กรุงเทพฯ--9 พ.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์
- ผลกำไรของบริษัทในเครือเอมิเรตส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 หรือประมาณ 2.87 หมื่นล้านบาท (762 ล้านเหรียญสหรัฐ)
- ผลกำไรของสายการบินเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 2.53 หมื่นล้านบาท (674 ล้านเหรียญสหรัฐ)
- เจ้าของหุ้นได้รับเงินปันผล 3.95 พันล้านบาท (105 ล้านเหรียญสหรัฐ)
- รายได้เติบโตอย่างแข็งแกร่งร้อยละ 27 ชดเชยจากผลกระทบการเพิ่มต้นทุนน้ำมัน
บริษัทในเครือเอมิเรตส์ ประกาศผลประกอบการประจำปีด้วยกำไรสุทธิประมาณ 2.87 หมื่นล้านบาท (หรือประมาณ 762 ล้านเหรียญสหรัฐ) ของปีงบประมาณ ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2549 โดยมีผลกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากผลประกอบการปีที่ผ่านมากว่า 2.74 หมื่นล้านบาท (หรือประมาณ 726 ล้านเหรียญสหรัฐ)
รายได้ของบริษัทในเครือ เพิ่มขึ้นอย่างน่าประทับใจ ประมาณ 5.27 แสนล้านบาท (หรือ 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 27 รวมเป็น 2.5 แสนล้านบาท (6.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เมื่อเทียบกับรายได้ 2 แสนล้านบาท (หรือ 5.2 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ บัญชีสมดุลของบริษัทในเครือเอมิเรตส์เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1.13 แสนล้านบาท (3 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ณ สิ้นเดือนมีนาคม คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 28.6 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า
สำหรับปีงบประมาณ 2548-2549 เอมิเรตส์จะแบ่งปันผลกำไรที่เพิ่มขึ้นเป็น 3.95 หมื่นล้านบาท (105 ล้านเหรียญสหรัฐ) ให้เจ้าของ ซึ่งคือรัฐบาลดูไบ โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งมีมูลค่า 3.76 หมื่นล้านบาท (100 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีที่แล้ว ซึ่งรวมแล้ว เจ้าของหุ้นจะได้รับเงินปันผลประมาณ 1.48 หมื่นล้านบาท (396 ล้านเหรียญสหรัฐ)
จากเอมิเรตส์ นับตั้งแต่สิ้นสุดปีงบประมาณ 2543-2544
รายงานผลประกอบการของสายการบินเอมิเรตส์และบริษัทในเครือประจำปีพ.ศ. 2548-2549 ประกอบด้วย รายงานของสายการบินเอมิเรตส์ ดนาต้า และบริษัทในเครือ โดยมี ชี้ค อาเหม็ด บิน ซาอิด อัล มัคตุม ประธานและผู้อำนวยการ สายการบินเอมิเรตส์และบริษัทในเครือ เป็นประธานแถลงข่าว ซึ่งจัดขึ้น ที่ดูไบ เมื่อเร็วๆ นี้
การขายและผลกำไรของบริษัทนั้นมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจของผู้โดยสารในบริการของเอมิเรตส์ ผู้โดยสารที่เดินทางกับสายการบินเอมิเรตส์นั้นเพิ่มขึ้นกว่า 2 ล้านคน ที่ในช่วงปีงบที่ผ่านมา ทำให้มีสถิติผู้โดยสารที่เดินทางกับสายการบินฯ เพิ่มขึ้นเป็น 14.5 ล้านคน
ชี้ค อาเหม็ด กล่าวว่า “ผลสรุปเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการที่เอมิเรตส์ให้ความสำคัญต่อผู้โดยสาร และการลงทุนเลือกบริการด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ อาทิ การซื้อเครื่องบินที่มีคุณภาพที่สุด การมอบการบริการชั้นเยี่ยม และการมอบประสบการณ์การเดินทางในราคาที่คุ้มค่านั้น ส่งผลให้สายการบินฯ สามารถรักษาและชนะใจผู้โดยสารทั้งเก่าและใหม่ จากทั่วโลก”
