อินเทลมุ่งหน้าพัฒนาเทคโนโลยีตามกฏของมัวร์

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday September 23, 2009 14:04 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 ก.ย.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ เปิดตัวโปรเซสเซอร์ตัวแรกที่ใช้เทคโนโลยี 22 นาโนเมตร ขณะที่ขั้นตอนการผลิตโปรเซสเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยี 32 นาโนเมตรจะเริ่มต้นในไตรมาสที่ 4 พร้อมสาธิตประสิทธิภาพของสถาปัตยกรรม 32 นาโนเมตร รุ่นถัดไป ที่ใช้ชื่อรหัสว่า แซนดี้ บริดจ์’ (Sandy Bridge) ในงานไอดีเอฟ วันนี้นายพอล โอเทลลินี ประธานและ ซีอีโอของอินเทลได้นำแผ่นเวเฟอร์ที่ทำจากซิลิกอนที่ประกอบด้วยโปรเซสเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 22 นาโนเมตรเป็นตัวแรกของโลกมาแสดงในงานไอดีเอฟ (Intel Developer Forum หรือ IDF) ซึ่งโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้มี SRAM เมมโมรี่และระบบวงจรไฟฟ้าแบบ logic circuits ที่จะถูกนำไปใช้ในโปรเซสเซอร์รุ่นต่อๆ ไปของอินเทลในอนาคต โอเทลลินีกล่าวว่า ‘ที่บริษัทอินเทล เราพยายามรักษากฏของมัวร์ และพัฒนานวัตกรรมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ด้วยการเริ่มผลิตโปรเซสเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยี 32 นาโนเมตรตัวแรก ที่จะมีประสิทธิภาพสูงพร้อมทั้งมีระบบกราฟฟิกรวมอยู่ในโปรเซสเซอร์ และในขณะเดียวกันเรานำเทคโนโลยีก้าวไปอีกขั้นด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบบ 22 นาโนเมตร ที่จะทำให้เราสามารถผลิตโปรเซสเซอร์ที่มีประสิทธิภาพและทำงานได้มากขึ้น’ แผ่นเวเฟอร์แบบ 22 นาโนเมตรที่โอเทลลินีนำมาแสดงในวันนี้ประกอบด้วยดาย (die) ที่มีขนาดเพียงเล็บมือแต่มี SRAM เมมโมรี่มากถึง 364 ล้านบิต และมีทรานซิสเตอร์มากกว่า 2.9 พันล้านตัวบรรจุอยู่ โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่นี้มี SRAM ขนาดเล็กที่สุดที่เคยมีมาคือมีขนาดเพียง 0.092 ตารางไมครอนเท่านั้น โดยชิ้นส่วนนี้เป็นการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตทรานซิสเตอร์ Hi-k metal gate รุ่นที่3 ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นและลดการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าให้น้อยลง อินเทลแสดงความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมและนำเอาคุณสมบัติใหม่ๆ ใส่ไว้ในโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ เทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตรของอินเทลได้รับการรับรองถึงประสิทธิภาพ และเวเฟอร์สำหรับโปรเซสเซอร์เวสท์เมียร์ (Westmere) ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตตามแผนการณ์ที่วางไว้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 นี้ และต่อเนื่องจากเทคโนโลยี 32 นาโนเมตร อินเทล จะมีการเปิดตัวสถาปัตยกรรมใหม่ที่มีชื่อรหัสว่า ‘แซนดี้ บริดจ์’ หรือ (Sandy Bridge) ซึ่งจะมีจุดเด่นคือ เป็นรุ่นที่หกที่มีการรวมเอากราฟฟิกคอร์ไว้อยู่บนดายของโปรเซสเซอร์คอร์ นอกจากนั้นยังมีชุดคำสั่ง AVX เพื่อรองรับการทำงานของซอฟท์แวร์ที่ต้องใช้พลังการประมวลผลหนักๆ หรือ ซอฟท์แวร์แบบ floating point และซอฟท์แวร์ทางด้านสื่อต่างๆ อีกด้วย นอกจากนั้นความมุ่งมั่นในด้านการผลักดันนวัตกรรมทำให้อินเทลสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดกลุ่มใหม่ เช่น เน็ตบุ๊ก อุปกรณ์พกพา อุปกรณ์คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ และแอพพลิเคชั่นแบบ ฝังตัวอีกด้วย โอเทลลินีกล่าวเสริมว่า ‘โปรเซสเซอร์ในตระกูล อินเทลTM คอร์TM และอินเทลTM อะตอมTM ได้สร้างความตื่นตัวและโอกาสในตลาดสำคัญๆ อย่างที่เราคาดไม่ถึงมาก่อน และเพื่อเป็นการสร้างความนิยมอย่างต่อเนื่อง อินเทลยังคงพยายามที่จะสร้างประสบการณ์การสำหรับการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไร้ขอบเขต และรองรับการใช้งานอุปกรณ์ที่มีการประมวลผลทุกชนิด