วาโซ่ เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ ขอเชิญร่วมอบรมและสัมมนาเรื่อง สัญญาจ้างแรงงาน และสารพันปัญหาการว่าจ้าง

ข่าวทั่วไป Friday January 6, 2006 11:58 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 ม.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง
ขอเชิญร่วมอบรมและสัมมนาเรื่อง สัญญาจ้างแรงงาน และสารพันปัญหาการว่าจ้าง Employment Contract and Case Study วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2549 เวลา 09.00-16.00 น. โรงแรมรอยัลปรินซ์เซสหลานหลวง ถ.หลานหลวง
ปัญหาการว่าจ้างและการทำสัญญาจ้างแรงงาน เป็นปัญหาที่มีการฟ้องศาลแรงงานกลางมากพอสมควร แต่ไม่สำคัญเท่ากับผู้ถูกฟ้อง คือฝ่ายนายจ้าง ทั้งๆ ที่เป็นผู้จัดทำสัญญา กลับเป็นฝ่ายแพ้คดีอย่างน่าเสียดาย ซึ่งปกติแล้ว ฝ่ายร่างสัญญา หรือฝ่ายจัดทำสัญญา จะเป็นฝ่ายได้เปรียบเกือบเสมอ เพราะต้องการสิ่งใดเป็นเครื่องผูกมัดลูกจ้าง ก็สามารถเขียนเป็นเงื่อนไขผูกพันเอาไว้ก่อนได้ คือ เขียนเอาเปรียบลูกจ้างไว้ก่อน เมื่อลูกจ้างจำใจต้องยอมเพราะอยากได้งานทำ หรือเพราะเหตุอื่นใดก็ตาม เมื่อได้ลงนามในฐานะของคู่สัญญาแล้ว เงื่อนไขตามข้อสัญญา ก็จะผูกมัดลูกจ้างให้เป็นไปตามสาระแห่งสัญญา
มีเรื่องแปลกแต่จริงมากมายหลายร้อยคดี ที่ศาลฎีกาตัดสินให้นายจ้างแพ้คดีในเรื่องเกี่ยวกับการว่าจ้าง และการทำสัญญาจ้างแรงงาน ทั้งนี้ ก็เพราะเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายบุคคล ฝ่ายสรรหาและจ้างงาน ฝ่ายบัญชีและการเงิน หรือผู้บริหารกิจการต่างๆ ก็ตาม ทำให้การสั่งการ หรือการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว เกิดข้อผิดพลาด ไม่รัดกุม ไม่เข้าที่ไม่เข้าท่า นายจ้างเสียหาย ขาดสิทธิทางการบริหาร และบางครั้งเป็นการผิดกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ดังนั้น จึงควรที่จะมาทำความเข้าใจให้ถูกต้องในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาในการว่าจ้าง และการทำสัญญาจ้างแรงงานโดยละเอียดพิสดารกันสักครั้ง
กำหนดการอบรม
08.30-09.00 ลงทะเบียน
09.00-16.30
1. สัญญาจ้างแรงงาน เป็นสัญญาต่างตอบแทน
- ลูกจ้างมาทำงาน นายจ้างต้องตอบแทนโดยการจ่ายค่าจ้างให้ เป็นเรื่องเข้าใจง่าย
- แต่ลูกจ้างหยุดงาน ลูกจ้างลางาน ทำไมนายจ้างต้องตอบแทน โดยการจ่ายค่าจ้างให้
- ทำไมลูกจ้างขาดงาน ละทิ้งหน้าที่ ศาลฎีกายังให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างอีก
- มีเหตุสุดวิสัย น้ำท่วมหนัก ไฟไหม้ ลูกจ้างไม่มาทำงาน ทำไมนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้
- ทำไมลูกจ้างตกลงรับค่าจ้าง 50% ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ จึงมีผลใช้บังคับได้ (คดีของ บริษัท ยูเนียนเท็คซ์
นิตติ้ง จำกัด)
- ทำไมนายจ้างเลิกกิจการ โดยจ่ายค่าชดเชยให้แล้ว ยังต้องจ่ายค่าจ้างต่ออีก 6 เดือน (คดีขององค์การ
อาหารสำเร็จรูป)
- สั่งพักงานกรรมการลูกจ้างโดยไม่ขออนุญาตศาลแรงงาน มีทางทำได้อย่างไรที่ชอบ(คดีของบริษัทไซ
มอนแอนด์แอสโซิเอทส์ จำกัด)
2. สัญญาจ้างแรงงาน เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ
- ทำสัญญาจ้างด้วยวาจา สัญญาจ้างแรงงานก็สมบูรณ์
- ไม่ได้ตกลงจ้าง ทำไมจึงกลายเป็นสัญญาจ้างโดยปริยาย มีองค์ประกอบอะไร
- ถ้าต้องการจ้างชั่วคราว แต่ไม่ทำเป็นหนังสือ กลับกลายเป็นลูกจ้างประจำได้อย่างไร
- สัญญาจ้างชั่วคราว กับจ้างเป็นประจำต่างกันที่ใด
3. สัญญาจ้างที่มีระยะเวลาการจ้างแน่นอน เลิกจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย มีองค์ประกอบอย่างไร
4. เหตุใดนายจ้างจึงมีสิทธิ์นำเอางานประจำ มาทำสัญญาจ้างเป็นช่วงๆ ได้โดยชอบ
5. ประโยชน์ของการทำสัญญาจ้างชั่วคราวเป็นช่วงๆ 7 ประการ มีอะไรบ้าง
6. สัญญาจ้างที่มีเวลาการจ้างแน่นอน ที่ถูกศาลฎีกาตัดสินว่า เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีระยะเวลาการจ้าง
