กรุงเทพฯ--31 ต.ค.--กรมควบคุมมลพิษ
กรมควบคุมมลพิษได้ริเริ่มโครงการนี้โดยเรียกชื่อเต็มว่า “โครงการประเมินดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดท่องเที่ยว” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บ่งชี้ระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดท่องเที่ยวว่ามีความเหมาะสมต่อการท่องเที่ยวเพียงไร ซึ่งปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่นำมาใช้ในการประเมินนี้เราคำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ค่าใช้จ่ายไม่สูง และความเหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ได้แก่
คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ปริมาณขยะตกค้างในน้ำ บนชายหาด และชุมชนชายทะเล ความสมบูรณ์ของชายหาด และการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเราได้แบ่งคุณภาพสิ่งแวดล้อมออกเป็น 5 ระดับ คือ คุณภาพสิ่งแวดล้อมดีมาก ดี พอใช้ ต่ำ และต่ำมาก และนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่ายโดยการให้เป็น “ดาว” เช่นเดียวกับการให้ดาวโรงแรม โดยชายหาดที่มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมดีมากจะอยู่ในระดับ 5 ดาว และชายหาดที่มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่ำมากจะอยู่ในระดับ 1 ดาว จึงเป็นที่มาของชื่อโครงการ “ชายหาดติดดาว”
นางมณทิพย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดท่องเที่ยว
นอกจากจะเป็นหน้าที่ของผู้ที่อยู่อาศัยหรือมีหน้าที่รับผิดชอบชายหาด นั้นๆ แล้ว คนทุกคนก็มีส่วนในการใช้ประโยชน์จากชายฝั่งทะเล ทั้งทางตรงและทางอ้อม
แต่ชายหาดที่สวยงามเหล่านี้จะคงอยู่ให้เราได้ชื่นชมไปนานๆ ก็ด้วยความร่วมมือของทุกๆ คน อย่างน้อยเพียงแค่คุณมาเที่ยวแล้วไม่ทิ้งขยะลงบนชายหาดคุณก็มีส่วนช่วยในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดแล้ว
ในส่วนของกรมควบคุมมลพิษเองก็ได้มีการติดตามประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ก็ยังมีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทั่วประเทศเพื่อเฝ้าระวังปัญหาอันจะเกิดกับสิ่งแวดล้อมทางทะเลอีกด้วย
อย่างไรก็ตามกรมควบคุมมลพิษ ได้ “ติดดาว” ให้ชายหาดท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศไทยไปแล้วหลายแห่ง ซึ่งตั้งแต่ปี 2545 - 2548 ผลการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดท่องเที่ยวพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 3 — 4 ดาว มีชายหาดหลายแห่งของประเทศไทยสามารถรักษาระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมดี (4 ดาว)
มาตลอด ได้แก่ หาดทรายแก้ว (เกาะเสม็ด) จังหวัดระยอง หาดหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และหาดเฉวง (เกาะสมุย) จังหวัด สุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ชายหาดที่มีชื่อเสียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเก่าแก่ของคนไทยอย่าง หาดบางแสน จังหวัดชลบุรี ก็ได้ยกระดับจาก 3 ดาว เป็น 3 ดาวครึ่ง อีกด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากความใส่ใจในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมชายหาดของหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
