รายงานสถานการณ์อุทกภัย สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน และสภาพน้ำท่า 2549 วันที่ 24 ตุลาคม 2549 เวลา 19.00 น.

ข่าวทั่วไป Wednesday October 25, 2006 10:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ต.ค.--ปภ.
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยในภาพรวม (ระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม — 24 ตุลาคม 2549)
1.1 ระหว่างวันที่ 27-31 สิงหาคม 2549 วันที่ 9-12 กันยายน 2549 และวันที่ 18-23 กันยายน 2549 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง พายุดีเปรสชั่นเคลื่อนตัวผ่าน (24-25 ก.ย.49) และพายุดีเปรสชั่น “ช้างสาร” (1-3 ต.ค.49) ทำให้มีฝนตกหนักมากในพื้นที่ ระดับน้ำในแม่น้ำมีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มริมฝั่งของลำน้ำหลายพื้นที่
1.2 พื้นที่ประสบภัย รวม 47 จังหวัด 331 อำเภอ 24 กิ่งอำเภอ 2,193 ตำบล 12,776 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,527,766 คน 1,014,086 ครัวเรือน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม นครนายก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และกรุงเทพมหานคร
1.3 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 125 คน จังหวัดเชียงใหม่ 8 คน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 3 คน จังหวัดลำปาง 3 คน จังหวัดสุโขทัย 9 คน จังหวัดพิษณุโลก 12 คน จังหวัดนครสวรรค์ 8 คน จังหวัดเพชรบูรณ์ 1 คน จังหวัดชัยนาท 2 คน จังหวัดสิงห์บุรี 2 คน จังหวัดอ่างทอง 8 คน จังหวัดพิจิตร 9 คน จังหวัดปราจีนบุรี 11 คน จังหวัดจันทบุรี 3 คน จังหวัดปทุมธานี 2 คน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 18 คน จังหวัดชัยภูมิ 7 คน ยโสธร 9 คน ร้อยเอ็ด 2 คน จังหวัดลพบุรี 2 คน จังหวัดอุทัยธานี 3 คน จังหวัดพังงา 1 คน และกรุงเทพมหานคร 2 คน สูญหาย 1 คน (จังหวัดเชียงใหม่)
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 54 หลัง เสียหายบางส่วน 9,208 หลัง ถนน 4,691 สาย สะพาน 317 แห่ง ท่อระบายน้ำ 395 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 507 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตร 2,754,599 ไร่ บ่อปลา/กุ้ง 30,529 บ่อ วัด/โรงเรียน 1,024 แห่ง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่าที่สำรวจได้ ประมาณ 334,450,595 บาท (ไม่รวมทรัพย์สิน บ้านเรือน และความเสียหายด้านการเกษตร)
2. พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 31 จังหวัด
3. ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 16 จังหวัด เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านพื้นที่สูงกว่าตลิ่ง ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี ปราจีนบุรี และกรุงเทพมหานคร ใน 80 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 16 เขต (คิดเป็นร้อยละ 51.6 ของอำเภอ/กิ่งอำเภอ และเขตทั้งหมดใน 16 จังหวัด ที่ยังประสบอุทกภัย) 691 ตำบล 4,837 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,062,031 คน 304,650 ครัวเรือน แยกเป็น
3.1 จังหวัดสุโขทัย น้ำแม่น้ำยมยังคงสูงล้นตลิ่งเข้าท่วมขังในพื้นที่อำเภอกงไกรลาศ ระดับน้ำสูง 0.30-0.50 ม. ลดลงอย่างต่อเนื่อง
3.2 จังหวัดพิษณุโลก น้ำในแม่น้ำยมยังคงสูงล้นตลิ่งเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำ ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ อำเภอพรหมพิราม และอำเภอเมืองฯ ระดับน้ำสูง 0.30-0.50 ม.
3.3 จังหวัดพิจิตร น้ำในแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านยังคงสูงล้นตลิ่งเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำในพื้นที่ 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอสามง่าม อำเภอวชิรบารมี อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก และกิ่งอำเภอบึงนาราง ระดับน้ำสูง 0.40-0.70 ม.
