กรุงเทพฯ--28 พ.ย.--เวเบอร์ แชนด์วิค
องค์การอนามัยโลกเตือนอีก 10 ปีมี ผู้ป่วยโรคอ้วนเพิ่มขึ้น 1,500 ล้านคน ชมรมโรคอ้วนแห่งประเทศไทยจับมือ บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด ผู้นำเวชภัณฑ์ลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ จัดกิจกรรม “ลดน้ำหนัก ขจัดความเสี่ยง” ปีที่ 3 เปิดโอกาสคนอ้วนดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น
เมื่อความอ้วนกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมา ผนวกกับการที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาเตือนว่าพบประชากรน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนมากกว่า 1,000 ล้านคน ทั่วโลก จากประชากรทั้งหมด 6,500 ล้านคน และผู้เป็นโรคอ้วนอาจเพิ่มขึ้นเป็น 1,500 ล้านคนภาย ในปี 2558 จึงสร้างความวิตกถึงปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพชาวโลกอย่างมาก
น.พ. ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์ เลขาธิการชมรมโรคอ้วนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โรคอ้วนแบ่งได้เป็น สองชนิดใหญ่ๆ คืออ้วนบริเวณสะโพกและอ้วนลงพุง โดยอ้วนบริเวณสะโพกส่วนใหญ่พบในผู้หญิง ในขณะที่อ้วนลงพุงมักจะพบในผู้ชาย ทั้งนี้ ไขมันบริเวณสะโพกและแขนขาก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย ได้น้อยกว่าไขมันที่สะสมในช่องท้องหรือพุง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคนอ้วนสองคนที่มีน้ำหนักตัวหรือมีไขมัน ในร่างกายเท่ากัน คนอ้วนที่มีไขมันที่พุงมากจะเกิดโรคทางกายได้มากกว่าคนอ้วนที่สะโพก ซึ่งเหตุผลที่ ไขมันบริเวณพุงก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าไขมันบริเวณสะโพกเนื่องจากไขมันบริเวณพุงมีการสลายตัวเป็น กรดไขมันอิสระได้ง่าย เมื่อเข้าสู่หลอดเลือด จึงอาจทำให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ ในขณะที่ไขมัน บริเวณสะโพกจะมีการสลายตัวได้น้อยกว่า
จากปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนที่เกิดขึ้นนั้น ชมรมโรคแห่งประเทศไทย จึงร่วมมือกับบริษัท แอ๊บบอต
ลาบอแรตอรีส จำกัด จัดกิจกรรม” ลดน้ำหนัก ขจัดความเสี่ยง” ขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยมีผู้เข้าประกวด ที่เคยร่วมกิจกรรมใน 2 ครั้งที่ผ่านมาเข้าประกวดด้วย เนื่องจากเล็งเห็นว่า เป็นโครงการที่มีประโยชน์ และจะเป็นการผลักดันให้ลดน้ำหนักได้จริง
ภ.ญ.อำพร เจริญสมศักดิ์ Country Manager บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด กล่าวว่า “ชมรม โรคอ้วนฯ และแอ๊บบอต ยังคงเดินหน้าจัดการประกวดลดน้ำหนักต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยในปีนี้มี ผู้ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 57 ท่าน จากจำนวนผู้สนใจส่งใบสมัครเข้ามาจำนวน เกือบ 200 คน มีระดับค่าดัชนีมวลกายถึงขั้นอ้วนที่สุด (Extreme obesity) โดยมีดัชนีมวลกาย มากกว่า 35 กก./ตร.ม. ถึง 8 ท่าน ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงสูงมากต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าการที่มีน้ำหนักตัว เกินหรือความอ้วนนั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายชนิด และมีผลต่อระบบการทำงานในร่างกายหลายระบบ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง โรงทางเดินหายใจและปอด โรคกระดูกและข้อ เป็นต้น”
ส่วนเรื่องกิจกรรมอื่นๆ เราได้เน้นการจัดกิจกรรมกลุ่มให้ผู้แข่งขันได้ทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ทุกๆ 3 เดือน ได้แก่ 3 C คือ “Class” แนะนำวิธีการใช้ชีวิตประจำวันให้ห่างไกลจากไขมันและโรคอ้วน, “Course” เข้าคอร์ส “ลดอ้วน ลดโรค” และสุดท้ายคือ “Camp Reduce it for Life” โดยให้ผู้ผ่านรอบสุดท้าย ได้เข้าแคมป์ลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ และทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งระยะเวลาการแข่งขันยังคงเป็นหนึ่งปี เนื่องจาก คณะกรรมการฯ เล็งเห็นว่าการลดน้ำหนักที่ได้ผลอย่างถาวรต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งต้องอาศัย ระยะเวลา หากทำได้น้ำหนักตัวจะนิ่ง และจะอยู่คงที่เช่นนี้ตลอดไป”
อย่างไรก็ตาม เกณฑ์การตัดสินจะพิจารณาจากใน 3 เดือนแรกนั้น ผู้เข้าประกวดต้องลดน้ำหนักให้ได้ อย่างน้อย 5% และควบคุมโรคต่างๆ ได้ดีขึ้น เช่น ระดับน้ำตาลหรือไขมันในเลือดลดลง จึงจะได้สิทธิ์ในการประกวดต่อ ส่วนผู้ที่ชนะเลิศคือผู้ที่สามารถลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักที่ลดอยู่ได้ ตลอด 1 ปี และมีการปรับปรุงในเรื่องโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ระดับน้ำตาล ความดันโลหิต และระดับ ไขมันดีขึ้น ซึ่งจะทำการติดตามผล ถ่ายภาพ และสัมภาษณ์ถึงคุณภาพชีวิตที่เปลี่ยนไปโดยจะทำการวัดผล ทุก 3 เดือน เป็นจำนวน 5 ครั้ง ครั้งต่อไปนัดวัดผลเดือนกุมภาพันธ์ 2549 และคาดว่าจะสิ้นสุดการประกวด ในเดือนพฤศจิกายน 2549
สำหรับกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมานั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี อาทิ เวิร์คช็อปลดน้ำหนักขจัดความเสี่ยง สัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา เช่น แพทย์, เภสัชกร, นักกำหนดอาหาร และประสบการณ์จริงของผู้ชนะในการประกวดทั้งสองปีที่ผ่านมา รวมทั้งการให้ความรู้เรื่องการลดและ ควบคุมน้ำหนักอย่างถูกวิธีเพื่อสุขภาพและรูปร่างที่ดี และการร่วมเล่นเกมทายปริมาณแคลอรี่ ดำเนิน รายการ โดยคุณมะปราง-ภาวดี วิเชียรรัตน์ อดีตนางสาวไทย และมิสซิสเวิลด์ 2003
ประชาชนที่สนใจในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ และการลดน้ำหนักอย่างถูกต้องและปลอดภัย สามารถ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ที่ “10-20-30 ศูนย์ข้อมูลลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ” โทร 02 655 0405 ในวันและ เวลาราชการ
สื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณทิพวรรณ วอทอง (โม)
ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
โทร. 01 421 2923 / อีเมลล์: mailtippawan@yahoo.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--