กรุงเทพฯ--10 มี.ค.--สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย
สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทยแถลงผลการประกวด APICTA 2005 ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ณ จังหวัดเชียงใหม่ คอมพิวเตอร์ เทเลโฟนนี เอเชีย, ไซเบอร์ แพลนเน็ต นักเรียนสาธิตจุฬาฯ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ของไทยคว้ารางวัลประเภทคอมมูนิเคชั่นแอพพลิเคชั่น มีเดียแอนด์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษาตามลำดับ คณะกรรมการตัดสินชี้ซอฟต์แวร์ไทยไม่แพ้ใคร แต่ยังด้อยเรื่องการนำเสนอและแผนเชิงธุรกิจ เอทีซีไอรุกต่อเนื่องเตรียมเปิดรับสมัครสำหรับไทยแลนด์ ไอซีที อวอร์ดหรือ TICTA 2006 หวังกวาดรางวัลเอเชียแปซิฟิก ไอซีที อวอร์ดหรือ APICTA 2006 ที่มาเก๊า
ตามที่ประเทศไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพการจัดงานเอเชียแปซิฟิก ไอซีที อวอร์ด หรือ APICTA 2005 เมื่อเร็วๆ นี้ ที่จังหวัดเชียงใหม่ คุณจำรัส สว่างสมุทร นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทยได้กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่า “การจัดงานครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยได้แสดงศักยภาพ และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ความร่วมมือ สร้างเครือข่ายและขยายช่องทางธุรกิจระหว่างภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ การประกวดระดับภูมิภาคเป็นการสร้างแบรนด์และเพิ่มคุณค่าให้แก่ซอฟต์แวร์ไทย เปรียบเสมือนเครื่องหมายแสดงและรับรองคุณภาพ และเป็นการสร้างแรงบันดาลใจแก่บุคลากรในวงการและเป็นตัวอย่างแก่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ การจัดงานครั้งนี้ดำเนินไปได้ด้วยดีด้วยการสนับสนุนของบริษัทไอซีทีชั้นนำและหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ บริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น บริษัท ทีโอที สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ บริษัท ไมโครซอฟท์ บริษัท กสท. โทรคมนาคม ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และบริษัท ฟาร์อีสต์ วิศวการ”
“การที่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยได้ลงสนามแข่งขันการประกวดระดับภูมิภาค เป็นโอกาสที่จะนำซอฟต์แวร์ที่พัฒนามาทดสอบตลาดในระดับภูมิภาค รางวัลที่ได้แสดงถึงความเป็นไปได้ทางการตลาดสำหรับซอฟต์แวร์ประเภทนั้นๆ เพราะคณะกรรมการตัดสินเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญอย่างมาก” นายจำรัสกล่าว
คุณสุธีร์ สธนสถาพร ประธานการจัดงาน APICTA 2005 กล่าวถึงการประกวดครั้งนี้ว่า “จำนวนผลงานที่ส่งประกวดทั้งสิ้น จำนวน 164 ผลงาน สำหรับ 15 ประเภท ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ประเภท Applications and Infrastructure Tools
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ บริษัท Beonic ผลิตภัณฑ์ชื่อ Traffic Insight ประเทศออสเตรเลีย
ผู้ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ บริษัท CrimsonLogic ผลิตภัณฑ์ชื่อ Performa ประเทศสิงคโปร์
ประเภท Communications Applications
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ บริษัท Computer Telephony Asia ผลิตภัณฑ์ชื่อ InfoCentrix Multimedia Contact Center Solution ประเทศไทย
ผู้ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ บริษัท Green Packet Berhad ผลิตภัณฑ์ชื่อ SONaccess ประเทศมาเลเซีย
ประเภท Education & Training
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ University of Pedagogy ผลิตภัณฑ์ชื่อ Vietnamese Sign Dictionary for People with Hearing Impairment ประเทศเวียดนาม
ผู้ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ บริษัท CEO-Match (SG) ผลิตภัณฑ์ชื่อ CEO-Match — Strategy Business Simulation System ประเทศสิงคโปร์
ประเภท E-Government & Services
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ Immigration Department, The Government of the Hong Kong Special Administrative Region ผลิตภัณฑ์ชื่อ Face Recognition System (FACES) ประเทศฮ่องกง
ประเภท Financial Applications
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ บริษัท eBroker Systems ผลิตภัณฑ์ชื่อ Intelligent Global Trading System ?C eBrokerSys ประเทศฮ่องกง
ผู้ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ บริษัท Camtech Asia IT & T ผลิตภัณฑ์ชื่อ Universal Commerce Engine (UCE) Branded As Cazh ประเทศมาเลเซีย
ประเภท General Applications
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ บริษัท Polymorph Technologies ผลิตภัณฑ์ชื่อ Accpol BPM ประเทศสิงคโปร์
ผู้ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ บริษัท CSIRO Entomology and Hearne Scientific Software ผลิตภัณฑ์ชื่อ Dymex-Climex ประเทศออสเตรเลีย
ประเภท Healthcare
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ Hospital Authority, Hong Kong ผลิตภัณฑ์ชื่อ Electronic Patient Record with Radiological Image Distribution ประเทศฮ่องกง
ผู้ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ บริษัท iTechnology ผลิตภัณฑ์ชื่อ Hau Tuo Chinese Medical Clinical Management System ประเทศฮ่องกง
ประเภท Industrial Applications
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ MTR Corporation and City University of Hong Kong ผลิตภัณฑ์ชื่อ ETMS - Engineering Works and Traffic Information Management System ประเทศฮ่องกง
ประเภท Media and Entertainment
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ บริษัท Media Innovations ผลิตภัณฑ์ชื่อ Digital TV Log ประเทศปากีสถาน
ผู้ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ บริษัท CyberPlanet Interactive ผลิตภัณฑ์ชื่อ CEO CITY ประเทศไทย
ประเภท Research & Development
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ The Chinese University of Hong Kong ผลิตภัณฑ์ชื่อ Virtual Acupuncture V ประเทศฮ่องกง
ผู้ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ Universiti Sains Malaysia ผลิตภัณฑ์ชื่อ i-SEEN : An Intelligent Image Search Engine ประเทศมาเลเซีย
ประเภท Secondary Student Project
ผู้ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ Gateway College, Colombo ผลิตภัณฑ์ชื่อ Infrasoft Earth Invasion 2 ประเทศศรีลังกา
ผู้ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ โรงเรียนสาธิตจุฬา ผลิตภัณฑ์ชื่อ Mech Tournament ประเทศไทย
ประเภท Security
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ บริษัท TISS MSC ผลิตภัณฑ์ชื่อ T3 Security Suite ประเทศมาเลเซีย
ผู้ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ บริษัท Dtex International ผลิตภัณฑ์ชื่อ SystemSkan ประเทศมาเลเซีย
ประเภท Start-Up Company
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ บริษัท Green Tomato ผลิตภัณฑ์ชื่อ Green Tomato ประเทศฮ่องกง
ประเภท Tertiary Student Project
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ Multimedia University ผลิตภัณฑ์ชื่อ Misi Mustahak ประเทศมาเลเซีย
ผู้ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์ชื่อ Battle Crossword ประเทศไทย
ผู้ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ Macao Polytechnic Institute ผลิตภัณฑ์ชื่อ Mobile Phone Firewall ประเทศมาเก๊า
ประเภท Tourism and Hospitality
ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ บริษัท IFCA MSC BERHAD ผลิตภัณฑ์ชื่อ IFCA HOSPITALITY ประเทศมาเลเซีย
รางวัล Special Mention มี 2 รางวัล ได้แก่
บริษัท PT Realta Chakradarma ผลิตภัณฑ์ชื่อ GRAMS (Golf and Resort Management Systems) ประเทศอินโดนีเซีย
บริษัท Teleconsult ผลิตภัณฑ์ชื่อ eTHOR ประเทศบรูไน
คุณสุวิภา วรรณสาธพ ผู้อำนวยการ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวด APICTA 2005 กล่าวถึงการประกวดครั้งนี้ว่า “การพิจารณาให้คะแนนแบ่งออกเป็น 5 คุณสมบัติหลัก ได้แก่
1. Uniqueness 20% ซึ่งจะพิจารณาจาก Technology & Innovation 60% และ Trend Setting 40%
2. Proof of Concept 25% พิจารณาจาก Commercial Potential 50% และ Pilot Trial 50%
3. Functionalities 25% พิจารณาจาก User Requirements 50% และ Compatibility & Interoperability 50%
4. Quality/Application of Technology 20% พิจารณาจาก Content & Standards 60% และ Product Stability & Reliability 40%
5. Presentation 10% แบ่งเป็น Organization & Enquiries 50% เท่ากัน
การตัดสินการประกวด APICTA มีมาตรฐานสูงมากและเกณฑ์ในการให้คะแนนที่ชัดเจนดังที่กล่าวมาแล้ว สำหรับผลงานไทยในแง่ของผลิตภัณฑ์ไม่ได้ด้อยกว่าประเทศอื่น แต่จุดที่น่าจะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้คือ เรื่อง Business Model ที่ควรคิดให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการตลาดที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับในวงกว้างและเป็นที่ต้องการของลูกค้า อีกเรื่องที่น่าจะเตรียมความพร้อมให้ดีขึ้นคือเรื่อง การนำเสนองานหรือ Presentation ควรฝึกการนำเสนอให้น่าสนใจภายใต้เวลาที่จำกัด และตอบคำถามให้ตรงประเด็น อีกทั้งการนำเสนอผลงานจะน่าสนใจมากขึ้นหากสร้าง story เกี่ยวกับผลงานชิ้นนั้นและนำเสนอให้เห็นถึงความสำคัญและผลกระทบทางการตลาด เทคโนโลยี เศรษฐกิจหรือสังคม อย่างไรก็ตามต้องขอชมเชยผลงานไทยที่เข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้ ทุกคนได้พยายามอย่างเต็มความสามารถ และการแพ้ชนะบางครั้งแพ้กันเพียงจุดทศนิยมเท่านั้น”
คุณสุธีร์ สธนสถาพร กล่าวในตอนท้ายว่า “แม้ว่าประเทศไทยจะได้รับรางวัลมากขึ้นกว่าปีก่อนๆ ที่ผ่านมา สมาคมเอทีซีไอเชื่อมั่นว่าเราจะได้รับรางวัลมากขึ้นในปีต่อๆ ไป เพื่อเป็นการสร้างฐานความน่าเชื่อถือและมั่นใจซอฟต์แวร์ของประเทศไทย สำหรับปีนี้เราจะเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าประกวด ไทยแลนด์ ไอซีที อวอร์ดหรือ TICTA 2006 กลางเดือนมีนาคมนี้ และขอถือโอกาสนี้เชิญชวนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยร่วมส่งผลงานเข้าประกวด โดยสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทยหรือที่เว็บไซด์ www.atci.or.th ”
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net