สภาอุตสาหกรรมฯ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) — สายงานอุตสาหกรรม เรื่อง “ ยุทธศาสตร์เชิงรุก เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน”

ข่าวทั่วไป Wednesday September 30, 2009 12:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 ก.ย.--สภาอุตสาหกรรมฯ การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) — สายงานอุตสาหกรรม เรื่อง “ ยุทธศาสตร์เชิงรุก เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” วันพุธที่ 21 ตุลาคม 2552 เวลา 08.30 - 17.30 น. ณ ห้องบอลรูม ชั้น 2 โรงแรม สวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด ถนนรัชดาภิเษก ด้วยสภาวะปัจจุบัน ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมกำลังเผชิญกับปัญหารอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน ต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น รวมถึงปัญหาที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการยอมรับของประชาชน ที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต ดังนั้นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำเป็นต้องตระหนักและใส่ใจกับสภาวะรอบด้าน เพื่อให้อุตสาหกรรมสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน พร้อมกับเพิ่มศักยภาพในการผลิตและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ เพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ให้สามารถปรับตัวเข้ากับบริบทของสังคมในปัจจุบัน และเอื้อประโยชน์ต่อกันอย่างบูรณาการ สายงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พิจารณาเห็นว่าเพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มุมมอง กลยุทธ์ ช่องทางในการวางแผนและสร้างความเข้มแข็งต่อภาคอุตสาหกรรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์สร้างความได้เปรียบ และเตรียมพร้อมรับมือกับมาตรการ กฎระเบียบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงได้กำหนดจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ยุทธศาสตร์เชิงรุก เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” ใน วันพุธที่ 21 ตุลาคม 2552 เวลา 8.30 - 17.30 น. ณ ห้อง บอลรูม ชั้น 2 โรงแรม สวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด ถนนรัชดาภิเษก ซึ่งงานสัมมนา ในช่วงเช้า ได้รับเกียรติจาก คุณโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ประธานกิตติมศักดิ์ สภาอุตสาหกรรมฯ มาร่วมเสวนาพิเศษในหัวข้อ “ การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน “ และภาคบ่าย เป็นการระดมความคิดเห็น แบ่งกลุ่มย่อย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 บทบาท ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในแนวทางการสร้างคุณค่า (Value Creation) ด้วย เทคโนโลยี (เพื่อกำหนดบทบาท และทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม ในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างภาพลักษณ์อุตสาหกรรมและการอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน (เพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรม มีการวางรูปแบบการบริหารจัดการด้านการอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อถือในการ ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบความมือด้านต่างๆ ระหว่างชุมชนและอุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการดำเนินธุรกิจแบบคลัสเตอร์ (Cluster Development) (เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มอุตสาหกรรม มีการดำเนินงานร่วมกัน โดยนำศักยภาพของกลุ่มฯ ออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด โดยร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ แผนแม่บท แผนปฏิบัติการ กลยุทธ์ โครงการ และกิจกรรมในการดำเนินต่างๆ) ยุทธศาสตร์ที่ 4 มาตรการเชิงรุกในเวทีโลก หลังเปิด FTA (เพื่อรวบรวมประเด็นปัญหาอุปสรรค ทีเกิดขึ้นจากการทำ FTA เช่น ปัญหาด้านการลด ภาษี กฎระเบียบด้านแหล่งกำเนิดสินค้า รวมถึงการกำหนดแนวทางมาตรการช่วยเหลือ อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจาก FTA และการสร้างศักยภาพในการ แข่งขัน การเตรียมความพร้อมของภาคธุรกิจ) ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสนับสนุนปัจจัยเอื้อต่อการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม (เพื่อผลักดันให้มีการปรับโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ ให้การสนับสนุนปัจจัยเอื้อต่อการ ประกอบธุรกิจ ในด้านต่างๆ ดังนี้ - ด้านการตลาด เช่น การสร้างตลาดในอาเซียน - ด้านกฎระเบียบ เช่น การปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้อง และมีความทันสมัย - ด้านบุคลากร เช่น การพัฒนาทักษะ เสริมสร้างขีดความสามารถในการเรียนรู้แบบ บูรณาการ เพื่อยกระดับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน - ด้านเงินทุน และการลงทุน - ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาแรงงานสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรม (เพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลภาคอุตสาหกรรม (HRD) ด้านพัฒนาทักษะ และเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อยกระดับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน) ในงานสัมมนา ครั้งนี้ ได้เรียนเชิญ ผู้แทนจาก 39 กลุ่มอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมภาค 5 ภาค และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมประมาณ 250 ท่าน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