กรุงเทพฯ--18 ก.ย.--สศค.
วันนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ร่วมกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดสัมมนาเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ในหัวข้อ “ประกันราคาพืชผลคนไทยได้อะไร” ณ ห้องประชุม 401 สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการและรักษาการผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รศ. สมพร อิศวิลานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายไกวัล กล้าแข็ง นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กรมส่งเสริมการเกษตร และนายพิเชษฐ์ ตระกูลกาญจน์ นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน 8 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยมีนางรัตน์เกล้า ลีวีระพันธุ์ ผู้อำนวยการส่วนกลยุทธ์และพัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นผู้ดำเนินรายการ
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ กล่าวโดยสรุปว่า โครงการประกันรายได้เกษตรกรเป็น มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าว ที่จะไม่บิดเบือน กลไกตลาด และช่วยลดภาระงบประมาณของรัฐ โดยการประกันรายได้เกษตรกรจะครอบคลุม พื้นที่เพาะปลูกมันสำประหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวนาปี ปีการผลิต 2552/2553 ทั่วประเทศ และคาดว่าปริมาณเป้าหมายสำหรับมันสำปะหลังอยู่ที่ 29.7 ล้านตัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ที่ 4.25 ล้านตัน และข้าวเปลือกนาปีอยู่ที่ 23.5 ล้านตัน โดยราคาประกันมันสำปะหลังเชื้อแป้ง 25% อยู่ที่1.70 บาทต่อกิโลกรัม ราคาประกันข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความชื้น 14.50% อยู่ที่กิโลกรัมละ 7.10 บาทต่อกิโลกรัม และราคาประกันข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้น 15% อยู่ที่ตันละ 15,300 บาท
นายไกวัล กล้าแข็ง กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ให้ข้อมูลในการขึ้นทะเบียนของเกษตรกร ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกร โดยเป็นหลักฐาน การเข้าร่วมโครงการของเกษตรกรทั่วประเทศ ประกอบด้วยมีข้อมูลจำนวนเกษตรกร พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งขณะนี้ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปแล้วร้อยละ 76.16 และร้อยละ 92.78 ตามลำดับ ส่วนการขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปีนั้น ดำเนินการไปแล้วร้อยละ 62.47 แต่คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ครบภายในเวลาที่กำหนด
รศ. สมพร อิศวิลานนท์ ได้กล่าวว่า โครงการประกันรายได้เกษตรกร ทำให้คนไทยได้กลไกตลาดข้าวทั้งระบบคืนมา เนื่องจากที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2547 การดำเนินนโยบาย รับจำนำข้าวเปลือก ซึ่งตั้งราคาเป้าหมายสูงกว่าระดับราคาตลาด ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดข้าวเปลือกและข้าวสารของเอกชนทั้งระบบ และโดยที่พื้นที่เพาะปลูกและจำนวนเกษตรกร มีจำนวนมาก จึงขอให้ภาครัฐเร่งดำเนินการจดทะเบียนเกษตรกร และสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรอย่างทั่วถึงโดยเร็ว
นายพิเชษฐ์ ตระกูลกาญจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่าในการตรวจสอบการดำเนินงานภายใต้โครงการรับจำนำที่ผ่านมา พบว่ามีความล่าช้า และเป็นห่วงว่าในการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรในครั้งนี้ก็คงจะมีความล่าช้าเช่นกัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการขึ้นทะเบียนเกษตรกร จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตร