กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--ซีเมนส์
กังหันที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษของซีเมนส์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไบโอเอทานอลในประเทศบราซิล ซึ่งประสิทธิภาพที่สูงขึ้นนั้นเกิดจากการนำเอาพลังงานชีวมวลที่เหลือจากกระบวนการผลิตมาใช้ โดยไบโอเอทานอลในประเทศบราซิลนั้นผลิตมาจากอ้อยซึ่งปลูกขึ้นเพื่อการผลิตไบโอดีเซลโดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากการใช้ข้าวโพดเนื่องการกระบวนการผลิตไม่ส่งผลกระทบต่อพืชผลซึ่งนำมาใช้เป็นอาหาร ในอดีตนั้นชานอ้อยซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากอ้อยจะถูกนำไปเผาหรือนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ แต่ปัจจุบันโรงกลั่นเอทานอลได้ใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานในโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลขนาดเล็ก ส่งผลให้พลังงานที่ผลิตได้ในแต่ละโรงกลั่นในประเทศบราซิลเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542
ประเทศบราซิลนั้นเป็นรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลกที่ผลิตไบโอเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง และต้นทุนของไบโอเอทานอลนั้นถูกกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงมากทำให้ครึ่งหนึ่งของรถยนต์ในประเทศบราซิลติดตั้งเครื่องยนต์ “flex-fuel” ซึ่งขับเคลื่อนได้ด้วยทั้งเอทานอลและก๊าซ ทั้งนี้ ม.ร.โจเซ่ โกลเดมเบริ์ก (Jose Goldemberg) นักฟิสิกส์และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานได้ชี้ให้เห็นว่าการผลิตและการใช้ไบโอเอทานอลนั้นก่อให้เกิดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (carbon footprint) เพียงเล็กน้อย แม้จะต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่าขนส่งและค่าการกลั่น โดยไบโอเอทานอลที่ผลิตจากอ้อยสามารถลดการเกิดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ได้ราวร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากพืชวัตถุดิบ (feedstock) อื่นๆ เช่น ข้าวโพด ก็มีมากกว่า นอกจากนี้ การใช้พืชดังกล่าวยังถูกวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากการเพาะปลูกแย่งพื้นที่เพาะปลูกพืชที่เป็นอาหาร ในทวีปยุโรปนั้นการผลิตไบโอเอทานอลมีต้นทุนสูงกว่าในประเทศบราซิลถึง 4 เท่าเนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของบราซิลเหมาะสมกับการเพาะปลูกมากกว่า ทั้งนี้ ม.ร. โกลเดมเบริ์กคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2563 จะมีการใช้เอทานอลที่ผลิตจากอ้อยแทนการใช้น้ำมันเบนซินร้อยละ 10 ทั่วโลก โดยเห็นว่าประเทศอินเดียและโคลัมเบียน่าจะเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด
โรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้ชานอ้อยในการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือไอน้ำนั้นนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโรงกลั่นเอทานอลแล้ว ยังช่วยลดการปล่อยปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (carbon footprint) อีกด้วย ทำให้โรงกลั่นเอทานอลหลายแห่งในบราซิลซึ่งประกอบการโรงงานดังกล่าวสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ระหว่าง 27 ถึง 70 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ดีต้นทุนในการผลิตที่สูงถือเป็นปัญหาต่อผู้ประกอบการ ดังนั้นซีเมนส์จึงได้ทำการปรับปรุงกังหันไอน้ำรุ่น SST-300 ซึ่งผ่านการพิสูจน์ในทวีปยุโรปแล้วว่าตรงกับความต้องการของตลาดในประเทศบราซิล ด้วยความร่วมมือกันระหว่างวิศวกรเยอรมันกับบราซิลจึงได้ทำการปรับแต่งตัวกังหันเพื่อที่ว่าจะสามารถทำการผลิตทั้งหมดได้ในประเทศบราซิลโดยใช้วัตถุดิบในประเทศ ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนต่อหน่วยได้ทั้งสิ้นประมาณร้อยละ 30 ซึ่งการใช้โรงไฟฟ้าชีวมวลช่วยให้ผู้ผลิตชาวบราซิลเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ เจษฎาณี เอี่ยมศุภสวัสดิ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร บ. ซีเมนส์ จำกัด ประเทศไทย
โทร. 0-2715-4045 e-mail : Jetsadaneei@siemens.com