เอชเอสบีซี เผยผู้จัดการกองทุนมองตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) สดใสในไตรมาส 3

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 11, 2009 08:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--เอชเอสบีซี ***ให้น้ำหนักลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ และตลาดหุ้นจีน*** ***เงินทุนไหลเข้าสุทธิในกองทุนหุ้น ไตรมาส 2/2009 พุ่งสูงขึ้นเท่าระดับปี 2007*** เอชเอสบีซี เผยผลสำรวจผู้จัดการกองทุนรายไตรมาส พบว่า ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่ (9 ใน 10 ราย) ให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในไตรมาส 3/2009 โดยมีผู้ที่เห็นว่าตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิกน่าลงทุนในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45 ของการสำรวจในไตรมาส 2/2009 ผลการสำรวจผู้จัดการกองทุนโดยรวม พบว่า ส่วนใหญ่ให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 50 ในไตรมาส 3/2009 เพิ่มจากร้อยละ 30 ในไตรมาส 2/2009 ร้อยละ 75 ของผู้จัดการกองทุนยังคงมองตลาดหุ้นจีนสดใสในไตรมาสนี้ (ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2009) ขณะที่เกือบ 3 ใน 4 ของผู้จัดการกองทุน หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ที่ให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ โดยมุมมองดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 27 ของการสำรวจคราวก่อน ร้อยละ 70 ของผู้จัดการกองทุน ปรับมุมมองต่อการลงทุนในตลาดพันธบัตรให้เป็นกลางมากขึ้น ในไตรมาส 3/2009 เทียบกับร้อยละ 20 ในไตรมาสก่อน ขณะที่มีความเห็นเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น ที่มองว่าตลาดพันธบัตรยังน่าลงทุน ซึ่งลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 70 ผู้จัดการกองทุนให้น้ำหนักกับการถือครองเงินสดน้อยลง โดยร้อยละ 57 เห็นว่าควรปรับลดการถือครองเงินสดลง เทียบกับร้อยละ 25 ที่มีมุมมองดังกล่าวในไตรมาส 2/2009 และไม่มีผู้จัดการกองทุนรายใดเลยที่แนะนำให้ถือครองเงินสดเพิ่มขึ้น เทียบกับร้อยละ 25 ที่เห็นว่าควรถือครองเงินสด ในไตรมาส 2/2009 มร. บรูโน ลี ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายบริหารความมั่งคั่ง ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า “เรามองว่าการที่ตลาดปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และตลาดเกิดใหม่ ทำให้นักลงทุนหันมาสนใจในหุ้น เนื่องจากนักลงทุนกำลังมองหาโอกาสสร้างผลกำไรให้เพิ่มขึ้น นักลงทุนยังคงมองตลาดหุ้นจีนน่าลงทุน เนื่องจากสภาพตลาดหุ้นที่สดใส และมีสัญญาณที่ดีในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา” บริษัทจัดการกองทุนชั้นนำของโลกรวม 13 แห่ง1 ที่ธนาคารเอชเอสบีซีจัดสำรวจความคิดเห็นเป็นรายไตรมาสนี้ ยังวิเคราะห์ปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ (Fund Under Management: FUM) การให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดต่างๆ กระแสเงินลงทุนทั่วโลก (Global Money Flows) โดยกระแสเงินลงทุนสุทธิ (Net Money Flow)2 คำนวณจากความเคลื่อนไหวของปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ เปรียบเทียบกับความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดตราสารประเภทเดียวกัน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2009 ปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการกองทุน 13 แห่งที่ร่วมในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้อยู่ที่ 3.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 15.2 ของประมาณการปริมาณเงินลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก (Total Global FUM)3 ผลการสำรวจพบว่าเมื่อสิ้นไตรมาส 2/2009 ปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการเพิ่มขึ้น 315 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 11.4 จากไตรมาส 1/2009 โดยกองทุนหุ้น ซึ่งมีปริมาณเงินลดลงถึง 85 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสก่อน กลับมียอดเงินเพิ่มขึ้น 206 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาส 2/2009 ซึ่งเป็นผลให้ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการโดยรวมเติบโตเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่กองทุนอื่น ๆ ยกเว้นกองทุนที่ลงทุนในตลาดเงิน มียอดเงินสูงขึ้นทั้งหมดในไตรมาส 2/2009 กระแสเงินลงทุนสุทธิ เทียบเป็นร้อยละของปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุน ที่ร่วมในการสำรวจ ประเภทตลาด และตราสาร สิ้นไตรมาส 2/2009 สิ้นไตรมาส 1/2009 ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging markets equities) +15.5% -1.6% ตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) (Asia-Pacific ex-Japan equities) +11.2% -0.7% ตลาดหุ้นจีน (Greater China equities) +7.0% +5.2% ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (Japan equities) -10.5% -4.8% ตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ (North America equities) -4.3% -0.1% ตลาดหุ้นยุโรป (รวมสหราชอาณาจักร) -4.3% +1.2% ตลาดพันธบัตรทั่วโลก (Global bonds) +9.8% -5.5% ตลาดพันธบัตรเกิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง (High-yield/emerging markets bonds) +8.5% -5.4% ตลาดพันธบัตรสหรัฐอเมริกา (US bonds) -1.8% +1.7% ตลาดหุ้นเกิดใหม่ ตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) และตลาดหุ้นจีน มีปริมาณเงินทุนไหลเข้าในไตรมาส 2/2009 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่เริ่มกลับมาอันเป็นผลจากการฟื้นตัวและโอกาสการเติบโตของภูมิภาค การที่นักลงทุนยอมรับความเสี่ยงในตลาดที่พัฒนาแล้วได้น้อยลง เป็นผลให้มีเงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ และยุโรป (รวมสหราชอาณาจักร) มร. ลี กล่าวว่า “ในไตรมาส 2/2009 นักลงทุนเริ่มมีความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น โดยเห็นได้จากการที่มีปริมาณเงินทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้น และมีเม็ดเงินกลับเข้าสู่กองทุนหุ้นที่มุ่งลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) ตลาดหุ้นเกิดใหม่ และตลาดหุ้นจีน อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางโอกาสเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอนในระยะยาว และตลาดหุ้นที่ผันผวน นักลงทุนยังคงเลือกที่จะกันเงินลงทุนบางส่วนในตลาดพันธบัตร ที่มีการกระจายการลงทุนในพอร์ตอย่างเหมาะสม” เอชเอสบีซี ได้จัดทำ HSBC Fund Flow Tracker ซึ่งเป็นดัชนีวัดกระแสเงินลงทุนสะสมทั้งหมดเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐตลอดระยะเวลา 12 ไตรมาสที่ผ่านมา โดยแสดงกระแสเงินไหลเข้าสุทธิ (Net inflows) สำหรับกองทุนหุ้น ระหว่างไตรมาส 1/2009 ถึง ไตรมาส 2/2009 ทั้งนี้ ปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิในไตรมาส 2/2009 กลับเพิ่มสูงขึ้นเท่ากับระดับในไตรมาส 1/2007 และไตรมาส 4/2007 หมายเหตุถึงบรรณาธิการ: 1. ผู้จัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจ (Participating fund managers) ครั้งนี้ทั้ง 13 แห่ง ได้แก่ AllianceBernstein, Allianz Global Investors, Baring Asset Management, BlackRock, Fidelity Investment Management, Franklin Templeton Investments, HSBC Global Asset Management, Invesco Asset Management, Investec Asset Management, J.P. Morgan Asset Management, Prudential Asset Management, Schroders Investment Management and Soci?t? G?n?rale 2. กระแสเงินลงทุนสุทธิ (Net fund flows) ได้จากการนำมูลค่าตลาดที่เพิ่มขึ้น มาหักออกจากยอดเงินที่เพิ่มขึ้นของกองทุนภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการกองทุนในไตรมาสที่ 2/2009 3. ปริมาณเงินลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก (Total global FUM) ข้อมูลจาก The Investment Company Institute ระบุว่าปริมาณเงินลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก ณ สิ้นไตรมาส 1/2009 อยู่ที่ 18.15 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ 4. เอชเอสบีซี โฮลดิ้ง พีแอลซี หรือ กลุ่มเอชเอสบีซี กลุ่มเอชเอสบีซี เป็นสถาบันผู้ให้บริการด้านการเงินและการธนาคารที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันมีเครือข่ายสาขาประมาณ 8,500 แห่งใน 86 ประเทศและเขตปกครองทั้งในยุโรป เอเชีย แปซิฟิก ตะวันออกกลาง อเมริกา และแอฟริกา ให้บริการแก่ลูกค้าจำนวนกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก มีสินทรัพย์รวม 2,422,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552) ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งกลุ่มเอชเอสบีซี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วรนันท์ สุทธปรีดา, สาวิตรี หมวดเมือง โทรศัพท์ 0-2614-4609 หรือ 0-2614-4606

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