สำหรับปี 2549 กรมควบคุมมลพิษ กำลังจะติดดาวให้ชายหาดอีกเป็นจำนวนถึง 105 แห่ง ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกจากจังหวัดตราดถึงชลบุรี จำนวน 31 แห่ง ส่วน 8 จังหวัดชายทะเลฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่เพชรบุรีจนถึงนราธิวาส มีจำนวน 38 แห่ง และ 6 จังหวัดฝั่งอันดามันจำนวน 36 แห่ง
ในปี 2549 กรมควบคุมมลพิษได้ทำการประเมินเพื่อติดดาวให้ชายหาดท่องเที่ยวจำนวน 105 แห่ง โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8 13 14 และ 15 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดที่ติดชายฝั่งทะเล 15 จังหวัด เทศบาล อุทยานแห่งชาติ องค์การบริหารส่วนตำบล หรือแม้แต่ผู้ประกอบการบางแห่ง ส่วนในปี 2550 ยังมีการติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง และมีแนวคิดในการปรับปรุงเกณฑ์การประเมินดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญมีแผนในการยกระดับดาวให้ชายหาดโดยการแก้ไขปัญหาในพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้ชายหาดท่องเที่ยวมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอีกด้วย แม้ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากรมควบคุมมลพิษได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหลายหน่วยงานทั้งจากภาครัฐและเอกชน แต่ก็ยังไม่ทั่วถึงพอสำหรับชายฝั่งทะเลทั่วประเทศที่มีอยู่กว่า 500 แห่ง ซึ่งที่จริงแล้วภาระในการจัดการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมชายหาดไม่ใช่เรื่องยุ่งยากเลยและทุกคนและทุกภาคส่วนก็สามารถทำได้
ในส่วนของหน่วยงานท้องถิ่นที่รับผิดชอบพื้นที่ควรจัดหาถังขยะให้เพียงพอพร้อมกับมีการดูแลจัดเก็บขยะให้ทั่วถึง กวดขันเข้มงวดและจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ชายหาด การดูแลจัดการเรื่องน้ำทิ้งจากบ้านเรือนและสถานประกอบการต่างๆ ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวก็ควรเพิ่มการรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมชายหาด ผู้ประกอบการโรงแรมหรือร้านค้าริมหาดก็ร่วมมือได้ด้วยการช่วยกันจัดเก็บขยะที่เกิดจากการประกอบกิจการของตัวเอง รวมทั้งไม่ทิ้งน้ำเสียลงในทะเล ไม่ก่อสร้างสิ่งลุกล้ำชายหาดเพราะจะเป็นการกีดขวางทางน้ำและจะส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งตามมา
