กรุงเทพฯ--8 ต.ค.--พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส
เนสท์เล่ ร่วมสนับสนุนงานประชุมโภชนาการนานาชาติ ครั้งที่ 19 หรือ the 19th International Congress of Nutrition (ICN 2009) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 4-9 ตุลาคม 2552 ที่ไบเทค บางนา และนับเป็นครั้งที่สองที่จัดขึ้นในเอเชีย แนวคิดหลักของการประชุมเชิงวิชาการระดับโลกในปีนี้ คือ “ความมั่นคงทางโภชนาการทั่วหน้า” (Nutrition Security for All)
นับเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยที่ได้เป็นเจ้าบ้านต้อนรับนักวิชาการและนักวิจัยด้านโภชนาการที่มีชื่อเสียงจากทุกมุมโลก มานำเสนองานวิจัยแถวหน้า รวมทั้ง 22 อรหันต์ทางด้านโภชนาการของโลก นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย 200 หัวข้อที่คัดสรรจากผู้เสนอผลงานเข้ามามากกว่า 1,000 เรื่อง เป็นเวทีการประชุมที่สำคัญที่เปิดโอกาสให้นักโภชนาการของไทยได้ร่วมแสดง ผลงานงานวิจัย ตลอดจนแลกเปลี่ยนนวัตกรรมและองค์ความรู้ทางด้านโภชนาการใหม่ๆ เพื่อนำมาพัฒนาโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคต่อไปในระยะยาวด้วย
บทบาทของเนสท์เล่ ในการประชุมโภชนาการนานาชาติ ครั้งที่ 19
บนเวทีที่สำคัญครั้งนี้ เนสท์เล่ ได้เชิญทีมคณะวิทยาศาสตร์และนักโภชนาการ หลายประเทศ ประสบการณ์โชกโชน นำโดย ลินด์เซย์ อัลเลน ศาสตราจารย์จากโครงการ โภชนาการนานาชาติ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่งเดวิส สหรัฐอเมริกา, เวนคาเทช แมนนาร์ ประธานโครงการ Micronutrient Initiative, ซู ฮอร์ตัน ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จาก Laurier และผู้เชี่ยวชาญอีกสามท่าน คือ แพทริก เวบ, พี พิงกาลี และ เอ็น โซโลมอน
ในขณะที่ทีมผู้เชี่ยวชาญจากฝ่ายเนสท์เล่ เอส เอ สวิตเซอร์แลนด์ นำโดย เฟอร์ดินันด์ ฮาชเก จากฝ่ายโภชนาการเนสท์เล่, นีลส์ คริสเตียนเสน รองประธาน กิจการสาธารณะ และ ดร. ฮิลารี กรีน ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารการวิจัยและพัฒนา พร้อมด้วยนักวิทยาศาตร์ และนักโภชนาการอีกกว่า 40 คน
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่เนสท์เล่ นำเสนอในงานประชุมครั้งนี้ ได้แก่เรื่อง ภาวะความไม่มั่นคงทางโภชนาการ: ทำอย่างไรให้การร่วมมือแก้ปัญหาจากทุกภาคส่วนประสบผลสำเร็จ และ อาหารที่อุดมด้วยโภชนาการกับการยกระดับสุขภาพและคุณชีวิต ของชุมชน
เนสท์เล่ เน้นงานวิจัยเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
เนสท์เล่ ถือเป็นหนึ่งในองค์กรภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญต่อโภชนาการด้านอาหารเป็นอย่างมาก จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาตลอดระยะเวลา 140 ปี เนสท์เล่ ได้มีระบบการวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งป็นแรงขับเคลื่อนในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ โดยมีศูนย์วิจัยเนสท์เล่ ซึ้งตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับเครือข่ายศูนย์วิจัยและพัฒนาของบริษัทอีก 27 แห่งทั่วโลก ทำการวิจัยด้านอาหารและโภชนาการ อย่างมากมาย ซึ่งมีพนักงานกว่า 5,000 คนทั่วโลก ทุ่มเทในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพ มีโภชนาการที่เหมาะสม ที่ได้รับความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์จากผู้บริโภคทั่วโลก
ผู้บริโภค คือ ศูนย์กลางงานวิจัยของเนสท์เล่
