กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
บริษัท อินเทล คอร์ปอเรชั่น ได้มีการสาธิตในงาน อินเทล ดิเวลลอปเปอร์ ฟอรัม ซึ่งจัดขึ้นที่ซานฟรานซิสโก ให้ผู้ร่วมงานได้เห็นว่า คอมพิวเตอร์รุ่นต่างๆ ตั้งแต่ อุปกรณ์พกพาและเน็ตบุ๊ก ซึ่งรองรับการประมวลผลแบบเรียบง่าย โน้ตบุ๊กชนิดบางพิเศษที่มีประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้รูปโฉมที่เพรียวบาง ไปจนถึงโน้ตบุ๊กที่มีฟังก์ชันการประมวลผลต่างๆ ที่ครบถ้วน สามารถรองรับการใช้งานโมบายล์ได้ตรงตามความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เดวิด (ดาดี) เพิร์ลมัตเตอร์ รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปกลุ่มอาร์คิเทคเจอร์กรุ๊ปของอินเทล หนึ่งในผู้บรรยายภายในงาน ยังได้เปิดตัว อินเทล คอร์ ไอเซเว่น โปรเซสเซอร์ (Intel Core i7 Processor) รุ่นใหม่ที่มีความเร็วและสมรรถนะสูงสุดอีก 3 รุ่น เพื่อใช้กับโน้ตบุ๊กโดยเฉพาะ ในงานนี้ด้วยเช่นกัน
เพิร์ลมัตเตอร์กล่าวว่า “การทำให้อุปกรณ์โมบายล์หลากหลายชนิดสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลานั้น ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อินเทลได้พัฒนารูปแบบการทำงานสำหรับอุปกรณ์โมบายล์ที่สมบูรณ์แบบในอุปกรณ์แต่ละชนิด โดยได้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพและอัตราการใช้พลังงานในระดับที่ต่างกัน ภายใต้รูปทรงที่เพรียวบาง และคงความสามารถด้านคอมแพตทิเบิลเอาไว้เหมือนเดิม รองรับการท่องอินเทอร์เน็ตสำหรับอุปกรณ์โมบายล์ได้อย่างเหนือชั้น อีกทั้งยังมีระบบสื่อสารบอร์ดแบนด์ไร้สายไวแมกซ์ในตัวอีกด้วย ซึ่งเท่ากับว่า เราได้ทำให้การทำงานของอุปกรณ์โมบายล์ก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่งแล้ว”
อินเทล คอร์ ไอเซเว่น โปรเซสเซอร์ พัฒนามาจากสถาปัตยกรรมไมโครอาร์คิเทคเจอร์ “เนฮาเล็ม” (Nehalem) ของอินเทลซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับการยอมรับจนได้รางวัลมาแล้วมากมาย ผสานความสามารถเข้ากับชิปเซ็ตรุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติต่างๆ อาทิ เทคโนโลยี เทอร์โบ บูสต์ (Intel Turbo Boost Technology)1 และ เทคโนโลยี ไฮเปอร์-เธรดดิ้ง (Intel Hyper-Threading Technology) 2 เป็นต้น ส่งผลให้ชิปรุ่นนี้มีประสิทธิภาพในการประมวลผลสำหรับโมบายล์คอมพิวเตอร์ในระดับที่ไม่มีชิปรุ่นใดเทียบได้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้พีซีที่ต้องการพลังการประมวลผลมากเป็นพิเศษสำหรับสร้างสรรค์งานวิดีโอ ดิจิตอล เล่นเกม หรือแอพลิเคชั่นเชิงธุรกิจ
เพิร์ลมัตเตอร์ยังได้เปิดเผยถึงการพัฒนาโมบายล์โปเซสเซอร์รุ่นต่อไปของอินเทลที่มีชื่อรหัสว่า “อาร์แรนเดล” (Arrandale) อีกด้วย โดยชิปรุ่นนี้เป็นการรวมซีพียูและระบบกราฟิกไว้ในแพ็กเกจเดียวกัน โดยจะใช้ขั้นตอนการผลิตแบบ 32 nm และทรานซิสเตอร์ high-k metal gate รุ่นที่สอง เพื่อทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้นและใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม สำหรับตลาดโมบายล์คอมพิวเตอร์ระดับเมนสตรีม การรวมองค์ประกอบเหล่านี้ไว้บนแพลตฟอร์มจะทำให้โปรเซสเซอร์ที่ใช้ขั้นตอนการผลิตแบบ 32 nm ซึ่งมีชื่อรหัสว่า “แซนดี้ บริดจ์” (sandy Bridge) เป็นโปรเซสเซอร์ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริงในอนาคต
เพิร์ลมัตเตอร์ยังได้กล่าวถึงความคืบหน้าของการผสานรวมระบบสถาปัตยกรรมการประมวลผล การออกแบบ และขั้นตอนการผลิตที่ทันสมัยมากขึ้นของแพลตฟอร์ม “มัวร์สทาวน์” (Moorestown) ของอินเทล ว่าจะเริ่มจำหน่ายได้ภายในปี 2553 โดยเน้นกลุ่มอุปกรณ์โมไบล์อินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนเป็นหลัก เขาพูดถึงเทคนิคที่ทันสมัยบางอย่างที่อินเทลนำมาใช้ เช่น Distributed Power Gating ที่ช่วยให้ประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น มีการใช้พลังงานที่ลดลง และมีความร้อนเกิดขึ้นน้อยลงอีกด้วย
เทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ทำให้แม้ในขณะที่แพลตฟอร์มยังเปิดเครื่องไว้โดยไม่ได้มีการใช้งาน จะมีการใช้พลังงานที่ลดลงถึง 50 เท่าเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์ม “เมนโลว์” (Menlow) รุ่นแรก อัตราการใช้พลังงานที่ลดลงดังกล่าวช่วยให้อินเทลสามารถกำหนดขีดจำกัดของการใช้พลังงานที่ต่ำมากเป็นพิเศษได้ และยังช่วยให้สั่งงานโปรแกรมต่างๆ ของอินเทอร์เน็ตและมีเดียแอพลิเคชั่นชนิดต่างๆ ในอุปกรณ์มือถือได้เป็นอย่างดี
นอกจากนั้นเพิร์ลมัตเตอร์ยังได้พูดถึงแพลตฟอร์มที่ใช้พลังงานน้อยเป็นพิเศษรุ่นที่สามของอินเทลซึ่งมีชื่อรหัสว่า “เมดฟิวด์” (Medfield) ที่จะเริ่มจำหน่ายในปี 2554 อีกด้วย Medfield เป็นการออกแบบในลักษณะของระบบอยู่ในชิพเพียงตัวเดียว (SoC) แบบ 32 nm ที่จะช่วยให้อินเทลสามารถบุกตลาดสมาร์ทโฟนได้อย่างเต็มที่
นอกจากนั้นเพิร์ลมัตเตอร์ยังได้สาธิตประสิทธิภาพของออพติคอลเคเบิลความเร็วสูงที่จะพร้อมออกสู่ตลาดภายในปีหน้านี้ด้วย เคเบิลดังกล่าวใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ เข้าด้วยกัน อย่างเช่น โน้ตบุ๊ก จอภาพ HD โทรทัศน์ กล้องถ่ายรูป เครื่องเล่นวิดีโอ ไอพ็อต* ด็อกกิงสเตชัน และ โซลิตสเตทไดร์ฟ (SSD) โดยใช้ออพติคอลไฟเบอร์แทนที่จะเป็นสายทองแดง เพื่อเป็นการเตรียมช่องทางสำหรับการรับส่งสัญญาณผ่าน I/O ที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษในอนาคต
อินเทลพัฒนาเทคโนโลยีออพติคอลเคเบิลนี้ขึ้นมาโดยใช้ชื่อรหัสว่า “ไลท์พีค” (Light Peak) เพื่อรองรับการรับส่งสัญญาณ I/O ที่สูงเป็นพิเศษของคอมพิวเตอร์ โดยปัจจุบัน Lite Pake มีแบนด์วิธอยู่ที่ 10 Gb/s และมีศักยภาพที่จะเพิ่มความเร็วเป็น 100 Gb/s ภายในช่วง 10 ปีข้างหน้าได้ อย่างไรก็ตามที่ความเร็ว 10 Gb/s จะช่วยให้ผู้ใช้โอนถ่ายไฟล์ภาพยนตร์ Blu-ray* ทั้งเรื่องโดยใช้เวลาน้อยกว่า 30 วินาที Light Peak จะช่วยให้พัฒนาคอนเน็กเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง และสายเคเบิลที่ยาวขึ้น บางลง และยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ทำงานต่างๆ อาทิเช่น การส่งวิดีโอ HD ไปยังอุปกรณ์โมไบล์อินเทอร์เน็ต (MID) และเชื่อมต่อกับทีวีขนาดใหญ่ ทำได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ อินเทลยังกำลังทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมเพื่อหาวิธีที่จะทำให้เทคโนโลยีใหม่นี้กลายเป็นมาตรฐานที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ เพิร์ลมัตเตอร์ ยังได้ประกาศตัวเทคโนโลยี Intel Anti-Theft3 Technology (Intel AT) เวอร์ชั่น 2.03 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ชาญฉลาดสำหรับฮาร์ดแวร์พีซี สามารถล็อกการทำงานของแล็ปท้อปและเข้าไปเอ็นคริปท์ข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลเกิดการสูญหายหรือถูกขโมยได้ การทำงานร่วมกับผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยรายหลักๆ จำนวนมาก จะทำให้เทคโนโลยี Intel AT สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการปกป้องข้อมูลจากการถูกขโมยให้กับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยผู้ผลิตชั้นนำในปี 2553 ทั้งสำหรับแล็ปท้อปของกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปและกลุ่มนักธุรกิจ
เจมส์: การพัฒนาแพลตฟอร์มอินเทลอย่างต่อเนื่อง
