กรุงเทพฯ--21 ก.พ.--เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น
ตลอดปี 2548 ได้เกิดมรสุมทางเศรษฐกิจมากมายหลายประการ ไม่ว่าเป็นผลกระทบจากธรณีพิบัติสึนามิเมื่อปลายปี 2547, ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้,ไข้หวัดนก การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน, ปัญหาภัยธรรมชาติเริ่มจากภัยแล้ง แล้วมาภัย น้ำท่วมในหลายภาค แต่เนื่องจากบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ได้เตรียมการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ตั้งแต่ปี 2545 จึงได้ผ่านพ้นมรสุมเศรษฐกิจมาได้
การกำหนดนโยบายต่างๆ ภายใต้คณะกรรมการบริษัท ซึ่งมีคุณวันชัย จิราธิวัฒน์ เป็นประธาน และภายใต้การบริหารงาน และกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหาร ซึ่งมีคุณสุทธิชัย จิราธิวัฒน์เป็นประธาน, คุณสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ เป็นรองประธานและกรรมการบริหารอีก 4 ท่าน คือ คุณสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ , คุณสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ , คุณสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ และคุณปริญญ์ จิราธิวัฒน์ ได้แบ่งธุรกิจหลัก (Core Business) 5 กลุ่ม ฃึ่งมีผลประกอบการในปี 2548 ดังนี้ :
1) ยอดขาย อัตราการเติบโตรวม 12.4 % คิดเป็นยอดขายทั้งสิ้น 87,000 ล้านบาท แยกเป็น :-
1. กลุ่มธุรกิจค้าปลีก (Retail Business = CRC)
มีอัตราการเติบโตร้อยละ 12.6
2. กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate = CPN)
มีอัตราการเติบโตร้อยละ 14.2
3. กลุ่มธุรกิจค้าส่ง (Trading and Marketing = CMG)
มีอัตราการเติบโตร้อยละ 5.3
4. กลุ่มธุรกิจโรงแรม (Hotels = CHR)
มีอัตราการเติบโตร้อยละ 2.1
5. กลุ่มเซ็นทรัลเรสตอรองส์ (Food = CRG)
มีอัตราการเติบโตร้อยละ 20.8
2) การลงทุน — รวม 10,200 ล้านบาท แยกเป็น :-
1. กลุ่มธุรกิจค้าปลีก (Retail Business = CRC)
มีการลงทุน 2,900 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 28.4 ของการลงทุนของกลุ่ม)
2. กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate = CPN)
มีการลงทุน 5,000 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 49 ของการลงทุนของกลุ่ม)
3. กลุ่มธุรกิจค้าส่ง (Trading and Marketing = CMG)
มีการลงทุน 170 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.7 ของการลงทุนของกลุ่ม)
4. กลุ่มธุรกิจโรงแรม (Hotels = CHR) มีการลงทุน 1,730 ล้านบาท
(คิดเป็นร้อยละ 17 ของการลงทุนของกลุ่ม)
5. กลุ่มเซ็นทรัลเรสตอรองส์ (Food = CRG) มีการลงทุน 400 ล้านบาท
(คิดเป็นร้อยละ 3.9 ของการลงทุนของกลุ่ม)
โดยภาพรวมแล้วธุรกิจหลักของกลุ่มมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยที่เกื้อหนุน นอกจากการปรับตัวของกลุ่มแล้ว ที่สำคัญได้แก่ การขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ร้อยละ 4.7 ถึงแม้จะมีอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 4.5 (ตัวเลขจาก Economic Outlook สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ความพยายามของรัฐบาลในการกระตุ้นการบริโภค และลงทุนอย่างต่อเนื่อง และได้ริเริ่มโครงการ Mega Project 1.8 ล้านล้านบาท การกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะ ไตรมาสที่สี่ ของปี 2548 การสนับสนุนการจ้างงานและเงินเดือนของทั้งภาคเอกชนและภาครัฐที่สูงขึ้น ทำให้เกิดการใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น การค้าขายและการลงทุนกับต่างประเทศยังมีการขยายตัวที่ดี มาตรการของรัฐบาลเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลลดลง และมีการปรับตัวในทิศทางที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพการใช้ที่เพิ่มขึ้น การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบรัฐบาล และการปรับดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวของธนาคารพาณิชย์ ที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในปลายไตรมาสที่สองเป็นต้นมา
ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2549
ในปี 2549 กลุ่มคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5 ซึ่งนับเป็นการขยายตัวที่สูงกว่าปี 2548 ในขณะที่เงินเฟ้อร้อยละ 4 โดยพิจารณาจากปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่ การค้าขาย และการลงทุนยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ การเร่งรัดการลงทุนในภาครัฐฯ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Mega Project) จะเป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญสำหรับการลงทุนภาคเอกชนทั้งในเขตเมืองและชนบท การจ้างงานและการปรับเงินเดือนที่เพิ่มสูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อจะมีส่วนเพิ่มการจับจ่ายของผู้บริโภคและครัวเรือน ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และการเพิ่มเงินออมในระบบการเงินของประเทศ การเร่งรัดใช้จ่ายงบประมาณของรัฐฯ ในระดับเศรษฐกิจรากหญ้าภาคเกษตร ได้แก่ กองทุน SML และการบริหารงบผ่านการจัดการแบบ CEO จะทำให้การใช้จ่ายเงินในระบบเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพ และกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี ส่วนภาวะเงินเฟ้อ โดยเฉพาะเนื่องจากการผันผวนของราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น น่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคหลักๆที่ทางกลุ่มได้นำมาประเมินประกอบกับการคาดการณ์เป้าหมายธุรกิจ ปี 2549
เป้าหมายธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัลในปี 2549
กลุ่มเซ็นทรัลคาดว่าธุรกิจในกลุ่มน่าจะมีอัตราการเติบโตในปี 2549 ที่อัตราร้อยละ 11 มียอดขายทั้งกลุ่มที่ประมาณไว้ 96,000 ล้านบาท โดยมีแผนการลงทุนในโครงการต่างๆ ด้วยงบลงทุนรวมทั้งสิ้น 16,000 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการลงทุนในธุรกิจหลัก คือ
1. กลุ่มธุรกิจค้าปลีก มีการลงทุน 5,350 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 33.4 ของกลุ่ม)
2. กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีการลงทุน 7,750 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 48.5 ของกลุ่ม)
3. กลุ่มธุรกิจค้าส่ง มีการลงทุน 250 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.6 ของกลุ่ม)
4. กลุ่มธุรกิจโรงแรม มีการลงทุน 2,250 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 14.0 ของกลุ่ม)
5. กลุ่มเซ็นทรัลเรสเตอรองส์ มีการลงทุน 400 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 2.5 ของกลุ่ม)
กลุ่มเซ็นทรัลเชื่อว่า การดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมามีส่วนช่วยสนับสนุนให้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
การมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility)
นอกจากกลุ่มเซ็นทรัลจะมีส่วนร่วมในการสร้างงานสร้างรายได้ต่อเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากกลุ่มมี คู่ค้ารวมกันเกือบ 20,000 ราย มีพนักงานกว่า 60,000 คน แล้วกลุ่มยังตระหนักถึงความมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อสังคม โดยการจัดตั้งฝ่ายภาพลักษณ์องค์กร เพื่อดูแลโดยตรง และในปี 2548/2549 บริษัทฯ ได้มีบทบาทต่อสังคมในรูปแบบต่างๆ กันคือ