การทำให้ผู้บริโภคทั่วโลกสามารถเข้าถึงอาหารคือหนึ่งในภาระกิจที่สำคัญของผู้ผลิตอาหารอย่างเนสท์เล่ เนสท์เล่เชื่อว่าประชาชนในทุกระดับรายได้ ทั่วทุกมุมโลกมีสิทธิพื้นฐานในการที่จะได้เข้าถึงอาหาร และอาหารที่บริโภคนั้นจะต้องมีความสมดุลทางโภชนาการที่ดี
ความตั้งใจของเนสท์เล่มีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง และโดยเหตุที่ผู้บริโภคมีความหลากหลาย ทั้งในด้านภาวะสุขภาพ ร่างกาย ช่วงวัยอายุ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตขึ้นจะต้องมีความหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ ทุกคนมีความต้องการอาหารที่มีโภชนาการที่ดี เพื่อการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
ดังนั้นคำตอบในเรื่องนี้ ก็คือการวิจัยพัฒนาซึ่งต้องอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เพื่อการได้มาซึ่งอาหารที่มีโภชนาการที่ดีสำหรับทุกๆ คนที่มีภาวะโภชนาการแตกต่างกัน บางครั้งแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว บ้างอยู่ในภาวะโรคอ้วนซึ่งเกิดจากการบริโภคมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะโภชนาการเกิน ในทางกลับกัน การบริโภคที่ไม่สมดุล ที่เป็นภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งเกิดจากการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง หรือที่เรียกว่า การเกิดภาวะโภชนาการขาด นั่นเอง
เร่งพัฒนานวัตกรรม เพื่อสนองการกินดีอยู่ดีของผู้บริโภค
ในการทำงาน เนสท์เล่จะยึดการวิจัยตามหลักวิทยาศาสตร์เป็นตัวขับเคลื่อน ทำให้สามารถตอบสนองผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ เนสท์เล่ยังมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ และสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ในทุกขั้นตอน ด้วยการเปิดกว้างรับความคิดใหม่ๆ จากทุกช่องทาง โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ของเนสท์เล่ที่ ศูนย์วิจัยเนสท์เล่ และศูนย์วิจัยผลิตภัณฑ์เนสท์เล่ทั่วโลกทำงานอย่างเข้มแข็ง และให้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลกในการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการให้แก่ชุมชนโลก
นวัตกรรมอาหารของเนสท์เล่ เกิดจากเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่มีผลดีต่อการดำรงชีวิต และการกินดี อยู่ดี ของผู้บริโภค ครอบคลุมด้านต่างๆ อาทิ
- สารอาหารที่ให้พลังงานและการควบคุมน้ำหนัก
- การเจริญเติบโต และการพัฒนา
- สมรรถภาพด้านกายภาพ และสุขภาพจิต
- การย่อยอาหารที่สบาย
- การคุ้มกันโรค
- สุขภาพผิว และความงาม
- การเข้าสู่ชราภาพ
- การฟื้นฟูสุขภาพ
การทำงานของศูนย์วิจัย เนสท์เล่ทั่วโลก ยึดหลักปฏิบัติที่เป็นวิทยาศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต (Life Science) นั่นก็คือการพัฒนาดำเนินไปเพื่อสนองกับการกินดีอยู่ดีของผู้บริโภค ในการเป็นผู้นำในเรื่องนวัตกรรมโภชนาการแห่งอนาคต เนสท์เล่ใช้กลยุทธ์
- ประการแรก ค้นหาความต้องการของผู้บริโภคเพื่อนำมาถ่ายทอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีพื้นฐานจากวิทยาศาสตร์ที่ล้ำหน้า
- ประการที่สอง นำเอาความเชี่ยวชาญที่เนสท์เล่มีอยู่อย่างกว้างขวางมาใช้ให้มากที่สุด
