กรุงเทพฯ--1 พ.ย.--คอร์แอนด์พีค
บริษัท ฮิตาชิ จำกัด และบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบการทำงานร่วมกันได้และสามารถข้ามระบบกับ Geographically Dispersed Parallel Sysplex? (GDPS?) ของบริษัท ไอบีเอ็ม
บริษัท ฮิตาชิ ขยายความแข็งแกร่งด้านยุทธศาสตร์เพิ่มขึ้นในตลาดสตอเรจของเมนเฟรมโตเกียว, ญี่ปุ่น และ ซานตาคลารา, แคลิฟอร์เนีย - 31 ตุลาคม 2549 - บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก คือ HIT) และบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น หรือ เอชดีเอส ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือ เปิดเผยถึงความสำเร็จของการทดสอบความเข้ากันได้และการทำงานข้ามระบบระหว่างสตอเรจของบริษัท ฮิตาชิ และโซลูชั่น Geographically Dispersed Parallel Sysplex? (GDPS)? รุ่น 3.2 และ 3.3 ของบริษัท ไอบีเอ็ม
"ลูกค้าสตอเรจรายสำคัญของบริษัท ฮิตาชิ จำนวนมาก ทั้งในส่วนบริการทางการเงิน อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และการเดินทาง รวมทั้งส่วนอื่นๆ ล้วนพึ่งพาระบบเมนเฟรมในการเรียกใช้แอพพลิเคชั่นสำหรับดำเนินภารกิจที่สำคัญยิ่ง" นายแจ็ค ดอมม์ รองประธานบริหาร ด้านยุทธศาสตร์และการพัฒนาโซลูชั่นส่วนกลาง บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าว และว่า "ความสำเร็จของการทดสอบการทำงานข้ามระบบและความเข้ากันได้ระหว่างระบบสตอเรจของบริษัท ฮิตาชิและโซลูชั่น GDPS ของบริษัท ไอบีเอ็ม แสดงให้เห็นถึงพันธกิจของบริษัท ฮิตาชิ ที่มีต่อธุรกิจสตอเรจที่เป็นส่วน ยุทธศาสตร์ของบริษัท ซึ่งส่งผลให้ผู้ใช้สามารถมั่นใจในโซลูชั่นของบริษัท ฮิตาชิได้เมื่อต้องพิจารณาตัดสินใจซื้อหามาใช้ในศูนย์ข้อมูลของตน"
บริษัท ฮิตาชิ ได้เห็นถึงความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น และแรงกระตุ้นที่มีต่อยอดขายทั่วโลกนับตั้งแต่การทำข้อตกลงในเดือนพฤษภาคม 2548 ที่จะเริ่มการทดสอบการทำงานข้ามระบบของผลิตภัณฑ์เพื่อตรวจสอบความเข้ากันได้ระหว่างระบบสตอเรจของบริษัท ฮิตาชิ และเมนเฟรม zSeries ของบริษัท ไอบีเอ็ม โดยการทดสอบการทำงานข้ามระบบดังกล่าวใช้ผลิตภัณฑ์ Hitachi TagmaStore? Universal Storage Platform, Hitachi TagmaStore Network Storage Controller, Hitachi SANRISE Universal Storage Platform และ Hitachi SANRISE Network Storage Controller ซึ่งทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์สตอเรจสำหรับองค์กรที่บริษัท ฮิตาชิ จำกัด และบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้ทำตลาดทั่วโลก
GDPS ของบริษัท ไอบีเอ็ม ช่วยให้กระบวนงานของการกู้คืนเป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดภาวะไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงระบบทั้งที่มีการวางแผนและไม่มีการวางแผนไว้ โดยจะทำให้ระบบสามารถทำงานได้เกือบต่อเนื่องและกู้คืนระบบที่เกิดความเสียหายได้ บริษัททั้งสองประสบความสำเร็จในการทดสอบและพบว่าสตอเรจของบริษัท ฮิตาชิ สนับสนุน GDPS รุ่น 3.2 และ 3.3 โดยใช้ Enterprise System Connection? (ESCON?), Fiber Connection (FICON?) และ Fibre Channel Protocol (FCP) ในการเชื่อมต่อ สำหรับตัวเลือกการกำหนดค่าของระบบ IBM eServer zSeries? 800, 900 และ 990, System z9 รวมทั้ง IBM 9672 G5 และ G6 ซึ่งเรียกใช้ z/OS? 1.6และ z/OS? 1.7
