กรุงเทพฯ--17 ก.ย.--วีม คอมมูนิเคชั่น
ประเด็นสำคัญในการลงทุนทองคำแท่ง (Gold SPOT)
ปัจจัยสำคัญด้านพื้นฐาน — วันนี้ราคาทองคำมีแนวโน้มลดลง ให้ระวังแรงขายทำกำไรระยะสั้นๆ หลังราคาทองคำแท่งไม่สามารถผ่าน $1,020 ได้อย่างมั่นคง แม้ตัวเลขเศรษฐกิจโลกโดยรวมจะยังออกมาดีกว่าคาด + อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่อยู่ในระดับต่ำในสหรัฐ จะยังช่วยหนุนให้นักลงทุนโยกย้ายเงินออกจากดอลลาร์เข้าสู่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้นก็ตาม
กรอบการเคลื่อนไหวเชิงเทคนิคราคาทองคำแท่ง (Gold SPOT)
ปัจจัยสำคัญด้านเทคนิคระยะสั้น — Directional Indices บ่งบอกว่าตลาดเป็นบวก, MACD 30 นาทีเคลื่อนตัวลงและได้ตัดเส้น Signal จากด้านบน ทำให้ดูทิศทางเป็นลบ, MACDF 30 เคลื่อนอยู่ในแดนลบ ทำให้ดูทิศทางเป็นลบ, Fast Stochastic เคลื่อนตัวลง ทำให้ราคามีโอกาสที่จะปรับตัวลง, RSI 30 นาทีอยู่ที่ระดับ 35.853 ถือเป็นระดับ oversold อยู่เล็กน้อยทำให้ดูว่าราคามีโอกาสปรับตัวขึ้น, ทิศทางตลาดระยะสั้นดูเป็น Bull, แนวรับแนวต้านของวันอยู่ที่ $1008-$1,023 ค่าเงินบาทในวันนี้อยู่ที่ระดับ ฿33.63-฿33.86
ปัจจัยสำคัญด้านเทคนิคระยะกลาง — Directional Indices บ่งบอกว่าตลาดระยะกลางเป็นขาขึ้น, RSI อยู่ที่ระดับ 79.328 ถือเป็นระดับ overbought ทำให้ดูว่าราคามีโอกาสปรับตัวลง, MACD เคลื่อนตัวอยู่ในแดนบวกและได้ตัดเส้น Trigger จากด้านล่างทำให้ดูราคาเป็นบวก, MACDFเคลื่อนตัวอยู่ในแดนบวกทำให้ดูตลาดเป็นบวก, Fast-Stochastic กำลังเคลื่อนตัวขึ้นทำให้ราคามีโอกาสปรับตัวขึ้น, ทิศทางตลาดระยะกลางเป็นตลาด Bull โดยจะใช้แนวต้านที่ $1,035 เป็นต้านระยะกลางที่สำคัญ ส่วนแนวรับระดับกลางอยู่ที่ $970 และ $940 ตามลำดับ
ราคาทองคำแท่งที่ร้านค้าปลีกปิดล่าสุด (เส้นสีแดง = 16,200 บาท) ซึ่งต่ำกว่าราคาทองคำแท่ง (SPOT) ในตลาดโลกเช้านี้ (เส้นสีน้ำเงิน = 16,290 หรือที่ $1,016.35) แสดงถึงราคาทองคำแท่ง ณ. หน้าร้านขายปลีก มีส่วนลดจากราคาในตลาดโลก อยู่ 90 บาท ขณะที่ราคาของ GFV09 เมื่อวานนี้ปิดตลาดอยู่ที่ 16,060 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาในตลาดโลกเท่ากับ 230 บาท ซึ่งเท่ากับว่า GFV09 มีส่วนลดมากกว่าที่ร้านค้าปลีก ดังนั้น การขาย (Short) ทองแท่งที่ร้านทองแล้วมาเปิดสถานะซื้อ (Long) GFV09 จะทำให้มีส่วนต่างของกำไรที่คาดหวัง อยู่ที่ 230-90 = 140 บาทต่อทองคำแท่ง 1 บาท ซึ่งยังคงไม่คุ้มค่ากับค่าคอมมิชชั่น (ประมาณ 120 บาทต่อ 1 บาททอง) และดอกเบี้ยอีกราว 25 บาทในการหากำไรจากส่วนต่างราคาได้ในวันนี้
ข่าวสารสำคัญเพื่อประกอบการลงทุน
ปัจจัยบวก
ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ — เมื่อคืนนี้
1. กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั่วไปเพิ่มขึ้น +0.4% ในเดือนส.ค.หลังจากทรงตัวในเดือนก.ค. และเมื่อเทียบกับเดือนส.ค.ปีที่แล้ว ดัชนี CPI ทั่วไปลดลง -1.5% ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้น +0.1% ในเดือนส.ค.หลังเพิ่มขึ้น +0.1% เช่นกันในเดือนก.ค. และเมื่อเทียบกับเดือนส.ค.ปีที่ผ่านมา ดัชนี CPI พื้นฐานเพิ่มขึ้น +1.4% หลังจากเพิ่มขึ้น +1.5% ในเดือนก.ค.
2. ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเกินคาด +0.8% มากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้าว่าจะเพิ่มขึ้นมาที่ 0.6% ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นสู่ 69.6% ในเดือนส.ค. มากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้าว่าจะเพิ่มขึ้นมาที่ 69.0%
3. กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดหดตัวลงในไตรมาส 2/09 มาที่ -9.88 หมื่นล้านดอลลาร์ซึ่งเป็นการขาดดุลน้อยที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/01 โดยลดลงจาก -1.045 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรก
4. สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านสหรัฐเพิ่มขึ้นตามคาดที่ระดับ 19 ในเดือน ก.ย. จากระดับ 18 ในเดือนส.ค. สูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2008 และสนับสนุนมุมมองที่ว่า ตลาดที่อยู่อาศัยกำลังมีเสถียรภาพ
5. สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงาน (EIA) ของสหรัฐเปิดเผยข้อมูลปริมาณสำรองน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 11 ก.ย.ร่วงลง -4.7 ล้านบาร์เรล และลดลงมากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้าว่าจะลดลงเพียง -2.4 ล้านบาร์เรล มาที่ 332.8 ล้านบาร์เรล ส่วนปริมาณสำรองน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น +2.2 ล้านบาร์เรล และเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้าว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง +1.3 ล้านบาร์เรล มาที่ 167.8 ล้านบาร์เรล และปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น +0.5 ล้านบาร์เรล น้อยกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้าเล็กน้อย มาที่ 207.7 ล้านบาร์เรล โดยมีการใช้อัตรากำลังการกลั่นน้ำมันลดลง -0.3% มาที่ 86.9%
กองทุนทองคำ — SPDR กองทุนทองคำใหญ่ที่สุดในโลก รายงานการเข้าถือทองคำถึง ณ. 16 ก.ย.52 เพิ่มขึ้น +7.628 ตัน จากวันก่อนหน้า รวมถือทองคำไว้ทั้งสิ้น 1,086.48 ตัน เทียบเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.55 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 34.93 ล้านออนซ์
ค่าเงินดอลลาร์ — ดอลลาร์ปิดอ่อนค่าลงอีก +$0.0053 เมื่อเทียบเงินยูโร มาที่ $1.4712 จากที่ปิด $1.4659 เมื่อวันก่อนหน้า หลัง อัตราดอกเบี้ย LIBOR ระยะ 3 เดือนของสหรัฐร่วงลงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่น ดอลลาร์จึงเข้ามาแทนเยนในฐานะสกุลเงินทางเลือกในการระดมทุน (Carry Trade) ท่ามกลางการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก ส่วนเช้านี้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย -$0.0006 มาที่ $1.4706
ราคาน้ำมันดิบ — ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเดือน ต.ค. พุ่งขึ้น +$1.58 มาที่ $72.51 ต่อบาร์เรล จากที่ปิด $70.93 ต่อบาร์เรลเมื่อวันก่อนหน้า หลัง EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบสหรัฐลดลงอย่างรุนแรงเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว สวนทางกับ API ที่ได้รายงานไปก่อนหน้านี้ว่าปริมาณสำรองน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ตามทั้ง EIA และ API ต่างก็รายงานตรงกันว่าปริมาณสำรองน้ำมันกลั่นและน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่เช้านี้ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเดือน ต.ค. ร่วงลง -$0.15 มาอยู่ที่ $72.36 ต่อบาร์เรล
ปัจจัยลบ
ค่าเงินบาท — ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากถึง -18 สต. มาที่ 33.71 บาท จากที่ปิด 33.89 บาทต่อดอลลาร์เมื่อวันก่อนหน้า ตามสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย หลังดอลลาร์อ่อนค่าลงมามาก โดยเงินบาทในช่วง 1-2 วันนี้ ยังจะแข็งค่าได้อีก อย่างไรก็ตาม การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ต่อต้านรัฐบาล ก็อาจจะทำให้บาทอ่อนค่าในช่วงสั้นๆ ได้เช่นกัน ขณะที่เช้านี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก -5 สต. มาที่ 33.84 บาทต่อดอลลาร์ โดยมีแนวรับสำคัญที่ 33.63 บาทและ 33.56 บาทตามลำดับ ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 33.86 บาทและ 34.02 บาท
ปัจจัยที่ต้องเฝ้าติดตาม
ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ — คืนนี้
กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ เวลา 19.30 น. โดยผลสำรวจคาดว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 12 ก.ย.จะอยู่ที่ 5.75 แสนราย เพิ่มขึ้นจาก 5.50 แสนรายในสัปดาห์ก่อนหน้ากระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านเดือนส.ค. เวลา 19.30 น. โดยผลสำรวจคาดว่า ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านจะอยู่ที่ 6.00 แสนยูนิตในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นจาก 5.81 แสนยูนิตในเดือนก.ค. และตัวเลขการอนุญาตก่อสร้างจะอยู่ที่ 5.80 แสนยูนิตในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นจาก 5.64 แสนยูนิตในเดือนก.ค.? ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟียจะเปิดเผยผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจเดือนก.ย. เวลา 21.00 น. โดยผลสำรวจคาดว่า ดัชนีแนวโน้มธุรกิจจะอยู่ที่ระดับ 8.0 ในเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นจาก 4.2 ในเดือนส.ค.
ปฏิทินการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