- ประการที่สาม ซึ่งเป็นหัวใจของการก้าวไปสู่การได้มาซึ่งโภชนาการในอนาคตอย่างรวดเร็วคือการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยและศูนย์วิจัยภายนอกบริษัท เพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่ล้ำยุค การที่พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันเกิดขึ้นในอัตราที่เร่งเร็ว ทำให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งรวมทั้งเนสท์เล่ด้วย ไม่สามารถมีความรู้ครบทุกสาขาได้ และไม่สามารถพัฒนาไปสู่การค้นพบที่สำคัญจากภายในบริษัทเท่านั้น โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมาที่เนสท์เล่ได้เริ่มเสาะหานวัตกรรมจากภายนอกบริษัทอย่างจริงจัง นอกเหนือไปจากการพัฒนาด้วยตนเอง ปัจจุบันมีหน่วยงานภายนอกก็ได้แก่มหาวิทยาลัย และสถาบันวิชาการต่างๆ ซึ่งเนสท์เล่ร่วมทำงานด้วยกว่า 300 แห่งทั่วโลก
มุมมองของเนสท์เล่ ต่อแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมโภชนาการ
- Personalized Nutrition ความก้าวหน้าในด้าน nutrigenomics และ metabonomics คือฐานสำหรับก้าวไปสู่การสร้างอาหารที่ออกแบบมาเฉพาะเจาะจงให้ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะด้าน โดยนักวิจัยของเนสท์เล่ทำงานวิจัยด้าน functional genomics และ metabonomics เพื่อให้เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่าง specific dietary preferences, genetic make-up และ metabolic phenotypes เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอาหารที่มีโภชนาการเหมาะสมกับความต้องการที่ต่างกันในแต่ละกลุ่ม
- อาหารยอดนิยมที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ในวงกว้าง (Affordable Nutrition: Popularly Positioned Products) ภารกิจที่สำคัญอีกประการของผู้ผลิตอาหารระดับโลกคือการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจากทั่วโลกเข้าถึงได้ในราคาที่ สามารถซื้อหาได้ อย่างเช่นคนทั่วโลกยังไม่สามารถเข้าถึงน้ำที่สะอาดและโภชนาการที่ดีได้ เพราะมีราคาสูงและไม่สามารถซื้อหาได้ ด้วยเหตุนี้ทำให้คนทั่วโลกยังมีสภาพการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาร่างกาย (micronutrient deficiencies) ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นและได้รับความนิยมเช่น น้ำดื่ม Pure Life และผลิตภัณฑ์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แม็กกี้ Maggi 2 min noodles
หนึ่งในปณิธานของเนสท์เล่ คือการมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคในทุกระดับ เนสท์เล่ ถือว่าผู้บริโภคทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะเข้าถึงอาหารที่มีโภชนาการ แม้แต่ผู้มีรายได้น้อยก็สามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ และมีโภชนาการที่ดีเช่นเดียวกับผู้ที่มีรายได้สูง ความมีสิทธิพื้นฐานที่เท่าเทียมกันนี้คือพื้นฐานของสังคมที่ดี เป็นหน้าที่ของเนสท์เล่ที่จะจัดหาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสารอาหารทางโภชนาการที่ดีมาตอบสนองคนทุกกลุ่ม ทุกวัยในสังคมโดยไม่แบ่งแยก
เนสท์เล่จึงเชื่อมั่นว่า งานประชุมโภชนาการนานาชาติ ครั้งที่ 19 (ICN 2009) นี้ จะเป็นเวทีสำคัญที่จะช่วยผลักดันความก้าวหน้าทางด้านอาหารและโภชนาการของโลกและของไทยด้วย อีกทั้งยังเป็นรากฐานที่สำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยได้พัฒนาวิทยาศาสตร์ด้านอาหารก้าวเข้าไปอยู่ในกลุ่มแนวหน้าของโลกในด้านนี้ต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ:
บงกช แพบรรยง / บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด
โทรศัพท์ 02 2657 8827
E-mail: bongkod.paebunyong@th.nestle.com
ปิยะภัทร์ สุริยศักดิ์ / พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส
โทรศัพท์ 02 651-8989 ต่อ 442
E-mail: piyapatr@prassociates.net