กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--สหมงคลฟิล์ม
ประเภท แอ็คชั่น / ไซ-ไฟ
สัญชาติ อเมริกา
อำนวยการสร้าง พอล ดับบลิวเอส แอนเดอร์สัน (Resident Evil Trilogy, Death Race)
กำกับ คริสเตียน อัลวาร์ท (Case 39, Antibodies)
เขียนบท ทราวิส มิลลอยล์ (Just Like Mona)
นำแสดง เดนนิส เคว็ด (G.I.Joe, Vantage Point)
เบน ฟอสเตอร์ (3:10 to Yuma, Alpha Dog, X-Men: The Last Stand)
แคม จิแกนเด็ท (Twilight, Never Back Down)
คุงลี (Fighting, Tekken)
กำหนดฉาย 25 กันยายน 2552
จัดจำหน่าย มงคลเมเจอร์
“อย่ากลัววันสิ้นโลก แต่จงกลัวถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา”
ภาพยนตร์แอ็คชั่น/ไซไฟฟอร์มสุดอลังการ Pandorum นำแสดงโดย เดนนิส เคว็ด (G.I.Joe, Vantage Point) และ เบน ฟอสเตอร์ (3:10 to Yuma, Alpha Dog) ร่วมด้วย แคม จิแกนเด็ท (Never Back Down, Twilight), คุงลี (Tekken, Fighting), และดาราสาวหน้าใหม่ชาวเยอรมัน อันย่า ทราอู, โดยมีผู้กำกับ คริสเตียน อัลวาร์ท (Antibodies) ที่จะเล่าถึงเรื่องราวอันน่าสะพรึงกลัวของสองนักบินอวกาศ ซึ่งถูกทิ้งร้างอยู่บนห้วงอวกาศ แต่ไม่นานนักก็พบว่า พวกเขาไม่ได้อยู่เพียงแค่ลำพัง
โบเวอร์ (เบน ฟอสเตอร์) และ ผู้พันเพย์ตัน (เดนนิส เคว็ด) สองนักบินอวกาศได้ฟื้นจากระบบการจำศีลบนสถานีอวกาศอันใหญ่โต มันมืดสนิท พวกเขารู้สึกสับสน และสิ่งเดียวที่ได้ยินก็คือเสียงฮัมที่มาจากระบบไฟฟ้าของยานอวกาศ พวกเขาไม่มีความทรงจำใดๆหลงเหลืออยู่ พวกเขาคือใคร ? ทำไมพวกเขาถึงมาอยู่ที่นี่ ? และภารกิจของพวกเขาคืออะไรกันแน่ ?
เพย์ตัน ตัดสินใจที่จะอยู่ในห้องจำศีล และพยายามติดต่อสื่อสารคนอื่นด้วยระบบวิทยุ ส่วน โบเวอร์ ก็มุ่งหน้าเข้าไปยังตัวยานด้านใน และเขาก็ค้นพบกับความเป็นจริงอันน่าตกใจ มันมีบางสิ่งที่กำลังตามล่าเขา บางสิ่งที่เหมือนผุดขึ้นมาจากนรกภูมิ เขาค้นพบสองนักบินอวกาศที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็คือ มาห์น (คุงลี) และ นาเดีย (อันย่า ทราอู) ทั้งสามต่างดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด และหลบหนีจากสิ่งที่กำลังไล่ล่าพวกเขาอย่างบ้าคลั่ง
ในไม่ช้าความลับของสาเหตุอันน่าตกใจทั้งหมดก็ถูกเปิดเผย และทำให้นักบินอวกาศที่ยังเอาชีวิตรอดอยู่ได้เรียนรู้ว่า การเอาชีวิตรอดของตัวเองนั้น อาจจะสำคัญถึงความอยู่รอดของมนุษยชาติเลย
ภาพยนตร์เรื่อง Pandorum เขียนบทภาพยนตร์โดย ทราวิส มิลลอยล์ ซึ่งปรับเปลี่ยนตามจินตนาการและได้รับแรงบันดาลใจมาจากผู้กำกับ คริสเตียน อัลวาร์ท ที่ Antibodies ภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา ก็ได้รับเสียงวิจารณ์ในแง่บวกสุดๆ และยังได้รับรางวัลอีกมากมายรวมถึงรางวัลผู้กำกับหน้าใหม่ ในวงการหนังเยอรมันประจำปี 2005 อีกด้วย
Pandorum เป็นการร่วมมือกันครั้งล่าสุดของ เจเรมี่ โบลท์, โรเบิร์ต คัลเซอร์ และ พอล ดับบลิวเอส แอนเดอร์สัน ซึ่งถือว่าเป็นทีมสร้างที่ทำให้แฟรนไชส์ Resident Evil ประสบความสำเร็จมหาศาล โดยยังมี มาร์ติน มอสโควิท และ เดฟ มอร์ริสัน เป็นผู้ร่วมอำนวยการสร้าง
โดยยังมีทีมงานเบื้อหลังที่มีความสามารถมากมาย เช่น ผู้กำกับภาพ เวดิโก้ วอน ชูสเซนดอร์ฟ (Igby Goes Down, Hollywood Ending), ผู้ออกแบบงานสร้าง ริชาร์ด บริทแกลนด์ รวมถึงการสร้างตัวสัตว์ประหลาดจากสตูดิโอของ สแตน วินสตัน ผู้ให้กำเนิดตัวเอเลี่ยนและพรีเดเตอร์
จุดประกายภารกิจ Pandorum
สองปีหลังจากประสบความสำเร็จจากแฟรนไชส์ชื่อดัง Resident Evil สามผู้อำนวยการสร้าง เจเรมี่ โบลท์, โรเบิร์ต คัลเซอร์ และ พอล ดับบลิวเอส แอนเดอร์สัน ก็เริ่มต้นมองหาภาพยนตร์มหากาพย์ครั้งใหม่ ซึ่งก็ทำให้ Pandorum มีโอกาสถือกำเนิดขึ้นมา
แอนเดอร์สัน เล่าว่า "ผมอ่านบทภาพยนตร์ Pandorum เป็นครั้งแรกหลังจากสร้าง Alien vs Predator มันทำให้สมองของผมระเบิดไปเลย ผมคิดว่ามันเอื้อมเข้าไปสู่หัวข้อที่ผมรู้สึกสนใจ โดยแนวคิดในหนังสั่นประสาทที่ตั้งอยู่ในจุดลึกสุดของห้วงอวกาศ ซึ่งความน่ากลัวจะถูกผลักดันด้วยความน่าอึดอัดของยานอวกาศ และการถูกทิ้งร้างในอวกาศที่ไม่มีจุดสิ้นสุด นี้คือเหตุผลเดียวกับที่ผมสร้าง Event Horizon ไปเมื่อทศวรรษที่แล้ว"
