กรุงเทพฯ--29 ก.ย.--มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ทราบหรือไม่ว่าประเทศที่มีระดับการแข่งขันสูงสุดทางเศรษฐกิจในภูมิภาคลาตินอเมริกา คือ ประเทศชิลี (จากผลการสำรวจโดย The World Economic Forum ปี 2008) ชิลีใช้กลไกทางการตลาดแบบเสรี เป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ และรัฐบาลชิลีมีนโยบายที่ชัดเจนในการปฏิรูปให้เป็นเขตการค้าและการลงทุนแบบเสรี มากกว่านั้นชิลีถือว่าเป็นผู้นำในการเปิดเสรีทางการค้าในภูมิภาคลาตินอเมริกาศูนย์ศึกษาการค้าอาเซียนและลาตินอเมริกา (The SEA-LAC Trade Center) ศูนย์เปิดใหม่ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งมีเป้าหมาย เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศในอาเซียน (SEA) และกลุ่มประเทศในลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (LAC) จึงได้ทำการศึกษาเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ของชิลี เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าให้เกิดขึ้นระหว่างชิลีและกลุ่มประเทศอาเซียนชิลี หรือสาธารณรัฐชิลี เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้
ริมมหาสมุทรแปซิฟิก ชายฝั่งมีความยาว 6,435 กิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศตะวันออก จรดโบลิเวียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และ จรดเปรูทางทิศเหนือ และชิลีเป็นประเทศที่อยู่ริมชายฝั่งทางมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีขนาดยาวที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และชิลียังมีท่าเรือหลายๆจุดสำหรับลำเลียงสินค้าส่งต่อไปยังประเทศอื่นๆในอเมริกาใต้ต่ออีกหลายประเทศ และเมื่อศึกษาถึงข้อตกลงการค้า FTA ชิลีถือเป็นประเทศที่ทำข้อตกลงการค้ามากที่สุดในอเมริกาใต้ ทั้งที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่ และที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าชิลีเป็นประเทศที่เปิดตลาดกว้างสำหรับการค้าและการลงทุนมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคลาตินอเมริกา
ข้อตกลงFTA ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนและกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา
ที่มา: จากการรวบรวมข้อมูลของ ASEAN Foundation, Indonesia
ในด้านนโยบายทางเศรษฐกิจ ชิลีมีความน่าสนใจ คือ ประเทศชิลีขับเคลื่อนดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจแบบเสรีโดยใช้กลไกการตลาด โดยรัฐบาลได้วางนโยบายที่ชัดเจนในการเปิดเสรีและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในเกือบทุกสาขาการผลิตและการบริการ ชิลีไม่มีการจำกัดขอบเขตการถือหุ้นของนักธุรกิจต่างประเทศในกิจการการผลิตและบริการ กล่าวคือนักลงทุนต่างชาติสามารถถือครองหุ้นได้ 100% และยังไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาถือครองทรัพย์สิน ยกเว้นธุรกรรมบางอย่างที่ยังมีข้อจำกัดอยู่ ได้แก่ ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจชายฝั่ง ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ และการสื่อสารมวลชน อีกทั้งธุรกรรมการทำการประมงซึ่งมีกฎข้อบังคับที่เป็นไปตามกฎข้อบังคับแบบต่างตอบแทนกับต่างประเทศ (Reciprocity) เป็นต้น ซึ่ง World Bank ได้จัดอันดับความง่ายในการลงทุน (Ease of Doing Business) ของเศรษฐกิจชิลีอยู่ในลำดับที่ 40 จาก 181 เศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งอยู่ในลำดับสูงสุดของภูมิภาคลาตินอเมริกา (ข้อมูล จาก Doing Business 2009 Report, World Bank)
จากตาราง 1 จะพบว่า สภาพเศรษฐกิจ และการเติบโตของชิลีมีความน่าสนใจอยู่มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา ถึงแม้ว่าระดับ GDP Growth rate ของประเทศชิลี (4%) ยังต่ำกว่าประเทศบราซิล (5.2%) เปรู (9.2%) และอาร์เจนติน่า (6.6%) แต่ระดับของ World Bank: Ease Doing Business Rank (49th), World Economic Forum: Economic Competitive (30th), IMD: World Competitive (25th) ชิลีอยู่ที่อันดับแรกของภูมิภาคลาตินอเมริกา ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า ชิลีมีความน่าสนใจในการค้าการลงทุนมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคลาตินอเมริกา และสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้าไปทำการค้าในประเทศมากที่สุดในภูมิภาค
ตาราง 1
Population GDP per Capita GDP World Bank World Economic Forum IMD
Million (UN) PPP$ (World Bank) Growth Rate Ease Doing Business Economic Competitive World Competitive
2008 2008 2008 Rank 2009 Rank 2009 Rank 2009
Chile 16.90 14,465 4.0% 49 30 25
Brazil 191.75 10,296 5.2% 129 56 LAC
40
Mexico 107.55 14,495 2.0% 51 60 46
Argentina 40.1 14,333 6.6% 118 85 55
Peru 29.1 8,507 9.2% 56 78 37
Thailand 63.38 7,703 4.8% 12 36 26
Singapore 4.83 49,288 3.0% 1 3 3
Indonesia 229.96 3,975 5.9% 122 54 42
Philippines 92.22 3,510 4.5% 144 87 43
Malaysia 27.46 14,215 5.5% 23 24 18
China 1332.58 5,962 9.8% 89 29 20
India 1168.08 2,972 6.6% 133 49 30
Japan 127.58 34,099 0.7% 15 8 17
South Korea 48.33 27,939 4.3% 19 19 27
