กรุงเทพฯ--3 ก.ค.--โตโยต้า มอเตอร์
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ประจำเดือน พฤษภาคม มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 27,810 ล้านบาท เติบโต 8.7% แบ่งเป็นการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป (CBU) 43,377 คัน เติบโต 18.0% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 19,658 ล้านบาท ชิ้นส่วนเพื่อการประกอบ เครื่องยนต์และอื่นๆ มูลค่า 8,152 ล้านบาท ลดลง 3.2%
สำหรับสถิติการส่งออกสะสม 5 เดือน มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 137,722 ล้านบาท เติบโต 28.5% โดยแบ่งเป็นการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป (CBU) มีจำนวนทั้งสิ้น 218,051 คัน เติบโต 41.6% เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา มูลค่ารวมทั้งสิ้น 97,462 ล้านบาท ชิ้นส่วนเพื่อการประกอบ เครื่องยนต์และอื่นๆ 40,260 ล้านบาท เติบโต 13.5%
มูลค่าการส่งออกรวม ประจำเดือนพฤษภาคม 2549 :
มูลค่ารวม 27,810 ล้านบาท เติบโต 8.7%
อันดับ 1 โตโยต้า 10,324 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 37.1% เติบโต 16.4%
อันดับ 2 ฮอนด้า 6,129 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 22.0% เติบโต 36.5%
อันดับ 3 มิตซูบิชิ 4,985 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 17.9% เติบโต 56.8%
ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป ประจำเดือน พฤษภาคม 2549 :
จำนวนรวม 43,377 คัน เติบโต 18.0%
อันดับ 1 โตโยต้า 14,907 คัน ส่วนแบ่งตลาด 34.4% ติบโต 49.6%
อันดับ 2 มิตซูบิชิ 9,663 คัน ส่วนแบ่งตลาด 2.3% เติบโต 45.2%
อันดับ 3 ฮอนด้า 7,852 คัน ส่วนแบ่งตลาด 18.1% เติบโต 35.9%
มูลค่าการส่งออกรวม สะสม 5 เดือนของปี 2549
มูลค่ารวม 137,722 ล้านบาท เติบโต 28.5%
อันดับ 1 โตโยต้า 57,407 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 41.7% เติบโต 78.5%
อันดับ 2 มิตซูบิชิ 23,714 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 17.2% เติบโต 51.1%
อันดับ 3 ฮอนด้า 21,232 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 15.4% เติบโต 23.4%
ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป สะสม 5 เดือนของปี 2549
จำนวนรวม 218,051 คัน เติบโต 41.6%
อันดับ 1 โตโยต้า 86,314 คัน ส่วนแบ่งตลาด 39.6% เติบโต 147.8%
อันดับ 2 มิตซูบิชิ 46,311 คัน ส่วนแบ่งตลาด 21.2% เติบโต 43.7%
อันดับ 3 ฮอนด้า 2,937 คัน ส่วนแบ่งตลาด 10.5% เติบโต 4.4%
นายวุฒิกรกล่าวว่า “การส่งออกของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย 5 เดือนแรกเติบโตถึง 28.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา แม้ว่าหน่วยงานทางเศรษฐกิจทั้งภาครัฐและเอกชนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งออกได้มีการปรับลดประมาณการส่งออกในปี 2549 จากเดิม 15-17% มาอยู่ที่ 12-14% เนื่องจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจโลกโดยรวม อาทิ ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตามการส่งออกของอุตสาหกรรมยานยนต์ใน 5 เดือนที่ผ่านมามีสัดส่วนการส่งออกเป็นอันดับสองรองจากกลุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยคิดเป็นร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับการส่งออกทั้งหมด ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และจะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยลดการขาดดุลการค้าของประเทศ สำหรับการส่งออกของโตโยต้า 5 เดือนที่ผ่านมาได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปไปแล้วกว่า 86,314 คัน เพิ่มขึ้นถึง 147.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถกระบะไฮลักซ์ วีโก้และฟอร์จูนเนอร์ที่ครองสัดส่วนการส่งออกของโตโยต้ากว่า 70% นั้นยังคงมีความต้องการจากผู้ใช้ทั่วโลกอย่างต่อเนื่องและมีส่วนช่วยผลักดันการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของประเทศไทย ”