กรุงเทพฯ--29 ก.ย.--ศาลปกครอง
วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ ศาลปกครองกลาง องค์คณะที่ ๑๙ โดยนายภานุพันธ์ ชัยรัต ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ซึ่งเป็นตุลาการเจ้าของสำนวน ในคดีหมายเลขดำที่ ๙๐๘/๒๕๕๒ มีคำสั่งบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดี ให้ระงับ ๗๖ โครงการเพื่อคุ้มครองชุมชนมาบตาพุด
คดีนี้ สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและประชาชนชาวมาบตาพุด รวม ๔๓ ราย ได้ยื่นฟ้อง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่า ร่วมกันออกคำสั่งโดยไม่ถูกต้องตามขั้นตอน วิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น ตลอดจนละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยเฉพาะตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่กำหนดให้โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่ จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชนจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน และให้องค์กรอิสระ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติ หรือด้านสุขภาพให้ความเห็นประกอบก่อนรัพยากรธรรมชาติ หรือด้านสุขภาพ มีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพเสียก่อน แต่ภายหลังรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดยังคงรับเรื่อง พิจารณา หรือให้ความเห็นชอบ อนุมัติ อนุญาตให้ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพในพื้นที่จังหวัดระยองตามปกติเหมือนที่เคยทำมา มีจำนวนถึงกว่า ๗๖ โครงการ โดยไม่สนใจว่าจะต้องนำบทบัญญัติของกฎหมายมาไปปฏิบัติในทันที
ในคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีกับพวกได้ยื่นคำขอมาพร้อมกับคำฟ้องโดยขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองใดๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยขอให้ศาลมีคำสั่งระงับโครงการหรือกิจกรรม จำนวน ๗๖ โครงการ ที่กำลังดำเนินการในพื้นที่ตำบลมาบตาพุด
อำเภอบ้านฉาง และใกล้เคียงจังหวัดระยอง ไว้เป็นการชั่วคราวก่อนศาลจะมีคำพิพากษา
ศาลมีคำสั่งให้คู่กรณีมาฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของ ศาลเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ และมีคำสั่งให้คู่กรณีจัดส่งเอกสารและข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองใดๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา และได้นัดไต่สวนเพื่อฟังคำชี้แจงของคู่กรณีและฟังถ้อยคำของผู้มีส่วนได้เสียเมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒ เพื่อรับฟังคำชี้แจงและการให้ถ้อยคำด้วยวาจาประกอบเอกสารที่ได้ยื่นต่อศาลไว้แล้ว ศาลพิจารณาว่า ในการกำหนดมาตรการหรือวิธีการใดๆเพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่คู่กรณีที่เกี่ยวข้องเป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดี มาตรา ๖๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลปกครองเห็นสมควรกำหนดมาตรการหรือวิธีการใดๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่คู่กรณีที่เกี่ยวข้องเป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดี ไม่ว่าจะมีคำร้องขอจากบุคคลดังกล่าวหรือไม่ ให้ศาลปกครอง มีอำนาจกำหนดมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวและออกคำสั่งไปยังหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และวรรคสอง บัญญัติว่า การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตามวรรคหนึ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นแก่การบริหารงานของรัฐประกอบด้วย ซึ่งการกำหนดวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๗๗ กำหนดว่า ให้นำความในลักษณะ ๑ ของภาค ๔ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม เท่าที่สภาพของเรื่องจะเปิดช่องให้กระทำได้ โดยไม่ขัดต่อระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ และหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง สำหรับการพิจารณาเรื่องความเดือดร้อนเสียหายของผู้ขอกรณีที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวไม่ให้มีการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการกระทำที่ถูกฟ้องคดี ซึ่งการจะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่ผู้ขอจะได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำดังกล่าว ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕๔ และมาตรา ๒๕๕
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่า ในการพิจารณาสั่งตามคำขอต้องให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าคำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองตามที่ขอมาใช้ได้ และผู้ขอจะได้รับความเดือดร้อนเสียหากต่อไปเนื่องจากการกระทำนั้น หรือมีเหตุจำเป็นอื่นใดตามที่ศาลจะพิเคราะห์เห็นเป็นการยุติธรรมและสมควร
กรณีความเดือดร้อนเสียหายของผู้ขอที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราว ศาลพิเคราะห์ว่า จากคำชี้แจงของผู้ฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๔๓ ประกอบรายงานการประชุมของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ รวมทั้งการประกาศเขตควบคุมมลพิษเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒ แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงที่ตรงกันว่าในเวลาที่ผ่านมาและในปัจจุบันปัญหามลพิษจากการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมบริเวณชุมชนมาบตาพุดมีอยู่จริงและมีอยู่อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และสถานการณ์ของปัญหามลพิษมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้น จึงต้องประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษเพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษ จึงเห็นว่า คำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดีตามที่ขอมาใช้ได้ และผู้ขอจะได้รับความเดือดร้อนเสียหายต่อไปหากมีการอนุญาตให้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
กรณีความรับผิดชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ศาลพิเคราะห์ว่า บทบัญญัติมาตรา ๖๗ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ เป็นบทบัญญัติที่ได้รับการกำหนดไว้ใน หมวด ๓ ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ และเป็นสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยที่สำคัญประการหนึ่งที่บัญญัติรับรองไว้ตั้งแต่ประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ เป็นต้นมา เพื่อรับรองและคุ้มครองให้ชนชาวไทยสามารถดํารงชีพอยู?ได้อย?างปกติและต?อเนื่องในสิ่งแวดล?อมที่จะไม่ก?อให?เกิดอันตรายต?อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน โดยรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ ซึ่งตามหลักสภาพบังคับของรัฐธรรมนูญทำให้บทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับทันที โดยไม่ต้องรอให้มีการบัญญัติกฎหมายอนุวัตรการให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวเสียก่อน และศาลปกครองต้องผูกพันในการใช้บังคับและการตีความกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว?โดยชัดแจ?งหรือโดยปริยาย ตามมาตรา ๒๗ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ที่บัญญัติว่า สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว?โดยชัดแจ?ง โดยปริยายหรือโดยคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย?อมได?รับความคุ?มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้ง องค?กรตามรัฐธรรมนูญ และหน?วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง เห็นว่า บทบัญญัติมาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ได้บัญญัติ รับรองสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยที่เป็นเนื้อหาสำคัญไว้ คือ สิทธิในการดํารงชีพอยู?ได?อย?างปกติและต?อเนื่องในสิ่งแวดล?อมที่จะไม่ก่อให?เกิดอันตรายต?อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน เพื่อเป็นเจตจำนงให้การบริหารราชการแผ่นดินต้องตระหนักถึงสิทธิในสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ดี
และเพื่อให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของการคุ้มครองสิทธิดังกล่าว ได้บัญญัติรับรองสิทธิที่เป็นกระบวนการเพื่อสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิดังกล่าวไว้ในมาตราเดียวกัน ได้แก่ สิทธิในการมีส?วนร?วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ? บํารุงรักษา และการได?ประโยชน?จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ?มครองส?งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล?อม และในมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ยังได้บัญญัติเจตนารมณ์หลักในการคุ้มครองสิทธิดังกล่าวไว้ คือ ห้ามดําเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก?อให?เกิดผลกระทบต?อชุมชนอย?างรุนแรง ทั้งทางด?านคุณภาพสิ่งแวดล?อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ แต่ได้กำหนดข้อยกเว้นไว้ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ คือ การศึกษาและประเมินผลกระทบต?อคุณภาพสิ่งแวดล?อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน จัดให?มีกระบวนการรับฟ?งความคิดเห็นของประชาชนและผู?มีส?วนได?เสีย และการให้องค?การอิสระ ซึ่งประกอบด?วยผู?แทน
องค?การเอกชนด?านสิ่งแวดล?อมและสุขภาพ และผู?แทนสถาบันอุดมศึกษา ที่จัดการการศึกษาด?านสิ่งแวดล?อมหรือทรัพยากร ธรรมชาติหรือด?านสุขภาพให?ความเห็นประกอบก?อนมีการดําเนินการดังกล?าว แต่หลักเกณฑ์ที่กล่าวมาเป็นเพียงข้อยกเว้น จึงต้องได้รับการปฏิบัติโดยเคร่งครัด คือ เมื่อจะออกใบอนุญาตให้แก่โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก?อให?เกิดผลกระทบต?อชุมชนอย?างรุนแรง
ทั้งทาง ด?านคุณภาพสิ่งแวดล?อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติมาตรา ๖๗ วรรคสอง ให้ครบถ้วนเสียก่อน นอกจากนี้ มาตรา ๖๗ วรรคสาม ได้บัญญัติมาตรการซึ่งเป็นสภาพบังคับเพื่อให้มีการปฏิบัติให้เป็นบทบัญญัติมาตรา ๖๗ คือ การรับรองสิทธิของชุมชนที่จะฟ?องหน?วยราชการ หน?วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส?วนท?องถิ่น หรือองค?กรอื่นของรัฐที่เป?นนิติบุคคล เพื่อให?ปฏิบัติหน?าที่ตามบทบัญญัตินี้