ชี้ค อาเหม็ด ยังกล่าวต่ออีกว่า “ปีที่ผ่านมาเป็นอีกปีที่ยากต่อการฝ่าฟันความกดดันที่เกิดจากราคาต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อรายได้สุทธิของสายการบินฯ เอมิเรตส์ได้ออกรายงานผลประกอบการ ครั้งที่ 18 ด้วยความภาคภูมิใจที่สายการบินฯ ประสบความสำเร็จในการประกอบการ ขณะที่เรากำลังขยายธุรกิจ และเผชิญกับสถานการณ์การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น”
การริเริ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพและการควบคุมค่าใช้จ่ายของทุกแผนก ทำให้เกิดผลลัพธ์ในด้านบวก โดยบริษัทในเครือเอมิเรตส์สามารถรักษาผลกำไรสุทธิ ร้อยละ 11.8 ได้
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันยังอยู่สัดส่วนค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุด กล่าวคือร้อยละ 27.2 ของค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.4 ในปีก่อนหน้านี้ เช่นเดียวกับสายการบินอื่นๆ เอมิเรตส์จำเป็นต้องเพิ่มค่าน้ำมันในราคาตั๋วเครื่องบิน ซึ่งครอบคลุมเพียงร้องละ 41 ของราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ โปรแกรมบริหารความเสี่ยงในราคาน้ำมันของสายการบินฯ นั้นยังช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในราคาน้ำมัน ทำให้สายการบินฯ ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึงประมาณ 7.1 หมื่นล้านบาท (189 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีงบประมาณ 2548-2549 หรือกว่าร้อยละ 50 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ก่อนหน้า หากแต่ยังไม่สามารถวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายได้ชัดเจนเพราะเกี่ยวข้องกับการผันผวนของราคาน้ำมันโลกซึ่งสูงขึ้นมาก
ในระหว่างกล่าวเปิดการรายงานผลประกอบการประจำปี ชี้ค อาเหม็ด ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าข้อกล่าวหาที่ว่า สายการบินฯ ได้รับความช่วยเหลือและเงินสนับสนุนอย่างลับๆ จากรัฐบาลนั้นไม่เป็นความจริง โดยอธิบายว่าความสำเร็จของสายการบินฯ นั้นเกิดจากโมเดลการประกอบธุรกิจที่ง่ายแต่ชัดเจน ซึ่งเน้นการเติบโตและการลงทุนในนวัตกรรมใหม่ๆ จึงทำให้สายการบินฯ ได้เปรียบในการแข่งขัน
ชี้ค อาเหม็ด ยังกล่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดูไบในการกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจ การท่องเที่ยว และการคมนาคมระดับโลก และการเติบโตของสายการบินเอมิเรตส์ รวมถึงดนาต้าที่จะกลายเป็นบริษัทประสบความสำเร็จระดับโลก
“ผลประโยชน์จากการเติบโตเป็นเสมือนประเด็นหลักของเอมิเรตส์ในทศวรรษที่ผ่านมา” ชี้ค อาเหม็ด กล่าว “เอมิเรตส์ไม่เคยคิดจะเป็นอุปสรรคแก่สายการบินอื่นๆ เราเน้นการให้ความสนใจต่อความพยายามที่จะมอบบริการระดับเยี่ยมให้แก่ผู้โดยสารและการบริการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์”
“เอมิเรตส์ พอใจกับผลประกอบการของกลุ่มบริษัทในเครือและตั้งใจที่จะนำผลกำไรมาลงทุนเพิ่ม ในส่วนการซื้ออุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกที่ล้ำหน้า การจัดจ้างและฝึกสอนผู้ที่เหมาะสมกับงานแต่ละชนิดเพื่อธุรกิจของเรา และจัดการให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ดังนั้น ต้องทำให้สายการบินเอมิเรตส์ ดนาต้า และบริษัทในเครือมีความได้เปรียบ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องมอบการบริการที่ยอดเยี่ยมต่อลูกค้า ซึ่งมีความคาดหวังจากสายการบินฯ” ชี้ค อาเหม็ด กล่าวสรุป
