ออโตเดสก์เล่นบทพระเอกคืนลมหายใจให้ G.I. Joe ไอคอนในดวงใจอเมริกันชน

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday September 2, 2009 10:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 ก.ย.--พิตอน คอมมิวนิเคชั่น กองทัพวิช่วลเฟเฟ็กซ์สตูในลอนดอน คานาดา คาลิฟอร์เนีย ยกกองทัพซอฟท์แวร์ออโตเดสก์สร้างภาพยนตร์สุดฮอต Autodesk Flame, Maya, 3ds Max, Softimage, Mudbox, MotionBuilder และ FBX ออโตเดสก์, อิงค์ (NASDAQ: ADSK) ขอคารวะอาร์ติสท์ทั่วโลกที่ทุ่มกำลังใจสร้างสรรค์วิช่วลเอ็ฟเฟ็กซ์ 1,500 ช็อตเด็ดเพื่อความบันเทิงผ่านภาพยนตร์สุดฮอต G.I. Joe: The Rising of the Cobra ที่ช็อตเด็ดๆ สร้างความตื่นเต้นให้ผู้ชมล้วนมาจากกองทัพซอฟท์แวร์ออโตเดสก์ตั้งแต่ Autodesk Flame, Autodesk Maya, Autodesk 3ds Max, Autodesk Softimage, Autodesk MotionBuilder, Autodesk Mudbox และ Autodesk FBX “เคล็ดลับเบื้องหลังงานวิช่วลเอ็ฟเฟ็กซ์คือ การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกันให้เอื้อต่อแรงคิดสร้างสรรค์ ให้พรั่งพรูลื่นไหลประสานกันระหว่างกองทัพอาร์ติสท์ที่มาร่วมลงแขกครั้งนี้” สติก กรูมัน รองประธานฝ่ายดิจิตัลเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ออโตเดสก์มีเดีย & เอ็นเตอร์เทนเท้นต์เผย “กุญแจสู่ความสำเร็จของ ’G.I. Joe’ คือภาพประกอบ (illustration) ที่มาจากงานสร้างสรรค์ของวิช่วลเอ็ฟเฟ็กซ์สตูดิโอที่มากความสามารถระดับสายดำถึง 6 สตูด้วยกัน แต่ละสตูใช้ทูลในการทำงานตัวเดียวกัน คือ ออโตเดสก์ ดังนั้นตอนที่เรารวบรวมประสานข้อมูลงานออกแบบทั้งหมดเข้าด้วยกันภายใต้ร่มโปรเจ็คท์เดียวกันนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยาก และผลลัพธ์ที่ได้สร้างความตะลึงตื่นตาตื่นใจให้แก่โลกภาพยนตร์” ทั้งหกสตูดิโอสายดำมีดังนี้ Digital Domain (ฮอลิวู้ด) — ทีมงาน 175 คน กับเวลาอีกเกือบหนึ่งปี สำหรับผลงานวิช่วลเอ็ฟเฟ็กซ์ (VFX) 320 ช็อตที่ปรากฎในสองช่วงของภาพยนตร์ — ฉากไล่ล่าในกรุงปารีสที่หักมุมได้ใจด้วยหอไอเฟลหักโค่นและฉากขบวนรถคุ้มกันโดนถล่มยับ สตูดิโอนี้ใช้ Maya เป็นตัวหลักในการทำอะนิเมชั่น, ขึ้นรูปแบบจำลองโมเดล, แสง, สคริปต์ตัวละคร และริกกิ้งทูล ส่วนการทำสเก็ตช์แบบจำลองโมเดลใช้ Mudbox “หอไอเฟลเป็นโมเดลขนาดยักษ์และมีรายละเอียดมาจากหลายล้านโพลิกอน เราได้ Maya มาช่วยในการควบคุมข้อมูลปริมาณมหาศาลของรายละเอียดเหล่านี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ตามเป้าหมาย ต้องถือว่า Maya เป็นโปรแกรมที่แกร่งมาก แต่ที่เห็นจะเด็ดที่สุดน่าจะต้องยกให้เรื่องความเปิดกว้างของโปรแกรมให้ประสานงานเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างโปรเจ็คท์ใหญ่ได้อย่างราบรื่น” เบิร์นฮาร์ด อันเจเร หัวหน้าทีมอะนิเมชั่น CIS (ฮอลิวู้ดและแวนคูเวอร์) — 265 ช็อตเด็ดในห้าฉากความยาว 20 นาที ทีม CIS เลือกใช้ออโตเดสก์เป็นทูลสร้างงานรวมทั้งทำแบบจำลองโมเดลแบบ hard-surface, ถ่ายทอดลีลาสตั๊นท์จากนักแสดงต้นแบบและสร้างฉากทิวทัศน์เวอร์ช่วลทั้งหลาย (สำนักงานใหญ่ของ G.I. Joe, ทะเลทรายซาฮาร่า, ปล่องพลังงาน, เครื่องกีดขวางใต้น้ำ และขั้วโลกที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง) “หนังเรื่องนี้ยิ่งใหญ่อลังการจริงๆ ครับ ถ้าไม่มี Maya และ Flame ผมนึกภาพไม่ออกจริงๆ ว่าหนังที่ภาพประกอบฉากต่างๆ ซับซ้อนละเอียดขนาดนี้จะสำเร็จออกมาได้อย่างไร” หัวน้าทีม CIS VFX ไบรอัน ฮิโรตะ “ทีมเราไม่ได้ใช้แค่ Maya นะครับ ยังมี 3dx Max กับ FumeFX plug-in มาช่วยสร้างและเรนเดอร์ฉากไฟไหม้ ฉากควันโขมง และใช้ MotionBuilder ช่วยโปรเซสภาพการเคลื่อนไหว และ Flame ช่วยทำภาพคอมโพสิต 2?D และ 3D อีกด้วยครับ” MPC (The Moving Picture Company) (ลอนดอน) — วิช่วลเอ็ฟเฟ็กซ์ 168 ช็อต ของฉากแอคชั่นบนโขดหินมหึมาใต้น้ำ ภาพทัศนวิสัยทั้งหมดจากฝีมือการสร้างฉากดิจิตัลโดยทีมอาร์ติสท์ 100 คน หัวหน้าทีม MPC VFX เกรก บัทเลอร์ เล่าให้ฟังว่า “ทีมงานเรามีประสบการณ์จากงานภาพยนตร์เรื่อง Poseidon ของบอยด์ เชอร์มิสมาแล้ว ครั้งนี้กับ G.I. Joe จึงมั่นใจ และยึดเอา Maya เป็นทูลหลักของการทำงาน Mudbox สำหรับทำรายละเอียดจำพวกหักงอโลหะ และ MotionBuilder ดูแลภาพเคลื่อนไหว ทูลเหล่านี้ของออโตเดสก์กลายมาเป็นมาตรฐานการใช้งานไปแล้วในปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่าทำงานได้สะดวกขึ้น ค้นคว้าทดลองหรือพัฒนาโค้ดเสริมขึ้นมาเองก็คล่องตัว เพราะมี FBX ทำให้ไม่จำเป็นต้องเขียนสคริปท์เสริม การใช้ข้อมูลระหว่างกันก็ง่ายไม่ยุ่งยากแปลงไฟล์เปลี่ยนแบบเป็นกระบวนการที่ทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างยิ่ง” Prime Focus VFX (หรือในชื่อเดิมว่า Frantic Films VFX) (ฮอลิวู้ด, วินนิเป็ก, แวนคูเวอร์) — ทีมงาน 55 คนอุทิศให้ 124 ช็อตเด็ดที่รวมถึง previsualisation, ฉากดิจิตัล, liquid simulation และเรนเดอร์องก์ประกอบจำนวนมาก โดยตอนจบของเรื่องอัดด้วยฉากแอคชั่นบู๊ตะลุยหักด่านออปเจ็คท์มากมาย จะเห็นได้จากงานของทีม Prime Focus ที่เข้มชัดในฉากที่เครื่องบินโดนปลวกนาโนเขมือบหายไปทั้งลำ (อาวุธสุดไฮเทคที่ไม่ยั่นแม้แต่โลหะ), ฉากดิจิตัลขนาดยักษ์ และฉากท้องฟ้าถูกเมฆหมอก 3D บดบังหนาแน่น ประธาน Prime Focus VFX คริส บอนด์ กล่าว “3ds Max และ Maya เป็นทูลตัวหลักของทีมเรา ที่ใช้สร้างอะนิเมชั่นไปป์ไลน์คู่กับ Krakatoa ตัวเรนเดอร์ของเราเองที่สามารถเรนเดอร์ปาร์ติเกิ้ลจำนวนเป็นพันๆ ล้านปาร์ติเกิ้ลได้ดี ผลลัพธ์ดูได้จากฉากปลวกนาโนเขมือบเครื่องบินครับ” CafeFX (ซานตามาเรีย) — “ตื่นเต้นสุดๆ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการชุบชีวิตอเมริกันไอคอน จีไอ โจ คืนสู่จอเงิน” หัวหน้าทีม CG เซ็ธ ลิปมัน กล่าวด้วยความตื่นเต้นจริงจัง ด้วยทีมอาร์ติสท์ 50 คนทุ่มแรงสร้าง 100 กว่าช็อต รวมทั้งฉากซับซ้อนอย่างการเปลี่ยนหน้าตะกั่วของตัวละคร เดสโตร, ซาร์แทน และนีโอไวเปอร์ “ทีมเราใช้ Maya ทำอะนิเมชั่นให้กับตัวละคร สร้างการเคลื่อนไหวให้เข้ากับมุมกล้อง และใช้ Softimage ทำซีจีเอ็ฟเฟ็กซ์อะนิเมชั่นและแสงเงา และเราแฮปปี้กับ Softimage ICE (Interactive Creative Environment) มาก ทั้งตัวไดนามิกเอ็นจิ้นและศักยภาพในการทำ multi-thread simulations ได้ใจทีมงานไปเต็มๆ ยิ่งพอมาใช้ mental ray