รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน และสภาพน้ำท่า 2549 วันที่ 17 ตุลาคม 2549 เวลา 06.00 น.

ข่าวทั่วไป Tuesday October 17, 2006 09:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ต.ค.--ปภ.
1. ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2549 วันที่ 9-12 กันยายน 2549 และวันที่ 18-23 กันยายน 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง พายุดีเปรสชั่นเคลื่อนตัวผ่าน (24-25 ก.ย.49) และพายุดีเปรสชั่น “ช้างสาร” (1-3 ต.ค.49) ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ ระดับน้ำในแม่น้ำมีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มริมฝั่งของลำน้ำหลายพื้นที่
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 46 จังหวัด 305 อำเภอ 19 กิ่งอำเภอ 1,856 ตำบล 10,411 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,920,973 คน 800,878 ครัวเรือน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม นครนายก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และกรุงเทพมหานคร
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 73 คน จังหวัดเชียงใหม่ 7 คน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2 คน จังหวัดลำปาง 2 คน จังหวัดสุโขทัย 7 คน จังหวัดพิษณุโลก 8 คน จังหวัดนครสวรรค์ 8 คน จังหวัดเพชรบูรณ์ 1 คน สิงห์บุรี 1 คน จังหวัดอ่างทอง 8 คน จังหวัดพิจิตร 1 คน จังหวัดปราจีนบุรี 7 คน จังหวัดจันทบุรี 4 คน จังหวัดปทุมธานี 2 คน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 11 คน จังหวัดชัยภูมิ 2 คน จังหวัดลพบุรี 1 คน และจังหวัดพังงา 1 คน สูญหาย 3 คน (จังหวัดเชียงใหม่ 1 คน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 1 คน และจังหวัดปราจีนบุรี 1 คน)
(ยอดผู้เสียชีวิตเดิม 56 คน เพิ่ม 17 คน เป็น 73 คน)
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 44 หลัง เสียหายบางส่วน 8,005 หลัง ถนน 3,347 สาย สะพาน 263 แห่ง ท่อระบายน้ำ 385 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 463 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตร 1,836,418 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 19,559 บ่อ วัด/โรงเรียน 466 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 305,289,193 บาท
สถานการณ์ปัจจุบัน
2. พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 16 จังหวัด เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านพื้นที่สูงกว่าตลิ่ง ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี ปราจีนบุรี และกรุงเทพมหานคร ดังนี้
2.1 จังหวัดในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน รวม 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ ริมแม่น้ำ และพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้แก่
- จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ 9 ตำบล อำเภอพรหมพิราม 9 ตำบล อำเภอเมือง 1 ตำบล และอำเภอวัดโบสถ์ 6 ตำบล
- จังหวัดสุโขทัย จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 6 ตำบล และ อำเภอกงไกรลาศ 11 ตำบล ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง
- จังหวัดพิจิตร จำนวน 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 11 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลท่าฬ่อ) อำเภอสามง่าม 4 ตำบล อำเภอวชิรบารมี 3 ตำบล อำเภอโพธิ์ประทับช้าง 7 ตำบล อำเภอโพทะเล 9 ตำบล อำเภอตะพานหิน 10 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองตะพานหิน) อำเภอบางมูลนาก 9 ตำบล และกิ่งอำเภอบึงนาราง 5 ตำบล
- จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 16 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลนครนครสวรรค์) อำเภอชุมแสง 11 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลทับกฤช) อำเภอเก้าเลี้ยว 5 ตำบล อำเภอโกรกพระ 8 ตำบล 2 เทศบาล (เทศบาลตำบลโกรกพระ และเทศบาลตำบลบางประมุง) อำเภอพยุหะคีรี 7 ตำบล อำเภอบรรพตพิสัย 13 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลบรรพตพิสัย) และอำเภอท่าตะโก 10 ตำบล
ส่วนการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ นั้น ทุกหน่วยงานยังคงปฏิบัติงานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง
๏ ระดับน้ำในแม่น้ำยม ที่ฝายบางบ้า อำเภอบางระกำ เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 17 ต.ค.49 ระดับน้ำสูง 42.97 ม. (ระดับตลิ่ง 40.50 ม.) ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 2.47 ม.
๏ ระดับน้ำในแม่น้ำยม เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 17 ต.ค.49 ที่สถานี Y.33 อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 6.52 ม. (ระดับตลิ่ง 10.00 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 3.48 ม. ที่สถานี Y.4 อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 5.08 ม. (ระดับตลิ่ง 7.45 ม.) ต่ำกว่าตลิ่ง 2.37 ม. และที่ฝายยางบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำสูง 10.54 ม. (ระดับตลิ่ง 9.00 ม.) สูงกว่าตลิ่ง 1.54 ม.
