ซีเอ็นเอ็นและประธานาธิบดีคลินตันต่อสู้กับปัญหาความจน สนทนาวิธีการแก้ปัญหาความยากจนกับประธานาธิบดีคลินตัน

ข่าวทั่วไป Thursday August 31, 2006 11:18 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--ฟรานคอม เอเซีย
เวลาออกอากาศ:
ฮ่องกง, กัวลาลัมเปอร์, มะนิลา กรุงเทพและจาการ์ต้า
สิงคโปร์ และไทเป
วันศุกร์ที่ 1 กันยายน เวลา 22.00 น. วันศุกร์ที่ 1 กันยายน เวลา 21.00 น.
วันเสาร์ที่ 2 กันยายน เวลา 15.00 และ 21.00 น. วันเสาร์ที่ 2 กันยายน เวลา 14.00 — 20.00 น.
วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน เวลา 02.00 น. วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน เวลา 01.00 น.
วันจันทน์ที่ 4 กันยายน เวลา 01.00 น. วันจันทร์ที่ 4 กันยายน เวลา 24.00 น.
จากดีทรอยท์ จนถึงมิชิแกนและจากแหล่งเสื่อมโทรมอาคันซอจนถึงรวันดา ซีเอ็นเอ็นจะพาคุณไปสำรวจสถานที่ยากจนรอบๆ โลกซี่งสถิติความยากจนกำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ในรายการกับดักความยากจน: บทสนทนากับประธานาธิบดีคลินตัน ดร.ซานเจ คุปตา จะพาเราไปพูดคุยกับประธานานิบดีธิบดี บิล คลินตัน ถึงการต่อสู้กับปัญหาความยากจน
ธนาคารโลกเคยกล่าวไว้ว่ามีคนจำนวนกว่าพันกว่าล้านคนที่มีชีวิตอยู่ด้วยเงินที่ต่ำกว่า 1 ยูเอสดอลล่าร์ ถึงแม้ว่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เงินจำนวนสามพันกว่าล้านได้ถูกใช้ที่จะกำจัดความจน แต่ก็ไม่ได้ผลมากนัก ประธานาธิบดีคลินตันกล่าวว่าวิธีที่ได้ผลดีที่สุดนั้นคือการปรับโครงการต่างๆให้เหมาะกับความต้องการที่แท้จริงและมีรัฐบาลที่ซื่อสัตย์ เงินที่ได้จากการบริจาคจึงถูกใช้อย่างเหมาะสม
เรนา โกลเด้น รองประธานอาวุโส ซีเอ็นเอ็น อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า “ ความยากจนเกิดได้กับทุกคนโดยไม่เลือกสัญชาติ ศาสนา วัฒนธรรมและสีผิว ในฐานะที่ซีเอ็นเอ็นเป็นสำนักงานข่าวนานาชาติชั้นนำระดับโลกและสามารถเข้าถึงผู้นำโลกได้ เราจึงคิดว่าโปรแกรมนี้ขึ้นมาแก่ผู้ชมของเรา”
ดร.คุปตา พาเราไปยังแหล่งห่างไกลของดีทรอยท์, มิชิแกน ซึ่งถือว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่จนที่สุดในสหรัฐอเมริกาและยังจะพาไปพบกับโครงการสร้างแหล่งชุมชน โดยการสร้างบ้านขึ้นทีละหลัง โดยประชากรวัยรุ่นในเขตนั้น
นักข่าวซีเอ็นเอ็น โจนาธาน มาน เดินทางไปพร้อมกับประธานาธิบดีคลินตันยังประเทศรวันดาเมื่อเดินกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อดูว่าประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ยากแค้นเพียงใดในสถานที่ที่แม้แต่ดินฟ้าไม่เอื้ออำนวย
นักข่าวซีเอ็นเอ็น รัสตี้ ดอร์นิน เดินทางไปยังเขตห่างไกลในอาร์คันซอ เพื่อจะสำรวจการทำงานขององค์กร Heifer International ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือชาวนาที่มีพื้นที่นาอยู่ไม่เยอะนักและต้องทนแรงกดดันจากเจ้าของนารายใหญ่ ให้กลับมายืนได้ด้วยตนเองและยังฝึกหัดพวกเขาให้เรียนรู้ให้ทำพื้นที่ให้งอกเงยด้วย
นักข่าวซีเอ็นเอ็น คาร์ล เพ็นฮอลล์ พาคุณไปยังทางใต้ของประเทศเม็กซิโก เพื่อพบปะกับกลุ่มผู้หญิงที่พยายามหาอิสระทางการเงินโดยการเก็บเงินที่ละเล็กละน้อยต่อสัปดาห์ หรือ กลวิธี ไมโครเครดิต ช่วยให้ผู้คนสามารถเลี้ยงตัวเองได้อีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังได้รับกสรช่วยเหลือทางการเงินจากทางรัฐบาลอีกด้วย
นอกจากนี้ ประธานาธิบดี บิล คลินตัน ยังมีองค์กรชื่อ The Clinton Global Initiative (CGI) ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางการการติดต่อสื่อสารของบรรดาผู้นำในโลกเพื่อจะหาวิธีใหม่ๆ ในการต่อสู้กับปัญหาที่น่าท้าทายนี้ เดือนกันยายนของทุกปี CGI จะจัดประชุมผู้นำองค์กร, รัฐต่างๆและนักธุรกิจชั้นนำเพื่อถกถึงปัญหาที่โลกกำลังประสบอยู่ วัตถุประสงค์ของประธานาธิบดีคลินตันคือเพื่อรับฟังวิธีการแก้ปัญหาจากทั้งภาครัฐและเอกชน จากการประชุม CGI 2005 ทำให้เกิดการระดมเงินจำนวนกว่า 2.5 พันล้านยูเอสดอลล่าร์พร้อมทั้งกลวิธีในการแก้ปัญหา นอกจากนี้การประชุมในปี CGI 2006 นี้ยังมีขึ้ นในช่วงเดียวกับการเปิดประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ( General Assembly) ขององค์การสหประชาชาติในวันที่ 20 — 22 กันยายนด้วย
เวลาออกอากาศอาจมีการเปลี่ยนแปลง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
Walaiklao Kumwong
Tel: 02 233 4338-39 Fax: 02 236 8030
E-mail: pr@francomasia.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