USA 307.32 46,716 1.4% 4 2 1
UK 61.63 35,445 1.1% 5 13 21
France 65.07 34,045 0.9% 31 16 28
Germany 82.04 35,613 1.7% 25 7 13
Russia 141.86 16,139 6.0% 120 63 49
ที่มา: United Nation (2008), World Bank (2008), World Economic Forum (2009), และ IMD(2009)
ในเรื่องของข้อตกลงทางการค้า ชิลีถือว่าเป็นผู้นำในการเปิดเสรีในภูมิภาคลาตินอเมริกา ชิลีได้จัดทำ FTA ไปแล้วกับมากกว่า 50 ประเทศ ซึ่งในอาเซียนมี สิงคโปร์ และบรูไน และอีก 5 ประเทศ ในกลุ่มอาเซียน +6 คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ทำให้ชิลีเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่เติบโตด้วยอัตราเฉลี่ย 6% ตั้งแต่ปี 2541 ถึง 2550 ในส่วนของภาคการผลิต ภาคสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของชิลีคือสาขาอุตสาหกรรม สาขาเกษตรกรรม และการทำเหมืองแร่ ซึ่งอุตสาหกรรมเหมืองแร่เป็นอุตสาหกรรมที่ดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศมากที่สุด
ไม่เพียงข้อตกลงทางการค้า FTA ที่ชิลีได้ทำกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แต่ยังมีการโอกาสทางการค้าการลงทุนที่เกิดจากการร่วมมือ กับ APEC ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งมากกว่า 50% ของการส่งออกชิลีที่ร่วมกับ APEC Economies และหนึ่งในการร่วมมือทางเศรษฐกิจคือ
การพัฒนาการขนส่งทางเรือ จากที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่าลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศชิลีเป็นประเทศที่มีขนาดยาวริมชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ชิลีมีท่าเรือทั้งหมด 36 ท่าเรือ สำหรับการลำเลียงสินค้าทางเรือ ซึ่งจากจากการสำรวจ มากกว่า 80% ของการค้าต่างประเทศของชิลี ถูกส่งโดยทางน้ำ มากกว่านั้นการร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจกับ APEC ยังมีผลดีต่อการค้ากับประเทศในกลุ่ม APEC อีกด้วย
ที่มา: จากรายงานของ Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC)
มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับชิลี มีมูลค่าการส่งออกใน ปี 2551 อยู่ที่ 10,763 ล้านบาท โดยสินค้า 5 อันดับแรกของไทยคือ 1) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2) เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ 3) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 4) ปูนซีเมนต์ 5) ผ้าปักและผ้าลูกไม้ และสินค้าใน 5 กลุ่มนี้ยังมีศักยภาพในตลาดชิลีอย่างต่อเนื่อง ส่วนมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 7,009.6 ล้านบาท ซึ่ง 5 อันดับแรกของรายการสินค้านำเข้า ประกอบด้วย 1) สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่ง 2) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 3) สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 4) เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 5) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (ข้อมูลจาก ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร)
จากสถิติมูลค่าการค้าช่วงสองปีที่ผ่านมาระหว่างไทยและชิลี มูลค่าการค้าระหว่างไทยและชิลีได้น้อยลง สาเหตุอาจจะเนื่องจาก ภาวะการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศไทยอาจจะสู้กับประเทศอื่นๆไม่ได้ ไม่ว่าจะเรื่องราคา หรือ สินค้า ซึ่งบริษัทไทยที่ทำการส่งออกไปยังประเทศชิลี ตัวอย่างเช่น บริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด, บริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ จำกัด, บริษัท อีซูซุ โอเปอเรชั่น ไทยแลนด์ จำกัด, บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน), บริษัท เอสซีจี พลาสติกส์ จำกัด บริษัทที่นำเข้าสินค้าจากประเทศชิลีจะเป็นกลุ่มสัตว์น้ำแช่เย็น แปรรูป สินแร่ต่างๆ ตัวอย่างเช่น บริษัทไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน), บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ตัวอย่างกลุ่มสินค้าเยื่อกระดาษ ได้แก่ บริษัทไทยเปเปอร์มิลล์ จำกัด (ข้อมูลจากสถานทูตชิลี ประจำประเทศไทย)
อย่างไรก็ตาม มูลค่าการค้าระหว่างไทยและชิลี ยังอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับการค้ากับประเทศอื่นๆในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา อาจจะเนื่องด้วยปัจจัยหลายอย่างทั้งภายนอกและภายใน อีกทั้งนักธุรกิจชาวไทยอาจต้องศึกษาให้เข้าใจสภาพเศรษฐกิจ การค้า และการตลาด ของประเทศชิลีให้ลึกซึ้ง เพื่อให้เกิดการค้าและการลงทุนกับชิลี และเพื่อให้โอกาสทางการค้าการลงทุนเพิ่มมากยิ่งขึ้น ทางศูนย์ศึกษาการค้าอาเซียนและลาตินอเมริกา (The SEA-LAC Trade Center) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยได้รับการสนับสนุนในเรื่องข้อมูล งานวิจัย จาก Inter-American Development Bank (IDB), Washington D.C. ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างสองภูมิภาคนี้ ศูนย์ฯจึงให้การสนับสนุนในเรื่องของการวิจัย ความรู้ความเข้าใจของประเทศในกลุ่มอาเซียนและลาตินอเมริกา หากท่านสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่ http://www.utcc.ac.th/sealac โทร 02-697-6642, email: sealac@utcc.ac.th