“ภาวะเศรษฐกิจถดถอยสิ้นสุดแล้ว!” เตรียมพร้อมสำหรับการฟื้นฟูที่ยาวนานและไม่มั่นคง

ข่าวอสังหา Friday October 16, 2009 09:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--แกรนท์ ธอร์นตัน วันนี้ แกรนท์ ธอร์นตัน เผยแพร่ “รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติสำหรับประเทศไทย” หรือ “International Business Report: Thailand Country Focus” ซึ่งเทียบเคียงประเทศไทยกับอีก 35 ประเทศด้วยเครื่องบ่งชี้ต่างๆ รวมทั้งทัศนคติด้านบวกต่อเศรษฐกิจ, ความคาดหวังทางธุรกิจ, ข้อจำกัดทางธุรกิจ, และเครื่องบ่งชี้ทางเศรษฐกิจ รายงานสำหรับปีนี้ยังมีการประเมินถึงประเด็นเพิ่มเติมอื่นๆ ได้แก่ การระดมทุน, ผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหาร, การพัฒนาทักษะ และสิ่งแวดล้อม โดยนำเสนอทางแก้ไขและสิ่งที่ควรดำเนินการเพื่อการรับมือกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความซับซ้อน ภาพรวมสำหรับทั่วโลก วิกฤตการณ์ทางการเงินส่งผลให้กลุ่มเศรษฐกิจทั่วโลกโคจรเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยและต้องผันเปลี่ยนแผนงานตลอดจนภาพรวมสำหรับธุรกิจต่างๆ รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน (The Grant Thornton International Business Report 2009 หรือ IBR 2009) ประเมินความคิดเห็นของนักบริหารธุรกิจเอกชน 7,200 คนจาก 36 กลุ่มเศรษฐกิจ โดยการสำรวจของปีนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 17 ที่แกรนท์ ธอร์นตัน ดำเนินการรวบรวมข้อมูลการสำรวจ ตรงกับช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลกในระดับที่เรียกได้ว่าแทบจะไม่เคยมีมาก่อน เพราะเป็นการรวมเอาวิฤตการณ์อย่างรุนแรงทางการธนาคารในหลายกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว การบีบคั้นของการให้สินเชื่อ การปรับลดฐานราคาของอสังหาริมทรัพย์ครั้งใหญ่ และการลดลงของอุปสงค์และการลงทุนในวงกว้างไว้ด้วยกัน เศรษฐกิจโลกตกเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อครึ่งหลังของปี 2008 และเสื่อมถอยยิ่งขึ้นในช่วงเดือนแรกๆ ของปี 2009 เมื่อการค้าทั่วโลกหดตัวอย่างรุนแรง จึงมีการลดทอนการลงทุนลงและมีความเลือนลางของอุปสงค์ผู้บริโภค โดยในช่วงระยะเวลา 9 เดือนนั้น เศรษฐกิจโลกได้สัมผัสถึงจุดที่ตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ช่วงหลังสงคราม ทั้งนี้ กลางปี 2009 มีสัญญาณบ่งบอกว่าช่วงที่ย่ำแย่ที่สุดของสภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจจะผ่านพ้นไปแล้ว เนื่องจากมีมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ นโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายลง และการที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือธนาคาร ได้ค้ำจุนความเชื่อมั่นและอุปสงค์อยู่ ในขณะที่วิกฤตการณ์อาจจะบรรเทาลง แต่การฟื้นตัวก็น่าจะเป็นไปอย่างช้าๆ และกระท่อนกระแท่น แม้ว่าพัฒนาการที่พบเห็นในผลการสำรวจเมื่อไม่นานมานี้จะไม่แย่ลง แต่ตัวเลขสำหรับปี 2009 โดยรวมก็เป็นไปในทางลบ: - GDP ทั่วโลกจะลดลงเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ โดยลดลงมากกว่า 1% - กลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วมากจำนวนขึ้นคาดว่าจะมีการเติบโตที่ลดลงราว 4% ในขณะที่กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่มีการเติบโตที่ช้าลงอย่างมาก เหลือประมาณ 1.5% - เงินเฟ้อคาดว่าจะลดลงอย่างมาก เหลือต่ำกว่า 1% ในหลายประเทศ ส่วนกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วคาดว่าจะเกิดเงินฝืดในระยะหนึ่ง - การว่างงานทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นและเกินกว่า 8% ในบางกลุ่มเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศให้สภาวะเศรษฐกิจถดถอยกลายเป็น “ประวัติศาสตร์” ไปแล้วเมื่อปลายปีนี้ แต่บริษัทต่างๆ ยังจำเป็นต้องจัดการกับผลที่ตามมาในภายภาคหน้า อย่างไรก็ตาม บางธุรกิจจะฟื้นตัวเร็วกว่าและบางธุรกิจจะฟื้นตัวช้ากว่า แต่ส่วนใหญ่จะต้องพบกับช่วงเวลาที่มีรายรับต่ำและผลกำไรเพียงเล็กน้อย มุมมองอย่างลึกซึ้งในระดับท้องถิ่น ประเทศไทย แม้ว่าจะอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าหลายประเทศอื่น แต่ก็ได้ประสบกับความเคราะห์ร้ายถึงสองชั้น เนื่องจากมีปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมืองนอกเหนือไปจากปัญหาเศรษฐกิจโลก ดังเช่นที่ ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ กรรมการ ส่วนงานให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย ให้ความคิดเห็นว่า “เรามั่นใจเหมือนกับคนอื่นๆ ในความสามารถของประเทศไทยในการทานทนต่อวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเราเชื่อมั่นว่าประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งที่ดี ที่จะฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากมีภาคการธนาคารที่แข็งแกร่ง การส่งออกผลิตผลทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และความสามารถในการเสริมสร้างอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกและภาคการท่องเที่ยวได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม มีอยู่ 3 สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ หนึ่ง อุปสงค์และรายรับจะอยู่ในระดับที่น้อยลงในระยะหนึ่ง สอง บริษัทที่มีความทะเยอทะยาน จะต้องวางแผนในการริเริ่มดำเนินการเพื่อให้ได้ผลกำไรที่มากขึ้น เพื่อที่จะสามารถลงทุนขยายกิจการหลังจากที่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ผ่านพ้นไปแล้ว สาม วิกฤตการณ์นี้จะเปลี่ยนแปลงลำดับขั้นของบริษัทในหลายอุตสาหกรรม โดยบริษัทที่แข็งแกร่งในอนาคตก็คือบริษัทที่หยิบฉวยโอกาสในการสร้างความเข้มแข็งและเสริมประสิทธิภาพธุรกิจของตน ณ เวลานี้” ไม่น่าแปลกใจเลยที่รายงาน IBR 2009 ของแกรนท์ ธอร์นตัน เผยว่าธุรกิจทั้งหลายในเกือบทุกประเทศมีทัศนคติด้านบวกต่อคาดการณ์เศรษฐกิจลดลงเกือบตลอดทั้งปี 2009 ธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยยังมีทัศนคติด้านลบยิ่งขึ้นในปีนี้ โดยมีค่าดุลยภาพทัศนคติด้านบวก/ลบลดลง 33% คือจาก -30% เมื่อปี 2008 เหลือเพียง -63% ในปี 2009 ทั้งนี้ เป็นระยะเวลา 6 ปีแล้วที่อินเดียเป็นอันดับหนึ่งของการสำรวจ ด้วยค่าดุลยภาพสุทธิที่ +83% (จาก +95% เมื่อปี 2008) ในขณะที่ญี่ปุ่นยังคงอยู่ในอันดับต่ำสุดด้วยค่าดุลยภาพที่ -85% แม้ว่าคาดการณ์เศรษฐกิจจะดูไม่สดใส แต่ความคาดหวังต่อการทำกำไรของธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยยังมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 32% จาก -52% เมื่อปี 2008 เป็น -20% ในปี 2009 แต่โดยรวมแล้วยังถือว่าเป็นค่าดุลยภาพในทางลบ การลดลงของอุปสงค์ผู้บริโภคถูกมองว่าเป็นสิ่งที่น่ากังวลที่สุดที่จำกัดการขยายตัวของธุรกิจในประเทศไทย โดยมีเพียง 16% ของผู้บริหารคาดหวังว่าอุปสงค์จะสูงขึ้น ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิก (53%) และค่าเฉลี่ยโลก (49%) อย่างมาก ความกังวลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสภาพเศรษฐกิจในประเทศที่มีจำนวนผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อ ทำให้ส่งผลกระทบทางด้านลบต่อผลการสำรวจสำหรับประเทศไทย จากผลสำรวจ IBR ประเทศไทยมีผลลัพธ์ที่ดีใน 2 รายการ ได้แก่ ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมและต่อผู้หญิงในตำแหน่งหน้าที่บริหารสิ่งแวดล้อม สำหรับเรื่องสิ่งแวดล้อม ธุรกิจจำนวนมากในประเทศไทย (99%) กล่าวว่าตนจะดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแม้ว่าจะประสบกับผลกระทบในด้านลบในพื้นฐานของธุรกิจ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิกและของโลกอยู่ต่ำกว่า 60% ถึงแม้ว่าสิ่งนี้ยังมิได้รับการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีเกี่ยวกับประเทศไทยว่าเป็นประเทศที่ “มีสีเขียวเด่นชัดขึ้น” เป็นสิ่งที่ผู้บริหารธุรกิจแถลงการณ์ว่าตนนั้นพร้อมที่จะสนับสนุนความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้หญิงในตำแหน่งบริหาร สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่บริหารนั้น ด้วยผลการสำรวจในระดับ 38% ทำให้ธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยมีผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหารอาวุโสมากกว่าเอเชียแปซิฟิกโดยรวม (25%) และค่าเฉลี่ยโลก (24%) โดยมีเพียงบราซิลและฟิลิปปินส์เท่านั้นที่มีจำนวนมากกว่า มองไปภายภาคหน้า ด้วยเศรษฐกิจโลกได้ส่งสัญญาณของการฟื้นตัวบ้างแล้ว ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องทำการตัดสินใจอย่างมียุทธศาสตร์เป็นครั้งสำคัญ คุณเชื่อในคาดการณ์ที่ว่าการฟื้นตัวจะเป็นไปในรูป “V” และคาดว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือว่าคุณเชื่อว่าการฟื้นตัวจะเป็นไปในรูป “W” ซึ่งอาจจะมีไตรมาสที่แกว่งตัวขึ้นลงอยู่ หากคุณเชื่อในการฟื้นตัวในรูป “V” ดังนั้น ขณะนี้ได้เวลาเริ่มลงทุนในการขยายธุรกิจ และเสริมสร้างทีมงานที่มีจำนวนน้อยลงและขาดกำลังใจให้กลายเป็นเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนการเติบโตที่มีอานุภาพแล้ว โดยหากเราอยู่ที่จุดแรกเริ่มของตัว “V” คุณอาจจะสนใจลงทุนในการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ การโฆษณา และการควบรวมเพื่อขยายตลาด ยุทธศาสตร์เพื่อการเติบโตที่ประสบความสำเร็จนั้น เพียงแค่คุณเริ่มก่อนคู่แข่งของคุณไม่กี่อาทิตย์หรือไม่กี่เดือน ก็อาจช่วยให้บริษัทของคุณอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับส่วนแบ่งตลาดที่มากยิ่งขึ้นในโลกการค้าใหม่ที่จะตั้งต้นจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตาม หากคุณคาดว่าเรากำลังเข้าสู่การฟื้นตัวในรูป “W” หรือแม้แต่ประสบกับการขึ้นลงต่อเนื่องกันในรูป “Wwwwws” คุณอาจต้องการเตรียมตัวให้พร้อมกับวันที่มีอุปสรรคเกิดขึ้นและปรับกลยุทธ์ให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันและบริหารค่าใช้จ่าย หนึ่งในหลายๆ บทเรียนที่ได้เรียนรู้มาจากระยะเวลา 18 เดือนที่ผ่านมาคือเศรษฐกิจโลกนั้นยังคงซับซ้อนเกินกว่าที่โมเดลทางเศรษฐกิจในปัจจุบันจะทำการคาดการณ์ที่สมเหตุสมผลได้ อย่างไร ก็ดี เราสามารถแนะนำให้คุณพิจารณาเศรษฐกิจจุลภาคของตลาดของคุณและตรองดูเกี่ยวกับการวิเคราะห์นั้น จงถามตัวเองว่า “ระดับของอุปสงค์ต่อสินค้าหรือบริการของเราอยู่ในระดับไหน?” “มีอุปสงค์คงค้างที่จะสามารถพลิกผันตลาดให้ดีขึ้นหรือไม่?” “สถานการณ์ทางการเงินของลูกค้าของเราเป็นอย่างไร จะสามารถซื้อสินค้าหรือบริการของเราได้หรือไม่?” “คู่แข่งกำลังทำอะไรอยู่ ณ เวลานี้?” การวิเคราะห์คำถามเหล่านี้อย่างรอบคอบน่าจะช่วยให้คุณมีเครื่องบ่งชี้ว่าคุณควรจะเตรียมพร้อมสำหรับการพลิกผันในตลาดของคุณหรือไม่ ในประเทศไทย