ตลอดจนการตั้งวางเตียงผ้าใบและร่มชายหาดให้เป็นระเบียบ ก็จะสามารถช่วยรักษาให้ชายหาดของประเทศไทยใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ภายใต้การดำเนินงานของโครงการชายหาดติดดาวได้มีการจัดกิจกรรมมาโดยตลอด อย่างเช่นเมื่อปี 2547 ได้จัดงานแถลงข่าวและเปิดตัวป้ายดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดท่องเที่ยว ที่หาดบางแสน จังหวัดชลบุรี การแถลงข่าว “ฟื้นภัยสึนามิด้วยชายหาดติดดาว” การจัดกิจกรรมค่ายเยาวชน “รักษ์หาดติดดาว” เมื่อวันที่ 19-22 กรกฎาคม 2548 ณ จังหวัดภูเก็ต เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน ซึ่งได้รับความสนใจจากเยาวชน ประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสื่อมวลชนเป็นอย่างดี
ส่วนกิจกรรมติดดาวสัญจรครั้งนี้เราเรียกชื่อตอนว่า Full of Stars Party ในวันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2549 เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานของโครงการชายหาดติดดาว ซึ่งงานจะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายทั้งเยาวชน ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติเข้าร่วมงานกับเราด้วย เช่น นิทรรศการความรู้ “ทำไม...ชายหาดจึงติดดาว” การแข่งขันอาชีพท้องถิ่น การประกวดผสมเครื่องดื่ม Star Punch ของกลุ่มผู้ประกอบการ การประกวด Folk Song และการเต้นประกอบเพลงเกี่ยวกับทะเลของเยาวชน การประกวดแฟนซีชุดชายหาด และที่สำคัญยังจะได้มีการมอบรางวัลให้กับหน่วยงานท้องถิ่นที่มีผลการดำเนินงานดี ทั้งจังหวัดที่มีชายหาด 5 ดาว ชายหาดพัฒนาดีเด่น และจะเปิดตัวเพลงประจำโครงการ “ชายหาดติดดาว” โดย “ศุ บุญเลี้ยง”
เพลงชายหาดติดดาว
ลมปลิว ทิวมะพร้าว บนชายฝั่ง ทรายขาวยังสะอาด เราเดิน เดินย่ำไปบนชายหาด
ธรรมชาติช่างสวยงาม ดูแล เก็บถนอมให้ยืนยาว
ประดับดาวให้ชายหาด คงดี ถ้าเรานี้ ช่วยยืนยัน และช่วยกันรักษา
ชายหาดติดดาวช่างพราวพราย เม็ดทรายร่ายระบำ
ทะเลสวย ติดตรึง จนจดจำ ติดใจ ติดตา
ให้ห่วงหารักษาหาด
เดินทาง ทางที่เดินจะน่าดู เมื่อเรารู้ ไม่ดูดาย
มองดาว ดาวก็สวยทอประกาย
บอกความหมาย ของดวงใจ
ดวงดาว เคยพร่างพราวในอากาศ
ธรรมชาติเกื้อกูลกัน
วันใด เรามอบใจ ให้โอกาส
ให้หาดทราย ประดับดาว
คำร้อง, ทำนอง : พจนาถ พจนาพิทักษ์
ขับร้อง : ศุ บุญเลี้ยง
เรียบเรียง : รังสรรค์ ราศี-ดิบ
ร้องประสาน : ณัชชา ติยะวรบุญ (แยม)
เบส : ธวัชชัย แย้มสำรวล
แซกโซโฟน : Mark de ladflour
กีตาร์-คีย์บอร์ด-โปรแกรม : แก้วมา พาเพลิน
บันทึกเสียง : ใบชา กรุ๊ป
ดูแลการผลิต : กะทิ กะลา คอมปานี
ผลการดำเนินงาน
ผลการสำรวจปี 2549 กรมควบคุมมลพิษ กำลังจะติดดาวให้ชายหาดอีกเป็นจำนวนถึง 105
แห่ง ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกจากจังหวัดตราดถึงชลบุรี จำนวน 31 แห่ง ส่วน
8 จังหวัดชายทะเลฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่เพชรบุรีจนถึงนราธิวาส มีจำนวน 38 แห่ง
และ 6 จังหวัดฝั่งอันดามันจำนวน 36 แห่ง
ตารางแสดงดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาท่องเที่ยว ปี 2549
จังหวัด ชื่อหาด / เกาะ จำนวนดาวแต่ละหาด (ดาว)
เพชรบุรี หาดชะอำ 4 ดาว
(2 หาด) หาดปึกเตียน 3.5 ดาว
ประจวบคีรีขันธ์ หาดหัวหิน 4 ดาว
(5 หาด) หาดตะเกียบ 4 ดาว
หาดหว้ากอ 4.5 ดาว
หาดอ่าวมะนาว 4.5 ดาว
หาดบ้านกรูด 4 ดาว