แอนเดอร์สัน เล่าต่อว่า "ผมจึงรีบส่งต่อบทภาพยนตร์ไปให้ เจเรมี่ และ โรเบิร์ต เพื่อนของผม และแนะนำพวกเขาว่าพยายามทำให้มันเกิดเป็นโปรเจ็คให้จงได้ ซึ่งถ้าให้ผมพูดในฐานะที่เป็นแฟนหนังธรรมดาคนนึง Pandorum ก็คือภาพยนตร์ที่ผมอยากดูที่สุด"
หนึ่งในผู้อำนวยการสร้าง โรเบิร์ต คัลเซอร์ เล่าว่า "ผมพยายามหาภาพยนตร์ที่จะทำให้ผมพูดว่า "นี้แหละใช่เลย" มาโดยตลอด และ Pandorum ก็ทำให้ผมรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ การที่ได้สร้างภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ภาคต่อ และเป็นหนังที่เป็นต้นฉบับอย่างแท้จริง ถือว่าเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมที่สุด"
บทภาพยนตร์ดั้งเดิมของ Pandorum นั้นถูกเขียนขึ้นโดย ทราวิส มิลลอยล์ ซึ่งในช่วงเวลาที่เขาเขียนเสร็จ คริสเตียน อัลวาร์ท ผู้กำกับดาวรุ่งชาวเยอรมัน ก็ได้ก้าวเข้ามาทำงานในฮอลลิวู้ดพอดี หลังจากที่เขาได้สร้างภาพยนตร์ที่ได้รับเสียงชื่นชมไปไม่น้อยอย่าง Antibodies
โดยการก้าวเข้ามาสู่ฮอลลิวู้ดนี้ อัลวาร์ท หมายมั่นปั้นมือที่จะสร้างโปรเจ็คในฝันของตัวเองอย่าง No Where ซึ่งเกี่ยวกับนักบินอวกาศสี่คน ที่เดินทางอยู่ในห้วงอวกาศเป็นระยะเวลานาน พวกเขาตื่นขึ้นจากระบบการจำศีลโดยไม่มีความทรงจำเกี่ยวกับภารกิจของตัวเอง คริสเตียน เล่าว่า "ผมไม่คิดว่าตัวเองจะสามารถสร้างเรื่องนี้ ได้ในช่วงเวลา 15 ปีนับจากนี้ เพราะมันเป็นหนังที่มีสเกลใหญ่ และจากประสบการณ์ที่ไม่มากนักของผมก็คงหาคนมาลงทุนด้วยลำบาก"
หลังจากได้ดู Antibodies ภาพยนตร์ทริลเลอร์ที่เล่นกับจิตวิทยา และมีการหักมุมในแบบที่ไม่มีใครคาดถึง เจเรมี่ โบล์ท ผู้อำนวยการสร้าง ก็คิดถึง อัลวาร์ท ทันที เขาได้ส่งบทภาพยนตร์เรื่อง Pandorum ไปให้อ่าน โดย คริสเตียน เล่าว่า "เมื่อผมเริ่มอ่านตัวเองก็แทบช็อคไปเลย เพราะว่ามันมีส่วนคล้ายคลึงกับโปรเจ็คในฝันของผมมาก"
อัลวาร์ท เล่าต่อว่า "ผมจึงเล่าเรื่องในแนวคิดของผมให้พวกเขาฟัง โดยใช้ No Where ผสมผสานกับ Pandorum ผมคิดว่าพวกเขาคงหัวเราะเยาะผม” แต่มันไม่เป็นเช่นนั้นเลย เมื่อผู้อำนวยการสร้างทั้งสามต่างปิ๊งในแนวคิด และเริ่มผลักดันให้โปรเจ็คนี้เข้าสู่กระบวนการการพัฒนา จนในที่สุด Pandorum ก็เป็นรูปเป็นร่าง โดยทีมผู้สร้างได้ตั้งใจว่าจะพาคนดูให้เข้าในความลึกลับของห้วงอวกาศ ที่มีความน่าสะพรึงกลัวและความตื่นเต้น ที่มีความฉลาดและการหักมุมที่ไม่มีใครคาดคิด
ถึงแม้ อัลวาร์ท จะเป็นผู้กำกับอายุน้อย แต่ผู้อำนวยการสร้างก็ต่างเชื่อในความสามารถอย่างเต็มที่ โดย คัลเซอร์ เล่าว่า "คริสเตียน มีลูกเล่นมากมายที่สามารถนำมาใช้ในเรื่องนี้ เขาเป็นทั้งแฟนหนังตัวยงและผู้รอบรู้ในเรื่องเทคนิคการสร้างภาพยนตร์ และเขายังมีจินตนาการที่ทั้งบูดเบี้ยวและบรรเจิด ในสมองเขาเต็มไปด้วยไอเดีย"
แอนเดอร์สัน เล่าว่า "ตั้งแต่ครั้งแรกที่ผมเห็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา ผมก็คิดว่าเขาคือผู้กำกับที่มีพรสวรรค์ ผมชอบเซ้นส์ในเรื่องความมืดหม่นและบูดเบี้ยว ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราทั้งสองแชร์ร่วมกัน เขาได้นำเอาวิสัยทัศน์ที่มีเอกลักษณ์เข้ามาสู่ Pandorum"
โบลท์ พูดเสริมว่า "คริสเตียน สัญญากับเราว่า จะสร้างสิ่งที่วิเศษและแปลกใหม่ ซึ่งเขาก็ทำได้ตามที่พูดเอาไว้จริงๆ เขามีแรงจูงใจในการสร้างภาพยนตร์ และความชัดเจนในความคิดของตัวเอง ก็แยกให้เขาออกจากผู้กำกับหน้าใหม่คนอื่นๆ"
คัดเลือกลูกเรือ Pandorum
เดนนิส เคว็ด เป็นนักแสดงคนแรกที่เข้ามาเป็นลูกเรือยานอวกาศที่ชื่อ Elysium โดยรับบทเป็น ผู้พันเพย์ตัน ซึ่งเขาก็มีโรคประจำตัวคือกลัวที่แคบ ด้วยความมีประสบการณ์ของ เพย์ตัน เขาก็ได้บอกเส้นทางกับ ลูก โบเวอร์ นักบินอวกาศรุ่น ให้เดินทางไปตามช่องระบายอากาศสุดซับซ้อนในยาน จนกระทั่งถึงช่วงเวลาที่เขาได้เผยตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง
ผู้อำนวยการสร้าง คัลเซอร์ เล่าว่า "ในการพูดคุยกันครั้งแรกของทีมงาน พวกเราพูดคุยกันว่า "มันคงเป็นเรื่องที่ดี ถ้าเรามีนักแสดงอย่าง เดนนิส เคว็ด มารับบทนี้" ซึ่งในที่สุดเราก็ได้ เดนนิส เข้ามาแสดงจริงๆ ผมคิดว่านี้เป็นการคัดเลือกนักแสดงที่ยอดเยี่ยมที่สุดในอาชีพของผมแล้ว"
อัลวาร์ท ซึ่งเป็นแฟนตัวยงของนักแสดงรุ่นใหญ่คนนี้ และเขายังมีหนังในดวงใจอย่าง Innerspace ที่นำแสดงโดย เดนนิส เคว็ด อีกด้วย เขาเล่าว่า "มีนักแสดงเพียงไม่กี่คนที่มีพลังงานเหมือนเขา เขามีทั้งเสน่ห์ดึงดูด, ประสบการณ์ และความเป็นมืออาชีพอย่างที่สุด"