แน่นอน มีลักษณะข้อความในสัญญาอย่างไร
7. หลักในการทำสัญญาจ้างแรงงาน
- เงื่อนไขในการจ้าง การทดลองงาน ระยะเวลาการจ้าง ลักษณะงานที่ทำ ค่าจ้าง วันเวลาทำงานปกติ
8. สิทธิของนายจ้าง
- มอบงานให้ลูกจ้างทำ โอนความเป็นนายจ้างให้กิจการอื่น เลิกสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างไร้ฝีมือ เรียกค่าเสีย
หายเมื่อออกจากงานโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า สั่งให้ทำงานและมอบหมายงาน การโยกย้ายสับเปลี่ยน
หน้าที่ การให้ความดีความชอบ การลงโทษลูกจ้าง
9. หน้าที่ของนายจ้าง
- จ่ายค่าจ้าง บอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกสัญญาจ้าง เหตุที่ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า 5 ประการ ออกใบ
สำคัญแสดงการทำ งาน (แม้ลูกจ้างถูกไล่ออก นายจ้างก็ต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้) จ่ายค่า
เสียหายให้แก่ลูกจ้าง
10. สัญญาห้ามลูกจ้างไปทำงานกับธุรกิจคู่แข่งขันหลังออกจากงาน ศาลฎีกาให้มีผลใช้บังคับได้
11. การจ่ายค่าจ้างตามผลงานศาลฎีกาให้เป็นจ้างแรงงาน
12. บรรณาธิการข่าว ศาลฎีกาให้เป็นจ้างทำของ
13. ทำงานอิสระ แต่อยู่ภายใต้ระเบียบของนายจ้าง ศาลฎีกาตัดสินให้เป็นจ้างแรงงาน
14. นายจ้างมอบให้ตัวแทนไปว่าจ้างคนงาน ตัวแทนไม่จ่ายค่าจ้าง ศาลฎีกาตัดสินให้นายจ้างต้องจ่ายซ้ำ
15. สัญญาจ้าง ทำขัดกฎหมายว่าด้วยศาลแรงงานได้ แต่ขัดกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไม่ได้
16. ตัวแทนขายประกันชีวิต ศาลฎีกาตัดสินไม่ใช่ลูกจ้าง
17. แม้จ่ายค่าจ้างตามผลสำเร็จของงาน แต่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา เป็นจ้างแรงงาน
18. กรรมการบริษัท ศาลฎีกาตัดสินว่ามิใช่ลูกจ้างบริษัท
19. ผู้ว่าจ้าง มิใช่นายจ้างของลูกจ้างผู้รับเหมา
20. ว่าจ้างปลูกสร้างบ้าน ศาลฎีกาตัดสินเป็นการจ้างแรงงานได้ ถ้าตกลงจ้างกันไม่ดี
21. ช่างตัดผม ศาลฎีกาตัดสินมิใช่ลูกจ้าง
22. สัญญาจ้างสิ้นสุด โดยลูกจ้างทำงานต่อมา ศาลฎีกาถือว่าเป็นลูกจ้างประจำ
23. นายจ้างเสนอสัญญาใหม่ให้ลูกจ้างลงนาม ลูกจ้างไม่ลงนาม ศาลฎีกาถือว่าลูกจ้างสละสิทธิ์ที่จะทำงาน
มีผลเท่ากับลาออก
24. นายจ้างเดิม โอนลูกจ้างไปทำงานบริษัทอื่น ลูกจ้างไม่ยินยอม ศาลฎีกาถือว่า เป็นการเลิกจ้าง
ที่ต้องจ่ายค่าชดเชย
25. นายจ้างรายแรก โอนลูกจ้างไปให้นายจ้างรายที่สอง ลูกจ้างต้องลง ต่อมานายจ้างที่สอง ขอโอนกลับไปให้
นายจ้างแรก ลูกจ้างไม่ตกลง ศาลฎีกาถือเป็นการเลิกจ้างที่ต้องจ่ายค่าชดเชยเช่นเดียวกัน
26. การไม่ขึ้นเงินเดือนให้ลูกจ้าง ศาลฎีกาไม่ถือเป็นการละเมิดต่อลูกจ้าง
27. ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างในระหว่างนัดหยุดงาน
28. ลูกจ้างทำงานไม่ได้ตามเป้าหมาย ศาลฎีกาตัดสินให้มีสิทธิได้ค่าจ้างเต็ม
29. สิทธิประโยชน์อื่นที่เกินกฎหมาย ศาลฎีกาตัดสินให้นายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์จ่ายหรือไม่จ่ายอย่างไรก็ได้
30. แม้ลูกจ้างทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ และได้ชำระบางส่วนแล้ว ศาลฎีกาก็อาจตัดสินให้ไม่ต้องชำระหนี้ได้
ถ้ามีเหตุผลที่ปราศจากมูลหนี้เดิม
31. ประเด็นที่ทำให้สัญญาจ้างทำของ กลายเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ศาลฎีกาว่ามีปัจจัยใดเป็นเครื่องบ่งชี้
32. ถาม — ตอบปัญหาที่สงสัย
วิทยากร
อ.รุ่งเรือง บุตรประคนธ์
- ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงาน
- อาจารย์สอนปริญญาโทในวิชากฎหมายแรงงาน และคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงาน
- ผู้ศึกษาค้นคว้าคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานมามากกว่า 28,000 คดี
- ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลและกฎหมายแรงงานให้แก่กิจการภาคเอกชน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
โทร.0-29062211-2--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