3.4 จังหวัดนครสวรรค์ น้ำจากแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านยังคงสูงล้นตลิ่งเข้าท่วมขังในพื้นที่ริมน้ำในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอชุมแสง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอโกรกพระ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอบรรพตพิสัย และอำเภอท่าตะโก ระดับน้ำสูง 0.30-0.60 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัดนครสวรรค์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มอบถุงยังชีพ 109,215 ชุด น้ำดื่ม 59,416 โหล กระสอบทราย 20,000 ใบ เครื่องสูบน้ำ 25 เครื่อง เรือท้องแบน 9 ลำ ห้องน้ำสำเร็จรูป 16 ห้อง ถังน้ำดื่ม 8 ใบ เครื่องจักรกล 28 คัน ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.5 จังหวัดอุทัยธานี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังคงสูงเอ่อล้นตลิ่งอย่างต่อเนื่องเข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มในเขตอำเภอเมืองฯ และเขตเทศบาลเมืองฯ น้ำท่วมสูงประมาณ 0.30-0.70 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัดอุทัยธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มอบกระสอบทราย 50,000 ใบ ถุงยังชีพ 18,130 ชุด เรือท้องแบน 18 ลำ เต็นท์ 200 หลัง น้ำดื่ม 90,000 ลิตร น้ำดื่ม 56,888 ขวด ชุดเวชภัณฑ์ 12,572 ชุด รวมทั้ง นพค.15 มทบ.31 อปพร. อส. สถานีวิทยุ 934 สนับสนุนกำลังพลรวม 305 นาย ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่
3.6 จังหวัดชัยนาท มีน้ำท่วมใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอสรรพยาและอำเภอหันคา ระดับน้ำสูง 0.60-1.00 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มอบถุงยังชีพ 29,611 ชุด กระสอบทราย 272,800 ใบ น้ำดื่มขนาด 1,000 ลิตร 150 ถัง น้ำดื่มชนิดขวด 2,000 ขวด น้ำประปา 1,228,000 ลิตร ชุดเวชภัณฑ์ 7,487 ชุด เต็นท์ 185 หลัง เครื่องสูบน้ำ 45 เครื่อง เรือท้องแบน 3 ลำ เสาเข็มไม้ป้องกันตลิ่งพัง 300 ต้น ส้วมชั่วคราว 64 ที่
3.7 จังหวัดลพบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอท่าวุ้ง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.80 ม.
การให้ความช่วยเหลือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 93 เครื่อง เรือท้องแบน 46 ลำรถแบ็คโฮ 2 คัน รถเกรด 4 คัน ถุงยังชีพ 16,616 ชุด รถกู้ภัย 11 คัน และกระสอบทราย 20,000 ใบ กำลังพล จากหน่วยทหาร อปพร. อส. 735 นาย ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เสริมคันดิน (คลองชัยนาท-ป่าสัก)
3.8 จังหวัดสระบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดอนพุด อำเภอบ้านหมอ และอำเภอหนองแซง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.60-1.50 ม.
