กรมควบคุมโรคสหรัฐฯ ระบุสาเหตุการตายสำคัญของผู้ป่วยเอช 1 เอ็น 1 เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสซ้ำ แนะฉีดวัคซีนไอพีดีป้องกัน

ข่าวทั่วไป Thursday October 15, 2009 16:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ต.ค.--คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์ กรมควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา เผยผลการศึกษาพบผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในสหรัฐอเมริกา จำนวน 77 ราย พบว่าร้อยละ 29 หรือจำนวน 22 รายเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งเป็นเชื้อนิวโมคอคคัส นิวโมเนียอี ซึ่งเป็นเชื้อที่แพทย์อาจจะมองข้ามในผู้ป่วย ระบุเป็นเชื้อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนไอพีดี เตือนเด็กเล็กกลุ่มเสี่ยงสูง แนะวัคซีนไอพีดีช่วยป้องกันได้ คณะผู้เชี่ยวชาญ กรมควบคุมโรค และสำนักงานสุขภาพแห่งสหรัฐฯ กล่าวว่า จากรายงานดังกล่าวชี้ชัดว่า ในช่วงที่โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แพร่ระบาด เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสมีส่วนทำให้เกิดการเสียชีวิตโดยผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อซ้ำร่วมกับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้เริ่มระบาดในเดือนมิถุนายน และจะแพร่ระบาดหนักขึ้นในช่วงหน้าหนาว และช่วงที่เปิดเทอมหลังปิดภาคฤดูร้อน ซึ่งจำนวนผู้ป่วยได้ถูกรายงานจาก 50 รัฐ และจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในระยะยาวไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตน้อยกว่าไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล แต่จะมุ่งรุกรานเด็กเล็กมากกว่าไข้หวัดตามฤดูกาล ซึ่งกลุ่มเด็กเล็กเป็นกลุ่มที่ภูมิคุ้มกันโรคยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 สามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วในวงกว้างกว่าไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ดร.แมทธิว มัวร์ นักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคสหรัฐฯ เปิดเผยว่า แม้ว่าฤดูไข้หวัดใหญ่ระบาดได้ยุติแล้ว แต่โชคไม่ดีที่ยังคงมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่ติดเชื้อแบคทีเรียเพิ่มขึ้น โดยในช่วงแรกที่เกิดการระบาดไม่พบว่าผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ซึ่งบางทีแพทย์อาจจะมองข้ามไปประเด็นนี้ไป ซึ่งการทดสอบทางด้านคลินิกที่นำมาใช้ระบุการติดเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยโรคปอดบวม แต่ไม่สามารถนำมาใช้ระบุการติดเชื้อทั้งหมดได้อย่างละเอียด จากรายงานระบุในการระบาดครั้งล่าสุดในปี 1968, 1957 และ 1918 ว่า ผู้ป่วยหลายรายที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อสเต็ปโตคอคคัส นิวโมเนียอี (นิวโมคอคคัส), ฮีโมฟิลุส อินฟลูเรนซ่า, สเตฟิโลคอคคัส ออเรอัส และ สเตปโตคอคคัส กลุ่ม เอ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไขข้ออักเสบ และโรคต่อมทอลซิลและคอหอยอักเสบ ข้อมูลเพิ่มเติม วัคซีนไอพีดี สำหรับทารก และเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ได้รับการอนุมัติบรรจุอยู่ในแผนวัคซีนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา และฉีดให้กับเด็กเล็กทุกคนตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งช่วยป้องกันโรคปอดบวม ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในทารกและเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ขวบ จำนวนถึง 2 ล้านคนทั่วโลกทุกๆ ปี และยังพบว่าเป็นโรคแทรกซ้อนที่สำคัญที่อาจทำให้เด็กเล็กเสียชีวิตได้ นอกจากนี้วัคซีนดังกล่าวยังช่วยป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสรุนแรง อาทิเช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคติดเชื้อในกระแสเลือด อีกด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ บุษบา (บุษ) โทร. 0-2718-3800

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