2.2 จังหวัดลพบุรี มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากไม่สามารถระบายน้ำลงสู่คลองชัยนาท-ป่าสัก จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอท่าวุ้ง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70-1.10 ม.
2.3 จังหวัดสระบุรี น้ำจากแม่น้ำป่าสักเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 4 ตำบล อำเภอวิหารแดง 2 ตำบล อำเภอเสาไห้ 11 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม. อำเภอบ้านหมอ 6 ตำบล 1 เทศบาล และอำเภอหนองแซง 4 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.00 ม.
2.4 จังหวัดชัยนาท มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 8 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองชัยนาท) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-1.00 ม. อำเภอสรรพยา 7 ตำบล 2 เทศบาล (เทศบาลตำบลสรรพยา และเทศบาลโพนางดำ) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.30-1.80 ม. และอำเภอหันคา 7 ตำบล 2 เทศบาล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.30 ม.
2.5 จังหวัดอุทัยธานี มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแกกรังเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 9 ตำบล 2 เทศบาล (เทศบาลเมืองอุทัยธานี และตำบลอุทัยใหม่) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-1.20 ม.
2) อำเภอหนองขาหย่าง น้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้วและแม่น้ำสะแกกรัง เอ่อเข้าท่วมในพื้นที่ 3 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-0.80 ม.
2.6 จังหวัดสิงห์บุรี มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี 6 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลอินทร์บุรี) อำเภอพรหมบุรี 6 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 1.30-1.80 ม. อำเภอท่าช้าง 4 ตำบล อำเภอบางระจัน 3 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-0.70 ม. และอำเภอเมือง 4 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองสิงห์บุรี) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.30-2.20 ม.
2.7 จังหวัดอ่างทอง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย รวมทั้งคลองสาขามีระดับสูงเกินตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง จำนวน 10 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองอ่างทอง) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-1.60 ม.
2) อำเภอป่าโมก จำนวน 7 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลป่าโมก ชุมชนที่ 1-2,8-10) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-1.25 ม.
3) อำเภอไชโย จำนวน 7 ตำบล 2 เทศบาล (เทศบาลตำบลจระเข้ร้อง และเทศบาลตำบลเกษไชโย) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.25 ม.
4) อำเภอแสวงหา จำนวน 7 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.90 ม.
5) อำเภอวิเศษชัยชาญ จำนวน 13 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.00 ม.
6) อำเภอสามโก้ จำนวน 5 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 ม.
7) อำเภอโพธิ์ทอง น้ำจากแม่น้ำน้อยท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 15 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.50 ม. อำเภอ และองค์การบริหารส่วนตำบล ได้อพยพราษฎรที่ประสบภัยตำบล บางระกำ และตำบลอินทร์ประมูล ไปไว้ที่ถนนบางพับ-ไชโย (สายใน) จำนวน 100 ครอบครัว และได้สร้างเต็นท์ ให้ผู้ประสบภัย จำนวน 30 เต็นท์
2.8 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรี มีระดับสูงขึ้นท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 6 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอพระนครศรีอยุธยา จำนวน 18 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.40 ม.
2) อำเภอบางบาล จำนวน 16 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 1.10-1.40 ม.
3) อำเภอบางไทร จำนวน 23 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.80-1.35 ม.
4) อำเภอผักไห่ จำนวน 16 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 1.10-1.65 ม.
5) อำเภอเสนา จำนวน 10 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลเมืองเสนา) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70-1.25 ม.
6) อำเภอมหาราช จำนวน 5 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.70-1.80 ม.
2.9 จังหวัดสุพรรณบุรี มีน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำท่าจีน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง 16 ตำบล อำเภอบางปลาม้า 14 ตำบล อำเภอสามชุก 7 ตำบล และอำเภอศรีประจันต์ 9 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.80 ม.
2.10 จังหวัดปทุมธานี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณสูงขึ้นประกอบกับมีน้ำทะเลหนุนได้ไหลเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 5 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมือง จำนวน 8 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
2) อำเภอสามโคก จำนวน 10 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลบางเตย) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม.
3) อำเภอคลองหลวง จำนวน 7 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.70 ม.
4) อำเภอธัญบุรี จำนวน 1 ตำบล (ตำบลบึงยี่โถ) และ 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลธัญบุรี) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม.
