กรุงเทพฯ--7 ก.ย.--มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ดำเนินการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยการสุ่มแบบ Non Probability Sampling Technique ด้วยวิธีการ Accidental Sampling Technique จากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 5 - 6 สิงหาคม 2552 จำนวนทั้งสิ้น 1,400 ชุด เมื่อตรวจสอบแบบสอบถามแล้ว พบว่ามีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะนำมาวิเคราะห์จำนวน 1,379 ชุด ผลการวิเคราะห์พบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุ 31-50 ปี มากที่สุดคิดเป็น 41.4% รองลงมา 21-30 ปี คิดเป็น 34.3 %และไม่เกิน 20 ปี คิดเป็น 20.2% ส่วนที่อายุ 51 ปีขึ้นไปมีบ้างเล็กน้อย
คิดเป็น 4.1% โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีอาชีพนักเรียน/นักศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.3 %รองลงมาเป็นอาชีพค้าขาย คิดเป็น 21.3 % อาชีพรับจ้าง คิดเป็น 15.7% และอาชีพหนักงานเอกชน คิดเป็น 13.1% ตามลำดับ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ คิดเป็น 9.8 % อาชีพรับราชการมีอยู่บ้างเล็กน้อย คิดเป็น 3.6% เช่นเดียวกับอาชีพอิสระ คิดเป็น 3.2 %
ตาราง 1 อายุ
อายุ จำนวน ร้อยละ
ไม่เกิน 20 ปี 278 20.2
21 - 30 ปี 473 34.3
31 - 50 ปี 571 41.4
51 ปีขึ้นไป 57 4.1
ตาราง 2 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ
ความเข้าใจ จำนวน ร้อยละ
ไม่เข้าใจ 336 24.4
พอเข้าใจ 974 70.6
ปานกลาง 57 4.1
เข้าใจมาก 10 .7
เข้าใจมากที่สุด 2 .1
ประเด็นความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พบว่าผู้ตอบส่วนใหญ่มีความเข้าใจพรบ.บ้างเล็กน้อย คิดเป็น 70.6% ไม่เข้าใจพรบ.นี้เลย คิดเป็น 24.4% และเข้าใจระดับปานกลาง ระดับมากและมากที่สุด มีอยู่บ้างเล็กน้อยมาก รวมกันไม่ถึง 5%
ตาราง 3 เคยทราบเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ
เคยทราบ จำนวน ร้อยละ
เคย 707 51.3
ไม่เคย 672 48.7
ประเด็นว่าท่านเคยได้ยินเกี่ยวกับพระราชบัญญัติกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หรือไม่พบว่ามีผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่าไม่เคยได้ยินพรบ.ฉบับนี้มีจำนวน 51.3 % และเคยได้ยินมีจำนวน 48.7 % ตามลำดับ
ตาราง 4 แหล่งได้ยิน
แหล่งบุคคล จำนวน ร้อยละ
ครู/อาจารย์ 189 26.8
ผู้ปกครอง 95 13.5
ญาติ 134 19.0
เพื่อน 202 28.6
ผู้บังคับบัญชา 66 9.3
อื่นๆ 20 2.8
ในส่วนของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ที่เคยได้ยินเกี่ยวกับพระราชบัญญัติกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ตอบว่าได้รับทราบจากเพื่อนมากที่สุด คิดเป็น 28.6 % รองลงมาคือจากครู คิดเป็น 26.8 % จากญาติ คิดเป็น 19.0 % จากผู้ปกครอง คิดเป็น 13.5 % จากผู้บังคับบัญชา คิดเป็น 9.3 % และทราบจากแหล่งอื่น ๆ เล็กน้อยมาก คิดเป็น 2.8 %
ในส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่ตอบว่าไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับพระราชบัญญัติกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพราะเห็นว่าเป็นเพราะคิดว่าเป็น เรื่องไกลตัว และคิดว่าตนเองไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้คิดเป็น 55.5% มากที่สุด รองลงมาไม่มีใครบอกให้ทราบ คิดเป็น 23.4%และไม่อยากสนใจ คิดเป็น 21.1 % ตามลำดับ
ตาราง 6 เหตุผลที่ไม่เคยได้ยิน
เหตุผลที่ไม่เคยได้ยิน จำนวน ร้อยละ
ไกลตัว 225 33.3
ไม่เกี่ยวข้อง 149 22.1
ไม่สนใจ 142 21.0
ไม่มีใครบอก 158 23.4
อื่นๆ 1 .1
ตาราง 5 สื่อทั่วไป
สื่อทั่วไป จำนวน ร้อยละ
หนังสือพิมพ์ 121 17.1
โทรทัศน์ 233 33.0
นิตยสาร 9 1.3
อินเทอร์เน็ต 339 48.0
อื่นๆ 4 .6
ประเด็นแหล่งข่าวสารที่ท่านได้รับรู้พรบ. ฉบับนี้ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามตอบว่า สื่ออินเทอร์เน็ต มีผลมากที่สุดคิดเป็น 48.3 % และสื่อโทรทัศน์ คิดเป็น 33.2 % ส่วนสื่อหนังสือพิมพ์ คิดเป็น 17.2% ตามลำดับ ส่วนจากนิตยสารมีผลอยู่บ้างเล็กน้อย คิดเป็น 1.3 %
ตาราง 7 หน่วยงาน
หน่วยงาน จำนวน ร้อยละ
ตำรวจ 71 5.1
กระทรวงวิทยาศาสตร์ 263 19.1
กระทรวงยุติธรรม 139 10.1
กระทรวงไอซีที 906 65.7
ประเด็นว่าพรบ.ฉบับนี้นี้เกี่ยวข้องกับหน่วยงานไดมากที่สุดพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คิดว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) คิดเป็น 65.7 % กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คิดเป็น 19.1 % กระทรวงยุติธรรม คิดเป็น 10.1 % และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คิดเป็น 5.1% ตามลำดับ
รวบรวมและประมวลผลข้อมูล โดยศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจและจริยธรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ฝ่ายวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
หมายเลขโทรศัพท์ 02 — 160 — 1507
หมายเลขโทรสาร 02 — 243 — 6866