และเห็นว่า บทบัญญัติมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มีเจตนารมณ์เพื่อให้มีการกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงไว้เป็นการล่วงหน้า เพื่อแต่ละโครงการหรือกิจกรรมดังกล่าวจะได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ตามหลักการป้องกันล่วงหน้า ไม่มีเจตนารมณ์ให้มีการออกใบอนุญาตโครงการหรือกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงก่อน แล้วใช้หลักการควบคุมหรือหลักการเยียวยาหากเกิดความเสียหายขึ้นในภายหลัง เนื่องจากหลักการควบคุมหรือหลักการเยียวยาไม่ใช่หลักประกันที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการคุ้มครองสิทธิการดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของประชาชน เพราะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขในภายหลัง หลายประการ ดังนั้น จึงกำหนดหลักการป้องกันล่วงหน้า ทั้งที่เป็นกระบวนการไว้ในบทบัญญัติมาตรา ๖๗ วรรคหนึ่งและวรรคสอง คือ การมีส่วนร่วม การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและจากองค์กรต่างๆ เป็นต้น และกำหนดหลักการซึ่งเป็นสภาพบังคับไว้ในบทบัญญัติมาตรา ๖๗ วรรคสาม คือ การฟ้องคดีเพื่อบังคับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรานี้ ซึ่งเมื่อพิจารณาบทบัญญัติมาตรา ๒๗ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ จะเห็นว่า คณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐต้องผูกพันในการใช้อำนาจเพื่อกำหนดว่าประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจก?อให?เกิดผลกระทบต?อชุมชนอย?างรุนแรง ทั้งทางด?านคุณภาพสิ่งแวดล?อม ทรัพยากร ธรรมชาติและสุขภาพ ในทันทีที่บทบัญญัติมาตรา ๖๗ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มีผลใช้บังคับ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้ครบถ้วนก่อนที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะพิจารณาออกใบอนุญาตตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
เมื่อพิเคราะห์จากคำชี้แจงของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดที่ว่าภายหลังรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มีผลใช้บังคับเมื่อ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ มีการออกใบอนุญาตให้แก่โครงการหรือกิจกรรมตามเอกสารคำท้ายฟ้อง โดยยังไม่ได้มีการกำหนดว่าโครงการหรือกิจกรรมใดเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก?อให?เกิดผลกระทบต?อชุมชนอย?างรุนแรง ทั้งทางด?านคุณภาพสิ่งแวดล?อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ
รวมทั้งยังไม่ได้ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ศาลเห็นว่า เป็นกรณีที่มีปัญหาความน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
กรณีปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นแก่การบริหารงานของรัฐหากกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดี ศาลพิเคราะห์ว่า ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น และอาจจะเป็นอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐตามคำชี้แจงของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดและถ้อยคำของผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าของโครงการหรือกิจกรรมตามเอกสารท้ายคำฟ้องตามที่ กล่าวมานั้น สามารถป้องกันแก้ไขและบรรเทาให้ลดน้อยลงได้ด้วยการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญตามแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ และการบริหารจัดการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐและเอกชน และเห็นว่าการบริหารงานของรัฐนั้นยังต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคมตามหลักนิติธรรมตามที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา ๓ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ และหลักการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ตามมาตรา ๓/๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
ดังนั้น เมื่อมีกรณีปัญหาความน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิในการดํารงชีพอยู?ได้อย?างปกติและต?อเนื่องในสิ่งแวดล?อมที่จะไม่ก่อให?เกิดอันตรายต?อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งเป็นสิทธิและเสรีภาพที่เป็นเนื้อหาสำคัญของรัฐธรรมนูญ การกระทำทางการปกครองใดที่มีปัญหาเกี่ยวกับความน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องตระหนัก เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ปัญหามลพิษจากการประกอบกิจการของโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษสูงซึ่งรวมกันอยู่ในพื้นที่มาบตาพุดอันเป็นแหล่งอุตสาหกรรมใหญ่ที่สุดของประเทศมีอยู่จริงและส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์ของปัญหามลพิษมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้น จึงมีเหตุจำเป็นและเป็นการยุติธรรมและสมควรตามหลักนิติธรรม หลักการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และหลักการบริหารงานของรัฐอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงสมควรกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดี
ศาลจึงมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษา ดังนี้ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดสั่งระงับโครงการหรือกิจกรรมตามเอกสารหมายเลข ๗ ท้ายคำฟ้อง ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ยกเว้น โครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับใบอนุญาตก่อนวันประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ โครงการหรือกิจกรรมที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นประเภทโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