เพราะว่า Pandorum มีความซับซ้อนในแง่ของจิตวิทยา มันจึงจำเป็นที่ต้องมีนักแสดงที่สามารถทำให้คนดูรู้สึกมีอารมณ์ร่วมด้วยทันที ซึ่ง เคว็ด ก็เป็นนักแสดงที่เหมาะสมที่สุด และเขาเองก็บอกว่าตัวเองมีช่วงเวลาที่สนุกในการแสดง "ผมรู้สึกว่าตัวเองกำลังสนุกในการแสดง มากกว่าตอนที่ผมเริ่มต้นอาชีพนี้ เหมือนกับว่าไฟนักแสดงของผม มันเพิ่งลุกโชนขึ้นมาเอง (หัวเราะ)"
ความสนใจของ เคว็ด ในห้วงอวกาศ ทำให้เขาต้องนึกย้อนไปถึงตอนที่เขายังเด็ก "ผมเติบโตในเท็กซัส และก็มีสถานีอวกาศก่อสร้างขึ้นในบริเวณนั้น การเป็นนักบินอวกาศจึงเข้ามาแทนที่ ความใฝ่ฝันของผมที่อยากเป็นคาวบอยในทันที และผมก็ยังชอบอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะผลงานของ เรย์ แบรดบิวรี่ย์ ในยุค 60"
เคว็ด เล่าถึงตอนที่เขาได้อ่านบทภาพยนตร์ว่า "เมื่อผมอ่านบทภาพยนตร์ มันเป็นช่วงเวลาที่ผมรู้สึกเหมือนเป็นผู้ชม และได้สัมผัสกับบางสิ่งบางอย่างเป็นครั้งแรก เหมือนกับว่ามันพาผมนั่งท่องไปในอวกาศ จากนั้นผมก็ได้เจอกับ คริสเตียน ซึ่งเขาก็บอกผมว่ากำลังจะถ่ายทำ ผมจึงรีบบอกเขาไปทันทีว่า ตัวเองอยากเป็นส่วนหนึ่งของมัน"
เคว็ด พูดถึง Pandorum ในความคิดของเขาว่า "มันเป็นหนังทริลเลอร์ แต่มันก็เป็นภาพยนตร์ที่ครอบคลุมไปทุกแนว นั้นแหละที่เป็นสิ่งที่ทำให้หนังมีความพิเศษ เมื่อคุณเล่าถึงเรื่องราวที่มหัศจรรย์ และทำในสิ่งที่ผู้คนไม่เคยสัมผัสมาก่อน ซึ่งประสบการณ์ระหว่างดูนั้นจะทำให้พวกเขาเชื่อมต่อถึงได้ นั้นแหละคือสิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้วิเศษที่สุด"
เคว็ด งานกับผู้กำกับที่มีชื่อเสียงมาแล้วมากมาย แต่เขาก็รู้สึกประทับใจในการทำงานร่วมกับ อัลวาร์ท "เขาอายุเพียงแค่ 34 ปี แต่เขาก็ทำหน้าที่ได้เหมือนผู้กำกับที่ทำหน้าที่นี้มาแล้วกว่า 40 ปี ไม่มีการถ่ายทำที่สูญเปล่าในเรื่องนี้ ทุกฉากมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องราวทั้งหมด ทั้งในเรื่องของจิตวิทยาในแต่ละตัวละคร เขาสามารถสร้างสมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์ใหม่ขึ้นมาให้กับภาพยนตร์ ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก"
นักแสดงหนุ่ม เบน ฟอสเตอร์ รับบทเป็น โบเวอร์ วิศวกรเครื่องกลบนยานอวกาศ Elysium ถึงแม้ว่าเขาจะสูญเสียความทรงจำไปว่าตัวเองเป็นใคร และทำไมเขาถึงอยู่บนยานอวกาศลำนี้ แต่ก็ไม่นานที่ โบเวอร์ จะรู้ว่า ยานอวกาศลำนี้กำลังจะแตกเป็นเสี่ยงๆ ด้วยการนำทางของ เพย์ตัน จากวิทยุสื่อสาร เขาก็สามารถพาตัวเองเข้าไปในระบบช่องระบายอากาศ และเผชิญหน้ากับความสยองที่แท้จริงบนยาน Elysium
ฟอสเตอร์ สารภาพว่าตัวเองไม่มีความสนใจเกี่ยวกับอวกาศมากนักตั้งแต่เด็ก "ผมอยากจะไปแคมป์นักบินอวกาศสมัยผมยังเด็กนะ แต่นั้นก็เป็นสิ่งที่ใกล้ที่สุดเท่าที่ผมคิดถึงอวกาศ ผมเองก็เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่ผมก็ไม่เชี่ยวชาญสักอย่าง ผมคิดว่าตัวเองคงเป็นนักบินอวกาศในชีวิตจริงได้แย่เอามากๆ"
แต่ยังโชคดีที่ Pandorum ทำให้เขากลับมาสนใจเรื่องราวบนอวกาศอีกครั้ง "โดยปกติแล้ว มันเป็นเรื่องยากสำหรับผมในการอ่านบทภาพยนตร์จนจบ แต่บทของเรื่องนี้ทำให้ผมอยากพลิกหน้าต่อไปเรื่อยๆ ในสมองผมก็จะคอยคิดแต่ว่า "มันจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป" มันมีการหักมุมซ้ำซ้อนที่น่าทึ่ง และทำให้ผมสนใจตลอดไปจนจบ"
ฟอสเตอร์ พบว่าแนวคิดของ Pandorum เป็นเรื่องที่น่าลงไปค้นหา เขาตีความมันว่าเป็น "ความผิดปกติทางระบบร่างกาย ที่กำเนิดจากความกลัวในที่แคบ จากประสบการณ์ในการอยู่บนยานอวกาศ และห้วงอวกาศเป็นระยะเวลานาน ซึ่งส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาท"
แอนเดอร์สัน อธิบายถึงสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นเพิ่มเติมว่า "ความผิดปกติที่เกิดจากการท่องเข้าไปในห้วงอวกาศ เป็นเรื่องที่น่าสะพรึงกลัว เหมือนกับคุณกำลังหลงอยู่ในป่าอเมซอน หรือไม่ก็ติดอยู่บนเกาะร้าง ที่เห็นเพียงแต่เส้นขอบฟ้า 360 องศา"