ช่วยประสานรอยต่อระหว่างเอ็ฟเฟ็กซ์และแสงเงาได้เนียน แต่ที่ยอดที่สุดของการใช้ Maya และ Softimage คือความคล่องตัวที่ได้รับจากการเป็นทูลที่ให้ลูกเล่นถึงใจผู้ใช้ ทำให้เราสามารถดึงจินตนาการสุดขั้วในตัวอาร์ติสท์ออกมาได้มากที่สุดผ่านทูลที่เป็นเสมือนกระบี่คู่กายของพวกเขา” Framstore (ลอนดอน) — Framestore รับผิดชอบสร้างฉากใหญ่ๆ อยู่หลายฉากด้วยกัน อาทิ ฉากเฮลิคอปเตอร์ทะยานขึ้นจากลานจอดในอัฟกานิสถาน, ภาพวาดกรุงปารีส, ไซโลเก็บจรวดใต้ดิน และเรือบรรทุกเครื่องบินฝ่าคลื่นลมพายุในท้องทะเลปั่นป่วน เป็นต้น “เราทำสคริปท์ไพธอน (python) สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นจำนวนมากเพื่อให้ภาพออกมาเสมือนจริงที่สุด” จอน ธัม หัวหน้าทีม VFX เล่า “ข้อได้เปรียบของโปรแกรม Maya คือการเขียนสคริปท์ Maya ยืดหยุ่นต่อการขยายตัวได้ดีเสียจนทีมงานเราผนวกเข้าไปป์ไลน์งานของเราเกือบทั้งหมด แน่นอนว่า Maya คือสุดยอดทูลในดวงใจของพวกเรา” เกี่ยวกับออโตเดสก์ ออโตเดสก์, อิงค์ เป็นผู้นำโลกแห่งซอฟท์แวร์เพื่อการออกแบบ 2D และ 3D สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ การผลิต, การก่อสร้างและออกแบบอาคาร รวมทั้งมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ตั้งแต่เปิดตัวซอฟท์แวร์ AutoCAD เมื่อปีพ.ศ. 2525 ออโตเดสก์พัฒนานำเสนอโซลูชั่นเพื่อการทำแบบจำลองดิจิตัลที่ทันสมัยออกมาอย่างต่อเนื่องสู่วงการอุตสาหกรรมการออกแบบดิจิตัล เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มผู้ใช้งานได้ทดสอบจินตนาการของตนก่อนที่จะทำการสร้างจริง จะเห็นได้จากบริษัทกว่า 1,000 บริษัท ที่ติดอันดับฟอร์จูน นั้นต่างวางใจใช้ออโตเดสก์เป็นเครื่องมือในการช่วยงานออกแบบสร้างสรรค์ จำลองผลงานออกแบบ และวิเคราะห์การทำงานเสมือนจริงได้ตั้งแต่ระหว่างขั้นตอนการออกแบบ เพื่อเป็นการประหยัดได้ทั้งเวลาและต้นทุน เน้นการเพิ่มคุณภาพและสร้างสรรค์นวัตกรรม อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่นต่างๆ ของออโตเดสก์ได้ที่ www.autodesk.com Autodesk, AutoCAD, FBX, Flame, Maya, MotionBuilder, Mudbox, Softimage and 3ds Max are registered trademarks or trademarks of Autodesk, Inc., and/or its subsidiaries and/or affiliates in the USA and/or other countries. . mental ray is a registered trademark of mental images GmbH licensed for use by Autodesk, Inc. Python is a registered trademark of Python Software Foundation. All other brand names, product names or trademarks belong to their respective holders. Autodesk reserves the right to alter product offerings and specifications at any time without notice, and is not responsible for typographical or graphical errors that may appear in this document. 2009 Autodesk, Inc. All rights reserved ข้อมูลประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: พิตอน คอมมิวนิเคชั่น: บูรณี จันทรปรรณิก, ชลวรรณ วงษ์อินทร์, 02 690 56 81-4 อีเมล์: buranii@PITON.biz, chonlawon@PITON.biz

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