1. ด้านภาพลักษณ์องค์กร ( Corporate Image )
1) บริษัทในกลุ่มคือ บริษัท ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ได้รับพระราชทานตราตั้ง
(พระครุฑพ่าห์) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2548 ซึ่งกำลังดำเนินการเพื่ออัญเชิญองค์ครุฑขึ้นประดิษฐานต่อไป
2) บริษัทในกลุ่ม คือ CRC ได้รับรางวัลหนึ่งในสุดยอดค้าปลีก “The Top Retailer 2005 Gold — Thailand ”
และ รางวัล The Best of the Best“Top Retailer “ ในภูมิภาค Asia Pacific ในงาน Retail Asia
Pacific Top 500 Award Ceremony ครั้งที่ 2 ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งจัดโดยนิตยสาร Retailer Asia ร่วมกับ
Euromonitor และ KPMG
3) บริษัทในกลุ่ม คือ CPN ได้รับความสำเร็จอย่างสูง ในการจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ CPN Retail Growth Fund
(CPNRF)
4) บริษัทในกลุ่ม คือ CPN ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบริษัทที่ดีที่สุดสำหรับบริษัทที่มีมูลค่าตลาดต่ำกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยนิตยสารธุรกิจชั้นนำของโลก Forbes Asia (ซึ่งในประเทศไทยมีเพียง 11 บริษัท
เท่านั้น)
5) บริษัทในกลุ่ม คือ CPN ได้รับการคัดสรรให้อยู่ใน Top Quartile จากผลการสำรวจบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียน
ประจำปี 2548 (เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน) จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
6) บริษัทในกลุ่ม คือ CHR ได้รับการคัดสรรให้อยู่ใน Top Quartile จากผลการสำรวจบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียน
ประจำปี 2548 (เป็นปีแรก) จัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
2. ด้านสาธารณกุศล (Social Contribution)
กลุ่มเซ็นทรัล มีแผนจัดทำกิจกรรมสาธารณกุศล สำหรับปี 2548/2549 หลายประการ อาทิเช่น ร่วมกับ กรมศิลปากร บูรณะวัดพระสิงห์ (จ. เชียงใหม่), บริจาครถรับบริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทยและสนับสนุนให้พนักงานไปบริจาคโลหิตให้สภากาชาดเป็นประจำทุกปี (ปี2549 จะเน้นเป็นกรณีพิเศษเนื่องในวาระทรงครองราชย์ครบ 60 ปี),บริจาคเงินแก่มูลนิธิพระดาบสและมูลนิธิต่างๆ,บริจาคผ้าห่มกันหนาวแก่ผู้ยากไร้ในจังหวัดสุโขทัย,แพร่,น่าน,ลำปาง,ลำพูน,เชียงใหม่,เชียงราย และสกลนคร,บริจาคเกี่ยวกับการศึกษาที่เขื่อนแม่กวง จ.เชียงใหม่ นอกจากนี้ยังดำเนินกิจกรรมสาธารณกุศลร่วมกับส่วนราชการต่างๆ เช่น ให้พื้นที่จัดนิทรรศการตามศูนย์การค้า และดำเนินการฝึกอบรมเรื่องการค้าปลีก ร่วมกับสำนักงานการอาชีวศึกษาแห่งชาติ เป็นต้น
3. ด้านการช่วยเหลือเกษตรกร
กลุ่มเซ็นทรัลโดย ท๊อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ปัจจุบัน มี 87 สาขา มีโครงการจัดทำ Contract Farming เพื่อเป็น Outlet ให้แก่เกษตรกร (เกษตรกรที่สนใจขอให้ติดต่อผ่านกรมส่งเสริมสหกรณ์) รวมทั้งในฤดูกาลเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตร เช่น ลิ้นจี่, ลำไย, มะขามหวาน, ผลไม้ภาคตะวันออก ทางท๊อปส์ ได้ประสานกับจังหวัดและธนาคาร ธกส. ให้เกษตรกรนำผลผลิตมาจำหน่ายโดยตรงที่สาขาของ Tops ได้ นอกจากนี้ทางกลุ่มได้เป็นผู้ริเริ่มส่งเสริมชาวเขาที่อยู่ในแหล่งน้ำให้เลิกการใช้สารเคมีในการปลูกผัก โดยร่วมกับโครงการสวนประกาศิตที่ ต.เปียงหลวง อ. เวียงแหง จ.เชียงใหม่ แล้วนำผลผลิตมาขายยังท๊อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต
สามารถคลิกดูภาพได้ที่ www.thaipr.net--จบ--