ผู้บรรยายคนที่สองของวันนี้ คือ เรอเน่ เจมส์ รองประธานองค์กรและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มซอฟต์แวร์และเซอร์วิสของอินเทล ซึ่งได้มากล่าวบรรยายถึงโครงการอินเทล อะตอม ดิเวลลอปเปอร์ (Intel Atom Developer Program) ที่อินเทลตั้งใจจะดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้ผู้ขายซอฟต์แวร์อิสระและนักพัฒนาหันมาสร้างโมบายล์แอพลิเคชั่นกันเพิ่มมากขึ้น อินเทลได้จับมือเป็นพันธมิตรกับผู้ผลิตหลายราย อาทิเช่น เอเซอร์ และ อาซุส ที่จะร่วมกันสร้างร้านค้าจำนวนมากเพื่อจำหน่ายแอพลิเคชั่นและองค์ประกอบพื้นฐานของแอพลิเคชั่นสำหรับนำไปใช้กับเน็ตบุ๊กและอุปกรณ์มือถือที่ใช้โปรเซสเซอร์ของอินเทลเป็นหลัก
เจมส์กล่าวว่าโครงการ อินเทล อะตอม ดิเวลอปเปอร์ จะส่งเสริมให้เกิดแอพลิเคชั่นรุ่นใหม่ๆ สำหรับผู้บริโภคและเป็นแหล่งรายได้ใหม่สำหรับบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อีกด้วย โปรแกรมนี้จะส่งเสริมให้มีการสร้างแอพลิเคชั่นที่ผู้บริโภคสามารถนำไปใช้ได้อย่างมั่นใจ เพราะทราบว่าแอพลิเคชั่นเหล่านี้ผ่านการตรวจสอบและรับรองแล้วว่าสามารถดึงประสิทธิภาพของ อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ มาใช้ได้อย่างเต็มที่”
Microsoft Silverlight และ Moblin
นอกจากนี้ ระบบปฏิบัติการที่รองรับ Microsoft Silverlight จะขยายไปสู่ “โมบลิน” (Moblin) ในราวต้นปีหน้า Moblin เป็นโครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการแบบเปิดเพื่อใช้กับเน็ตบุก อุปกรณ์มือถือ สมาร์ทโฟน และระบบคอมพิวเตอร์ในรถยนต์ การใช้องค์ประกอบพื้นฐานที่รองรับการทำงานข้ามแพลตฟอร์มของ Silverlight จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถเขียนแอพลิเคชั่นเพียงครั้งเดียว จากนั้นนำไปสั่งงานในอุปกรณ์ที่ใช้ Windows* และ Moblin* ได้ ซึ่งจะทำให้แอพลิเคชั่น Silverligh ขยายเข้าถึงอุปกรณ์ต่างๆ และกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าแอพลิเคชั่นเหล่านี้สามารถนำไปใช้งานได้ทั้ง พีซี ทีวี และโทรศัพท์ได้
เพื่อแสดงถึงการตอบรับจากอุตสาหกรรมต่อกระแสของเน็ตบุ๊กและระบบปฏิบัติการ Moblin เจมส์ได้ประกาศว่า อุปกรณ์ที่ชื่อ Dell* Inspiron Mini 10v ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Ubuntu Moblin Remix Developer Edition จะเริ่มจำหน่ายภายในวันที่ 24 กันยายนนี้ นอกจากนั้นเจมส์ยังได้ประกาศอีกว่า อาซุส และเอเซอร์ ได้เปิดตัวอุปกรณ์เน็ตบุ๊กที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Moblin เวอร์ชั่น 2 แล้ว (ส่วนซัมซุงมีแผนที่จะเปิดตัวอุปกรณ์ในเร็วๆ นี้) ผู้ค้าระบบปฏิบัติการหลายราย อย่างเช่น Canonical, CS2C, Linpus, Mandriva, Phoenix และ Turbolinux ต่างออกมาประกาศว่าระบบปฏิบัติการของตนซึ่งมีพื้นฐานมาจาก Moblin เวอร์ชั่น 2 ก็เริ่มจำหน่ายแล้วเช่นกัน
เกี่ยวกับอินเทล
อินเทล (NASDAQ:INTC) เป็นผู้นำระดับโลกในด้านนวัตกรรมซิลิกอน สร้างสรรค์เทคโนโลยี สินค้า รวมทั้งการริเริ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำงานของผู้คนอย่างต่อเนื่อง ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทลได้ที่ www.intel.com/th, www.intel.com/pressroom และ blogs.intel.com
ติดต่อ:คุณดรรชนีพร พฤกษ์วัฒนานนท์ คุณอรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์โทรศัพท์: (66 2) 648-6000 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501 e-Mail: dudchaneeporn.pruckwattananon@intel.com e-Mail: orawan@carlbyoir.com.hk
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ: ท่านสามรถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม รูปภาพ และวิดีโอ เพิ่มเติมได้ที่ www.intel.com/pressroom/idf.