กรุงเทพฯ--13 ต.ค.--มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยไม้ กลายเป็นหิน และทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา ได้แถลงข่าวการค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลก 2 ชนิด ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อาคารมณียา เซ็นเตอร์ ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ โดยมี นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เศาวนิต เศาณานนท์ อธิการบดี ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ และนักวิจัยผู้ค้นพบ ดร.รัตนาภรณ์ หันตา และดร.ชวลิต วิทยานนท์ ได้แถลงข่าวการค้นพบ สัตว์ชนิดใหม่ของโลก 2 ชนิด คือฟอสซิลหมูป่าและกระเบนบัว สำหรับฟอสซิลหมูป่าดึกดำบรรพ์เป็นฟอสซิลชนิดที่ 3 ต่อจากช้างและ ไดโนเสาร์ ซึ่งบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยาของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดร.รัตนาภรณ์ หันตา นักวิจัยผู้ค้นพบฟอสซิล หมูป่าดึกดำบรรพ์ กล่าวว่า “ฟอสซิลหมูป่า สกุล Merycopotamus เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กินพืช โดยได้ค้นพบส่วนหัว ที่บริเวณแหล่ง ขุดทรายลุ่มแม่น้ำมูล ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด นครราชสีมา
ในปี 2545 สันนิษฐานว่า ในอดีตบริเวณ ดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าผสม ทุ่งหญ้าและแหล่งน้ำ ซึ่งฟอสซิล ดังกล่าวมีสภาพสมบูรณ์ ลักษณะหัว กะโหลกเรียวและแบน มีรูจมูกอยู่ใน ระดับเดียวกับตา ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึง ลักษณะนิสัย และการใช้ชีวิตจะ คล้ายคลึงกับฮิปโปโปเตมัส ซึ่งคณะวิจัยได้ใช้เวลาประมาณ 3 ปีในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับฟอสซิลหมูป่าดึกดำบรรพ์ จนกระทั่งได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารติวิชาการระดับนานาชาติ ด้านบรรพชีวิน Journal of Vertebrate Paleonlogy ที่ได้รับการยอมรับ จากนักวิจัยทั่วโลก”
ด้าน ดร.ชวลิต วิทยานนท์ กล่าวว่า “สำหรับการค้นพบ ปลากระเบนชนิดใหม่ของโลก เรียกว่าปลากระเบนบัว หรือ กระเบน หางยาว สกุล Himantura มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 80 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร น้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัมบริเวณที่ค้นพบคือ ทะเลสาบ สงขลาซึ่งเป็นบริเวณเดียวกันกับที่มีการค้นพบโลมาหัวบาก”
ในการนี้นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภเผยว่า ในปีพ.ศ.2554 สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯจะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมซาก ดึกดำบรรพ์ของโลก เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 044-254000 nrrupr@gmail.com