ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดงานเสวนารับฟังความคิดเห็น "ผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการได้อะไรจากการกำกับดูแลธุรกิจ e-Payment"

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday February 22, 2006 08:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ก.พ.--ธนาคารแห่งประเทศไทย
การเสวนารับฟังความคิดเห็น
ผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการได้อะไรจากการกำกับดูแลธุรกิจ e-Payment
จัดโดย
คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ร่วมกับ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์
และ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 09.00 - 16.00 น.
ณ ห้อง Grand Hall 1 โรงแรม RAMA GARDENS
ถ.วิภาวดีรังสิต หลักสี่ ดอนเมือง กรุงเทพฯ
1.หลักการและเหตุผล
โดยที่ธุรกิจบริการเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นธุรกิจบริการที่มีรูปแบบซับซ้อน และหลากหลาย ทั้งยังใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น และมูลค่าโดยรวมทางเศรษฐกิจในการทำธุรกรรมดังกล่าวก็ขยายเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งผู้ให้บริการก็มิได้มีแต่เพียงสถาบันการเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ให้บริการที่มิได้มีกฎหมายฉบับใดกำกับดูแล ซึ่งอาจส่งผลกระทบ ต่อความมั่นคงทางการเงิน ความน่าเชื่อถือและยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และอาจก่อให้เกิด ความเสียหายต่อสาธารณชน ประกอบกับเพื่อบูรณาการกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการเกี่ยวกับ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นฉบับเดียวกัน อันจะช่วยก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกำกับดูแล ประกอบกับเพื่อให้มาตรการกำกับดูแลเป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งในการสร้างความน่าเชื่อถือสำหรับการประกอบการ อันจะเป็นการส่งเสริมการใช้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น และเพิ่ม ศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจหรือการให้บริการภาครัฐ คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จึงได้เห็นชอบให้มีการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำกับดูแลธุรกิจบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้มีการพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำกับดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2548
2. วัตถุประสงค์
เนื่องด้วย กฎหมายมาตรา 32 แห่งกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระบุไว้ว่า หากจะมีการกำกับดูแลธุรกิจบริการใดต้องมีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชนทั่วไปถึงความเหมาะสมของหลักเกณฑ์ต่างๆ ในร่างกฎหมายว่าสอดคล้องกับวิธีการในทางปฏิบัติหรือไม่ หรือจะเป็นภาระหรืออุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจมากน้อยเพียงใด และสามารถเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการใช้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นๆ ได้หรือไม่ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงร่างกฎหมายให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ในการนี้ จึงได้จัดให้มีการเสวนารับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำกับดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ครั้งที่ 3 เพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ไปใช้ในการดำเนินการปรับปรุงร่างกฎหมายในขั้นตอนต่อไป
3. กลุ่มเป้าหมาย
ผู้เข้าร่วมการสัมมนา ประมาณ 300 คน จากสาขาต่างๆ ดังนี้
คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และ ประมาณ 20 คน
คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการดังกล่าว
ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง และผู้บริหารระดับสูงของ ประมาณ 20 คน
หน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น
วท.,ทก, ธปท., สนง.ก.ล.ต. และ ไปรษณีย์ไทย
สถาบันการเงิน การธนาคาร สมาคมธนาคารไทยและตลาดหลักทรัพย์ ประมาณ 80 คน
ผู้ประกอบธุรกิจบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณ 80 คน
ประชาชนทั่วไป ประมาณ 80 คน
สื่อมวลชน ประมาณ 20 คน
4. รูปแบบการจัดงาน
เป็นการเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับกลไกในการกำกับดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และประโยชน์, ผลกระทบต่อธุรกิจบริการ หน่วยงานต่างๆ และประชาชนทั่วไป เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำกับดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีผลบังคับใช้ รวมไปถึงแนวโน้มการขยายตัวของการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
5. วัน เวลา และสถานที่
วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ ห้อง Grand Hall 1 โรงแรม RAMA GARDENS ถ.วิภาวดีรังสิต หลักสี่ ดอนเมือง กรุงเทพฯ
6. หน่วยงานที่จัด
คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และธนาคารแห่งประเทศไทย
7. (ร่าง) กำหนดการ
กำหนดการ
การเสวนารับฟังความคิดเห็น
“ผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการได้อะไรจากการกำกับดูแลธุรกิจ e-Payment
จัดโดย
คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ร่วมกับ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์
และ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 09.00 - 16.00 น.
ณ ห้อง Grand Hall 1 โรงแรม RAMA GARDENS
ถ.วิภาวดี - รังสิต หลักสี่ ดอนเมือง กรุงเทพฯ
08.30 — 9.00 น. ผู้เข้าร่วมเสวนาลงทะเบียน
09.00 — 9.30 น. บรรยายเรื่อง “แนวโน้มการประกอบการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ของประเทศไทย”
โดย ประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
(นางเสาวณี สุวรรณชีพ)
09.30 — 10.00 น. บรรยายเรื่อง “การสร้างความมั่นใจในระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์”
โดย ประธานคณะอนุกรรมการด้านความมั่นคง
(นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล)
10.00 — 10.30 น. บรรยายเรื่อง “กลไกทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจบริการe- Payment”
โดย ประธานอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย
(นายชวลิต อัตถศาสตร์)
10.30 — 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 — 12.00 น. เสวนาเรื่อง “แนวทางการปฏิบัติตามร่าง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการกำกับดูแล
ธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์” โดย...
ประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
(นางเสาวณี สุวรรณชีพ) (ผู้ดำเนินรายการ)
ประธานกรรมการโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย
(นายเชาวลิต อัตถศาสตร์)
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบความเสี่ยงและเทคโนโลยีฯ ธนาคาร
แห่งประเทศไทย
(นายปรีชา ปรมาพจน์)
ผู้อำนวยการฝ่ายระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
(นายรณศักดิ์ เรืองวีรยุทธ)
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.30 น. เสวนาเรื่อง “ก้าวใหม่กับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย”
โดย ผู้แทนจาก...
อนุกรรมการกำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
(นางวันทนา เฮงสกุล) (ผู้ดำเนินรายการ)
National ITMX
(นางวรรณา นพอาภรณ์) (Managing Director)
บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด (กลุ่ม TRUE)
บริษัท เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัด (กลุ่ม Capital OK)
(นายธานินทร์ อังสุวรังสี) (General Manager)
บริษัท เพย์สบาย จำกัด
(นายสมหวัง เหลืองไพบูลย์) (General Manager)
14.30 - 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 - 16.00 น. การนำเสนอรูปแบบการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ
ไทยในปัจจุบัน (ออกบูธสาธิต)
BOT : BAHTNET
E-money ทั้ง 6 บริษัท
- บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด (กลุ่ม AIS)
- บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด (กลุ่ม TRUE)
- บริษัท เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัด (กลุ่ม Capital OK)
บริษัท เพย์สบาย จำกัด
บริษัท แอดวานซ์ เมจิกการ์ด จำกัด (กลุ่ม AIS)
บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด (กลุ่ม TRUE)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ในส่วนที่ให้บริการ E-money)
บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (ในฐานะ Clearing &
Settlement)
บริษัท เคาน์เตอร์ เซอร์วิส จำกัด (ในฐานะ Payment Provider)
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) ในส่วนที่ให้บริการ Pay at Post
บริษัท โพลาร์ เว็บแอปพลิเคชั่น จำกัด ให้บริการ Payment Gateway--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