แนวทางในการถ่ายทำเรื่องนี้ก็ยังมีความพิเศษ ทุกฉากถูกถ่ายทำจากทุกมุมมองที่เป็นไปได้ ฟอสเตอร์ พบว่ามันเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด "บางทีมีถึง 72 ถึง 75 ช๊อตต่อหนึ่งฉาก การทำงานในพื้นที่คับแคบ และพยายามหาความจริงในสถานที่แห่งนั้น เป็นสิ่งที่ผมไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน แต่ผมก็มีความเชื่อมั่นในตัว คริสเตียน ที่พยายามประติดประต่อภาพต่างๆให้ขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่าง"
อัลวาร์ท เพูดถึงตัวของ ฟอสเตอร์ ว่า "เบน เป็นนักแสดงที่ผมชอบที่สุดในขณะนี้ ไม่มีนักแสดงหน้าไหนที่จะเล่นตัวละครนี้ให้ได้ดีไปกว่าเขาอีกแล้ว" ผู้อำนวยการสร้าง โบล์ท เองก็เสริมว่า "เบน เป็นนักแสดงที่น่าทึ่ง เป็นคนที่ตั้งใจทำอะไรแล้วทุ่มให้เต็มร้อย เป็นคนที่จริงจังกับงานแสดงมาก"
สำหรับบทบาทของเขาแล้ว ฟอสเตอร์ เองรู้สึกว่าการได้ทำงานกับรุ่นเก๋าอย่าง เดนนิส เคว็ด มีแต่ได้ประโยชน์ "เขาคือโปรขนานแท้ เขาเป็นคนที่ตลกมาก แต่พอเวลางานเอาก็เอาจริงเอาจัง เขาเป็นคนที่คอยช่วยให้คำแนะนำผมในการแสดง และทำให้ผมรู้สึกผ่อนคลายในกองถ่าย"
ฟอสเตอร์ รู้สึกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ จะส่งผลดีไปถึงคนดูที่พร้อมรับช่วงเวลาที่สนุกในโรงภาพยนตร์ "ทุกสิ่งทุกอย่างถูกดันขึ้นสู่จุดสูงสุด มันมีความมืดหม่นและการเล่นตลกกับจิตใต้สำนึก แต่ก็ยังมีการให้เกียรติกับหนังไซไฟคลาสสิค Pandorum เป็นภาพยนตร์ที่คุณพาแฟนสาวไปชมได้ มันมีทั้งสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจ และทำให้ป๊อปคอร์นอร่อยขึ้นระหว่างชมแน่นอน"
เมื่อเรื่องราวถูกเปิดเผยมากขึ้นเรื่อยๆ โบเวอร์ ก็เจอกับผู้ร่วมชะตากรรมในภารกิจ นาเดีย รับบทโดย อันย่า ทราอู นักแสดงสาวชาวเยอรมัน ที่ได้รับการคัดเลือกจากการเปิดให้ทดสอบบท ซึ่งหลังจากการเดินทางไปรอบโลกเพื่อเล่นคอนเสิร์ต "West End Opera" และได้รับบทเล็กๆในซีรี่ย์ทางโทรทัศน์ในเยอรมัน Pandorum ก็ถือเป็นหนังที่จะทำให้เธอแจ้งเกิดอย่างแท้จริง
ทราอู เตรียมเล่นบท นาเดีย ด้วยการฝึกฝนร่างกายอย่างหนัก "ฉันเทรนตัวเองอย่างหนัก จนร่างกายพยายามบอกคุณว่า "ไม่ ฉันไม่อยากทำแบบนี้อีกแล้ว" หรือ "ไม่ ฉันไม่อยากวิ่งอีกต่อไปอีกแล้ว" การออกกำลังกายเป็นการเตรียมพร้อมที่สำคัญสำหรับเรื่องนี้ เพราะว่าคุณต้องเจอสถานการณ์ต่างๆที่ต้องการความอดทนของคุณ"
ในการถ่ายทำเรื่องนี้ อีกสิ่งนึงที่ ทราอู ต้องเรียนรู้ก็คือการเล่นกับที่สูง "ฉันจำได้ว่า คริสเตียน เดินเข้ามาหาฉันแล้วพูดว่า "คุณคงไม่มีปัญหาใช่ไหมที่จะต้องแสดงบนที่สูง" ฉันก็ตอบว่า "ฉันคิดว่ามันคงไม่มีปัญหา" แต่ตอนที่ฉันพูดนั้นมันยังมีพื้นอยู่ใต้เท้า อีกไม่กี่วันต่อมาพวกเราก็ไปถ่ายทำในโรงงานเก่า และฉันก็ต้องกระโดดข้ามสะพานซึ่งอยู่สูงจากพื้นมาก มันทำให้ฉันรู้สึกว่า ตัวเองกับความตายนั้นถูกตัดสินด้วยสลิงค์เล็กๆเพียงแค่เส้นเดียว และฉันก็เรียนรู้ว่าแท้จริงแล้วตัวเองเป็นคนกลัวความสูงที่สุด"
นาเดีย เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่อยู่นยาน Elysium โดยเธอทำหน้าที่เหมือน โนอาห์ นั้นก็คือการเก็บสปีชี่ย์สัตว์ต่างๆเอาไว้ เพื่อการให้กำเนิดโลกใหม่ โดย นาเดีย เป็นคนที่ตื่นก่อนหลายเดือนแล้ว เธอพยายามหาคำตอบและต้องสู้เพื่อเอาชีวิตรอด จนกระทั่งพบกับ โบเวอร์ "หลังจากการอยู่อย่างโดดเดี่ยวมานาน นาเดีย กลายเป็นคนไม่เชื่อใจใคร ซึ่งมันก็ใช้เวลาพอสมควรที่เธอกลับมาเชื่ออีกครั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างเธอและ โบเวอร์ ก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญในการอยู่รอด"
ผู้อำนวยการสร้าง โบล์ท พูดถึงนักแสดงสาวคนนี้ว่า "อันย่า เป็นการค้นพบอย่างแท้จริง เธอเป็นผู้หญิงที่ฉลาดมาก เธอมีร่างกายที่พร้อม และสามารถแสดงในฉากต่อสู้ได้อย่างน่าเชื่อถือ เธอเป็นนักแสดงที่น่าจับตา และมีสไตล์การแสดงที่เป็นเอกลักษณ์"
ฟอสเตอร์ เองก็เอ่ยปากชื่นชมเธอเช่นกัน "อันย่า เป็นสมบัติล้ำค่าสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ เธอได้นำเอาความเป็นมนุษย์และพลังงานใส่เข้ามาในการแสดงของเธอ"
ทราอู รู้สึกสนุกในการร่วมงานกับ ฟอสเตอร์ และรู้สึกซาบซึ้งที่มีนักแสดงเก่งๆอย่างเขาอยู่เคียงข้าง "เขาอยู่ข้างฉันตลอดเวลา ทั้งในการถ่ายทำและช่วงเวลาที่ไม่ได้ถ่ายทำ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับฉัน การได้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสเกลขนาดนี้ก็เหลือเชื่อมาก ฉันคงไม่อยากให้นักแสดงคนอื่นมาเล่นข้างฉันนอกจาก เบน เขาเป็นคนที่มีหัวคิดสร้างสรรค์ เป็นคนที่ตั้งใจ และใจเย็นมาก"