เรากำลังเห็นสัญญาณแรกเริ่มของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หากแต่ “ใบอ่อน” ที่แรกผลิเหล่านี้จำต้องได้รับการฟูมฟักและเติบโตด้วยนโยบายของรัฐบาล หลังจากที่ “การแบ่งสีเสื้อ” ทางการเมืองได้มีความเคลื่อนไหวน้อยลงในเดือนที่ผ่านๆ มา เจ้าของธุรกิจทุกคนมุ่งหวังว่ารัฐบาลจะสามารถทุ่มเทความสนใจมากขึ้นไปยังการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ และดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ พร้อมกับบริหารการฟื้นฟูดังกล่าว ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: มร. ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ คุณลักษณ์พิไล วรทรัพย์ กรรมการอาวุโส ส่วนงานให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย โทร: 02 205 8250 โทร: 02 205 8142 อีเมล์: [email protected] อีเมล์: [email protected] หมายเหตุ: แกรนท์ ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนล และบริษัทสมาชิกทั่วโลกมิได้เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน การให้บริการจะเป็นการให้บริการโดยตรงจากบริษัทสมาชิก เกี่ยวกับรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติ (International Business Report: IBR): รายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน หรือ Grant Thornton International Business Report (IBR) เป็นรายงานประจำปีที่สำรวจทัศนคติของผู้บริหารระดับสูงในบริษัทเอกชน (Privately Held Businesses: PHBs) ทั่วโลกที่ริเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 โดยทำการสำรวจใน 9 ประเทศในยุโรป จนถึงปัจจุบันที่ทำการสำรวจกว่า 7,200 PHBs ใน 36 กลุ่มเศรษฐกิจเพื่อนำเสนอมุมมองทางเศรษฐกิจและพาณิชย์ในประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก สำหรับในประเทศไทย ได้ทำการสำรวจ 150 บริษัท จากทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยมีทั้งธุรกิจขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ที่มีจำนวนพนักงานจาก 20 ถึง 599 คน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IBR พร้อมเนื้อหารายงานและบทสรุป ท่านสามารถเข้าชมเว็บไซต์: www.internationalbusinessreport.com นอกจากนี้ ท่านยังสามารถร่วมการสำรวจและเปรียบเทียบผลลัพธ์ของตนกับของผู้ร่วมการสำรวจอื่นๆ จำแนกตามท้องที่ ประเภทของอุตสาหกรรมและขนาดของธุรกิจ ประเทศที่เข้าร่วมการสำรวจได้แก่ อาร์เจนตินา, อาร์เมเนีย, ออสเตรเลีย, เบลเยียม, บอตสวานา, บราซิล, แคนาดา, ชิลี, จีน, เดนมาร์ค, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กรีซ, ฮ่องกง, อินเดีย, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เม็กซิโก, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, ฟิลิปปินส์, โปแลนด์, รัสเซีย, สิงคโปร์, แอฟริกาใต้, สเปน, สวีเดน, ไต้หวัน, ไทย, ตุรกี, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา และ เวียดนาม เกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงธุรกิจในฐานะบริษัทที่ปรึกษามืออาชีพระดับแนวหน้าของประเทศไทยซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1991 บริการของแกรนท์ ธอร์นตัน ได้แก่ การให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ, การตรวจสอบบัญชี, การให้คำปรึกษาทางภาษี, การให้บริการปรึกษาเฉพาะทาง และการจัดหาบุคลากรระดับผู้บริหาร ถ้าท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเข้าชมเว็บไซต์ www.grantthornton.co.th.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