กรุงเทพฯ--22 ก.ย.--ม.รังสิตฯ
ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป และ อาจารย์วรรณกิตติ์ วรรณศิลป์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ได้แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นและข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,587 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10 — 13 กันยายน เรื่อง ทัศนคติของประชาชนต่อมาตรการไทยเข้มแข็งและเรียนฟรี 15 ปี วิเคราะห์ได้ว่าประชาชนมีความมั่นใจต่อมาตรการไทยเข้มแข็งและโครงการเรียนฟรี 15 ว่าส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยแต่ประมาณ 42% ไม่ทราบรายละเอียดของแผนไทยเข้มแข็ง ขณะที่ ประชาชนคาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวในไตรมาส 4 แต่คิดว่าเศรษฐกิจปัจจุบันยังถดถอยรวมทั้งยังมีความไม่แน่ใจและสับสนต่อภาวะเศรษฐกิจ ประชาชนเชื่อว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับ ภาวะการเมืองในประเทศมากที่สุด รองลงมาคือ ภาวะเศรษฐกิจโลก, เศรษฐกิจภายในและความสามารถของรัฐบาล ตามลำดับ โดยผลสรุปความคิดเห็นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการไทยเข้มแข็ง จากผลการสำรวจของประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับมาตรการไทยเข้มแข็งอย่างไร ผลคือ มาก 8.44%, ปานกลาง 48.71%, น้อย 24.13% และไม่ทราบเลย 18.71% และประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อมาตรการไทยเข้มแข็ง คำตอบส่วนใหญ่คือ จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งขึ้นบ้าง 39.13%, 7.62% คิดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งมาก, 12.79% คิดว่าจะไม่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งขึ้น และ 18.97% คิดว่ามาตรการต่างๆ ยังไม่ชัดเจน
ความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการเรียนฟรี 15 ปี ประชาชนเห็นว่าโครงการเรียนฟรี 15 ปี จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งขึ้นบ้าง 43.86% และ 18.08% คิดว่าไม่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง เกี่ยวกับโครงการเรียนฟรี 15 ปี จะทำให้คุณภาพของการศึกษาโดยรวมดีขึ้นหรือไม่ จากผลการสำรวจ 36.36% คิดว่าคุณภาพการศึกษาโดยรวมจะดีขึ้น และ 15.75% คิดว่าคุณภาพการศึกษาโดยรวมจะแย่ลง
ความคาดหวังเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ประชาชนมีความคาดหวังต่อเศรษฐกิจอย่างไร 34.40% คิดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ยังถดถอยเหมือนเดิม ในขณะที่ 28.99% คิดว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว และ 13.61% คิดว่าเศรษฐกิจแย่ลงกว่าเดิม
ประชาชนเห็นว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 จะเป็นเช่นใด ประชาชนคิดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวแน่นอน 38.63%, จะยังถดถอยเหมือนเดิม 19.28% และจะแย่ลงกว่าเดิม 8.88%
ประชาชนเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดมากที่สุด จากผลสำรวจคิดว่า จากปัจจัยจากภาวะการเมืองในประเทศ 32.96%, ภาวะเศรษฐกิจโลก 23.44%, ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ 21.74% และ ความสามารถของรัฐบาล 19.97%
ตอนที่ 1 : ข้อมูลทั่วไปของผู้สัมภาษณ์
1. เพศ ชาย หญิง จำนวนรวม
765 (48.20%) 822 (51.80%) 1,587
1.2 อายุ คิดเป็น% คิดเป็น% คิดเป็น% คิดเป็น% คิดเป็น% คิดเป็น%
18 — 19 ปี 20 — 29 ปี 30 — 39 ปี 40 — 49 ปี 50 — 59 ปี 60 ปีขึ้นไป
10.33 % 43.23% 24.64% 14.76% 4.41% 2.65%
1.3 ระดับการศึกษาสูงสุด
1. ประถมศึกษา 1.32%
2. มัธยมศึกษาตอนต้น 2.65%
3. มัธยมศึกษาตอนปลาย 7.44%
4. ปวช 5.42%
5. ปวส/ปวท/อนุปริญญา 8.44%
6. ปริญญาตรี 49.09%
7. ปริญญาโทและสูงกว่า 24.32%
8. อื่นๆ 1.32%
1.4 สถานภาพการทำงาน
1. ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 4.22 %
2. พนักงาน/ลูกจ้างเอกชน 29.43 %
3. ค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว 20.42 %
4. เกษตรกร 1.51 %
5. รับจ้างทั่วไป 7.50 %
6. นักเรียน / นักศึกษา 33.14 %
7. ว่างงาน / ไม่มีงานทำ 2.65 %
8. อื่นๆ 1.13 %
ตอนที่ 2 : ความเห็นเกี่ยวกับมาตรการไทยเข้มแข็ง
2.1 ท่านทราบหรือมีความรู้เกี่ยวกับมาตรการไทยเข้มแข็ง
1. มาก 8.44%
2. ปานกลาง 48.71%
3. น้อย 24.13%
4. ไม่ทราบเลย 18.71%
2.2 ท่านเห็นว่ามาตรการไทยเข้มแข็งนี้
1. จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งมาก 7.62%
2. จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งขึ้นบ้าง 39.13%
3. จะไม่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งขึ้น 12.79%
4. มาตรการต่างๆ ยังไม่ชัดเจน 18.97%
5. ไม่แน่ใจ 19.47%
6. อื่นๆ 2.02%
ตอนที่ 3 : ความเห็นเกี่ยวกับโครงการเรียนฟรี 15 ปี
3.1 ท่านเห็นว่าโครงการเรียนฟรี 15 ปี
1. จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งขึ้นมาก 16.95%
2. จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งขึ้นบ้าง 43.86%
3. ไม่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง 18.08%
4. ไม่แน่ใจ 19.79%
5. อื่นๆ 1.32%
3.2 ท่านเห็นว่าโครงการเรียนฟรี 15 ปีจะทำให้คุณภาพของการศึกษาโดยรวมดีขึ้นหรือไม่
1. คุณภาพการศึกษาโดยรวมจะดีขึ้น 36.36%
2. คุณภาพการศึกษาโดยรวมจะเหมือนเดิม 30.56%
3. คุณภาพการศึกษาโดยรวมจะแย่ลง 15.75%
4. ไม่แน่ใจ 16.26%
5. อื่นๆ 1.07%
ตอนที่ 4 : ความคาดหวังเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4
4.1 ท่านเห็นว่าเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ในสภาวะใด
1. เริ่มฟื้นตัวแล้ว 28.99%
2. ยังถดถอยเหมือนเดิม 34.40%
3. แย่ลงกว่าเดิม 13.61%
4. ไม่แน่ใจ 23.00%
4.2 ท่านเห็นว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี2552 จะเป็นเช่นใด
1. จะฟื้นตัวแน่นอน 38.63%
2. จะยังถดถอยเหมือนเดิม 19.28%
3. จะแย่ลงกว่าเดิม 8.88%
4. ไม่แน่ใจ 33.21%
4.3 ท่านเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะดีขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดมากที่สุด
1. ภาวะเศรษฐกิจโลก 23.44%
2. ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ 21.74%
3. ภาวะการเมืองในประเทศ 32.96%
4. ความสามารถของรัฐบาล 19.97%
5. อื่นๆ 1.89%
หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่
ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และรักษาการณ์
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป
หมายเลขโทรศัพท์ 085 — 111 3999)
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
โทรศัพท์ : 02 — 997 2220 — 30 ต่อ 1238, 1239, 1251
โทรสาร : 02 — 533 9695 Email: rsueconre@gmail.com