ตราด หาดบานชื่น 3 ดาว
(11 หาด) หาดทรายขาว / เกาะช้าง 4 ดาว
หาดคลองพร้าว / เกาะช้าง 4 ดาว
หาดไก่แบ้ / เกาะช้าง 3.5 ดาว
หาดใบลาน / เกาะช้าง 3.5 ดาว
หาดบางเบ้า / เกาะช้าง 3.5 ดาว
หาดคลองเจ้า / เกาะกูด 4 ดาว
หาดง่ามโข / เกาะกูด 3.5 ดาว
หาดราชการุณย์ 3 ดาว
หาดตาลคู่ 3 ดาว
หาดสุขสำราญ 3 ดาว
จันทบุรี หาดจ้าวหลาว 4 ดาว
(3 หาด) หาดแหลมเสด็จ 4 ดาว
หาดแหลมสิงห์ 3.5 ดาว
จังหวัด ชื่อหาด / เกาะ จำนวนดาวแต่ละหาด (ดาว)
ระยอง หาดทรายแก้ว / เกาะเสม็ด 4 ดาว
(11 หาด) หาดวงเดือน / เกาะเสม็ด 4 ดาว
หาดแม่รำพึง 4 ดาว
หาดอ่าวพร้าว / เกาะเสม็ด 4 ดาว
หาดสวนสน (รุกขชาติเพ) 3.5 ดาว
หาดพะยูน 4.5 ดาว
หาดพลา 4 ดาว
หาดแหลมแม่พิมพ์ 3 ดาว
หาดแสงจันทร์ 4 ดาว
หาดสุชาดา 2 ดาว
หาดอ่าวแกลง 4 ดาว
ชลบุรี หาดบางแสน 3 ดาว
(6 หาด) หาดวอนนภา 3 ดาว
หาดพัทยา 4 ดาว
หาดจอมเทียน 3 ดาว
หาดตาแหวน / เกาะล้าน 4 ดาว
หาดถ้ำพัง / เกาะสีชัง 4 ดาว
ชุมพร หาดทุ่งวัวแล่น 4.5 ดาว
(6 หาด) หาดบางเบิด 4.5 ดาว
หาดภารดรภาพ 4 ดาว
หาดทรายรี (เมือง) 4 ดาว
หาดทรายรี (สวี) 4 ดาว
หาดอรุโณทัย 4 ดาว
สุราษฎร์ธานี หาดเฉวง / เกาะสมุย 4 ดาว
(15 หาด) หาดละไม / เกาะสมุย 3 ดาว
หาดเชิงมน / เกาะสมุย 3.5 ดาว
หาดแม่น้ำ / เกาะสมุย 3.5 ดาว
หาดบ่อผุด / เกาะสมุย 3.5 ดาว
หาดเฉวงน้อย / เกาะสมุย 4 ดาว
จังหวัด ชื่อหาด/เกาะ จำนวนดาวแต่ละดาว
หาดทรายรี / เกาะเต่า 4 ดาว
หาดโฉลกบ้านเก่า / เกาะเต่า 3.5 ดาว
หาดริ้นใน / เกาะพงัน 3.5 ดาว
หาดริ้นนอก / เกาะพะงัน 4 ดาว
หาดยาว / เกาะพะงัน 4 ดาว
หาดอ่าวคา 4 ดาว
หาดสามเส้า / เกาะวัวตาหลับ 4 ดาว
หาดหน้าทับ-ถ้ำร้าง 4 ดาว
หาดทะเลใน / เกาะแม่เกาะ 4 ดาว
นครศรีธรรมราช หาดหินงาม 3.5 ดาว
(6 หาด) หาดในเพลา 3.5 ดาว
หาดหน้าด่าน 4 ดาว
หาดแหลมตะลุมพุก 3 ดาว
หาดทรายแก้ว 4.5 ดาว
หาดเขาพลายดำ 4 ดาว
ระนอง หาดประพาส 3.5 ดาว
(6 หาด) หาดแหลมสน / บางเบน 4 ดาว
หาดกวางปีบ / หมู่เกาะพยาม 4.5 ดาว
หาดเขาควาย / หมู่เกาะพยาม 4 ดาว
หาดอ่าวใหญ่ / หมู่เกาะพยาม 4 ดาว
หาดทะเลนอก 3 ดาว
สงขลา (1 หาด) หาดสมิหลา 4 ดาว
ปัตตานี (1หาด) หาดแฆแฆ 4 ดาว
นราธิวาส หาดนราทัศน์ 4 ดาว
(2 หาด) อ่าวมะนาว 4 ดาว
สตูล หาดหัวหิน (ท่าศิลา) 4.5 ดาว
(4 หาด) หาดเกาะอาดัง 5 ดาว
หาดเกาะหลีเป๊ะ 4 ดาว
หาดพันเตมาละกา/เกาะตะรุเตา 4 ดาว
จังหวัด ชื่อหาด / เกาะ จำนวนดาวแต่ละหาด (ดาว)
ตรัง หาดเจ้าไหม 4 ดาว
(4 หาด) หาดหยงหลิง 4 ดาว
หาดปากเมง 3.5 ดาว
หาดราชมงคล 4 ดาว
กระบี่ หาดคลองดาว / เกาะสันตา 4.5 ดาว
(10 หาด) หาดนพรัตน์ธารา 4 ดาว
หาดอ่าวนาง 4 ดาว
หาดไร่เลย์ 4.5 ดาว
หาดต้นไทร / เกาะพีพี 4.5 ดาว
หาดโล๊ะดาลัม / เกาะพีพี 4.5 ดาว
หาดยาว / เกาะพีพี 5ดาว
หาดคอกวาง / เกาะลันตาใหญ่ 4 ดาว
หาดทับแขก 4.5 ดาว
หาดบิเล๊ะ / เกาะห้อง 5 ดาว
ภูเก็ต หาดป่าตอง 4 ดาว
(8 หาด) หาดกะรน 4.5 ดาว
หาดสุรินทร์ 4 ดาว
หาดในยาง 4 ดาว
หาดกะตะ 4 ดาว
หาดในหาน 4.5 ดาว
หาดกมลา 4.5 ดาว
หาดบางเทา 4 ดาว
พังงา หาดท้ายเหมือง 4.5 ดาว
