กรุงเทพฯ--27 มิ.ย.--สกว.
ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมของไทยมียอดการส่งออกไปประเทศกลุ่มยุโรป (EU) สูงถึงปีละหลายหมื่นล้านบาท แต่ภายใต้ข้อกำหนด REACH ( ระเบียบว่าด้วยสารเคมีของสหภาพยุโรป ) ที่จะบังคับให้สินค้าที่นำไปในประเทศกลุ่ม EU จะต้องมีการแจ้งรายละเอียดของสารเคมีที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนและใช้ในกระบวนการผลิต (ภาษาไทย) ของกลุ่ม EU ซึ่งจะมีการประกาศใช้ภายในต้นปี 2550 กำลังจะเป็นอุปสรรคสำคัญที่อาจทำให้ สินค้าส่งออกของไทยหลายราย และหลายประเภท จะไม่สามารถส่งสินค้าเข้าไปขายในตลาด EU ได้อีกต่อไป
“REACH คืออะไร” “กระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทยประเภทไหนและอย่างไร” “ความพร้อมของไทยเป็นอย่างไร” “ภาคอุตสาหกรรมตื่นตัวแค่ไหน” ฯลฯ เหล่านี้เป็นคำถามที่จะต้องเร่งหาคำตอบที่ชัดเจน เพื่อนำไปสู่ร่วมมือของทุกภาคส่วนในการเตรียมพร้อมของอุตสาหกรรมส่งออกของไทยอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการทำวิจัยในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดงานเสวนาเรื่อง “อนาคตส่งออกไทย....ภายใต้ข้อกำหนด REACH” ขึ้นในวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2549 เวลา 10.00 — 12.00 น. ณ ห้องประชุม 1 สกว. ชั้น 14 อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ ถ.พหลโยธิน (รายละเอียดในกำหนดการ)
กำหนดการเสวนา
10.00 น. ความเป็นมาของงาน
โดย รศ. สุชาตา ชินะจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สกว.
10.10 น. “REACH คืออะไร”
โดย รศ.ดร.วราพรรณ ด่านอุตรา นักวิจัย สกว.โครงการ
รดาวรรณ ศิลปโภชากุล
10.30 น. เสวนาเรื่อง “อนาคตส่งออกไทย....ภายใต้ข้อกำหนด REACH ”
* ผลกระทบของ REACH ต่อภาคอุตสาหกรรมไทย
* ความพร้อมของอุตสาหกรรมไทยภายใต้ข้อกำหนด REACH
* ความพร้อมในการรับมือข้อกำหนด REACH
- ภาครัฐ
- ภาคเอกชน
(ดำเนินรายการโดยคุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร)
11.30 น. สรุปและปิดการเสวนา