การให้ความช่วยเหลือ แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค 4,088 ชุด น้ำดื่ม 21,981 ขวด และยารักษาโรค 4,290 ชุด เสื้อผ้า 45 ชุด เครื่องสูบน้ำ 17 เครื่อง กระสอบทราย 7,972 ถุง อาหารกล่อง 1,520 ชุด
3.9 จังหวัดสิงห์บุรี มีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอพรหมบุรี อำเภอท่าช้าง อำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน และอำเภอเมืองฯ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.40-2.00 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
1. จังหวัดสิงห์บุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและได้เสริมแนวกั้นน้ำรอบตัวเมืองในพื้นที่เศรษฐกิจ กำลังพลทหารหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ 70 นาย ม.พัน 20 รอ. 85 นาย ศูนย์การทหารปืนใหญ่ 130 นาย และศูนย์การบินทหารบก 33 นาย
2. จังหวัดสิงห์บุรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมอบถุงยังชีพ 56,826 ชุด ยารักษาโรค 8,900 ชุด
3.10 จังหวัดอ่างทอง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย ล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำใน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย อำเภอแสวงหา อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอสามโก้ และอำเภอโพธิ์ทอง ระดับน้ำสูง 0.40-1.50 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
1. จังหวัดอ่างทอง อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ มูลนิธิฯ องค์กรเอกชน ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จัดส่งรถผลิตน้ำดื่มเคลื่อนที่ 1 คัน เต็นท์ที่พักอาศัยชั่วคราว 182 หลัง น้ำดื่ม 361,761 ขวด ถุงยังชีพ 73,466 ชุด ยาและเวชภัณฑ์ 18,879 ชุด เรือเหล็ก 113 ลำ เรือท้องแบน 38 ลำ รถบรรทุก 6 คัน รถ Unimog 6 คัน เครื่องสูบน้ำ 53 เครื่อง สุขาเคลื่อนที่ 155 ห้อง
2. หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษจังหวัดลพบุรีและมณฑลทหารบกที่ 13 จังหวัดลพบุรี พล ป. (ป.พัน 721) กองบิน 2 ช.พัน 1 รอ. (พล.1 รอ.) จัดส่งกำลังพลพร้อมเครื่องจักรกล ระดมเครื่องมือ เรือท้องแบน พร้อมเจ้าหน้าที่ 863 นาย ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง (อ.เมือง 603 นาย อ.ป่าโมก 160 นาย อ.ไชโย 100 นาย)
3. โครงการชลประทานอ่างทอง สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 16 เครื่อง ติดตั้งในเขตเทศบาลเมืองอ่างทอง
3.11 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสัก มีระดับสูงเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นที่ลุ่มริมแม่น้ำในพื้นที่ 16 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอมหาราช อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง อำเภอบางประหัน อำเภอบางปะอิน อำเภอบ้านแพรก อำเภอภาชี อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอ วังหลวง อำเภออุทัย และอำเภอบางซ้าย มีระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-2.00 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หน่วยทหาร อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มูลนิธิฯ องค์กรเอกชน ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมอบถุงยังชีพ 391,260 ชุด เต็นท์ 183 หลัง เรือท้องแบน 30 ลำ และเรือไม้ เรือเหล็ก เรือไฟเบอร์ 826 ลำ รถบรรทุกน้ำ 40 คัน รถแบ็คโฮ 10 คัน เครื่องสูบน้ำ 100 เครื่อง กระสอบทราย 582,000 ใบ รถผลิตน้ำดื่ม 1 คัน กำลังพล 4,522 คน สนับสนุนหญ้าแห้งอาหารสัตว์ 63,000 กก. ออกหน่วยเคลื่อนที่ตรวจรักษาโรคแจกจ่ายยาเวชภัณฑ์ ตั้งโรงทานประกอบอาหารเลี้ยงผู้ประสบภัย
3.12 จังหวัดสุพรรณบุรี น้ำในแม่น้ำท่าจีนสูงเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำใน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอบางปลาม้า อำเภอสามชุก อำเภอศรีประจันต์ อำเภอเดิมบางนางบวช อำเภอด่านช้าง และอำเภอสองพี่น้อง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-1.40 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมอบถุงยังชีพ 31,124 ชุด กระสอบทราย 300,000 ใบ เครื่องสูบน้ำ 35 เครื่อง พล ร.9 และศูนย์ ปภ. เขต 2 สุพรรณบุรี จัดรถบริการรับส่งประชาชนและเรือท้องแบนให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ประสบภัย
3.13 จังหวัดปทุมธานี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฯ อำเภอสามโคก อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี และอำเภอลำลูกกา ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-1.00 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
1. จังหวัดปทุมธานีได้ระดมสรรพกำลังจากทุกหน่วยงานไปช่วยเสริมกระสอบทรายริมแม่น้ำ เพื่อป้องกันมิให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่เหมือนเช่นปี 2538 ที่ผ่านมา พร้อมกับมอบถุงยังชีพผู้ประสบภัย 15,914 ชุด
2. การประปานครหลวง ได้เสริมกระสอบทราย จำนวน 150,000 ใบ เป็นคันป้องกันน้ำ เพื่อไม่ให้ไหลจากคลองบางกระดีเข้าท่วมบริเวณคลองประปา ในพื้นที่ตำบลบางพูน
3.14 จังหวัดนนทบุรี น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงประกอบกับมีน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้มีน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางกรวย อำเภอเมืองฯ อำเภอบางใหญ่ และอำเภอไทรน้อย ระดับน้ำสูง 0.30-1.50 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 24 ลำ กระสอบทราย 1,732,015 ใบ เครื่องสูบน้ำ 169 เครื่อง ถุงยังชีพภาครัฐและเอกชน 37,704 ชุด สร้างสะพานไม้ชั่วคราว 68 แห่ง กำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบภัย 1,379 นาย รวมทั้งช่วยเหลือด้านยารักษาโรค
3.15 จังหวัดปราจีนบุรี น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรียังสูงเข้าท่วมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอเมืองฯ และอำเภอบ้านสร้าง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 26 ลำ เครื่องสูบน้ำ 20 เครื่อง รถแบ็คโฮ 2 คัน รถยนต์บรรทุก 15 คัน รถยก 1 คัน รถกระเช้า 1 คัน รถบรรทุกน้ำ 1 คัน รถสายตรวจ 6 คัน ถุงยังชีพ น้ำดื่ม และยาสามัญประจำบ้าน 20,975 ชุด อาหารสัตว์ 35 ตัน พร้อมกำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบภัย 501 นาย สร้างสะพานชั่วคราว (เเบรีย์) ที่หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกี่ และหมู่ที่ 10 ตำบลลาดตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี
3.16 กรุงเทพมหานคร ปริมาณน้ำในเขตทุ่งฝั่งตะวันออกมีมาก ทำให้มีน้ำท่วมขัง 5 เขต ได้แก่ เขตลาดกระบัง เขตมีนบุรี เขตหนองจอก เขตสายไหม และเขตคลองสามวา ระดับน้ำเฉลี่ยสูงประมาณ 0.50-0.80 ม. และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ นอกแนวคันกั้นน้ำมีราษฎรเดือดร้อนใน 11 เขต 33 ชุมชน 2,111 ครัวเรือน
การให้ความช่วยเหลือ
1. สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ได้เสริมกระสอบทรายเป็นแนวกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจากเดิมที่ทำไว้ 2.50 ม.รทก. เป็น 2.70-2.90 ม.รทก. พร้อมใช้เครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ได้จัดเตรียมกระสอบทรายเพิ่มเติม 600,000 ใบ
2. กรุงเทพมหานครและกองบัญชาการทหารสูงสุด ได้จัดส่งกำลังพลพร้อมเครื่องมือ เครื่องจักรกล ดำเนินการขุดลอกคูคลองตามแนวเหนือใต้ของถนนบางนา-ตราด และถนนมอเตอร์เวย์ ประมาณ 20 คลอง เพื่อเปิดทางน้ำไหลให้ระบายน้ำลงอ่าวไทยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