นักบินอวกาศอีกคนก็คือ มาห์น ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเกษตรจากเวียดนาม โดย มาห์น รับบทโดย คุงลี แชมป์โลก Mixed Martial Arts โดย โบล์ท เล่าว่า "พวกเราต้องการบางคนที่สามารถเป็นนักรบได้อย่างน่าเชื่อถือทั้ง คุง เป็นแชมป์โลกในศิลปะการต่อสู้ ที่กำลังเริ่มต้นในเส้นทางการแสดง ดังนั้นเราจึงให้เขามาทดสอบบท และพวกเราก็ชอบใจมาก"
คุงลี เล่าว่า "ผมอยู่จุดสูงสุดของโลกศิลปะการต่อสู้ แต่สำหรับการแสดงผมเพิ่งกำลังยังอยู่จุดปล่อยตัว นี้เป็นพลังงานใหม่สำหรับผม ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่เป็นหนึ่งในทีมนักแสดงของ Pandorum ซึ่งผมคิดว่ามันปลอดภัยกว่าการต่อสู้ในกรงเหล็กเสียอีก"
มาห์น เป็นคนที่ตื่นมานานแล้วแต่ไม่รู้ระยะเวลาแน่นอน เขาออกสำรวจในยานอวกาศและพยายามเอาชีวิตรอด เมื่อเขาพบกับ โบเวอร์ และ นาเดีย การเผชิญหน้าของทั้งสามก็เริ่มต้นด้วยการเข้าใจผิด ลี เล่าว่า "ในฉากแรก มาห์น ต้องต่อสู้กับ นาเดีย ผมไม่เคยสู้กับผู้หญิงมาก่อน แต่เราต้องทำทุกอย่างเพื่อความรอด ใช่ไหม"
ทราอู พูดถึงฉากต่อสู้นี้ว่า "เราทั้งสองรู้ดีว่า เขาคงสามารถฆ่าฉันได้ในภายในสองวินาที (หัวเราะ)"
ฟอสเตอร์ เองก็พูดถึง คุงลี ว่า "คุง เป็นนักสู้ที่เข้มแข็งและทรงพลังที่สุดในโลก แต่เขาก็เป็นคนที่อ่อนโยนและตลกที่สุดเท่าที่ผมเคยรู้จัก"
คุงลี เองก็ชอบประสบการณ์ในการถ่ายทำ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างเขากับทีมงานในกองถ่าย "พวกเราเข้ากันได้เป็นอย่างดี เมื่อเวลาที่กล้องเดินพวกเราก็อินอยู่กับตัวละคร แต่เมื่อถึงเวลาพัก พวกเราก็มีความสุขร่วมกัน พวกเรามีเคมีที่ต้องกันอย่างมาก มีหลายอย่างที่อันตรายในการถ่ายทำ แต่คุณก็จะรู้สึกว่ามันปลอดภัย"
นักแสดงคนสุดท้ายก็คือดาวรุ่ง แคม จิแกนเด็ท ผู้รับบทเป็น แกลโล่ เจ้าหน้าที่ในยานอวกาศที่ถูกพบโดย เพย์ตัน ในสภาพที่ปางตาย
แคม จิแกนเด็ท เองก็รู้สึกสะพรึงกลัว เมื่อนึกถึงการที่ต้องอยู่บนห้วงอวกาศเพียงลำพัง "ตั้งแต่เด็กแล้ว นี้ถือเป็นความกลัวที่รุนแรงที่สุดของผม แนวคิดของการทิ้งทุกคนที่ตัวเองรู้จัก และท่องไปในพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาล ถูกทิ้งร้างและโดดเดี่ยว มันทำให้ผมขนลุกได้เสมอ"
จิแกนเด็ท คิดว่า Pandorum แตกต่างจากหนังทุกเรื่องที่เขาเคยมีส่วนร่วมมา "ตัวละครนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับผม ความสัมพันธ์ของเขาและตัวละครของ เดนนิส มีรูปแบบเฉพาะ ผมรู้ว่ามันจะทำให้คนดูรู้สึกตะลึงแน่นอน ดังนั้นผมจึงตัดสินใจรับเล่นบทนี้"
ในการเตรียมรับบท จิแกนเด็ท เล่าว่าเรื่องกายเทรนร่างกายไม่ใช่ปัญหาเลย เพราะว่าเขาก็เป็นคนออกกำลังกายสม่ำเสมออยู่แล้ว "พวกเขาเป็นเจ้าหน้าที่บนสถานีอวกาศ ดังนั้นร่างกายต้องสมบูรณ์ แต่ส่วนของจิตใต้สำนึกนั้นเป็นสิ่งที่ผมต้องเตรียมพร้อม คุณต้องขุดลึกลงไปในความหมาย และเชื่อมั่นในสถานการณ์ที่คุณกำลังแสดงอยู่ นี้เป็นสิ่งที่ยาก ในการอยู่บนอวกาศ แบกความหวังของมนุษยชาติบนไว้บนไหล่ ทำให้คุณเกิดความระแวงและความกลัว มันเป็นเรื่องที่หนักหนาจริงๆ"
ในเรื่องนี้ มันเป็นที่ชัดเจนมากขึ้น เมื่อมันเผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง แกลโล่ และ เพย์ตัน โดย จิแกนเด็ท เล่าว่า "มันมีสิ่งลึกลับเกี่ยวกับตัวละครของผม มีพลังงานที่แปลกประหลาดระหว่างผมและ เพย์ตัน ซึ่ง การได้ร่วมงานกับ เดนนิส เคว็ด ก็ทำให้ผมต้องยกระดับตัวเองให้ทัดเทียมกับเขา มันเป็นเรื่องยากที่คุณต้องคอยตามคนที่รู้ดีว่ากำลังทำอะไรอยู่ เขาเป็นคนที่ยอดเยี่ยมและตลกมาก เขาช่วยผมในเรื่องการแสดงและผมเองก็เก็บเกี่ยวประสบการณ์ได้มากจริงๆ"
จักรวาลอันกว้างใหญ่ของ Pandorum
การถ่ายทำเริ่มต้นในวันที่ 11สิงหาคม 2008 ในสตูดิโอบาเบลสเบิร์ค ที่อยู่นอกกรุงเบอร์ลินออกไปนิดหน่อย โดยสตูดิโอแห่งนี้ถือว่าเป็นสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก และมีภาพยนตร์ฮอลลิวู้ดมาถ่ายทำที่นี้มากมาย ซึ่งเพราะการที่หนังเรื่องนี้มีทีมงานจากเยอรมันอยู่มาก ทำให้การถ่ายทำ Pandorum ในที่นี้จึงเป็นเรื่องเหมาะสม
ผู้อำนวยการสร้าง โบล์ท เล่าว่า "พวกเรามีประสบการณ์ที่ดีในการสร้าง Resident Evil ภาคแรกที่นี่ พวกเรามีทีมงานที่ยอดเยี่ยม และเบอร์ลินก็เป็นเมืองที่ยอดเยี่ยมมาก ใครล่ะที่ไม่ต้องการใช้ชีวิตเป็นระยะเวลา 5 เดือนที่นี่"
อัลวาร์ท เสริมว่า "ผมถ่ายทำ Antibodies ที่นี่ และผมก็คุ้นเคยกับทีมงานและผู้คนดี ผมว่าในโปรเจ็คที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษอย่าง Pandorum ทำให้ผมอยากทำงานกับคนที่ตัวเองไว้วางใจและรู้จัก"
ผู้อำนวยการสร้าง คัตเซอร์ พูดถึงแนววทางการสร้างฉากว่า "พวกเราต้องการฉากยิ่งใหญ่ ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงยานอวกาศ Elysium และจุดมุ่งหมายของภารกิจได้ พวกเราต้องการความลึกของสถานที่ และการสร้างที่ดูมีมิติค โดยต้องทำให้เหมาะสมกับยานอวกาศที่มีความจุ 60,000 คน พวกเราสร้างมันบนซาวน์สเต็จของบาเบลสเบิร์ค และโรงไฟฟ้าร้างในกรุงเบอร์ลิน”
งานสร้างของ Pandorum มีส่วนประกอบถึง 54 ฉาก โดยผู้ออกแบบงานสร้าง ริชาร์ด บริทแกลนด์ ที่เคยทำงานร่วมกับสามผู้อำนวยการสร้างมากแล้วใน Resident Evil ก็รู้สึกยินดีที่ตัวเองได้รับความท้าทายใหม่ๆ โดยร่วมมือกับ อัลวาร์ท เขาได้สร้างอาณาจักรที่วิเศษ เหมือนกับโลกอนาคตหลังยุคโลกาภิวัฒน์
ภาพยนตร์อย่าง Pandorum เปิดโอกาสให้มีการสร้างสรรค์อย่างไร้ขีดจำกัด แต่อิสระก็ทำให้เรื่องลำบากขึ้น อัลวาร์ท เล่าว่า "คุณต้องพยายามแก้ไขปัญหาทุกวัน คุณต้องการแสดงให้เห็นถึงโลกอนาคตที่ไม่มีใครรู้จักให้ดูน่าเชื่อถือ แต่คุณก็ยังต้องสามารถเชื่อมต่อกับคนดู และทำให้พวกเขาเชื่อมต่อถึงตัวละครและเนื้อเรื่องได้อีกด้วย"
บริทแกลนด์ เสริมว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างในฉากจะต้องใช้งานได้จริง ซึ่งจากความตั้งใจนี้เอง ก็ทำให้มันแตกต่างจากทุกสิ่งที่คนดูเคยเห็นมาก่อน ซึ่งเหมาะสมกับความมืดหม่นและบูดเบี้ยวของ Pandorum โดยแต่ละฉากจะต้องสามารถเล่าเรื่องด้วยภาพได้ด้วย"
ฟอสเตอร์ ซึ่งต้องแสดงอยู่ในฉากที่ถูกสร้างขึ้นมาเหล่านี้ เล่าว่า "พวกเราได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ฉากต่างๆถูกออกแบบและช่วยสร้างอารมณ์ร่วมให้กับนักแสดง ช่วยให้เราเข้าถึงตัวละครได้โดยไม่ต้องเตรียมตัวมากเลย"
แคม จิแกนเด็ท เล่าถึงความน่าประทับใจของฉากเหล่านี้ว่า "ผมไม่ชอบการถ่ายทำกับฉากบลูสกรีน ซึ่งทำให้ผมไม่ค่อยเชื่อกับสิ่งที่เห็นในภาพยนตร์ เพราะว่าคุณจะเห็นว่ามันถูกสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นใน Pandorum ทำให้ผมคิดว่า "โอั พระเจ้า ทุกอย่างรอบตัวมันเกิดขึ้นจริง""
คัลเซอร์ ช่วยเสริมว่า "ฉากที่สร้างจากคอมพิวเตอร์สร้างระยะห่างกับผู้ชมเสมอ ถึงแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีล่าสุดก็ตาม พวกเรารู้สึกว่าการสร้างฉากขึ้นมาจริงๆ จะช่วยให้มันมีความสมจริงมากขึ้น และช่วยให้นักแสดงจูนเข้าหาตัวละครได้ ทำให้พวกเขารู้สึกกลัวมากขึ้น และทำให้คนดูรู้สึกกลัวมากขึ้นเช่นกัน"
ซึ่งฉากต่างๆก็กลายเป็นเหมือนบ้านหลังที่สองของนักแสดงในระยะเวลา 3 เดือน และประกอบกับการที่นักแสดงหลายคนไม่เคยมาเยอรมันมาก่อน และไม่ภาษาพูดภาษาท้องถิ่นได้เลย ทำให้พวกเขาตั้งชื่ออาการนี้ว่า "แพนดอรัม เอฟเฟ็ค" โดย แคม จิแกนเด็ท เล่าว่า "เหตุการณ์ทั้งหมดเป็นเรื่องที่เซอร์เรียลมาก และมันดึงเอาความไม่มั่นคงในจิตใจของผมออกมาจริงๆ" ฟอสเตอร์ เองที่เข้ามาถ่ายทำทุกวันเป็นเวลา 52 วัน ก็เล่าว่า "จังหวะการทำงานของเรา ทั้งฉากและบรรยากาศทั้งหมดในตัวหนัง ทำให้ผมรู้สึกวิตกจริตและสับสนเหมือนตัวละครในเรื่องจริงๆ"
ทราอู เสริมว่า "ความมืดเป็นส่วนที่สำคัญในเรื่องนี้ มันยังมืดในตอนที่ฉันตื่นนอน แล้วมันก็มืดแล้วตอนที่ฉันกลับบ้าน และพวกเราก็มักถ่ายทำกันในฉากที่มีความมืด มันก็ส่งผลถึงสภาพจิตใจฉันเหมือนกัน" โดยผู้อำนวยการสร้าง โบล์ท ก็ได้เล่าแบบติดตลกว่า "มันเป็นความตั้งใจของทีมงานครับ เป็นส่วนหนึ่งที่เราทำให้ทีมนักแสดง สามารถเข้าถึงสภาพตัวละครได้ดียิ่งขึ้น (หัวเราะ)"
ฉากของภาพยนตร์ที่อลังการได้รับความพิเศษจากการถ่ายทำที่ไม่เหมือนใคร โดยแนวคิดของการให้แสงนั้น ถูกออกแบบโดย เวดิโก้ วอน ชูสเซนดอร์ฟ ซึ่งภาพที่ปรากฏให้เห็นนั้น เป็นการเล่นกับความแตกต่างระหว่างความมืด และแสงสีสดใสเช่นเขียว, ฟ้า, เหลือง และแดง เพื่อเน้นในบางฉาก เขาเล่าว่า "มันเป็นเรื่องท้าทาย หนังถูกวางเรื่องเอาไว้ในความมืดหม่นเกือบตลอด ผมพยายามใช้แสงไฟให้เข้าทางกับแนวทางของหนังเยอรมันยุคเอ็กเพรสชั่นนิส และสร้างดวงไฟที่เหมือนลอยอยู่ท่ามกลางความมืด"