5) อำเภอลำลูกกา จำนวน 8 ตำบล 3 เทศบาล (เทศบาลเมืองคูคต เทศบาลตำบลลำลูกกา และเทศบาลตำบลลำไทร) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
2.11 จังหวัดนนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงขึ้นประกอบกับมีน้ำทะเลหนุนจึงทำให้น้ำเอ่อล้นไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มและบ้านเรือนราษฎรริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งลำคลองสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด อำเภอเมือง อำเภอบางบัวทอง อำเภอไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางกรวย
2.12 จังหวัดปราจีนบุรี น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรี เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีมหาโพธิ 5 ตำบล 1 เทศบาล (เทศบาลตำบลศรีมหาโพธิ) อำเภอเมือง 11 ตำบล และอำเภอบ้านสร้าง 4 ตำบล ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
2.13 กรุงเทพมหานคร ปริมาณน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ระบายเข้าทุ่งฝั่งตะวันออกมีปริมาณมากทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ ดังนี้
- เขตลาดกระบัง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 37 ชุมชน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
- เขตมีนบุรี มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 13 ชุมชน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.50 ม.
- เขตหนองจอก มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 21 ชุมชน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
- เขตคลองสามวา มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 24 ชุมชน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
- และท่วมในชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ นอกแนวคันกั้นน้ำใน 11 เขต 33 ชุมชน 2,111 ครัวเรือน
3. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2549 เวลา 06.00 น.
ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า สำหรับภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองกระจายในระยะนี้
4. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 01.00 น วันที่ 16 ต.ค.49 ถึง 01.00 น วันที่ 17 ต.ค.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดพิจิตร (อ.เมือง) 10.7 มม.
จังหวัดลพบุรี (อ.เมือง) 13.2 มม.
จังหวัดจันทบุรี (อ.เมือง) 18.0 มม.
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อ.กาญจนดิษฐ์) 6.0 มม.
จังหวัดระนอง (อ.เมือง) 58.4 มม.
จังหวัดสมุทรปราการ (อ.เมือง) 15.5 มม.
5. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูลวันที่ 16 ต.ค.49)
- เขื่อนภูมิพล ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 13,307 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 155 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น ร้อยละ 99 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง 9,443 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 67 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น ร้อยละ 99 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ปริมาตรน้ำ 582 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 128 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 82 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด มีการระบายน้ำ 2.59 ล้าน ลบ.ม. (30 ลบ.ม./วินาที)
6. สภาพน้ำเจ้าพระยา
6.1 วันนี้ (17 ต.ค.49) เวลา 06.00 น. มีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ จำนวน 5,905 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท จำนวน 4,040 ลบ.ม./วินาที และมีปริมาณน้ำระบายจากเขื่อนพระรามหก จำนวน 750 ลบ.ม./วินาที ทำให้ปริมาณน้ำที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีจำนวน 4,790 ลบ.ม./วินาที ทำให้เกิดผลกระทบในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นบริเวณกว้างในหลายพื้นที่ (กรณีปริมาณน้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเกิน 2,500 ลบ.ม./วินาที จะทำให้น้ำท่วม อ.สรรพยา จ.ชัยนาท สองฝั่งเจ้าพระยาของ จ.สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล)
๐สถิติการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท เมื่อคราวเกิดอุทกภัยเมื่อปี 2538 และปี 2545
- 5 ต.ค.2538 ระบายน้ำสูงสุด 4,557 ลบ.ม./วินาที
- 10 ต.ค.2545 ระบายน้ำสูงสุด 3,950 ลบ.ม./วินาที
6.2 ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2549 กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำในการควบคุมน้ำหลากโดยการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา (รับน้ำเข้าทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก 698 ลบ.ม./วินาที และทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก 181 ลบ.ม./วินาที) ไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ในทุ่งเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ผ่านประตูระบายน้ำปากแม่น้ำน้อย แม่น้ำสุพรรณ และคลองชัยนาท-ป่าสัก และได้กำหนดมาตรการลดปริมาณน้ำหลากสูงสุด
ในช่วงที่น้ำทะเลจะหนุนสูง วันที่ 23-25 ตุลาคม 2549 โดยเร่งรัดการส่งน้ำเพิ่มเติมเข้าพื้นที่ชลประทานในช่วงน้ำหลากสูงสุดทางทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก 945,924 ไร่ คิดเป็นปริมาตรน้ำ 341.10 ล้าน ลบ.ม. และทุ่งเจ้าพระยา ฝั่งตะวันออก 435,000 ไร่ คิดเป็นปริมาตรน้ำประมาณ 177.60 ล้าน ลบ.ม. ในพื้นที่ชลประทาน 8 จังหวัด รวมทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก 1,380,924 ไร่ คิดเป็นปริมาตรน้ำ ประมาณ 518.70 ล้าน ลบ.ม.
7. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4,11,12 และรวมทั้งจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ ที่คาดว่าจะเกิดภัยให้เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับ อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
8. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
Disasterthailand@yahoo.com หรือ โทรสาร 0-2241-7450-6 (กลุ่มงานปฏิบัติการ ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