กรุงเทพฯ--16 พ.ย.--จีเอเบิล
ม.เกษตรฯ เปิดวิสัยทัศน์กว้างไกล นำร่องติดตั้งระบบ Disaster Recovery เป็นแห่งแรกในกลุ่มสถาบันการศึกษา ลงฐานรากรองรับระบบในอนาคต ตั้งเป้าสร้างระบบข้อมูลที่มีเสถียรภาพและเชื่อถือได้ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ในทุกโอกาส วางใจให้เฟิร์ส ลอจิก ผนึกกับ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ และไซแมนเทคร่วมกันออกแบบจนถึงติดตั้งงานสำรองข้อมูลครบวงจร เนื่องจากข้อมูลสำคัญมีปริมาณมากขึ้น ทั้งชี้ตลาดเริ่มให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลด้วยระบบ DR
รศ.สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยถึงการติดตั้ง ระบบ Disaster Recovery (DR) ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยบริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด ว่า จากนโยบายของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการบริหารงานภายในอย่างเป็นรูปธรรม รวม ถึงการให้บริการนิสิตและบุคลากร ส่งผลให้ในช่วงระยะเวลานี้มหาวิทยาลัยมีการขยายตัวทางด้านไอทีค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นการขยายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับหน่วยงานใหม่ การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบเครือข่ายเดิม ตลอดจนการขยายระบบเครือข่ายไร้สายซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 300 จุด และจะขยายอีกกว่า 200 จุดในปีนี้ ส่วนด้านซอฟต์แวร์มีทั้งที่สำนักบริการคอมพิวเตอร์พัฒนาเอง และบางส่วนจะเริ่ม Outsource เพื่อให้เกิดระบบงานใหม่ได้ทันตามกรอบเวลาที่กำหนด อีกทั้งกำลังทยอยเปิดใช้ระบบงานบัญชี 3 มิติ ซึ่งจะเป็นระบบงานขนาดใหญ่ที่สุดของมหาวิทยาลัยในอนาคต จุดนี้ทำให้มหาวิทยาลัยต้องขยายระบบเซิร์ฟเวอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อรองรับระบบงานใหม่ที่กล่าวมา โดยเน้นที่ความน่าเชื่อถือของระบบ ความพร้อมตอบสนองการใช้งานจากผู้ใช้ในทุกโอกาส (Reliability, Availability and Serviceability) โดยระบบ Disaster Recovery เป็นโครงการที่ได้เริ่มต้นมาตั้งปลายปี 2547 และดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นโครงการสำคัญโครงการหนึ่งตามแผนแม่บทของมหาวิทยาลัย และจะเป็นฐานรากที่รองรับระบบงานในอนาคตด้วยเช่นกัน
“ระบบ DR ที่ติดตั้งนี้เป็นงานเริ่มต้นจุดแรกของแผน DR อนาคต ในปัจจุบันงานสารสนเทศบางงานยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ DR นี้ แต่ในอนาคตทุกงานจะต้องมีการรับประกันความน่าเชื่อถือโดยเข้าสู่ระบบ DR และมีการสำรองข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อตอบสนองความความต้องการเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างไม่ติดขัด แม้ในช่วงเวลาที่ระบบหลักไม่สามารถปฏิบัติการได้” รศ.สุรศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ Disaster Recovery เป็นระบบที่ช่วยป้องกันการเกิดความเสียหายของระบบ และการเสียหายของอุปกรณ์ เช่น Server, Storage เป็นต้น เมื่อกระแสไฟฟ้าของอาคารขัดข้อง ซึ่งทำให้ระบบงานหลักไม่สามารถให้บริการได้ และเมื่อ
ระบบงานสำรองทราบ ระบบงานสำรอง หรือ DR จะทำหน้าที่เสมือนระบบงานหลักและให้บริการแทน ซึ่งระบบงานหลักได้รับการแก้ไขให้สามารถกลับมาให้บริการได้แล้ว ผู้ดูแลระบบก็จะสั่งให้ระบบงานหลักมาให้บริการดังเดิม ซึ่ง Downtime ของระบบจะไม่เกิดขึ้นหรือมีน้อยมากๆ
รศ.สุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำนักบริการคอมพิวเตอร์มองเห็นว่า ความมั่นคงและความน่าเชื่อถือของระบบเป็นหัวใจสำคัญในการให้บริการงานสารสนเทศหลายระบบในมหาวิทยาลัย จึงต้องการระบบเซิร์ฟเวอร์และเครือข่ายที่สามารถทำงานได้ตลอดเวลา ในกรณีที่มีส่วนใดขัดข้องจะต้องมีระบบสำรองขึ้นมาทำหน้าที่ทดแทนทันที ดังนั้น DR จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่สร้างให้ระบบทำงานบริการได้ตลอดเวลา และพร้อมที่จะรองรับปัญหาภัยพิบัติที่จะส่งผลให้สูญเสียข้อมูลที่มีความสำคัญสูง
เฟิร์ส ลอจิก ชี้ตลาดเริ่มให้ความสำคัญการสำรองข้อมูล
นายกาญจน์ โชคนำกิจ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด เปิดเผยถึง การติดตั้งระบบ DR ว่า ลักษณะของการทำ DR มีหลายรูปแบบ เฟิร์ส ลอจิก เสนอแนวทางของระบบ Disaster Recovery แบบ Metropolitan Disaster Recovery ที่มีลักษณะเป็นการทำ Cluster ของระบบงานและ Remote Mirroring ของข้อมูล ระหว่างอาคารสำนักบริการคอมพิวเตอร์และอาคารของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งมหาวิทยาลัยมีการเชื่อมต่อระหว่างตึกด้วยสาย Fiber Optic เพื่อรองรับระบบต่างๆ ดังนั้นระบบ Disaster Recovery นี้จะช่วยให้สำนักบริการคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง และผู้ใช้เกิดความพึงพอใจกับบริการต่างๆของมหาวิทยาลัยฯ รวมถึงกระบวนการทำงานของมหาวิทยาลัยสามารถดำเนินต่อไปได้
“เรามีโอกาสเข้าไปนำเสนอ และแนะนำระบบ DR ที่เพิ่มเติมจากการทำ Back up อย่างเดียว ประกอบกับเรามี Solution ที่สามารถตอบความต้องการของม.เกษตร ที่ต้องการเก็บข้อมูล และป้องกันการเสียหายของข้อมูลได้ สำหรับโครงการนี้ เราเข้าไปทำตั้งแต่การ Design Hardware ด้วย Server และ Storage ที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพสูงของ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ และใช้ Software จากบริษัทไซแมนเทค ซึ่งได้แก่ ซอฟท์แวร์เน็ตแบ็กอัพ เซิร์ฟเวอร์ ( NetBackup Server) และ สตอเรจ ฟาวเดชั่น (Storage Foundation) ไปจนถึงการ Implement โดยโครงการนี้ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี ซึ่ง DR จะแตกต่างจากการ Back up โดยที่ DR จะเป็นการเก็บระบบทั้งหมด แต่ Back up จะเป็นการเก็บเฉพาะ Data อย่างเดียว และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่ติดตั้งระบบ DR” นายกาญจน์กล่าว
นายกาญจน์กล่าวเพิ่มเติมถึงระบบ DR ในกลุ่มสถาบันการศึกษาว่า ปัจจุบันสถาบันหลายแห่ง เริ่มมีข้อมูลที่ต้องเก็บมากขึ้น ซึ่งข้อมูลนั้นๆ ก็มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้สำหรับส่วนกลาง ภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลด้านการเงิน ดังนั้นทุกหน่วยงานจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาข้อมูลนั้นๆ ไม่ให้เสียหาย อีกทั้งเป็น Solution ที่ในขณะนี้มีหลายหน่วยงานที่ให้ความสนใจแล้ว
รศ.สุรศักดิ์กล่าวในตอนท้ายว่า เฟิร์ส ลอจิก มีความสัมพันธ์อันดีร่วมกับสำนักบริการคอมพิวเตอร์มาโดยตลอดเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะในด้านของการจัดหาเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่สำหรับงานสารสนเทศมหาวิทยาลัย ตลอด จนการบำรุงรักษาระบบ โครงการที่เฟิร์ส ลอจิก ทำอยู่ในปัจจุบันนอกจากระบบ DR แล้วก็จะมีการสร้างระบบสำรองข้อมูลขนาดกลาง ซึ่งสำนักบริการคอมพิวเตอร์จัดซื้อชุดสำรองข้อมูลความจุโดยรวมประมาณ 9 เทราไบต์ และในอนาคตก็อยู่ระหว่างการเตรียมจัดซื้อระบบสำรองข้อมูลอีกกว่า 20 เทราไบต์เพื่อขยายงานด้านอีเมล์เพื่อรองรับทั้งนิสิตปัจจุบัน และนิสิตเก่า ตลอดจนการให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลทั่วไป สำนักฯตั้งเป้าไว้ว่าจะให้บริการพื้นที่อีเมล์ขนาด 1 กิกะไบต์เพื่อใช้งานสำหรับนิสิตและบุคลากรกว่า 10,000 คน
คุณสันติ ประสานวงศ์วุฒิ ผู้จัดการช่องทางการจัดจำหน่ายประจำประเทศไทย บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ไซแมนเทคมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับการไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในเมืองไทยในการเลือกใช้โซลูชั่นสำหรับระบบ DR ซึ่งนับเป็นการตอกย้ำศักยภาพความเป็นผู้นำของไซแมนเทคทั้งในด้านวิสัยทัศน์ ความเป็นผู้นำเทคโนโลยีในตลาด อีกทั้งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพที่โดดเด่นในการนำเสนอโซลูชั่นที่ตรงต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :
คุณชุติมา สีดา
คุณนุสรินทร์ เพชร์หลำ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กลุ่มบริษัทจีเอเบิล
โทร. 0-2678-0200 ต่อ 2996-9
e-mail : g-able.pr@g-able.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--