และวันนี้เรากำลังประกาศถึงโครงการที่จะช่วยให้การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับซอฟท์แวร์ ที่สามารถเขียนขึ้นครั้งเดียวแต่สามารถใช้กับวินโดวส์และอุปกรณ์โมบลิน เพื่อเป็นการขยายขอบเขตการใช้งานของอุปกรณ์เหล่านี้ไปยังผู้ใช้ได้อย่างหลากหลายมากขึ้น’ โครงการ อินเทล อะตอม ดิเวลลอปเปอร์ (หรือ Intel Atom Developer Program) จะเป็นการสร้างแนวทางสำหรับผู้พัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ ( Independent Software Vendors หรือ ISVs) ในการสร้างและขายแอพพลิเคชั่นสำหรับเน็ตบุ๊กและผลิตภัณฑ์อื่นที่มี อินเทลTM อะตอมTM โปรเซสเซอร์ และเพื่อเป็นการสร้างความหลากหลายให้แอพพลิเคชั่นสามารถนำไปใช้กับแพลตฟอร์มต่างๆ กันได้ โครงการนี้จะสนับสนุนระบบปฏิบัติการหลายแบบและสามารถใช้กับหลายสภาะวะการทำงาน ซึ่งนักพัฒนาซอฟท์แวร์สามารถใช้โค้ดการทำงานแบบเดียวบนการทำงานที่หลากหลาย และรองรับแพลตฟอร์มของอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยไม่ต้องทำการโปรแกรมใหม่ ช่วยให้สามารถลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาด นอกจากนี้แล้ว อินเทลจะร่วมกับพันธมิตรหลายรายเช่น เอเซอร์ อัสซุส และผู้ผลิตรายอื่นๆ เพื่อสร้างหน้าร้านที่จะมีการขายแอพพลิเคชั่นซอฟท์แวร์ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว ในกลุ่มตลาดสำหรับอุปกรณ์แบบฝังตัว อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ กำลังนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยนี้เข้าสู่สาขาใหม่ๆ ตั้งแต่ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล จนกระทั่งแอพพลิเคชั่นในการบินสำหรับระบบเครื่องเสียง ซึ่งในขณะนี้อินเทลมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ มากกว่า 460 ดีไซน์ ซึ่งรวมถึง Harman International Industries ที่เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องเสียงและอุปกรณ์ที่ให้ความบันเทิงสำหรับยานพาหนะ ที่ได้ประกาศเปิดตัวอุปกรณ์สำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงได้อย่างสมบูรณ์ และมี navigation แบบ 3 มิติ อีกด้วย เกี่ยวกับอินเทล อินเทล (NASDAQ:INTC) เป็นผู้นำระดับโลกในด้านนวัตกรรมซิลิกอน สร้างสรรค์เทคโนโลยี สินค้า รวมทั้งการริเริ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงานของผู้คนอย่างต่อเนื่อง ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทลได้ที่ www.intel.com/th, www.intel.com/pressroom และ blogs.intel.com บรรยายภาพ นายพอล โอเทลลินี ประธานและ ซีอีโอของอินเทลได้นำแผ่นเวเฟอร์ที่ทำจากซิลิกอนที่ประกอบด้วยโปรเซสเซอร์ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 22 นาโนเมตรเป็นตัวแรกของโลกซึ่งประกอบด้วยดาย (die) ที่มีขนาดเพียงเล็บมือแต่มีทรานซิสเตอร์มากกว่า 2.9 พันล้านตัวบรรจุอยู่มาแสดงในงานไอดีเอฟ Intel Corp. President and CEO Paul Otellini displays a silicon wafer containing the world's first working chips built on 22nm manufacturing technology. The circuitry contained on each chip is so small that 2.9 billion transistors can be packed into an area the size of a fingernail. นายพอล โอเทลลินี ประธานและ ซีอีโอของอินเทลกล่าวเปิดงาน ไอดีเอฟ ที่มีผู้เข้ารวมงานมากกว่า 400 คน ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา Intel Corp. President and CEO Paul Otellini addresses more than 4000 attendees at the Intel Developer Forum in San Francisco. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ คุณอรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ โทรศัพท์: (66 2) 627-3501 e-Mail: orawan@carlbyoir.com.hk คุณดรรชนีพร พฤกษ์วัฒนานนท์ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด โทรศัพท์: (66 2) 648-6000 e-Mail: dudchaneeporn.pruckwattananon@intel.com

แท็ก อินเทล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