(4 หาด) หาดนางทอง 4 ดาว
หาดบางเนียง 4 ดาว
หาดบางสัก 4 ดาว
วิธีการประเมินดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดท่องเที่ยว
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดแผนการดำเนินงาน
1.1 กำหนดชายหาดท่องเที่ยวที่จะศึกษา โดยเลือกหาดที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว
1.2 กำหนดตัวชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1) คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ได้แก่
- ปริมาณแบคทีเรียเรียกกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด เป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงความสกปรก
ที่ปนเปื้อนมาจากสิ่งขับถ่ายของมนุษย์และสัตว์
ปกติแบคทีเรียกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในลำไส้ของคนและสัตว์โดยไม่ก่อให้เกิดโรค
แต่หากพบแบคทีเรียกลุ่มนี้ในแหล่งน้ำมากอาจแสดงว่า
แหล่งน้ำนั้นมีโอกาสที่จะมีเชื้อโรคบางชนิด เช่น อหิวาตกโรค บิด ไทฟอยด์
เป็นต้น แพร่กระจายปะปนในแหล่งน้ำได้
- สารแขวนลอย สารแขวนลอยในน้ำจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต
โดยสารแขวนลอยที่มีความเข้มข้น 6 มก./ล. และมีอัตราการตกตะกอน 4 มก./ตร.ซม./วัน
จะทำให้อัตราการหายใจของปะการังลดลง
นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการว่ายน้ำและทัศนียภาพในการมองของนักท่องเที่ยวอีกด้วย
2) ปริมาณขยะตกค้าง ได้แก่ ขยะตกค้างในน้ำ บนชายหาด และชุมชนชายทะเล
3) ความสมบูรณ์ของชายหาด ได้แก่ สันทราย สภาพปะการังและการกัดเซาะชายฝั่ง
- สันทราย เป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวต้องมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดีเพราะมี
ความไม่มั่นคงทั้งทางกายภาพและระบบนิเวศน์ สามารถเปลี่ยนแปลงได้จากอิทธิพลของลม
มีความหลากหลายทางชีวภาพต่ำ
หากพบสันทรายบริเวณใดจะแสดงให้เห็นว่าหาดดังกล่าวได้รับการดูแลรักษาให้คงสภาพธรรมชาติไว้ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ได้ว่า หาดนั้นจะมีการงอกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
หรือหาดจะมีการขยายออกไป
- การกัดเซาะชายหาด จะทำให้สภาพของชายหาดเปลี่ยนแปลงไปหรือเกิดการ
ถอยร่นของชายทะเลเข้าไปในแผ่นดิน ทำให้ทรัพย์สินในบริเวณชายฝั่งเสียหาย
ซึ่งนอกจากจะไม่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยวแล้ว
ยังแสดงให้เห็นว่าไม่ได้มีการศึกษาอย่างจริงจังก่อนทำการพัฒนาหรือก่อนการก่อสร้างในพื้นที่
- ปะการัง เป็นระบบนิเวศที่สำคัญประเภทหนึ่ง เนื่องจากเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ
สิ่งมีชีวิต เป็นแหล่งอาหาร เป็นแนวกำบังคลื่นลมและแหล่งท่องเที่ยว ดังนั้น
จึงมีความจำเป็นต้องพิจารณาสภาพของปะการัง ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าพื้นที่นั้นๆ
ได้รับการดูแลรักษาให้คงสภาพธรรมชาติไว้ได้ในระดับใด
4) การใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยพิจารณาการรุกล้ำชายหาด