เกร็ก ฟอลเนอร์ ผู้ดูแลเรื่องเอฟเฟ็คให้กับ Pandorum เล่าว่า "หน้าที่ของพวกเราคือการทำให้แสงไฟเป็นที่สังเกตุได้ โดยการใช้ตัวช่วยอย่างไอน้ำ, หมอก และควัน แบบที่ใช้กันบนเวทีคอนเสิร์ต"
ฉากที่ตื่นเต้นที่สุดถูกเกื้อหนุนโดยเอฟเฟ็คพิเศษอันตระการตา ซึ่งก็เหมือนกับแนวคิดการสร้างฉาก ก็คือความพยายามทำให้มันเกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริง ฟรังซัวร์ โดห์ ผู้ดูแลเรื่องฉากสตันท์เล่าว่า "นักแสดงทุกคนต่างก็ตั้งใจในการฝึกฝนในฉากสตันท์ และต้องการที่จะเล่นเองให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ พวกเขาทุ่มทั้งแรงใจและแรงกายลงมาในโปรเจ็คนี้"
เบน ฟอสเตอร์ ลุ่ถึงการได้เล่นฉากสตันท์เองว่า "ผมว่ามันเป็นการท้าความตายเหมือนกันนะ เช่นการกระโดดจากที่นึงไปยังที่นึงบนความสูง ผมว่านี้เป็นเหมือนความฝันของเด็กชายทุกคน"
ด้วยความซับซ้อนในเรื่องการถ่ายทำ ทั้งผู้อำนวยการสร้างและนักแสดงต่างก็ได้ให้เครดิตแก่ อัลวาร์ท และทีมงานของเขา ในการช่วยให้ทุกคนตั้งใจในหน้าที่ของตัวเอง ฟอสเตอร์ เล่าว่า "ความเอาใจใส่ในเรื่องนี้มีอยู่มากมาย คริสเตียน เป็นคนที่น่าทึ่งมาก เขามีสตอรี่บอร์ดมากกว่า 1500 ภาพ เขารู้ทุกสิ่งทุกอย่างในเรื่องนี้ เขาเป็นผู้กำกับที่เตรียมพร้อมและรู้จักหนังของตัวเองมากที่สุดเท่าที่ผมเคยพบ" ซึ่งในภาพยนตร์เรื่อง Pandorum ก็มีทีมงานกว่า 500 คน ในการช่วยทำให้ภาพในสตอรี่บอร์ดเป็นจริงขึ้นมา
ตัวลอกชีพใน Pandorum
มีพลังงานแห่งความชั่วร้ายที่ซ่อนตัวอยู่ในเรื่องราว และทำให้ Pandorum เกิดความน่าสะพรึงกลัวถึงจุดศุงสุด “อสูรกาย” ได้แสดงตัวตนให้เราเห็นในหลายรูป ทั้งในมุมมองจากจิตวิทยาและความจริง พวกมันเป็นผลลัพท์ที่เกิดขึ้น เมื่อมนุษยชาติเป็นตัวการทำลายล้างโลก และต้องหาสถานที่ใหม่เพื่อดำรงชีวิต เบน ฟอสเตอร์ ได้พูดถึงความใช้ชีวิตอย่างไม่แยแสของมนุษยชาติในปัจจุบันว่า "ชะตากรรมของพวกเรากำลังมุ่งหน้าไปยังทางที่หนังเรื่องนี้จินตนาการ เพราะพวกเราได้กระทำต่อธรรมชาติได้เลวร้ายไม่ด้วยไปกว่ากัน Pandorum อาจเป็นเพียงแค่หนึ่งในจินตนาการที่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าเรายังขืนทำตัวเหมือนดั่งที่เป็นอยู่"
ในภาพยนตร์เรื่องนี้ คำว่า "แพนดอรัม" เป็นคำที่ทดแทนคำว่า Orbital Dysfunctional Syndrome ซึ่งเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความอ้างว้าง ความเหงาแบบสุดหยั่งถึง และการถูกปล่อยทิ้งเอาไว้ในห้วงอวกาศเป็นระยะเวลานาน โดย โบล์ท อธิบายว่า "ความผิดปกติได้กลายร่างเปลี่ยนเป็นความอยากทำตัวเป็นพระเจ้าของมนุษย์ ร่างกายจะสูญเสียความผิดชอบชั่วดี เกิดภาพหลอน เลือดกำเดาไหล และเนื้อตัวสั่นเทา"
ทีมงานสร้างสรรค์เมคอัพเอฟเฟ็คให้กับตัวลอกชีพ ก็มีวิสัยทัศน์ที่แจ่มชัดว่าผลกระทบทางจิตวิทยา จะเปลี่ยนร่างกายของมนุษย์ไปอย่างไรบ้าง จนไปเป็นตัวลอกชีพในเรื่องที่ถูกเรียกว่า “ฮันเตอร์” โดยเริ่มแรกนั้นมนุษย์ควรที่จะตั้งรกรากและให้กำเนิดเผ่าพันธุ์มนุษยใหม่ แต่พวกเขาก็กลายพันธุ์และพัฒนาร่างกายเป็นสัตว์ประหลาดอันน่าสะพรึงกลัว ซึ่งเกิดจากการล่องลอยอยู่บนห้วงอวกาศเป็นระยะเวลากว่า 125 ปี
มันไม่เหมือนกับ ซอมบี้ หรือ เอเลี่ยน เพราะผู้สร้างต้องการสิ่งที่ลึกลับมาสวมตัวเป็นตัวลอกชีพใน Pandorum และต้องทำให้ผู้ชมไม่เข้าใจว่าเป็นตัวอะไรในพลันแรก คัลเซอร์ เล่าว่า "พวกเราทำให้มันเป็นสัตว์ประหลาดที่สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ และผู้ชมและต้องคอยเดาว่ามันเป็นตัวอะไรกันแน่ พวกมันคือเอลี่ยนหรือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติ และเมื่อคนดูรู้ถึงตัวตนของมันในตอนสุดท้าย พวกเขาก็จะอุทานออกมาดังๆว่า "ว้าว""
เพื่อทำให้คนดูอุทานคำว่า "ว้าว" ออกมา และเพิ่มความอันตรายเข้าไปในตัวของ “ฮันเตอร์” ทีมผู้สร้างต้องการมันให้สมจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคให้น้อยที่สุด ในการคัดเลือกนักแสดง ทีมงานก็ได้นักแสดงสี่คนที่เข้ามาสวมบทเป็น “ฮันเตอร์” หลักสี่ตัวได้แก่ เฮฟลิน, วีเซล, ฮันเตอร์ เชฟ และ ฮันเตอร์ บรูท โดยมีนักแสดงอีก 17 คนที่เข้ามารับบทเป็น “นักล่า” สำหรับการถ่ายทำฉากสำคัญ และยังมีนักแสดงประกอบอีก 70 คน ในการถ่ายทำฉากที่พวกเขากำลังกลายร่างเป็น “ฮันเตอร์”