4. สิ่งของพระราชทาน
4.1 มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา ฯ) ยามยาก ได้จัดตั้งคลังอาหารและน้ำดื่ม หน่วยแพทย์ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น หน่วยแพทย์เคลื่อนที่เร็วป้องกันโรคระบาดที่เกิดจากอุทกภัย และมอบอาหารเสริมพระราชทานในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ จังหวัดชัยนาท (อำเภอสรรพยา) จังหวัดสิงห์บุรี (อำเภออินทร์บุรี) จังหวัดอ่างทอง (อำเภอ ป่าโมก) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อำเภอบางไทร) อำเภอละ 10 จุด แต่ละจุดประกอบด้วย ข้าว 11,000 กิโลกรัม อาหารกระป๋อง 2,200 กระป๋อง น้ำดื่ม 11,000 ขวด/จุด โดยทำการสำรวจความขาดแคลนในวันจันทร์และส่งมอบสิ่งของในวันพุธของสัปดาห์ ซึ่งการมอบสิ่งของ ฯ จะกำหนดให้มีคณะกรรมการชุมชน ฯ เป็นผู้ดำเนินการมอบให้แก่ผู้ประสบภัย จนกว่าสถานการณ์อุทกภัยจะสิ้นสุด
4.2 วันนี้ (24 ต.ค.49) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ประทานเงินส่วนพระองค์ ให้แก่วัดที่ถูกน้ำท่วม 40 แห่ง ๆ ละ 15,000 บาท สำหรับบูรณะวัด ให้ผู้ประสบภัย 593 ครอบครัว ๆ ละ 500 บาท และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองไปช่วยน้ำท่วม 103,419 บาท รวมเป็นเงิน 999,919 บาท พร้อมถุงยังชีพ 1,000 ถุง โดยได้นำไปมอบให้ผู้ประสบภัยที่จังหวัดอ่างทองเป็นแห่งแรก และจะไปที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก และสิงห์บุรี ต่อไป
5. การให้ความช่วยเหลือแก่จังหวัดที่ประสบอุทกภัย
1) ในวันนี้ (24 ต.ค.49) คณะแม่บ้านมหาดไทย ได้เดินทางไปพร้อมมอบถุงยังชีพ 1,000 ชุด และน้ำดื่ม 1,000 โหล แก่ผู้ประสบอุทกภัย ณ วัดกำแพงดิน ตำบลกำแพงดิน และวัดกระทุ่มน้ำเดือด ตำบลรังนก อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
2) กรมชลประทาน ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัยในฤดูฝนปี 2549 ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2549 ทั้งประเทศ รวม 519 เครื่อง ภาคเหนือ จำนวน 211 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 เครื่อง ภาคตะวันออก 9 เครื่อง ภาคกลาง 279 เครื่อง และภาคใต้ 19 เครื่อง ส่วนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำแล้ว 235 เครื่อง (จังหวัดนนทบุรี 88 เครื่อง จังหวัดปทุมธานี 79 เครื่องกรุงเทพมหานคร 26 เครื่อง จังหวัดสมุทรปราการ 31 เครื่อง จังหวัดสมุทรสาคร 11 เครื่อง) เรือนาค 4 ลำ รถนาค 4 คัน และเครื่องผลักดันน้ำ 28 เครื่อง (จังหวัดสมุทรสาคร 6 เครื่อง กรุงเทพมหานคร 23 เครื่อง) นอกจากนี้ได้เตรียมเครื่องสูบน้ำไว้ช่วยเหลืออุทกภัยในภาคใต้ จำนวน 87 เครื่อง
แผนเตรียมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือหลังน้ำลด
(1) กรมชลประทานได้มอบหมายให้โครงการชลประทานในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาทุกโครงการ เป็นหน่วยงานรับแจ้งเรื่องร้องทุกข์ของเกษตรกรเกี่ยวกับพื้นที่การเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ที่ได้รับความเสียหายจากการเกิดอุทกภัย พร้อมทั้งถ่ายภาพในพื้นที่ดังกล่าวไว้ เพื่อประกอบข้อมูลในการพิจารณาค่าชดเชยต่อไป
(2) กรมชลประทานใช้ภาพถ่ายดาวเทียมทุก 3 วัน ร่วมกับแผนที่ 1:4,000 ของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อตรวจสอบและติดตามพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
(3) สนับสนุนในเขตพื้นที่ชลประทานให้มีการทำนาปรัง 2 ครั้ง หลังจากน้ำลด เกษตรกรสามารถทำนาปรังได้ทันที ส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทานจะส่งเสริมให้ทำนาปรัง โดยจะให้การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ
3) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังนี้
3.1) ได้ระดมกำลัง เครื่องจักรกล 207 คัน/เครื่อง เรือท้องแบน 202 ลำ รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน เต็นท์ยกพื้นพักอาศัยชั่วคราว 531 หลัง (อ่างทอง 177 หลัง นครสวรรค์ 50 หลัง อุตรดิตถ์ 121 หลัง น่าน 39 หลัง พระนครศรีอยุธยา 38 หลัง ชัยนาท 25 หลัง สิงห์บุรี 23 หลัง เชียงใหม่ 43 หลังและสุโขทัย 15 หลัง) พร้อมเจ้าหน้าที่ 614 คน และสนับสนุนถุงยังชีพ 75,200 ชุด ไปปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
3.2) จ่ายเงินค่าจัดการศพ 67 ราย รายละ 15,000 บาท กรณีเป็นหัวหน้าครอบครัว รายละ 40,000 บาท เป็นเงิน 1,805,000 บาท (คงเหลือ 58 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ) ทั้งนี้จังหวัดที่ประสบภัยได้ใช้จ่ายเงินช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ไปแล้ว 277.87 ล้านบาท
3.3) จัดส่งถุงยังชีพ ข้าวสารอาหารแห้ง ผ้าขาวม้า ผ้าถุง รองเท้ายาง ไปสนับสนุนจังหวัด ที่ประสบภัย คิดเป็นมูลค่า 41,649,800 บาท
3.4) สนับสนุนขวดบรรจุน้ำดื่ม 500,000 ขวด ให้แก่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง และจังหวัด ลุ่มเจ้าพระยา สำหรับนำไปบรรจุน้ำดื่มแจกจ่ายช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัย
4) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้ประสานงานให้ นขต.ศบภ.ทบ. จัดกำลังพล 2,855 นาย รถยนต์บรรทุก 216 คัน และเรือท้องแบน 29 ลำ ให้การช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ประสบอุทกภัย พร้อมรับบริจาคเงิน และสิ่งของจากองค์กรภาคเอกชน ประชาชน ยอดบริจาค จำนวน 6,516,261.65 บาท
6. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 07.00 น วันที่ 23 ต.ค.49 ถึง 07.00 น วันที่ 24 ต.ค.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดพิษณุโลก (อ.ชาติตระการ) 16.0 มม. กรุงเทพมหานคร (เขตประเวศ) 49.0 มม.จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อ.กาญจนดิษฐ์) 80.4 มม. จังหวัดพัทลุง (อ.เมือง) 43.8 มม.จังหวัดพังงา (อ.ตะกั่วป่า) 23.6 มม. จังหวัดนครศรีธรรมราช (อ.เมือง) 127.6 มม.จังหวัดสตูล (อ.เมือง) 31.4 มม. (อ.เชียรใหญ่) 110.0 มม.
7. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูลวันที่ 24 ต.ค. 2549) โดยกรมชลประทาน
- เขื่อนภูมิพล ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 13,307 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 155 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น ร้อยละ 99 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด วันนี้มีการระบาย 23.62 ล้าน ลบ.ม.
- เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 9,469 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 41 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 100 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด วันนี้มีการระบาย 18.35 ล้าน ลบ.ม.
- เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 950 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 10 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 99 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด วันนี้มีการระบาย 22.00 ล้าน ลบ.ม.
8. ปริมาณน้ำเจ้าพระยาที่ทำให้เกิดอุทกภัยเปรียบเทียบปี 2538, 2545 และ 2549
ที่ ปริมาณน้ำไหลผ่าน ปี 2538 ลบ.ม./วาที ปี 2545 ลบ.ม./วินาที ปี 2549 ลบ.ม./วินาที(24 ต.ค.49) หมายเหตุ
1 นครสวรรค์ 4,820 3,886 4,795 จังหวัดนครสวรรค์สูงสุดเมื่อวันที่
