอนิเมชั่นส์ เร็วๆ นี้