นโยบายเกษตรร่วมของอียู

ข่าวทั่วไป Monday October 19, 2009 15:26 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ต.ค.--คต. ตอนที่ 3 : การปรับปรุงประสิทธิภาพ หลังการปฏิรูปครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2546 อียูมีสมาชิกเพิ่มขึ้นทำให้เกษตรกรในอียูเพิ่มขึ้นจาก 7 ล้านคนเป็น 11 ล้านคน พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 ทำให้อียูต้องปรับนโยบายเกษตรร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการในหลาย ๆ ประเด็นที่สำคัญ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1. กำหนดหน่วยงานบริหารงบประมาณและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินอุดหนุนให้ชัดเจนขึ้น อาทิ - การกำหนดนโยบาย Rural development policy : กำหนดให้หน่วยงาน European Agricultural Fund for Rural Development (EAFRD) พิจารณาอนุมัติงบประมาณสำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่ในชนบท - การจัดตั้ง CAP Financing : ให้เงินสนับสนุนการเกษตรและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการตลาด โดยมีกองทุน European Agricultural Guarantee Fund (EAGF) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ - การจัดตั้ง State Aids : ให้เงินสนับสนุนการลงทุนเพื่อพัฒนา สวัสดิภาพสัตว์ สนับสนุนให้ร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ 2. กำหนดให้ประเทศสมาชิกแสดงผลการใช้จ่ายงบประมาณภายใต้นโยบายเกษตรร่วม (CAP) ให้สาธารณชนได้รับทราบ เพื่อแสดงความโปร่งใส รวมทั้งมีการเรียกเก็บงบประมาณคืนหากใช้จ่ายไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ 3. กำหนดให้ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับองค์การตลาดร่วม (Common Market Organization: CMO) ของสินค้าเกษตรทุกชนิดเป็นระเบียบเดียวกัน โดยครอบคลุมเรื่องการแทรกแซงราคา การเก็บรักษาผลผลิตของภาคเอกชน การตลาดและมาตรฐานคุณภาพสินค้า กฎระเบียบการนำเข้า ส่งออก มาตรการปกป้อง (Safeguard Measures) กฎการแข่งขัน การให้ความช่วยเหลือโดยรัฐ (State Aids) การสื่อสารและการรายงานผล เป็นต้น 4. การปฏิรูปตลาดสินค้าเกษตรแต่ละประเภทอย่างค่อยเป็นค่อยไป เริ่มด้วยการปฏิรูปน้ำตาลในปี 2548 การปฏิรูป new banana regime ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 และเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2550 คณะกรรมาธิการยุโรปได้รับรองข้อเสนอการปฏิรูป CMO ในสินค้าผัก ผลไม้สดและแปรรูป เพื่อให้สาขาผักและผลไม้เป็นส่วนหนึ่งของ Single Farm Payment Scheme รวมทั้งสนับสนุนการจัดตั้ง Producer Organizations (Pos) 5. การให้เงินช่วยเหลือภาคเกษตรยังรวมถึงประเด็นด้านพลังงานด้วย เช่น การให้เงินช่วยเหลือ การเพาะปลูกพืชที่เป็นแหล่งพลังงาน (energy crop) 45 ยูโรต่อเฮกตาร์

แท็ก เกษตรกร   อียู  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