18 ตุลาคม 2549 5,960 ลบ.ม./วินาที
และลดลงอย่างต่อเนื่อง
2 เขื่อนเจ้าพระยา 4,557(5 ต.ค. 2538) 3,930 (10 ต.ค. 2545) 4,030 (24 ต.ค. 2549)
3 เขื่อนพระรามหก 1,473 1,216 256
4 อำเภอบางไทร 5,451 4,288 3,538
หมายเหตุ ๏ ปริมาณน้ำที่ผ่านอำเภอบางไทร เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 จำนวน 3,538 ลบ.ม./วินาที เป็นตัวเลขจากการตรวจวัดจริง
9. สภาพน้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและแนวโน้มสถานการณ์น้ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2549 โดยกรมชลประทาน)
- ปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำสูงสุด 5,960 ลบ.ม./วินาที เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2549 เวลา 06.00 น. เริ่มลดลงในวันที่ 19 ตุลาคม 2549 และลดลงอย่างต่อเนื่องมาจนถึง วันที่ 24 ตุลาคม 2549 มีปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 4,795 ลบ.ม./วินาที เมื่อเวลา 06.00 น. และยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
- ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท มีปริมาณน้ำสูงสุด 4,188 ลบ.ม./วินาที เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2549 เวลา 06.00 น. ปริมาณน้ำทรงตัวและเริ่มลดลงเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2549 และลดลงอย่างต่อเนื่องมาจนถึง วันที่ 24 ตุลาคม 2549 มีปริมาณน้ำไหลผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา 4,030 ลบ.ม./วินาที เมื่อเวลา 06.00 น. และยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
- ปริมาณน้ำที่ล้นตลิ่งและผันเข้าทุ่งทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงระหว่าง จ.ชัยนาท - จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำผันและล้นตลิ่งเข้าทุ่ง 1,177 ลบ.ม./วินาที เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2549 และ มีปริมาณน้ำเข้าทุ่งน้อยลงโดยลำดับมาจนถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2549 มีปริมาณน้ำผันและล้นตลิ่งเข้าทุ่ง 622 ลบ.ม./วินาที
- ปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำสูงสุด 3,719 ลบ.ม./วินาที เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2549 ปริมาณน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2549 ปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอบางไทร 3,538 ลบ.ม./วินาที
จากสถานการณ์น้ำดังกล่าว คาดการณ์ว่าในวันที่ 25 ตุลาคม 2549 มีปริมาณน้ำไหลผ่านอำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์จะอยู่ในเกณฑ์ 4,500 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์ 4,000 ลบ.ม./วินาที และปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 4,000 ลบ.ม./วินาที
สำหรับโครงการหาความสัมพันธ์ของระดับน้ำและปริมาณน้ำปากแม่น้ำเจ้าพระยา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถตรวจวัดระดับน้ำ และคาดการณ์ระดับน้ำล่วงหน้าได้ ดังนี้
ระดับน้ำที่สถานีบางไทร (ระดับตลิ่ง +4.09 ม.รทก.) เมื่อวันที่ 23 ต.ค.49 สูงสุด +3.35 ม.(รทก.) เวลา 01.00 น. คาดการณ์วันที่ 24 ต.ค.49 สูงสุด +3.35 ม. (รทก.) เวลา 01.15 น.
ระดับน้ำที่สถานีปทุมธานี (ระดับตลิ่ง 2.84 ม.รทก.) เมื่อวันที่ 23 ต.ค.49 สูงสุด +3.05 ม.(รทก.) เวลา 21.15 น. คาดการณ์วันที่ 24 ต.ค.49 สูงสุด +3.06 ม. (รทก.) เวลา 00.00 น.
ระดับน้ำที่สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า (ระดับตลิ่ง +2.50 ม. รทก.) เมื่อวันที่ 23 ต.ค.49 สูงสุด +1.87 ม.(รทก.) เวลา 18.30 น. คาดการณ์วันที่ 25 ต.ค.49 ภาคเช้าสูงสุด +2.20 ม.(รทก.) เวลา 08.30 น. ภาคบ่ายสูงสุด+ 2.10 ม.รทก. เวลา 19.45 น.
