กรุงเทพฯ--25 ส.ค.--ปภ.
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย (ระหว่างวันที่ 18-25 ส.ค.49)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 3 จังหวัด 16 อำเภอ 2 กิ่งฯ 73 ตำบล 353 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดน่าน เชียงราย และสุโขทัย
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 2 คน (อำเภอบ่อเกลือ 1 คน อำเภอเวียงสา 1 คน จังหวัดน่าน) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 110,987 คน 37,148 ครัวเรือน อพยพ 38,913 คน
2) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 16 หลัง บางส่วน 464 หลัง (จ.น่าน)
3) ด้านทรัพย์สิน ถนน 149 สาย สะพาน 64 แห่ง พื้นที่การเกษตร 23,846 ไร่ วัด 52 แห่ง โรงเรียน 79 แห่ง สถานที่ราชการ 25 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 303 แห่ง บ่อปลา 592 บ่อ (เป็นการสำรวจเบื้องต้น)
1.3 มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
2. พื้นที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย
3. พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน และสุโขทัย
3.1 จังหวัดน่าน มีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 12 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอท่าวังผา อำเภอเมืองน่าน อำเภอปัว อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอบ่อเกลือ อำเภอสองแคว อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเวียงสา อำเภอบ้านหลวง อำเภอนาน้อย อำเภอแม่จริม และกิ่งอำเภอภูเพียง
1) เริ่มคลี่คลายแล้ว 11 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอปัว อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอบ่อเกลือ อำเภอสองแคว อำเภอท่าวังผา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอบ้านหลวง อำเภอแม่จริม กิ่งอำเภอภูเพียง อำเภอนาน้อย และอำเภอเมือง
2) ยังคงมีน้ำท่วมขังที่อำเภอเวียงสา จำนวน 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลไหล่น่าน (หมู่ที่ 1,8) และตำบลขึ่ง (หมู่ที่ 3) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10 ม. ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในเย็นวันนี้
* ระดับน้ำที่จุดวัดน้ำ
- สถานี (N.1) (เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 25 ส.ค.49) หน้าสำนักงานป่าไม้จังหวัด อำเภอเมือง ระดับน้ำสูง 4.89 ม.(ระดับตลิ่ง 7.00 ม.) ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 2.11 ม. ระดับน้ำลดลง
- สถานี (N.13 A) (เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 25 ส.ค.49) อำเภอเวียงสา ระดับน้ำสูง 6.25 ม. (ระดับตลิ่ง 8.00 ม.) ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 1.75 ม. ระดับน้ำลดลง
3) กรณีแผ่นดินเกิดรอยแยกที่อำเภอเชียงกลาง บริเวณบ้านกอกหมู่ที่ 8 ตำบลเชียงกลาง และที่อำเภอทุ่งช้าง บริเวณบ้านน้ำเพาะ หมู่ที่ 10 ตำบลและ นั้น ได้มีการดำเนินการดังนี้
(1) อำเภอเชียงกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อพยพราษฎรบ้านกอก จำนวน 38 ครัวเรือน 180 คน ไปไว้ที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา (ภูแว) และอำเภอทุ่งช้าง ร่วมกับ อบต.และได้อพยพราษฎรบ้านน้ำเพาะ จำนวน 46 ครัวเรือน 192 คน ไปไว้ที่อาศรมท้ายหมู่บ้านซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดภัย
(2) กรมทรัพยากรธรณีได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพื้นที่รอยแยกเพื่อตรวจวิเคราะห์พื้นที่ดังกล่าวแล้ว
4) การให้ความช่วยเหลือ
(1) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก นำเรือท้องแบน จำนวน 15 ลำ ถุงยังชีพ จำนวน 2,000 ชุด ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ รวมทั้งให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 8 กำแพงเพชร เขต 10 ลำปาง เขต 2 สุพรรณบุรี และเขต 6 ขอนแก่น นำเรือท้องแบน จำนวน 26 ลำ ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมเรือท้องแบนที่ปฏิบัติงานในการช่วยเหลือ จำนวน 41 ลำ
(2) จังหวัดทหารบกน่าน นพค. 31 ตชด.324 ตชด.325 ม.พัน 10,15 อปพร. อาสาสมัคร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ออกดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(3) กองทัพบก (ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทบ. กองทัพภาคที่ 3 หน่วยทหารในพื้นที่) สนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 5 ลำ และเรือท้องแบน จำนวน 22 ลำ รถบรรทุก จำนวน 62 คัน เจ้าหน้าที่ 706 นาย ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(4) มูลนิธิร่วมกตัญญู สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 2 ลำ เครื่องมือกู้ภัย รถบรรทุก 2 คัน เจ้าหน้าที่ 100 นาย ถุงยังชีพ 1,200 ชุด
(5) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 1 ลำ รถยนต์ 4 คัน เจ้าหน้าที่ 34 นาย ถุงยังชีพ 2,270 ชุด ข้าวกล่อง 2,270 กล่อง และน้ำดื่ม 2,270 ขวด และตั้งโรงทานประกอบอาหารเลี้ยงประชาชนผู้ประสบภัย ณ เทศบาลเมืองน่าน
