กรุงเทพฯ--6 ธ.ค.--Carl Byoir & Associates
ปี 2549 เป็นปีที่บริษัทอินเทล คอร์ปอเรชั่น ได้แนะนำผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนมีประสิทธิภาพ จัดว่าเป็นแนวหน้าในวงการอุตสาหกรรมซึ่งจะเปลี่ยนวิธีการใช้งานของผู้ใช้งานทั่วไปและในธุรกิจ โดยจุดเด่นสำหรับช่วงกลางปีคือการเปิดตัวอินเทล? คอร์?2 ดูโอ โปรเซสเซอร์ และอินเทล? ซีออน? โปรเซสเซอร์ และต่อมาในช่วงเดือนพฤศจิกายน อินเทลได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์แบบคว๊อดคอร์ตัวแรกของโลกสำหรับเซิร์ฟเวอร์ในระดับเมนสตรีม เวิร์กสเตชั่น รวมทั้งคอมพิวเตอร์เดสก์ท้อปที่ต้องการสมรรถนะสูง นอกจากนั้นบริษัทอินเทลยังได้ขยายขอบเขตการผลิตและความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในระยะยาวด้วยการเร่งพัฒนาสถาปัตยกรรมไมโครอาร์คิเทคเจอร์ และเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยอยู่สม่ำเสมอ และได้รับการยกย่องว่าเป็นความทันสมัยที่สุดในโลก สิ่งต่อไปนี้คือไฮไลท์ของบริษัทอินเทลในปี 2549
ปี 2549 ยุคของมัลติคอร์เริ่มแสดงพลังอย่างแท้จริง ในช่วงกลางปี อินเทลได้เปิดตัว อินเทล คอร์ 2 ดูโอ โปรเซสเซอร์ ที่เป็นผู้นำด้านประสิทธิภาพอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง โปรเซสเซอร์รุ่นนี้สามารถใช้กับโน้ตบุ๊ก เดสก์ท้อป รวมทั้งเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งภายในช่วงกลางเดือนตุลาคม อินเทลได้จัดส่งโปรเซสเซอร์กว่า 6 ล้านตัวสู่ตลาดแล้ว อินเทล คอร์ 2 ดูโอ โปรเซสเซอร์สามารถประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 และมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 40 เมื่อเปรียบเทียบกับโปรเซสเซอร์สมรรถนะสูงสุดรุ่นก่อนหน้านี้ และหลังจากนั้นเพียงช่วงเวลาอีกหนึ่งเดือนต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน อินเทลได้เริ่มจำหน่าย อินเทล คอร์ 2 คว๊อดคอร์โปรเซสเซอร์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแกนประมวลผลอยู่ภายในถึงสี่แกน ซึ่งเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของอินเทลให้เป็นที่เด่นชัดมากขึ้น
ทำลายสถิติการแนะนำโปรเซสเซอร์สู่ตลาด อินเทลทำลายสถิติด้วยการออกโปรเซสเซอร์ใหม่มากกว่า 40 รุ่นภายในเวลาน้อยกว่า 200 วัน ซึ่งครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ทุกตัว และเป็นการเปิดตัวที่เร็วกว่ากำหนดการถึง 1-2 ไตรมาสล่วงหน้าอีกด้วย ในช่วงกลางปีอินเทลได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์แบบดูอัลคอร์ โปรเซสเซอร์ คือ อินเทล? ไอเทเนียม? ทู ที่มีคุณสมบัติมัลติเธรด ได้ช่วยให้สถาปัตยกรรมนี้มีการเติบโตมากที่สุดท่ามกลาง รุ่นต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ x86
โปรเซสเซอร์แบบดูอัลคอร์สำหรับโน้ตบุ๊กตัวแรก ที่ยังคงให้ระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่ยาวขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ในเดือนมกราคม อินเทลได้นำเสนอ อินเทล คอร์ ดูโอ โปรเซสเซอร์สำหรับโน้ตบุ๊กที่เป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม อินเทล? เซนทริโน? ดูโอ โมบายล์ เทคโนโลยี ซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 และประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 ทำให้โน้ตบุ๊กสามารถใช้งานจากแบตเตอรี่ได้ยาวนานขึ้น และมีรูปทรงที่บางเบาอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้แบรนด์ เซนทริโน? มีชื่อเสียง และในเดือนมิถุนายนอินเทลได้เปิดตัว อินเทล คอร์ 2 ดูโอ โปรเซสเซอร์ซึ่งมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นกว่าอินเทล คอร์ ดูโออีกร้อยละ 20 โดยในปัจจุบันนี้โน้ตบุ๊กมียอดการจำหน่ายสูงที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ (เมื่อเทียบกับเดสก์ท้อป และเซิร์ฟเวอร์)
กระบวนการผลิตที่ทันสมัย ประโยชน์ของนาโนเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงโรงงานผลิตแบบ 65 นาโนเมตรที่เริ่มทำงานแล้ว 3 แห่ง ก่อนหน้าที่ผู้อื่นจะเริ่มมีการผลิตส่วนใดส่วนหนึ่งด้วยเทคโนโลยี 65 นาโนเมตร อินเทลได้นำเทคโนโลยีการผลิตแบบ 65 นาโนเมตรมาใช้เพื่อให้ตรงกับความต้องการ อินเทล คอร์ 2 ดูโอ โปรเซสเซอร์หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ตัวอื่นๆ ทั่วโลก นอกจากนั้นแล้วอินเทลได้สาธิตเทคโนโลยี 45 นาโนเมตรรุ่นต่อไป และคาดว่าโรงงานแบบ 45 นาโนเมตรทั้ง 2 แห่งจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2550 ผลิตภัณฑ์รุ่นแรกจากโรงงานนี้จะเริ่มเปิดตัวในช่วงไตรมาสแรกของปี 2550
บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์หันมาใช้โปรเซสเซอร์ของอินเทลทั้งหมด อินเทลได้ร่วมมือกับบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์อย่างใกล้ชิด ในช่วงการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นเวลา 7 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สั้นกว่ากำหนด และเป็นสิ่งที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในอุตสาหกรรมทั้งในผลิตภัณฑ์
เดสก์ท้อป โน้ตบุ๊ก เซิร์ฟเวอร์และเวิร์คสเตชั่น
อินเทลเพิ่มแบรนด์ที่ตรงความต้องการของตลาด จากความสำเร็จของแบรนด์ เซนทริโน สำหรับโน้ตบุ๊กที่มีประสิทธิภาพการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สาย อินเทลได้เปิดตัว เทคโนโลยีอินเทล? ไวฟ์? ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำหรับความบันเทิงภายในบ้าน และเทคโนโลยีอินเทล? วีโปร? สำหรับการจัดการและความปลอดภัยของพีซีสำหรับองค์กรธุรกิจ
ความบันเทิงแบบดิจิตัลมาถึงแล้ว อินเทลได้แนะนำ อินเทล ไวฟ์ และยังได้ร่วมมือกับหลายบริษัทเช่น Anytime, AOL, DirecTV, NBC Universal, Shanghai Media Group, Yahoo และอีกหลายบริษัท
เพื่อเร่งการผลิตสื่อดิจิตัลคอนเทนท์สำหรับความบันเทิงภายในบ้านสำหรับการเชื่อมต่อกับเครื่องพีซีและโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต
อินเทลออกแบบและลงทุนด้านเทคโนโลยีสำหรับพีซีอย่างต่อเนื่องสำหรับชุมชนต่าง ๆ ทั่วโลก นอกจากเป็นแบรนด์ที่เน้นเรื่องการทำตลาดแล้ว อินเทลกำลังร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนา และเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นทั่วโลกในการนำพีซีมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศเหล่านี้ แพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Eduwise, Rural PC และการคิดค้นพีซีที่มีจุดเด่นสำหรับการทำงานเฉพาะ เช่น พีซีสำหรับการศึกษาของเด็กๆ ในประเทศจีนไปจนกระทั่งพีซีที่มีใช้แบตเตอรี่รถยนตร์และมีตาข่ายพิเศษเพื่อป้องกันแมลง และพีซีที่สามารถทำงานได้ในสภาพที่มีกระแสไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอในบริเวณที่ห่างไกล ในโครงการ World Ahead ซึ่งอินเทลทุ่มเงินลงทุนกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในระยะเวลาหลายปีติดต่อกัน อินเทลมีจุดประสงค์ที่จะลดช่องว่างของการเข้าถึงเทคโนโลยีในชุมชนที่ห่างไกลที่มีอุปสรรคด้านเศรษฐกิจ ราคาสินค้าและการศึกษา
บริษัทชั้นนำร่วมกันตอบรับเทคโนโลยีไวแม็กซ์ ในปี 2549 นี้มีการทดลองเทคโนโลยีไวแม็กซ์ทั่วโลกกว่า 250 ครั้ง การตกลงครั้งสำคัญระหว่าง อินเทล สปรินท์ โมโตโรล่า เคลียร์ไวร์ และบริษัทต่างๆ ทั่วโลกมากมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาของเทคโนโลยีนี้ ด้วยเครือข่าวที่สามารถเพิ่มความเร็ว และความชัดรวมทั้งความคุ้มค่าในการลงทุนเป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างอินเทอร์เน็ตที่พร้อมใช้ได้ทุกที่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
การลงทุนและวิจัยที่นำไปสู่ความก้าวหน้าที่หลากหลาย การพัฒนาด้านซิลิกอนของอินเทล ซึ่งรวมถึงการประกาศตัวเทคโนโลยีเลเซอร์บนซิลิกอนเมื่อเร็ว ๆ นี้ เป็นการนำทางสู่โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่มีความเร็ว ซึ่งสามารถเกี่ยวโยงไปถึงการกำจัดอุปสรรคของการออกแบบคอมพิวเตอร์ให้มีความเร็วมากขึ้น นอกจากนั้น Intel’s tiny robot prototype ในการพัฒนาเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความสร้างสรรค์ของอินเทล ในการสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ นักวิจัยของบริษัทอินเทลพยายามขยายขอบเขตของเทคโนโลยีออกไปให้กว้างมากขึ้น และพยายามศึกษาว่ามีการทำเทคโนโลยีไปใช้อย่างไร และเพราะ
เหตุใด ตัวอย่างเช่น ซุเปอร์คอมพิวเตอร์ Finis Terrae ที่ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมี โปรเซสเซอร์
อินเทล? ไอเทเนียม? ทู มากกว่า 2,500 ตัว และจะใช้งานสำหรับการศึกษาวิจัยสำหรับโครงการใน
ระดับนานาชาติ
อินเทลร่วมกับพาร์ทเนอร์และลูกค้าในการผลิต NAND แฟลช ในช่วงปลายปี 2548 อินเทลร่วมกับบริษัท ไมครอน เทคโนโลยี เพื่อตั้งบริษัทใหม่ สำหรับการผลิต NAND แฟลชเมโมรี่ และในปี 2549 ลูกค้ารายแรกของบริษัทคือ แอปเปิล Intel, Intel Core, Xeon, และ Intel logo เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ อินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์
* ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