สำหรับการออกแบบสร้างสัตว์ประหลาด ทีมผู้สร้างก็ได้มุ่งหน้าไปยัง สแตน วินสตัน สตูดิโอ ที่มีผลงานในวงการมานานกว่า 30 ปี โดยสร้างในหนังอย่าง Terminator, Aliens, Jurassic Park, และ Iron Man โดยนี้ถือว่าเป็นบริษัทออกแบบและสร้างตัวละครที่โด่งดังที่สุดในโลก
ลินซี่ย์ แม็คโกเวน หัวหน้าควบคุมการสร้างเมคอัพเอฟเฟ็ค เล่าว่า "ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ก็คือการหาสิ่งที่เรายังไม่เคยทำ แต่มันก็เป็นความสนุกอย่างถึงที่สุด คุณต้องเข้าไปหาเนื้อเรื่องก่อน จากนั้นก็พยายามหาสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพบรรยากาศ"
โดยพื้นฐานของสตอรี่บอร์ดที่สร้างขึ้นโดย อัลวาร์ท และไอเดียจาก สแตน วินสตัน สตูดิโอ ก็ทำให้ นีลล์ มูลเลอร์ เปลี่ยนจากภาพร่างเป็นของจริง โดยชุดเกราะของพวกฮันเตอร์ ส่วนมากแล้วจะประกอบไปด้วยเศษเหล็ก ที่นำออกมาจากชิ้นส่วนยานอวกาศ ซึ่งถูกผูกติดกันไว้โดยเส้นหนัง เพื่อปกป้องส่วนที่บอบบางของผิวหนัง และเอาไว้แขวนอาวุธขนาดมหึมาของพวกมัน
แม็คโกเวน เล่าว่า "พวกเราต้องใช้เวลาประมาณสามชั่วโมงในการทำเมคอัพ และการใส่เครื่องแต่างกายก็ต้องใช้เวลาอีก 2 ชั่วโมง" โดยทุกๆวันขั้นตอนการแต่งหน้าที่รวมถึงการเพ้นท์ร่างกาย, สวมหน้ากากทั้งมือและเท้า, ใส่ฟันปลอมและใส่คอนแท็คเลนส์ "มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างทรมานสำหรับนักแสดงที่อยู่ด้านใน แต่พวกเขาก็มีความอดทนและให้ความร่วมมือ"
โดยขั้นตอนก็ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวัง เมื่อพวกเขาต้องเปลี่ยนฮันเตอร์ขนาดเล็ก ที่รับบทโดย ลูน่า อัลวาร์ท ลูกสาววัยแปดขวบของ คริสเตียน เขาเล่าว่า "จริๆงแล้วผมอยากให้พี่ชายของเธอเล่น แต่เธอก็เข้ามาพร้อมกับเขาในวันที่แคสติ้ง และเธอก็ทำได้ดีกว่า" โดยเมคอัพอาร์ทติส อาร์เจน ทุยเทน ผู้เคยมีส่วมร่วมในการสร้างสัตว์ประหลาดมาแล้วใน Pan’s Labyrinth และ Hellboy 2: The Golden Army ก็พูดถึงนักแสดงเด็กว่า "ลูน่า น่ารักมาก ช่วงที่เราแต่งหน้าเธอ เธอก็เอาคอมพิวเตอร์มานั่งดู High School Musical และสามารถทำตัวนั่งนิ่งๆตลอดเวลา"
ความตื่นเต้นของเรื่องนี้เกิดขึ้นจากการที่มีฮันเตอร์บุกยึดครองทุกสิ่งทุกอย่าง โดย มูลเลอร์ เล่าว่า "พวกมันไม่ใช่สัตว์ประหลาดในบ้านผีสิง มันมีเรื่องของแนวคิดในการเคลื่อนไหว, การต่อสู้ และพฤติกรรม ซึ่งทำให้มันเกี่ยวโยงกับเนื้อเรื่อง และทำให้คนดูเข้าใจถึงพวกมันได้ไม่แพ้ตัวละครมนุษย์ในเรื่อง"
การผสมผสานระหว่างมโนธรรมและสิ่งที่จับต้องได้ การสร้างฉาก, เครื่องแต่งกาย, ชิ้นส่วนประกอบ, ฉากสตันท์ และแต่งหน้า เป็นส่วนประกอบหลักของ Pandorum ที่ทอสานเรียงร้อยเรื่องราวเป็นโครงสร้างที่เข็มแข็ง น่าตื่นเต้น และทำให้คนดูต้องรู้สึกกลัว แล้วถ้ามันประสบความสำเร็จจริงๆ นี้จะไม่ใช่เพียงครั้งเดียวที่ทีมผู้สร้างได้เข้ามาสำรวจโลกใบนี้ ผู้กำกับ คริสเตียน อัลวาร์ท บอกว่า " นี้เป็นเพียงปฐมบทของไตรภาคของหนัง ผมหวังอยู่ลึกๆว่าจะได้เข้าไปสำรวจจักรวาลของ Pandorum อีกครั้งในอนาคต"
ทีมงานนักแสดง
เดนนิส เคว็ด (รับบทเป็น เพย์ตัน)
ผลงาน >>> G.I.Joe, Vantage Point, The Horsemen, Innerspace
เบน ฟอสเตอร์ (รับบทเป็น โบเวอร์)
ผลงาน >>> 3:10 to Yuma, Alpha Dog, X-Men: The Last Stand
อันย่า ทราอู (รับบทเป็น นาเดีย)
ผลงาน >>> Phantom Pain, Pandorum
แคม จิแกนเด็ท (รับบทเป็น แกลโล่)
ผลงาน >>> Twilight, Never Back Down, The Unborn
คุงลี (รับบทเป็น มาห์น)
ผลงาน >>> Fighting, Tekken
ทีมงานผู้สร้าง
พอล ดับบลิวเอส แอนเดอร์สัน (ผู้อำนวยการสร้าง)
ผลงาน >>> Resident Evil Trilogy, Death Race, Alien vs Predator
คริสเตียน อัลวาร์ท (ผู้กำกับ)
ผลงาน >>> Case 39, Antibodies
ทราวิส มิลลอยล์ (ผู้เขียนบท)
ผลงาน >>> Just Like Mona
เวดิโก้ วอน ชูสเซนดอร์ฟ (ผู้กำกับภาพ)
ผลงาน >>> Igby Goes Down, Hollywood Ending
ริชาร์ด บริทแกลนด์ (ผู้ออกแบบงานสร้าง)
ผลงาน >>> Resident Evil, AVP: Alien vs. Predator, RocknRolla
อาร์เจน ทุยเทน (ผู้ดูแลการออกแบบสัตว์ประหลาด)
ผลงาน >>> Terminator Salvation, Hellboy II: The Golden Army, Pan's Labyrinth