(6) กรมชลประทานสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 15 เครื่อง ในการเร่งระบายน้ำ
(7) เหล่ากาชาดจังหวัดน่าน แจกจ่ายอาหารข้าวกล่อง 10,000 กล่อง/น้ำดื่ม 10,000 ขวด
(8) กองบิน 2 จังหวัดลพบุรี ได้สนับสนุน เฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ เรือท้องแบน 5 ลำ
(9) กระทรวงสาธารณสุข จัดส่งทีมแพทย์และเวชภัณฑ์ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(10) เทศบาลเมืองน่าน แจกจ่ายอาหาร ข้าวกล่อง จำนวน 10,000 กล่อง น้ำดื่ม 10,000 ขวด ถุงยังชีพ 500 ชุด
(11) กิ่งอำเภอภูเพียง แจกจ่ายอาหารข้าวกล่อง 4,000 กล่อง น้ำดื่ม 8,000 ขวด
(12) องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 2 ลำ รถบรรทุก 6 คัน
สรุปการให้ความช่วยเหลือ
1) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจากทุกหน่วย จำนวน 3,658 คน
2) เรือท้องแบน จำนวน 118 ลำ
3) รถขุด จำนวน 3 คัน/รถไฟฟ้าส่องสว่าง,รถเครน 14 คัน/เฮลิคอปเตอร์ 7 ลำ
4) ถุงยังชีพ 17,000 ชุด ข้าวกล่อง 60,000 กล่อง/น้ำดื่ม 100,000 ขวด
5) ยารักษาโรคจากกระทรวงสาธารณสุข 5,500 ชุด
6) รถยนต์/รถบรรทุกและรถน้ำ 188 คัน เครื่องจักรกลชุดซ่อมทาง 4 ชุด
7) ชูชีพ 180 ชุด
8) รถโลว์บอย 3 คัน
9) กระสอบทราย 5,500 ถุง
10) เครื่องสูบน้ำชลประทาน จำนวน 15 เครื่อง
3.2 จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากฝนตกหนักระหว่างวันที่ 19-22 ส.ค.49 ทำให้ระดับน้ำในลำน้ำยมเพิ่มสูงขึ้นเอ่อล้นตลิ่งท่วมขังในที่ลุ่มพื้นที่การเกษตร ที่อำเภอศรีสำโรง บริเวณตำบลบ้านนา ตำบลวังทอง ตำบลวังใหญ่ และที่อำเภอเมือง บริเวณหมู่ที่ 2 และ5 ตำบลปากแคว ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม. คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงเย็นวันนี้
- การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย จังหวัดสุโขทัยได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมชลประทาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการวางกระสอบทรายเป็นแนวป้องกันและระดมเครื่องจักร เครื่องมือ ในการกำจัดขยะและวัชพืชที่มาอุดตันบริเวณบ้านยางซ้าย อำเภอเมือง เพื่อให้การระบายน้ำไหลคล่องตัวขึ้น
4. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 07.00 น วันที่ 24 ส.ค.49 ถึง 07.00 น วันที่ 25 ส.ค.49 วัดได้ ดังนี้
จังหวัดร้อยเอ็ด (อ.เมืองสรวง) 180.5 มม.
จังหวัดตราด (อ.คลองใหญ่) 130.6 มม.
จังหวัดน่าน (อ.ทุ่งช้าง) 58.6 มม.
5. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ
- เขื่อนภูมิพล ปริมาตรน้ำในอ่าง ฯ 9,783 ล้าน ลบ.ม.(รับได้อีก 3,679 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 73 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำในอ่าง 7,085 ล้าน ลบ.ม. (รับได้อีก 2,425 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็น ร้อยละ 74 ของความจุอ่าง ฯ ทั้งหมด
- อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ปริมาตรน้ำ 713.17 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 100.45 ของความจุ มีการระบายน้ำ จำนวน 104.00 ลบ.ม./วินาที เพื่อให้มีน้ำเหลือในอ่าง ฯ ประมาณร้อยละ 71 ของความจุอ่าง ฯ ในช่วงต้นเดือนตุลาคม
6. จากการตรวจสอบสภาวะฝนจากสถานีเรดาร์อุตุนิยมวิทยา ในวันนี้ (25 ส.ค.49) เวลา 14.30 น. พบว่ากลุ่มฝนกำลังอ่อนถึงปานกลาง ปกคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ ลำปาง ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี เลย เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี และระนอง
7. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 25 สิงหาคม 2549 เวลา 12.00 น.
ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีฝนตกหนาแน่นมากกว่าภาคอื่นๆ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนที่มีบ้านเรือน อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่ลุ่มของภาคเหนือบริเวณจังหวัดน่าน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และยโสธร ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักในระยะ 1-2 วันนี้
8. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประกาศ แจ้งเตือนให้ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 6,7,8,9 และ 10 รวมทั้งจังหวัดในพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดภัย ให้เตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่ม ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานงานกับ อำเภอ กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นในจังหวัดใด ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ฯ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดนั้นจัดเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลเข้าสนับสนุนทันที
9. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
(กลุ่มงานปฏิบัติการ) โทร. / โทรสาร 0-2241-7450 - 6 สายด่วน 1784