การใช้ GDPS/Peer to Peer Remote Copy (PPRC) HyperSwap Manager ทำให้ระบบสามารถทำงานแบบซิงโครนัสในระยะทางที่ไกลถึง 100 กิโลเมตร โดยบริษัท ฮิตาชิ และบริษัท ไอบีเอ็ม ได้ทดสอบฟังก์ชั่นที่ใช้ GDPS/PPRC แล้วประสบความสำเร็จ มีดังนี้
Planned HyperSwap
Unplanned HyperSwap
HyperSwap Failover/Failback
Unplanned HyperSwap IOS Timing trigger
FlashCopy
การใช้ GDPS/Peer to Peer Remote Copy (PPRC) ทำให้ระบบทำงานแบบซิงโครนัสในระยะทางที่ไกลถึง 100 กิโลเมตร โดยบริษัท ฮิตาชิ และบริษัท ไอบีเอ็ม ได้ทดสอบฟังก์ชั่นที่ใช้ GDPS/PPRC แล้วสำเร็จ มีดังนี้
Planned HyperSwap
Unplanned HyperSwap
HyperSwap Failover/Failback
Unplanned HyperSwap IOS Timing trigger
Enhanced Recovery
FlashCopy
GDPS/Extended Remote Copy (XRC) ทำให้การจำลองแบบอะซิงโครนัสได้ในระยะทางที่ไม่จำกัด โดยบริษัท ฮิตาชิ และบริษัท ไอบีเอ็ม ได้ทดสอบฟังก์ชั่น FlashCopy ที่ใช้ GDPS/XRC และพบว่าประสบความสำเร็จเช่นกัน
จากความสำเร็จของการทดสอบความเข้ากันได้และการทำงานข้ามระบบในครั้งนี้ บริษัท ไอบีเอ็ม ได้ออกหนังสือรับรองและแสดงไว้ที่
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์
http://www.hds.com/pdf/ibm_qualification_letter_gdps.pdf
บริษัท ไอบีเอ็ม
http://www-03.ibm.com/systems/z/connectivity/products/fc.html
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ มีแหล่งวิจัยและพัฒนาทั่วโลกที่พร้อมพัฒนาโซลูชั่นระบบบริหาร การจัดเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีชั้นนำของอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ ใช้ได้ง่าย และสามารถรองรับ การขยายระบบงานเพื่อให้ผลตอบแทนการลงทุนสูงสุดและช่วยลดความเสี่ยงของลูกค้า จากการมุ่ง เน้น ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ด้วยการเลือกสรรฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการที่ดีที่สุดจาก ฮิตาชิและพันธมิตร ทำให้บริษัทฯ สามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าโดยตอบ สนองความต้องการ ทางธุรกิจของลูกค้าได้
ด้วยพนักงานประมาณ 2,900 คน บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สามารถผลักดันธุรกิจ ผ่าน ทาง ช่องทางจำหน่ายทั้งทางตรงและอ้อม ได้แก่ ภาครัฐ เอกชน และส่วนอื่นๆ ในกว่า 170 ประเทศ และ ภูมิภาคต่างๆ ที่สำคัญลูกค้าของบริษัทฯ กว่า 50% อยู่ใน100 อันดับองค์กรยอดเยี่ยมของนิตยสารฟอร์จูน สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชม ได้ที่เว็บไซต์ www.hds.com .
บริษัท ฮิตาชิ จำกัด
บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก คือ HIT หรือ ตลาดหุ้นโตเกียว คือ 6501) มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำระดับโลก ด้วยจำนวนพนักงานประมาณ 356,000 ราย โดยในปีงบประมาณ 2548 (จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549) บริษัทฯ มียอดขายรวม 9,464 พันล้านเยน (80.9 พันล้านดอลลาร์) บริษัทฯ จัดหาระบบงาน ผลิตภัณฑ์ และบริการที่หลากหลายให้กับหลายภาคธุรกิจในตลาด ได้แก่ ระบบ สารสนเทศ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภค บริการด้าน การเงินและวัสดุต่างๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของฮิตาชิ สามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ http://www.hitachi.com .
สื่อมวลชนติดต่อ:
ฮิตาชิ ดาค้า ซิสเต็มส์ คอร์แอนด์พีค
เมรี่ แอนน์ กัลโล ศรีสุพัฒ เสียงเย็น
(408) 970-4836 02 4394600
mary.ann@hds.com srisuput@corepeak.com