- การรุกล้ำชายหาด จะมีผลต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและชีวภาพโดย
บดบังหรือทำลายทัศนียภาพที่สวยงาม
รวมทั้งน้ำเสียจะทำให้คุณภาพน้ำบริเวณนั้นต่ำลง
พร้อมทั้งได้กำหนดช่วงคะแนนน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรต่างๆ
1.3 กำหนดช่วงเวลาการสำรวจในแต่ละปี แบ่งเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยว 4 ครั้ง และนอกฤดู ท่องเที่ยว 2 ครั้ง พร้อมทั้งพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมในการกำหนดเวลาการออกสำรวจ เช่น วันหยุดเทศกาล วันเสาร์-อาทิตย์ วันธรรมดา ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวแตกต่างกัน การขึ้น-ลงของน้ำ ซึ่งจะเก็บตัวอย่างที่ระดับน้ำลงต่ำสุด
เพื่อให้ได้ถึงข้อมูลคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งที่ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด
ขั้นตอนที่ 2
วิธีการสำรวจเพื่อประเมินดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดท่องเที่ยวและเกาะ
วิธีการสำรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดท่องเที่ยวและเกาะ มีรายละเอียด ดังนี้
1. การสำรวจคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง เก็บตัวอย่างน้ำทะเลที่ทุกๆ ระยะ 500 เมตร ตลอดแนว ความยาวหาด จากบริเวณที่มีกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ที่ความลึกประมาณ 1 เมตร
2. การสำรวจปริมาณขยะตกค้าง สำรวจบริเวณเดียวกับที่เก็บตัวอย่างน้ำ โดยเก็บขยะตกค้าง ในน้ำทั้งที่ลอยน้ำและใต้น้ำ รวมทั้งขยะที่ตกค้างบนชายหาด ในพื้นที่ขนาด 100 ตารางเมตร ส่วนขยะตกค้างในชุมชนชายหาด จะประเมินปริมาณขยะที่ตกค้างนอกถังรองรับขยะที่ตั้งอยู่บริเวณแนวชายหาด
3. การสำรวจความสมบูรณ์ของชายหาด สันทรายจะใช้การเดินสำรวจ ส่วนข้อมูลการกัดเซาะ ชายหาดและปะการังจะใช้ข้อมูลทุติยภูมิล่าสุดจากหน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องและได้ศึกษาไว้
4. การสำรวจการรุกล้ำชายหาด ใช้วิธีการเดินสำรวจเพื่อวัดขนาดพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างถาวรที่รุกล้ำแนวชายหาด เช่น จุดชมวิวที่ยื่นลงไปในทะเล ท่าเทียบเรือ ร้านอาหาร เป็นต้น แล้วคำนวณเป็นร้อยละกับขนาดพื้นที่หาดทั้งหมด
ขั้นตอนที่ 3 การสรุปผลการสำรวจ
ผลการสำรวจที่ได้
จะนำมาคำนวณเพื่อหาคะแนนค่าคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดท่องเที่ยวผลการสำรวจที่ได้ จะนำมาคำนวณเพื่อหาคะแนนค่าคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายหาดท่องเที่ยวนั้น
โดยพิจารณาจาก ผลการสำรวจ และน้ำหนักความสำคัญของตัวชี้วัด แล้วแทนค่าด้วยสูตร ผลที่ได้จึงเป็นค่าดัชนี (จำนวนดาว) โดยมีรายละเอียดดังนี้
ค่าดัชนี = 1-2 คุณภาพสิ่งแวดล้อมต่ำมาก
ค่าดัชนี = 3-4 คุณภาพสิ่งแวดล้อมต่ำ
ค่าดัชนี = 5-6 คุณภาพสิ่งแวดล้อมพอใช้
ค่าดัชนี = 7-8 คุณภาพสิ่งแวดล้อมดี
ค่าดัชนี = 9-10 คุณภาพสิ่งแวดล้อมดีมาก