10. การบริหารจัดการน้ำหลากในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ของกรมชลประทาน
(1) ดำเนินการส่งน้ำเพิ่มเติมเข้าพื้นที่ชลประทานในช่วงน้ำหลาก มีพื้นที่รับน้ำในพื้นที่ชลประทาน 8 จังหวัด รวมทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก 1.19 ล้านไร่ โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2549 จนถึงวันที่ 23 ตุลาคม 2549 คิดเป็นปริมาตรน้ำ ประมาณ 514 ล้านลูกบาศก์เมตร
(2) เร่งระบายน้ำในพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตอนล่างลงแม่น้ำท่าจีน ลงคลองมหาชัย ลงทะเล เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 ดังนี้
- ระบายและสูบน้ำออกสู่แม่น้ำท่าจีน วันละ 15.07 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ระบายและสูบน้ำออกสู่คลองมหาชัย วันละ 3.06 ล้านลูกบาศก์เมตร
(3) เร่งระบายน้ำในพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างลงแม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกง และลงทะเลอ่าวไทย เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 ดังนี้
- ระบายและสูบน้ำลงแม่น้ำนครนายก วันละ 2.13 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ระบายและสูบน้ำลงแม่น้ำบางปะกง วันละ 4.01 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ระบายและสูบน้ำจากคลองชายทะเลลงอ่าวไทย วันละ 18.42 ล้านลูกบาศก์เมตร
(4) เร่งระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ ซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ย่นระยะเดินทางของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจาก 18 กิโลเมตร เหลือ 600 เมตร ให้ระบายลงทะเลได้เร็วขึ้น สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 ระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ลงแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 42.55 ล้านลูกบาศก์เมตร
(5) ลดการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลงแม่น้ำป่าสัก เพื่อควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหกลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ให้อยู่ในเกณฑ์ 250 ลบ.ม./วินาที ทั้งนี้เพื่อช่วยลดปริมาณน้ำหลากแม่น้ำเจ้าพระยาให้ลดลงก่อนไหลผ่าน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ในช่วงระหว่างวันที่ 23-26 ตุลาคม 2549 ให้อยู่ในเกณฑ์ ไม่เกิน 4,000 ลบ.ม./วินาที
(6) ลดการระบายน้ำจากเขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และปิดการระบายน้ำจากเขื่อนนายก จ.นครนายก ทั้งนี้ เพื่อลดปริมาณน้ำในแม่น้ำนครนายกให้ลดลง เพื่อช่วยให้ผันน้ำจากคลองระพีพัฒน์ส่วนหนึ่งให้ไหลไปลงแม่น้ำใน แล้วสูบออกลงสู่แม่น้ำนครนายก
(7) กรมชลประทานได้ขอความร่วมมือจากสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร งดสูบน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงจังหวะที่น้ำทะเลขึ้นของแต่ละวัน
(8) ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมที่ ประตูระบายน้ำกลางคลองหกวา (เครื่องสูบน้ำขนาด 28 นิ้ว 2 เครื่อง) ประตูระบายน้ำกลางคลองแสนแสบ (เครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว 1 เครื่อง) และที่ประตูระบายน้ำกลางคลองประเวศ (เครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว 2 เครื่อง) ทางทุ่งฝั่งตะวันออกตอนล่าง เพื่อลดระดับน้ำบริเวณมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำตามพระราชดำริ ฝั่งตะวันออก ซึ่งเกิดปัญหาน้ำท่วมขังอยู่ สูบน้ำลง แม่น้ำบางปะกง และคลองชายทะเล ลงสู่อ่าวไทยให้เร็วยิ่งขึ้น
(9) ดำเนินการตรวจวัดปริมาณน้ำที่จุดควบคุมและติดตามน้ำ เช่น อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนพระรามหก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสะพานพุทธยอดฟ้าฯ เป็นต้น เพื่อส่งข้อมูลและประชาสัมพันธ์ให้กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมีเจ้าหน้าปฏิบัติงานที่ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง
11. จากการตรวจสอบสภาวะฝนจากสถานีเรดาร์อุตุนิยมวิทยา ในวันนี้ (24 ต.ค.49) เวลา 17.30 น. พบ กลุ่มฝนกำลังอ่อน ปกคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย หนองคาย ขอนแก่น มหาสารคาม บุรีรัมย์ ลพบุรี ระยอง ราชบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และยะลา
12. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2549 เวลา 17.00 น.
ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ทำให้มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะจังหวัด สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราชให้ระมัดระวังภัยจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากใน 1-2 วันนี้
13. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4,11,12 และรวมทั้งจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ ที่คาดว่าจะเกิดภัยให้เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวร เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับ อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
14. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