รายได้ของสายการบินเอมิเรตส์รวมแล้วทั้งหมดประมาณ 2.36 แสนล้านบาท (6.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีที่ผ่านมา โดยมีรายได้จำนวน 4.9 แสนล้านบาท (1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 27 สูงกว่ารายได้ของปี 2547-2548 ซึ่งมีจำนวน 1.84 แสนล้านบาท (4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ทั้งนี้ ผลกำไรของสายการบินฯ จำนวน 2.53 หมื่นล้านบาท (674 ล้านเหรียญสหรัฐ) นั้นยังต่อยอดจากผลกำไรปีก่อนหน้านี้ที่ทำไว้ถึง 2.47 หมื่นล้านบาท (656 ล้านเหรียญสหรัฐ)
จากการที่สายการบินฯ ได้เพิ่มจำนวนเครื่องบินอีก 16 ลำ ในปีงบประมาณที่ผ่านมา ทำให้สายการบินฯ มีเครื่องบินทั้งหมด 91 ลำ (จำนวนสรุปในเดือนมีนาคม 2549) ปัจจุบันสายการบินมีเครื่องบินทั้งหมด 92 ลำ (เมษายน 2549) โดยมีเครื่องบินโดยสารลำตัวกว้างจำนวน 83 ลำ และเครื่องบินสำหรับขนส่งสินค้า จำนวน 9 ลำ โดยเครื่องบินทั้งหมดมีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยเพียง 61 เดือน ซึ่งเป็นอายุการใช้งานที่ต่ำกว่าอายุโดยเฉลี่ยของเครื่องบินที่ใช้ในอุตสาหกรรมการบินกว่า 10 ปี (หรือที่เฉลี่ย 187 เดือน)
เรื่องสำคัญในปีที่ผ่านมาสำหรับสายการบินเอมิเรตส์อีกเรื่องคือ การทำสัญญาซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวน 42 ลำ ในงานดูไบ แอร์โชว์ 2548 เป็นมูลค่า 3.7 แสนล้านบาท (9.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และเป็นสัญญาซื้อขายฉบับที่มีลงทุนสั่งเครื่องบินโบอิ้ง 777 ที่ใหญ่ที่สุด และมูลค่าการสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ของสายการบินเอมิเรตส์สูงถึง 1.22 ล้านล้านบาท (3.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) โดยสายการบินฯ จะได้รับมอบเครื่องบินใหม่เฉลี่ยเดือนละ 1 ลำ ภายใน 8 ปีนี้
สายการบินได้คาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี พ.ศ. 2553 จะมีเครื่องบินทั้งหมดจำนวน 156 ลำ ให้บริการสู่ 101 จุดหมาย และมีผู้โดยสารประมาณ 26 ล้านคน
สายการบินเอมิเรตส์ ได้เปิดให้บริการเส้นทางใหม่สู่ 8 เมืองในปี พ.ศ. 2549-2550 ซึ่งรวมถึง อเล็กซานเดรีย อาบิดจัน แอดดิส อาบาบา ฮัมบรูก กัลกัตตา ทิรุวานันทปุรัม โซล และลิลงเว (เฉพาะการขนส่งสินค้าทางอากาศ) ทำให้เครือข่ายการให้บริการของสายการบินเพิ่มเป็น 83 จุดหมาย โดย 5 เส้นทางเปิดใหม่นั้นจะให้บริการเฉพาะการขนส่งสินค้าทางอากาศ นอกเหนือจากนั้น สายการบินเอมิเรตส์ ยังได้เพิ่มเที่ยวบินสำหรับให้บริการผู้โดยสารและเพิ่มที่นั่งโดยเครื่องบินที่ใหญ่ขึ้นในอีกกว่า 12 เส้นทางบินอีกด้วย ทำให้สามารถเพิ่มเที่ยวบินในเครือข่ายที่ให้บริการขึ้นอีกจำนวน 67 เที่ยวบินต่อสัปดาห์
จำนวนผู้โดยสารบนเครื่อง (Passenger Seat Factor) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เป็นร้อยละ 75.9 จากสถิติของปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการเพิ่มการให้บริการร้อยละ 20.2 และมีความจุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 18.9 หรือ 15,803 ล้านตัน-กิโลเมตร จุดคุ้มทุน (Breakeven) นั้นยังอยู่ในระดับต่ำ หรือร้อยละ 60.3 และผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 20.75 บาท (หรือ 0.55 เซ็นต์สหรัฐ) ต่อรายได้ต่อตัน-กิโลเมตร (Revenue Tonne Kilometre) ซึ่งสูงขึ้นจากเดิม 19.57 บาท (0.52 เซ็นต์สหรัฐ) ในปีพ.ศ. 2548-2549
สายการบินเอมิเรตส์ ยังได้ลงทุนเป็นจำนวนเงินประมาณ 7.5 พันล้านบาท (หรือ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการปรับปรุงเครื่องอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับลูกค้า สายการบินฯ ยังได้มีการอัพเกรดเครื่องบินโบอิ้ง 777-300 โดยได้ติดตั้งที่นั่ง สกายครูสเซอร์ (SkyCruise) ซึ่งเป็นระบบเอ็นเตอร์เทนเมนต์บนเครื่อง หรือใช้ชื่อย่อว่า ‘ระบบ ice’ ในทุกระดับชั้นของเครื่องบินฯ ขณะนี้ เครื่องบินโบอิ้ง 777-200 เกือบทั้งหมดของสายการบินได้รับการตกแต่งใหม่ และได้มีกำหนดการปรับแต่งอีก 2 ลำสุดท้ายที่เหลือภายในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 นี้
นอกเหนือจากนั้น สายการบินเอมิเรตส์ ยังได้มีการเปิดให้บริการห้องรับรองผู้โดยสารของสายการบินใหม่ในสนามบินนิวยอร์ค เจเอฟเค สนามบินลอนดอนแกทวิค สนามบินซิดนีย์ สนามบินเพิร์ธ สนามบินปารีส ชาร์ล เดอ โกลล์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสนามบินที่มีอยู่ คือในสนามบินดูไบ สนามบินบริสเบน และสนามบินโอ๊คแลนด์ สายการบินฯ ยังมีแผนจะเปิดห้องรับรองผู้โดยสารอีกใน 12 สนามบินใหญ่ๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงในประเทศไทยด้วย
เอมิเรตส์ สกายคาร์โก้ ก็ได้สร้างสถิติใหม่ด้วยการขนส่งสูงกว่า 1 ล้านตันคาร์โก้ ในปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นมากกว่า 180,000 ตันคาร์โก้ หรือร้อยละ 21 ของการขนส่งสินค้า 838,400 ตันคาร์โก้ ในปีก่อนหน้านี้ ทำให้เกิดการเติบโตสูงของทั้งเครือข่ายการให้บริการ แผนกขนส่งสินค้าของสายการบินฯ นั้น มีรายได้ประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท(หรือ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งสูงขึ้นจากปีก่อนประมาณ 1.03 หมื่นล้านบาท (274 ล้านเหรียญสหรัฐ) คิดเป็นการเติบโตร้อยละ 29.2 ทั้งนี้ รายได้ของเอมิเรตส์ สกายคาร์โก้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 ของรายได้ทั้งหมด และในระหว่างปีที่ผ่านมาเอมิเรตส์ สกายคาร์โก้ยังได้เพิ่มเครื่องบินขนส่งสินค้าจำนวน 5 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินขนส่งสินค้าโบอิ้ง B747-400F 2 ลำ และ เครื่องบินแอร์บัส A310-300F 3 ลำ ขณะนี้ สายการบินฯ มอบบริการเที่ยวบินขนส่งสินค้าปกติทั้งหมดสู่ 26 จุดหมาย โดยใช้เครื่องบินทั้งสิ้นจำนวน 26 ลำ รวมเครื่องบินขนส่งสินค้า 9 ลำ ในการขนส่งสินค้าในปีที่ผ่านมาสู่ 83 เมืองทั่วโลก
การบริการเพื่อวันท่องเที่ยวพักผ่อน (Destination and Leisure Management) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแผนกของสายการบินเอมิเรตส์ ได้แสดงศักยภาพทางการขายที่เพิ่มขึ้นเป็น 9.6 พันล้านบาท (256 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยมีอัตราเติบโตร้อยละ 17 จากปีก่อน และมีลูกค้าสนใจใช้บริการสูงถึง 318,000 ราย ทั้งนี้แผนกยังประกาศแผนงานใหม่ๆ ที่สำคัญ อาทิ เอมิเรตส์ โวลแกน วาเลย์ รีสอร์ทแอนด์สปา (Emirates Wolgan Valley Resort & Spa) ซึ่งเป็นโปรเจ็คหรูในรูปแบบการอนุรักษ์ ซึ่งอยู่ในบลู เมาท์เท่นในออสเตรเลีย โรงแรมหรู 70 ชั้น ในเมืองดูไบ และเอมิเรตส์ มารีน่า เซอร์วิส อพาร์ทเมนต์แอนด์สปา (Emirates Marina Serviced Apartments & Spa) ในดูไบ อสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดนี้ จะได้รับการบริหารภายใต้แบรนด์ใหม่ ซึ่งใช้ชื่อว่า เอมิเรตส์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท
ดนาต้า นั้นแสดงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งด้วยรายได้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 เป็น 1.82 หมื่นล้านบาท (485 ล้านเหรียญสหรัฐ) เปรียบเทียบกับรายได้ในปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท (385 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทั้งนี้ ผลกำไร 3.3 พันล้านบาท (88 ล้านเหรียญสหรัฐ) ของดนาต้านั้นคิดเป็นการเติบโตถึง 638 ล้านบาท (17ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 24.6 เมื่อเปรียบเทียบกับผลกำไรจำนวน 2.6 พันล้านบาท (71 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีก่อนหน้านี้
ตลอด 48 ปีที่ดนาต้าได้เปิดดำเนินการมา ดนาต้าได้แสดงถึงการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ณ สนามบินนานาชาติดูไบ โดยในปีงบประมาณ 2548-2549 ดนาต้าเป็นตัวแทนปฏิบัติการภาคพื้นดินของสายการบินต่างๆทั้งสิ้น 203,000 ลำ รวมถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศทั้งสิ้น 1.3 ล้านตัน
นับถึงวันที่ 31 มีนาคม 2549 บริษัทในเครือ มีพนักงานทั้งหมด 26,906 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ของปีก่อนหน้านี้ โดยระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา สายการบินเอมิเรตส์ ได้รับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 60 คน ในปัจจุบันพนักงานต้อนรับของสายการบินเอมิเรตส์มีจำนวน กว่า 6,000 คน จากกว่า 100 สัญชาติทั่วโลก และมีกัปตันและนักบินผู้ช่วย จำนวน 1,350 คน จาก 70 สัญชาติทั่วโลก
แผนกบริหารเครื่องสาธารณูปโภคของบริษัทในเครือ นั้นขณะนี้ได้ดูแลโปรเจ็คทั้งหมดรวมมูลค่าประมาณ 5.2 หมื่นล้านบาท (หรือ 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในดูไบซึ่งรวมถึงโปรเจ็คที่อยู่ในช่วงต่างๆ อาทิ การออกแบบ และการก่อสร้าง ทั้งนี้เครื่องสาธารณูปโภคใหม่ๆ ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการในการขยายธุรกิจของบริษัท ซึ่งรวมถึง เอมิเรตส์ เอนจิเนียริ่ง เซ็นเตอร์ (Emirates Engineering Centre) อาคารสำนักงานใหญ่ (Group Headquarters building) วิทยาลัยฝึกสอนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Emirates Crew Training College) คลังเก็บสินค้าสำหรับดนาต้า และการขยายอาคารต่างๆ
คำบรรยายภาพ
ชี้ค อาเหม็ด บิน ซาอิด อัล มัคตุม ประธานและผู้อำนวยการสายการบินเอมิเรตส์ และบริษัทในเครือ ประกาศผลประกอบการปีงบประมาณซึ่งสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2549 ด้วยผลกำไรสุทธิของบริษัทในเครือ จำนวน 2.87 หมื่นล้านบาท (762 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากปีก่อนหน้านี้ ที่บริษัทในเครือ เคยทำกำไรได้ประมาณ 2.74 หมื่นล้านบาท (726 ล้านเหรียญสหรัฐ)
สำหรับรายงานฉบับสมบูรณ์ กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์: www.ekgroup.com/mediacentre
*อัตตราแลกเปลี่ยน ประมาณ 37.64 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐ
สื่อมวลชน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กฤตยา วลัยรัตน์/ พรปรารถนา ประมุขชัย
สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์
โทรศัพท์ 0-2653-2717-9
โทรสาร 0-2653-2720
อีเมล์ krittya@spark.co.th หรือ namtaan@spark.co.th
เว็บไซต์ www.emirates.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net